.oO เรื่องสั้น ปั้นแต่ง Oo.

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 22 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วัดที่ ๗ วัดกลางเกร็ด
    วัดกลางเกร็ด ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านคลองลัดเกร็ด ถนนภูมิเวทย์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ติดแม่น้ำลัดเกร็ด มีพระอุโบสถขนาดเล็กเก่าแก่มาก (ปกติไม่เปิด) ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระอุโบสถเก่าแก่มาก และค่อนข้างจะทรุดโทรม รูปลักษณะเป็นศิลปะช่างสมัยอยุธยา มีหน้าบันไม้แกะสลักที่งดงาม ปัจจุบันทางวัดกำลังขอรับบริจาคเพื่อซ่อมแซมวัดที่เคยสวยงามนี้ให้กลับมางดงามดังเดิม ใช้งบประมาณ ๒๐ ล้านบาท หากมีโอกาสก็มาร่วมทำบุญ เพื่อฟื้นฟูให้วัดได้กลับมางามสง่าดังเดิมได้ ใต้พระอุโบสถมีทางให้ลอดได้ ก็เป็นวัดที่ ๒ ที่ได้ลอดใต้พระอุโบสถ แม้ว่าขณะนี้กำลังบูรณะอยู่แต่ทางวัดก็เปิดให้เข้าไปไหว้พระได้ ภายในพระอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีพุทธลักษณะสวยงาม พ่อค้าแม่ค้าทางเรือจะเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อโต วัดกลางเกร็ด แวะเวียนมาเพื่อปะพรมน้ำมนต์ให้เกิดสิริมงคลค้าขายรุ่งเรือง


    [​IMG]

    [​IMG]

    พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ยาว ๑๑ วา (๒๒ เมตร) อายุกว่า ๑๐๐ ปีที่มีผู้นับถือจำนวนมาก ระหว่างพระอุโบสถและวิหารพระนอน มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองสีทองสวยงาม นอกจากนี้บริเวณริมน้ำหน้าวัด เป็นแหล่งที่มีปลาสวายจำนวนมาก มีบรรยากาศร่มรื่น พร้อมภาพชีวิตริมน้ำที่แตกต่างจาก บรรยากาศอันจอแจของแหล่งชุมชน ที่วัดกลางเกร็ดนี้ มีการทำบุญไถ่ชีวิตโค ที่นำมาจากโรงฆ่าสัตว์ก็ได้ร่วมทำบุญกันตามกำลังทรัพย์



    [​IMG]

    [​IMG]

    ไหว้พระทำบุญที่วัดแห่งนี้เสร็จก็ต้องไปนั่งคอยเรืออยู่ที่ท่าน้ำของวัด เพราะเรือที่มาส่งเมื่อสักครู่ไปรับคนที่วัดอื่นยังไม่วนกลับมา ก็ได้นั่งพักอีกครู่ใหญ่ แต่บรรดาคนที่มาด้วยกันก็มาออกันอยู่บริเวณนี้ อากาศก็ร้อนอยู่แล้วก็เลยทำให้ร้อนกันไปใหญ่ เรือมาแล้วไปวัดต่อไปกันเลยดีกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2013
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วัดที่ ๘ วัดเชิงเลน
    วัดชิงเลน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยาลึกและแยกออกเป็นสามแพร่ง หากเดินทางผ่านมาโดยทางเรือ จะมองเห็นวัดและพระพุทธรูปประทับยืนเด่นชัดมาแต่ไกล ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จหล่อพระพุทธรูปทรงบาตร ประดิษฐานบริเวณจุดตัดของแม่น้ำแห่งนี้


    วัดนี้ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง พร้อมกับวัดท้ายอ่าวและวัดเชิงท่า ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้าง วัดเชิงเลนทรุดโทรมลง จนปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เจ้าอาวาสได้พัฒนาวัดใหม่ และขอพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖

    สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้อยู่ที่สิ่งก่อสร้างที่อลังการ และดูเหมือนจะมีมากมายกว่าที่วัดอื่นๆ


    [​IMG]

    ภายในพระอุโบสถมีพระประธานซึ่งมีพุทธลักษณะงดงาม และมีพระสงฆ์กำลังกล่าวแนะนำวัด การทำบุญ และประพรมน้ำมนต์ให้พร้อมกับมอบวัตถุมงคล ภาพพิมพ์โฉนดที่ดินให้กับผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคเงินให้กับทางวัด และเมื่อออกมาจากโบสถ์ก็จะทำพิธีเผาโฉนด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับญาติมิตร และแสดงว่าครั้งหนึ่งในชีวิตเราได้ซื้อที่ดินให้กับวัด


    [​IMG]

    ด้านนอก จะมีที่ให้ทำบุญอีก เช่น การปิดทองบนลูกนิมิต ปิดทองบนรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พระสยามเทวาธิราช และพระพุทธรูปอื่นๆ ตักบาตรวันเกิด อีกทั้งยังมีปะรำขององค์เทพต่างๆ ด้วย

    ศาลาริมน้ำ ด้านในและด้านนอกของศาลากรุด้วยกระจกสีต่างๆ ยามต้องแสงแดดสวยงามมาก ซึ่งแต่ละศาลาจะใช้กระจกสีต่างกันไปมีสีขาว สีเหลือ สีเขียว ฯลฯ ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ หรือ เทพเจ้าที่ผู้คนเคารพบูชา

    ที่นี้ยังมีข้าวที่ทางวัดได้จัดไว้ให้รับประทานกัน ซึ่งราคาก็แค่ ๑๐ บาทเอง เป็นการช่วยวัดอีกทาง อาหารก็รสชาติอร่อย มีน้ำเย็นบริการฟรีด้วย


    พอทำบุญไหว้พระเสร็จแล้วก็เดินไปท่าน้ำเพื่อจะขึ้นเรือ พอดีเรือกำลังจะออก เลยไม่ต้องคอย พระที่มาต้อนรับตรงบริเวณท่าน้ำ ก็ให้พรแก่ผู้ที่มาทำบุญ แลตบท้ายว่า ถ้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดตกบกพร่องความผิดนี้ก็ขอมอบให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่เพียงผู้เดียว อ้าวไหงเป็นงั้นหล่ะ แต่ก็ขำดี วัดต่อไปที่จะแวะกันก็คือวัดท่าอิฐ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วัดที่ ๙ วัดท่าอิฐ
    วัดท่าอิฐ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๖ ในสมัยโบราณ เป็นวัดที่ชาวบ้านซึ่งมีอาชีพปั้นอิฐ ได้ปั้นอิฐเพื่อนำไปสร้างกรุงธนบุรี-กรุงเทพ ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช



    [​IMG]

    ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพลเทพ (บุญนาค) นำชาวมุสลิมมาอาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่จนทุกวันนี้


    วัดท่าอิฐ มีพระอุโบสถอยู่บนชั้นสอง ของศาลาการเปรียญ และมีพระพุทธรูปปางประทานพร ลักษณะคล้ายพระพุทธรูปแบบพม่า ที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมากอยู่ในมณฑปริมน้ำ ที่วัดแห่งนี้มีการทำบุญบุญไถ่ชีวิตโคด้วย


    [​IMG]

    แต่วัดแห่งนี้ไม่ได้เข้าไปไหว้พระในพระอุโบสถ แต่ไหว้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ริมน้ำแทน ลักษณะดูแล้วเก่าแก่ไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว


    วัดท่าอิฐวัดนี้แวะไม่นานนัก แล้วก็ไปต่อยังวัดสุดท้ายของการล่องเรือไหว้พระ ๙ วัด ที่จริงดูๆ จากกำหนดการที่ผ่านๆ มา วัดนี้ไม่ใช่วัดที่ทางผู้จัดงานแถมเป็นวัดที่ ๑๐ แต่วัดที่แถมมารู้สึกจะเป็นวัดที่ ๒ ก็คือวัดบางจาก ไปๆ มาๆ ก็เลยเหมือนกับว่าวัดสุดท้ายนี้เป็นวัดที่แถม เพิ่มมาจากเดิมก็คือวัดแสงสิริธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วัดที่ ๑๐ วัดแสงสิริธรรม
    วัดแสงสิริธรรม ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านท่าอิฐ ถนนท่าอิฐ หมู่ ๕ ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด เดิมมีชื่อว่า "วัดขวิด" ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างถนนรัตนาธิเบศร์เพียง ๓ กิโลเมตรเศษ ช่วงระหว่างสี่แยกบางบัวทองกับสะพานพระนั่งเกล้า เส้นทางรถยนต์ เข้าทางซอยท่าอิฐ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๔ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย



    a.jpg
    ภายในวัดมีพระอุโบสถกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๔ เมตร บูรณะเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๒ มีลักษณะทรงไทยโบราณเครื่องบนไม้สักหลังคามุงกระเบื้องดินเผา มีโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ หลวงพ่อโต สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๒ โดยใช้ปูนซีเมนต์ก่ออิฐลงรักปิดทองปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓ เมตรเศษ และหลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ องค์พระหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๔๘ เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย


    a.jpg

    a.jpg
    พระพุทธรูปที่เป็นที่นับถืออย่างมากในวัดได้แก่
    ๑.พระพุทธรูปประทับนั่ง ปางมารวิชัย ขนาด ๔๕ เซนติเมตร หล่อด้วยสัมฤทธิ์ และลงรักปิดทอง ชาวบ้านเรียกว่า "หลวงพ่อดำ" เคยสูญหายและถูกขโมยไปหลายครั้งแล้วแต่ก็ได้คืนทุกครั้ง ทำให้เชื่อว่า หลวงพ่อดำ เป็นพระทรงฤทธานุภาพ



    a.jpg
    ๒. พระปางสมาธิขนาดใกล้เคียงกับหลวงพ่อดำ เชื่อกันว่าแกะสลักด้วยไม้แล้วลงรักแดง จึงเรียกว่า "หลวงพ่อแดง”

    ภายในพระอุโบสถยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองให้กราบไหว้

    ที่ศาลาท่าน้ำของวัดจะมีร้านขายของที่ระลึกและร้านขายอาหาร ในน้ำยังมีปลาอยู่ชุกชุม สามารถให้อาหารปลาได้อีกด้วย


    ตอนนี้หน้ามันและหน้าดำกันเป็นแถวๆ แดดแรง แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรค์ของการทำบุญ แล้วเรือก็มารับวนกลับไปส่งที่วัดใหญ่สว่างอารมณ์ซึ่งเป็นจุดต้นทาง การล่องเรือนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ก็ขอขอบคุณส่วนราชการก็คือจังหวัดนนทบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี น้องๆ มัคคุเทศก์ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน


    สรุปการเดินทาง : ทางเจ้าหน้าที่บอกว่าใช้เวลาในทั้งหมดประมาณ ๓ ชั่วโมงครึ่ง แต่ทำไมสร้อยฟ้ามาลาและแมงปอแก้วใช้เวลาถึง ๖ ชั่วโมงกว่าๆ เริ่มต้นที่วัดใหญ่สว่างอารมณ์ เวลา ๐๙.๐๐ น. วัดบางจาก วัดเสาธงทอง วัดไผ่ล้อม วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร วัดฉิมพลี วัดกลางเกร็ด วัดเชิงเลน วัดท่าอิฐ วัดแสงสิริธรรม มาบรรจบวัดใหญ่สว่างอารมณ์อีกครั้งบ่ายสามโมงกว่า ก็สนุกมาก เหนื่อยตามสภาพอากาศ ได้เห็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนชาวเกาะเกร็ด ได้ไหว้พระที่วัดไม่ดังแต่ทรงคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์ซึ่งกำลังเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลารอคอยการบูรณะไม่ให้พุพังลงไป


    a.jpg


    ........................................................

    สุดท้ายนี้ ขอสุขสันต์วันเกิดจ้า แมงปอแก้ว มีความสุขมากๆ คิดสิ่งใดในทางที่ดีที่เป็นบุญที่เป็นกุศลขอให้สมความปรารถนาทุกประการ กุศลและผลแห่งบุญที่แมงปอแก้วได้ทำในครั้งนี้ขอส่งผลให้สิ่งที่แมงปอแก้วได้ตั้งใจอธิษฐาน จงสำเร็จทุกประการ


    ......................................................
    ท้ายสุดนี้ กุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำในครั้งนี้ขออุทิศถวายแด่ คุณพระพุทธคุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดาคุณมารดา วงศาคณาญาติทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ เจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เทพยดาทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรุงพาลี ภูมิเจ้าที่ทั้งหลายคุณแม่พระธรณีพระคงคา พระพาย พระเพลิง พระโพสพ พระยายมราช เจ้ากรรมนายเวรและขอให้ผลบุญจงได้สำเร็จผลแด่เพื่อนๆ สมาชิกในเว็ปพลังจิต ทุกท่านด้วยกุศลนี้จงเป็นเหตุปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้พบพระพุทธเจ้าและศาสนาของพระองค์ในทุกๆชาติ จนถึงพระนิพพานเป็นที่สุด


    ข้อมูลจาก โอเคเนชั่น, www.itti-patihan.com
    เรียบเรียงโดย : สร้อยฟ้ามาลา
    ภาพถ่ายโดย : สร้อยฟ้ามาลา





    ..............................


    [​IMG]


    .................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2013
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    a.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    a.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    a.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2013
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    เรื่องที่ ๓๑

    น้ำตกสะด่องม่องล่าย

    งงหล่ะสิ ว่าน้ำตกอะไร อยู่ในประทศไทยหรือเปล่า หรือว่าสร้อยฟ้ามาลาพาเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านอีกแล้ว...

    ไม่ใช่ น้ำตกสะด่องม่องล่ายแห่งนี้อยู่ในประเทศไทย แต่เป็นชื่อเดิมก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น "น้ำตกเอราวัณ"


    ที่จริงสร้อยฟ้ามาลาไปเที่ยวที่น้ำตกแห่งนี้มาเมื่อ ๓ ปีก่อนแล้วหล่ะ เป็นภาพเก่าที่ถ่ายไว้ในกล้องตัวเก่า แต่ทำหายไปแล้ว


    [​IMG]

    วันที่ไปจังหวัดกาญจนบุรีนั้น ไม่ได้ตั้งใจจะไปเที่ยวน้ำตก พอดีไปธุระเกี่ยวกับที่ดินที่อำเภอทองผาภูมิ พอขากลับเวลาเหลือ ก็เลยแวะที่น้ำตก เห็นว่าเข้าไปไม่ไกล แต่ตอนนั้นก็บ่ายกว่าๆ อากาศร้อนในเดือนมกราคม เสียดายอยู่หลายๆ อย่างคือ พอไปถึงอุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ สมาชิกทั้ง ๕ คน เดินกันไม่ไหวแล้ว ปวดขา เลยได้ขึ้นแค่น้ำตกชั้นที่ ๑ พร้อมกับหิ้วสัมภาระ เสื่อ หมอนและข้าวเหนียวส้มตำ ไก่ย่าง อีกขนาดใหญ่ที่ซื้อจากตลาดก่อนที่จะเข้ามายังน้ำตก ไปนั่งทานกันที่ชั้นที่ ๑ รู้สึกอายๆ ยังไงไม่รู้ เพราะนักท่องเที่ยวทุกคนจะเดินผ่านน้ำตกชั้นนี้ เพื่อขึ้นไปบนชั้นที่สูงกว่า ก็มองคณะของเราจัดการกับส้มตำ ไก่ย่าง ณ ริมน้ำตก และก็ไม่มีนักท่องเที่ยวคนใดแวะเล่นน้ำตกชั้นที่ ๑ เลย เพราะว่าเป็นน้ำตกเล็กๆ ก็กลายเป็นว่า ฉัน ๕ คน ยึดพื้นที่ชั้นที่ ๑ ไว้หมดแล้ว สบายเรา อิ อิ


    [​IMG]
    ตรงนี้หล่ะ ที่จัดการกับข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ยาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2013
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    น้ำตกเอราวัณ เป็นน้ำตกที่น่าสนใจใกล้กรุงเทมหานครมาก น้ำตกที่มีความสวยงามถึง ๗ ชั้น มีลักษณะเป็นชั้นน้ำตกหินปูน มีแอ่งน้ำเป็นสีเขียว มองเห็นหมู่ปลาแหวกว่าอยู่เป็นฝูง


    [​IMG]


    น้ำใสมาก....


    เนื่องจากน้ำตกเอราวัณเป็นน้ำตกที่มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก การเดินทางก็สะดวกสบาย จากตัวเมืองเมืองกาญจนบุรีไปยังอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๓๑๙๙ ถึงเขตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ แล้วจึงเลยเข้าไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๗๐ กิโลเมตร


    [​IMG]


    น้ำตกเอราวัณเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมมีชื่อว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย ตามชื่อลำห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำจากยอดเขาตาม่องล่ายในเทือกเขาสลอบ เป็นผืนป่าที่ยังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์มาก ยังเป็นแหล่งอาศัยของช้างป่าจำนวนมาก ผืนป่าน้ำตกเอราวัณจึงจัดว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า และตลอดจนชุมชนที่อยู่รายรอบป่า


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    เมื่อเข้าไปยังพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ จะพบลานจอดรถกว้างใหญ่ มีร้านค้ามากมาย ถัดไปด้านในจะเป็นส่วนสำนักงานอุทยานฯ มีรถไฟฟ้าสำหรับบริการนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ไม่สะดวกต่อการเดินเท้าเข้าไปยังน้ำตกชั้นแรก


    a.jpg

    เมื่อถึงน้ำตกชั้นแรกจะสัมผัสกับสายน้ำท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่น มีฝูงลิงป่าที่คอยมาขอแบ่งอาหารจากนักท่องเที่ยว

    เมื่อเดินขึ้นไปอีกนิด จะพบชั้นน้ำตกชั้น ๒ ที่มีความสวยงาม เป็นแอ่งน้ำสีเขียว พบว่าชั้นนี้จะมีนักท่องเที่ยวมาเล่นน้ำกันมาก


    ถัดขึ้นไปยังก็เป็นชั้นที่ ๓ เป็นชั้นน้ำตกที่สวยไม่แพ้กัน หรือจะเป็นชั้นที่ ๔ ต่างก็แอ่งน้ำสีเขียวมรกตน่าชมยิ่งนัก



    a.jpg
    เมื่อเดินขึ้นไปตามเส้นทางเดินเท้า ก็จะพบชั้นน้ำตกชั้นถัดขึ้นไป รูปน้ำตกนั้นสวยงามมาก ถ้าเป็นช่วงมีปริมาณน้ำเต็มแผ่นผาก็จะงดงามยิ่งนัก ในช่วงชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ จะพบแนวชั้นน้ำตกลดหลั่นอย่างงดงาม

    ส่วนชั้นที่ ๗ จะเป็นชั้นสุดท้ายที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำในแอ่งน้ำสีเขียว เมื่อมีน้ำตกไหลบ่าจะมีรูปคล้าย หัวช้างเอราวัณ จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า น้ำตกเอราวัณ โดยสายน้ำตกจะไหลจากหน้าผาสูงลงมาตามแผ่นผาหินปูน ก่อนจะลงสู่แอ่งน้ำและไหลลดหลั่นไปยังชั้นล่างๆ ต่อไป

    สำหรับท่านที่ต้องการเยี่ยมชมน้ำตกทั้ง ๗ ชั้น จากการสอบถามจากเจ้าหน้าที่จะต้องใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมงในการขึ้น - ลง

    เริ่มจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
    เดินไป ๕๐๐ เมตร ก็จะถึง น้ำตกชั้นที่ ๑ ไหลคืนรัง
    เดินไปอีก ๑๐๐ เมตร ก็จะถึง น้ำตกชั้นที่ ๒ วังมัจฉา
    เดินไปอีก ๑๕๐ เมตร ก็จะถึง น้ำตกชั้นที่ ๓ ผาน้ำตก
    เดินไปอีก ๓๕๐ เมตร ก็จะถึง น้ำตกชั้นที่ ๔ อกนางผีเสื้อ
    เดินไปอีก ๔๕๐ เมตร ก็จะถึง น้ำตกชั้นที่ ๕ เบื่อไม่ลง
    เดินไปอีก ๓๐๐ เมตร ก็จะถึง น้ำตกชั้นที่ ๖ ดงพฤกษา
    เดินไปอีก ๒๐๐ เมตร ก็จะถึง น้ำตกชั้นที่ ๗ ภูผาเอราวัณ
    รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๐๕๐ เมตร



    a.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    น้ำตกเอราวัณ จัดว่าเป็นน้ำตกยอดนิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จะเห็นชาวต่างชาติหญิงชายมากมายมาเล่นน้ำตกตามชั้นต่างๆ นอกจากนี้ในพื้นที่อุทยานฯ น้ำตกเอราวัณยังมีถ้ำพระธาตุ อันมีความสวยงามอีก แต่ต้องเดินทางจากอุทยานฯ ไปอีกประมาณ ๑๒ กิโลเมตร



    [​IMG]

    สำหรับวันพักผ่อนสุดสัปดาห์ที่เราสามารถเดินทางท่องเที่ยวแบบประหยัดสามารถไปเช้า-กลับเย็นได้ ไม่ต้องไปพักค้างแรมให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หรือใครต้องการสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติป่าเขาก็สามารถเลือกหาที่พักในบริเวณอุทยาน มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๐๖วันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๘.๐๐น. วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐น. และยังมีรีสอร์ทที่อยู่ใกล้เคียง



    [​IMG]

    สถานที่ติดต่อ
    อุทยานแห่งชาติเอราวัณ โทรศัพท์ ๐ ๓๔๕๗ ๔๒๒๒, ๐ ๓๔๕๗ ๔๒๓๔


    การเดินทาง
    - รถยนต์ส่วนบุคคล ไปตามถนนเพชรเกษมหรือไปตามถนนบรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึงจังหวัดกาญจนบุรี รวมระยะทาง ๑๒๙ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง สำหรับการเดินทางจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปยังอุทยานแห่งชาติเอราวัณสามารถใช้ได้ ๒ เส้นทาง คือ


    [​IMG]

    สายที่ ๑ เริ่มต้นจากจังหวัดกาญจนบุรีไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๓๑๙๙ ถึงเขตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ แล้วจึงเลยเข้าไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๗๐ กิโลเมตร
    สายที่ ๒ เดินทางจากอุทยานแห่งชาติไทรโยค จะมีเส้นทางบริเวณบ้านวังใหญ่อยู่ห่างจากน้ำตกไทรโยคน้อยประมาณ ๖ กิโลเมตร ลัดออกไปบ้านโป่งปัดบริเวณเขื่อนท่าทุ่งนาระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข ๓๑๙๙ อีกประมาณ ๒๕ กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ



    ...................................................


    [​IMG]

    หลังจากที่เล่นน้ำตกเสร็จแล้ว บางคนก็นอนหลับบนแคร่ ก็มานั่ง นึกๆ กันว่า
    น้ำตกชั้นนี้เป็นน้ำตกชั้นล่างสุด ถ้าคนที่เล่นน้ำตกชั้นบนๆ เกิดเล่นไปเล่นมา
    ปวดท้องเบาแล้วปล่อยของเสียในน้ำ งั้นพวกเราก็รับมาเต็มๆ หล่ะสิ
    หวา หวา.....


    ...................................................


    ข้อมูลจาก : www.moohin.com ,www.hamanan.com , www.thai-tour.com
    เรียบเรียงข้อมูลและโม้โดย : สร้อยฟ้ามาลา
    ภาพโดย : สร้อยฟ้ามาลา


    .........................


    [​IMG]



    ......................​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2013
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    เรื่องที่ ๓๒

    พี่ประทีปแก้วพาเที่ยวเมืองชาลาวัน


    แนะนำให้รู้จัก พี่ประทีปแก้ว พี่สาวที่น่ารักของสร้อยฟ้ามาลาอีกคน ซึ่งสร้อยฟ้าฯจะเรียกพี่ประทีปแก้วว่า พี่แก้ว


    เมื่อวันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา สร้อยฟ้ามาลาและแมงปอแก้วได้มีโอกาสไปทำบุญที่จังหวัดนครสวรรค์บ้านของแมงปอ ก่อนหน้านั้นได้คุยกับพี่แก้วไว้ พี่แก้วก็ชวนให้ไปพบที่พิจิตรแต่ก็ยังไม่ได้ตกลงกันเป็นมั่นเป็นเหมาะเพราะว่าช่วงเช้าต้องซื้อของเพื่อเตรียมทำบุญวันเข้าพรรษา พอตกประมาณเที่ยงก็เลยโทรศัพท์ไปหาพี่แก้วว่าจะไปหาก็นัดเจอกันที่วัดท่าช้าง จังหวัดพิจิตร แต่งานนี้คุณเจง ศยามล แอบค่อนว่า ไปหาพี่แก้วไม่บอกกันเลย จะได้ฝากผ้าห่มสไบพระพุทธรูปไปให้พี่แก้ว ก็ทีแรกเค้าไม่มั่นใจนี่หน่าว่าจะได้ไปหรือเปล่า ไว้โอกาสหน้าเนอะ พี่เจง พี่สาวที่น่ารัก อิ อิ


    สร้อยฟ้ามาลามาถึงวัดท่าช้างประมาณเกือบบ่ายโมงเห็นจะได้ ก็พบกับพี่แก้ว ตัวจริงเหมือนในรูปเลย พี่แก้วบอกว่ามีโปรแกรมจะพาไปไหว้พระ แต่เผอิญเวลามีไม่มาก งานนี้ก็เลยต้องรีบกันนิดนึง เมื่อมาถึงวัดท่าช้างแล้ว ก็คือสถานที่แรกที่จะพาไปไหว้พระ


    [​IMG]

    วัดท่าช้าง
    ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
    ชื่อวัดโดยทางราชการ “วัดท่าช้าง” ชื่อที่ชาวบ้านเรียกชื่อเดิม “วัดท่าช้าง” สังกัดมหานิกายอยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ภาค ๔

    ตำแหน่งที่ตั้งวัด เลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๓ ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนากจังหวัดพิจิตร ที่ดินวัดที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๒ งานมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด มีอาณาเขตและเนื้อที่ในปัจจุบันคือ
    ทิศตะวันออก ยาว ๒๙๖ เมตร ติดกับถนนสายบางมูลนาก – ชุมแสง
    ทิศตะวันตก ยาว๒๙๖ เมตร ติดกับแม่น้ำน่าน
    ทิศใต้ กว้าง ๔๘.๖๐ เมตรติดกับสะพานแม่น้ำน่านที่สร้างใหม่
    ทิศเหนือ กว้าง ๑๑๔ เมตรติดกับที่ดินที่มีเจ้าของ
    ที่ธรณีสงฆ์มี ๒ แปลง ดังนี้
    ๑. แปลงที่ ๑ที่บ้านท่าช้างตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
    - มีเนื้อที่จำนวน๔๓ ไร่ – งาน ๘๐ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธ์ คือ โฉนดเลขที่ ๑๒๓๓๖
    ๒.แปลงที่ ๒ ที่บ้านไร่ ๑ งาน ๗๖ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธ์ คือโฉนดเลขที่ ๑๖
    ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด
    พื้นที่บริเวณที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออกปัจจุบันทางวัดได้ทำการถมดินภายในบริเวณวัดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาวัดพื้นที่บางส่วนได้ทำการเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อเป็นสถานที่จอดรถของประชาชนที่มาบำเพ็ญบุญที่วัดพื้นที่บางส่วนใช้เป็นสถานที่ปลูกสวนป่า มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับเนื่องจากวัดท่าช้างตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านเมื่อถึงฤดูฝนมักจะถูกน้ำกักเซาะตลิ่งพังเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างของวัดทุกปีทำให้พื้นที่ดินเดิมของวัดเสียหายเป็นจำนวนมาก
    ๑.ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ - เดือน - พ.ศ. –
    ๒.กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งวัดเมื่อวันที่ - เดือน - พ.ศ.๒๔๔๒
    ๓.ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ - เดือน - พ.ศ.๒๔๘๔
    เนื้อที่กว้าง ๔๐เมตร ยาว ๘๐ เมตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2013
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    a.jpg

    ประวัติความเป็นมาของวัดท่าช้าง

    ไม่มีหลักฐานบ่งชัดว่าสร้างเมื่อใดแต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ ประมาณ พ.ศ.๒๔๑๕มีประวัติความเป็นมาดังนี้
    วัดท่าช้างมีผู้เล่าให้ฟังว่าเดิมชื่อ “วัดเทพกุญชรดิตถาวราราม” ที่ได้นามเช่นนั้นมีผู้อาวุโสเล่าสืบ ๆ กันมาว่ามีนายพรานผู้หนึ่งนามว่า สรรพยา อยู่ที่เมืองภูมิ ปัจจุบันคือหมู่บ้านหนองเต่าตำบลภูมิ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร นัยว่าพรานผู้นี้เป็นพระสหายกับพระเจ้าแผ่นดิน ได้พบช้างเผือกงาเนียม ขี้หอมเชือกหนึ่งจึงได้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์จึงได้ส่งอำมาตย์ไปคล้องช้างกับนายพรานสรรพยาช้างเชือกนั้นมามว่า “ พ่อพลายนิมิต”ประวัติความเป็นมาของวัด
    ไม่มีหลักฐานบ่งชัดว่าสร้างเมื่อใดแต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ ประมาณ พ.ศ.๒๔๑๕มีประวัติความเป็นมาดังนี้
    วัดท่าช้างมีผู้เล่าให้ฟังว่าเดิมชื่อ “วัดเทพกุญชรดิตถาวราราม” ที่ได้นามเช่นนั้นมีผู้อาวุโสเล่าสืบ ๆ กันมาว่ามีนายพรานผู้หนึ่งนามว่า สรรพยา อยู่ที่เมืองภูมิ ปัจจุบันคือหมู่บ้านหนองเต่าตำบลภูมิ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร นัยว่าพรานผู้นี้เป็นพระสหายกับพระเจ้าแผ่นดิน ได้พบช้างเผือกงาเนียม ขี้หอมเชือกหนึ่งจึงได้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์จึงได้ส่งอำมาตย์ไปคล้องช้างกับนายพรานสรรพยาช้างเชือกนั้นมามว่า “ พ่อพลายนิมิต”


    เมื่อคล้องได้แล้ว จึงนำมายังฝั่งแม่น้ำน่านที่วัดท่าช้างในปัจจุบันพากันต่อแพนำช้างล่องแพที่ฝั่งแม่น้ำน่าน ล่องไปยังกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นสถานที่นั้นจึงได้นามว่า “ท่าช้าง” และวัดแห่งนี้จึงได้นามว่า “วัดท่าช้าง” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ต่อมาภายหลังแม่พังขวัญใจซึ่งเป็นภรรยาของพ่อพลายนิมิตเมื่อไม่เห็นพ่อพลายนิมิต เที่ยวแสวงหาไปในที่ต่าง ๆ ไปพบรอยเท้าพ่อพลายนิมิตเดินทางมายังฝั่งแม่น้ำน่าน ก็เดินตามมานัยว่าพ่อพลายนิมิตระหว่างถูกนำมาฝั่งแม่น้ำน่านนั้นได้เดินเหยียบรอยเท้าเดิมของตนเพื่อมิให้แม่พังขวัญใจและลูกเดินตามมาถูกแม่พังขวัญเมื่อเดินมาฝั่งแม่น้ำน่านที่วัดท่าช้างแล้ว ปรากฏว่าไม่พบพ่อพลายนิมิตเที่ยวเดินวนเวียนหาอยู่หลายวัน เมื่อไม่พบพ่อพลายนิมิตเกิดความเศร้าโศกเสียใจจึงกลั้นใจตาย ณ ริมฝั่งแม่น้ำน่านนั้น

    ต่อมาพ่อพลายน้อยซึ่งเป็นลูกของพ่อพลายนิมิตและแม่พังขวัญใจเมื่อไม่เป็นพ่อและแม่ก็เดินทางตามหาถึงฝั่งแม่น้ำน่านเมื่อไม่พบพ่อและแม่จึงกลั้นใจตาย ณ ริมฝั่งแม่น้ำเช่นกัน ปัจจุบันวัดท่าช้างได้ปั้นรูปเหมือนพ่อพลายนิมิต แม่พังขวัญใจ และพ่อพลายน้อยถึงเป็นช้างที่ปั้นด้วยปูนช้างก็จริง แต่มีอิทธิฤทธิ์ อภินิหารน่าอัศจรรย์ยิ่งนักวันดีคืนดีมีชาวบ้านเห็นพ่อพลายนิมิต แม่พังขวัญใจ และพ่อพลายน้อยออกเดินเพ่นพ่านอยู่กลางถนนสายบางมูลนาก – ชมแสง หน้าวัดท่าช้างอยู่เป็นประจำอนึ่งใครบนหลวงพ่อหินเมื่อสำเร็จตามความประสงค์แล้วไม่มาแก้บนตามที่ให้คำหมั้นสัญญาไว้แล้วพ่อพลายนิมิตแม่พังขวัญใจ และพ่อพลายน้อย มักจะไปตามทวงอยู่เสมอถึงแม้จะอยู่ไกลแสนไกลอยู่ต่างประเทศก็ตาม เรื่องนี้มีผู้เล่าให้ฟังมิได้ขาดทุกวันนี้จึงมีผู้นำ กล้วยบ้าง อ้อยบ้าง ไปเลี้ยงพ่อพลายนิมิต แม่พังขวัญใจและพ่อพลายน้อย เป็นประจำมิได้ขาด ถ้าไม่เชื่อก็ไปสังเกตการณ์ ได้ที่ วัดท่าช้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ปูชนียวัตถุ – โบราณวัตถุ

    วัดท่าช้างมีพระพุทธรูปที่ประชาชนศรัทธามาก คือหลวงพ่อหิน เดิม ประดิษฐานอยู่ที่วัดการ้อง (วัดการ้องเป็นวัดเก่าตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันตกปัจจุบันพังลงน้ำหมดแล้ว เพราะน้ำกัดเซาะริมตลิ่งพังจึงเหลือแต่ชื่อวัด)หลวงพ่อหินเป็นพุทธรูปที่สกัดด้วยหินทรายปางมารวิชัยสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดียุคต้นเพราะพระพุทธรูปสมัยนี้มักสลักด้วยหินทรายสัดส่วนไม่สมบูรณ์และสวยงามเป็นพิเศษเฉพาะเศียรเมื่อครั้งที่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เสด็จกลับจากวัดหิรัญญารามได้แวะนมัศการหลวงพ่อหินที่วัดการ้อง

    พระองค์ทรงพอพระทัยหลวงพ่อหินมาก เห็นเศียรหลวงพ่อเศียรหักตกอยู่จึงขอเศียรหลวงพ่อหินไปไว้ที่พิพิธภันฑ์สถานแห่งชาติ ต่อมา ราวปี พ.ศ.๒๔๘๐ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างเศียรหลวงพ่อหินต่อเติมขึ้นใหม่แล้วนำหลวงพ่อหินมาประดิษฐานยังวัดท่าช้างพร้อมทั้งสร้างวิหารให้ด้วย วิหารนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออกปัจจุบันมีการสร้างมลฑปหลวงพ่อหินหลังใหม่มีความงดงามมาก มูลค่านับสิบล้านบาทเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อหินการก่อสร้างในครั้งนี้ได้รับเงินบริจาคด้วยแรงศรัทธาของประชาชนชาวอำเภอบางมูลนากและอำเภอใกล้เคียงที่มีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อหินชาวบ้านนิยมไปนมัสการและบนบานเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ และเมื่อประสบความสำเร็จก็จำนำหัวหมู ไก่ทองคำเปลว มาลับ ดอกไม้ และอื่น ๆ ไปถวายอยู่เสมอมิได้ขาด


    [​IMG]

    ตามประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อหิน น่าจะเป็นพระพุทธรูปแบบทวารวดียุคต้น(พ.ศ.๑๐๐๐- ๑๒๐๐) เพราะพระพุทธรูปสมัยทวารวดียุคต้นได้รับอิทธิพลจากคุปตะมา จะสวยงามเป็นพิเศษเฉพาะเศียรเท่านั้น พระพุทธรูปแบบทวารวดีพุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๗ ถือกำเนิดจากศิลปะคุปตะโดยตรงมีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐมและได้แผ่ออกไปทางภาคอีสาน เขมร ภาคใต้ถึงนครศรีธรรมราชทวารวดีแบ่งออกเป็น ๓ ยุค
    ยุคต้น พ.ศ.๑๐๐๐ – ๑๒๐๐ มักสร้างด้วยหินขนาดใหญ่ สัดส่วนไม่สมบูรณ์ ได้รับอิทธิพลมาจากคุปตะจะสวยงามเป็นพิเศษเฉพาะพระเศียรเท่านั้น
    ยุคกลาง พ.ศ.๑๒๐๐ – ๑๕๐๐ พระพุทธรูปยุคนี้สร้างด้วยหิน ดินเผา และห่อด้วยทองสำริดฝีมือสูงขึ้น พระเศียรมีลักษณะกลมเกลี้ยงขึ้น พระเนตรโปนโต พระนลาฎแคบ
    ยุคปลาย พ.ศ.๑๕๐๐ – ๑๗๐๐ ยุคนี้สร้างด้วยหิน ดินเผา ปูนปั้น มีทั้งขนาดใหญ่เล็ก ทั้งแบบลอยตัวและจำหลักนูน ที่สร้างด้วยสำริดก็มีบ้างแต่ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดเล็ก สูงไม่เกินครึ่งฟุต มีทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย


    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    หลังจากไหว้หลวงพ่อหินเสร็จแล้ว พี่แก้วก็พาไปเที่ยวบ้านซึ่งอยู่ไม่ค่อยจะไกลกันมากเท่าไหร่ พี่แก้วให้หนังสือธรรมะมาหลายเล่มและหลวงพ่อเงินมา ๑ องค์ ยังเลี้ยงน้ำองุ่น เลี้ยงขนมด้วย ขอบคุณมากๆ จ่ะ


    [​IMG]
    มะเฟืองบ้านพี่แก้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2013
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วัดต่อไปเป็นวัดที่อยู่ใกล้ๆ บ้านพี่แก้ว ชื่อว่า

    วัดวังสำโรง

    ตั้งอยู่ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคาสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓


    [​IMG]

    ข้อมูลของวัด สร้อยฟ้าฯ หามาได้เพียงแค่นี้เอง ที่วัดแห่งนี้ พี่แก้วได้พาไปไหว้หลวงพ่อเขียน ซึ่งท่านมีวาจาสิทธิ์ เดี๋ยวรายละเอียดจะอยู่ในวัดถัดไป




    [​IMG]


    [​IMG]
    มณฑปนี้ภายในมีรายพระพุทธบาทจำลอง
    พี่แก้วบอกว่าวัดนี้เป็นวัดที่ต้นตระกูลพี่แก้วเป็นผู้สร้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2013
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วัดต่อไปที่พี่แก้วและพี่บูลย์จะพาไปก็คือ



    วัดสำนักขุนเณร

    ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑๕ บ้านสำนักขุนเณร หมู่ ๑ ตำบลสำนักขุนเณร อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค ๔ มีเนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๒ งาน ๒๒ ตารางวา วัดสำนักขุนเณรประกาศสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคารามสีมา เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๓ ได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๖ เดิมมีนามว่า วัดขุนเณร มีปูชนียวัตถุ คือ พระพุทธรูป ปางห้ามสมุทร

    หลวงพ่อเขียน ธมมฺรักขิตโต มีวาจาสิทธิ์ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสที่วัดนี้ มีประวัติน่าสนใจมากทีเดียว ลองอ่านกันดูนะ


    a.jpg

    (โครงเรื่อง จากงานเขียนของ คุณ “น้ำน่าน”)
    “มีคนเล่าลือถึง หลวงพ่อองค์หนึ่งว่า วาจาท่านศักดิ์สิทธิ์นัก ทั้งมีการประพฤติปฏิบัติ ในทางกรรมฐาน เคร่งครัดโดยเฉพาะเวลาวิกาลแล้ว มักจะนั่งสมาธิอยู่ค่อนคืนเป็นประจำ และ ที่มหัศจรรย์ผิดแผกกว่าพระอาจารย์อื่นๆ ก็คือ ท่านหัวเราะเหมือนเสียงไก่ขัน ! หลวงพ่อรูปนี้ จำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร ตำบลวังงิ้ว อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีชื่อว่า หลวงพ่อเขียน ธัมมรักขิโต


    หลวงพ่อเขียน เมื่อเป็นฆราวาสนั้น ท่านมีชื่อว่า เสถียร เกิดเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๔ ปีขาล (พ.ศ. ๒๓๙๙) ที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ บิดาชื่อ ทอง มารดาชื่อ ปลิด มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๒ ตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓

    เมื่อยังครั้งเยาว์วัย หลวงพ่อเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี เกิดศรัทธาอยากบวชเป็นสามเณร จึงขออนุญาตจากบิดามารดา ท่านจึงได้เข้าบรรพชา เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่วัดทุ่งเรไร ในขณะที่เป็นสามเณร ได้ศึกษา อักขรสมัยกับท่านสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียน ภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย และเนื่องด้วยท่านมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน ท่านสมภารจึง ได้เปลี่ยนชื่อจาก “เสถียร” มาเป็น “เขียน” นับแต่บัดนั้น

    สามเณรเขียนอยู่ในสมณเพศ จนอายุใกล้จะอุปสมบท ท่านได้สึกออกมาเป็นฆราวาส อยู่ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดภูเขาดิน ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์สอน กับพระอาจารย์ทองมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    เมื่อ หลวงพ่อเขียน อุปสมบทได้ หนึ่งพรรษา บิดามารดา ได้รบเร้าให้ท่านสึก เพื่อจะได้แต่งงานกับ หญิงสาวผู้หนึ่ง ที่บิดามารดาอยากได้มาเป็นสะใภ้ แต่หลวงพ่อท่านปฏิเสธ และเพื่อให้พ้นความยุ่งยาก ท่านจึงได้ออกเดินทาง ไปเยี่ยมญาติที่บ้านวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในเวลาต่อเวลา ระยะนั้น ทางวัดวังตะกูขาด พระภิกษุที่จะจำพรรษา ในปีนั้น กำนันตำบลวังตะกูจึงนิมนต์ ให้ท่านจำพรรษา ณ ที่นั้น

    ต่อมาท่านได้ไปศึกษา ปริยัติธรรม ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี มี พระอาจารย์ทอง เป็นครูสอน ท่านอยู่วัดเสาธงทองถึง ๙ พรรษา หลวงพ่อก็อำลาพระอาจารย์ทอง เพื่อไปศึกษาต่อ ที่วัดรังษี กรุงเทพฯ มี เจ้าคุณธรรมกิตติ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด นานถึง ๑๖ พรรษา แต่เมื่อวัดรังษี จะโอนจากวัดมหานิกาย เข้าเป็นวัดธรรมยุตนิกาย ท่านไม่เต็มใจ จะเปลี่ยนนิกาย จึงได้ออกจากวัดรังษี มาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี อีกครั้งหนึ่ง


    a.jpg

    ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดเสาธงทอง ได้ ๙ พรรษา กำนันตำบลวังตะกู และชาวบ้าน จึงได้เดินทางไปนิมนต์หลวงพ่อ ให้มาจำพรรษาที่วัด วังตะกู อีกวาระหนึ่ง หลวงพ่อ ก็รับนิมนต์ และได้ออกเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ตั้งแต่บัดนั้น

    หลวงพ่อเขียน มาอยู่วัดวังตะกูได้ไม่กี่ปี ผู้ใหญ่พลาย บ้านห้วยเวียงใต้ ได้นำม้าตัวเมียมาถวายหลวงพ่อตัวหนึ่ง และต่อมานายทอง บ้านเขาอีแร้ง ก็ได้นำม้าตัวผู้สีเขียว ค่อนข้างดุ ชื่อ อ้ายเขียวยักษ์ มาถวายหลวงพ่ออีก วันหนึ่ง หลวงพ่อเขียน จูงอ้ายเขียวยักษ์ ไปกินน้ำที่สระข้างวัด อ้ายเขียวยักษ์ เห็นสระน้ำอยู่เบื้องหน้าก็ออกวิ่งไปด้วยความคึกคะนอง แล้วนึกอย่างไรไม่ทราบ มันกลับวิ่งหวนเข้ามาหาหลวงพ่อ ตรงเข้าโขก และกัดท่านที่หน้าผาก ไหล่ขวา และหน้าอก จนหลวงพ่อล้มกลิ้งไป แต่จะหารอยแผลสักน้อยก็ไม่มี มีแต่รอยเขียวช้ำเท่านั้น ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ พากันคว้าไม้จะเข้าไปไล่ตี เจ้าเขียวยักษ์ แต่หลวงพ่อรีบลุกขึ้น และร้องห้ามไม่ให้ตีมัน ท่านบอกว่า “อ้ายเขียว มันลองหลวงพ่อน่อ”

    วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อได้นำหญ้าอ่อนไปกำมือหนึ่ง แล้วเป่าคาถา อึดใจเดียวก็ยื่นให้ เจ้าเขียวยักษ์กิน แล้วท่านยังยกข้าวเปลือกที่แช่ในถังน้ำ มาให้มันเป็นของแถมเสียอีก หลังจากเจ้าเขียวยักษ์ กินหญ้าอ่อน และข้าวเปลือกแล้ว มันก็ยืนนิ่งเฉย ปล่อยให้หลวงพ่อ ลงอักขระ ที่กีบเท้าทั้งสี่ข้าง


    อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าเขียวยักษ์เกิดหลุดเชือก ไปกินข้าวในนา ของมรรคทายกนวม มรรคทายกเกิดโมโห คว้าปืนลูกซองยาว ยิงเจ้าเขียวยักษ์ด้วยลูกเก้า (ลูกแบบแตกปลาย) ลูกปืนถูกเจ้าเขียวยักษ์อย่างจัง แต่ไม่ระคายผิวเจ้าเขียวยักษ์เลย นางมา เมียมรรคทายกนวมเห็นดังนั้น ก็เกิดความโมโหหนักขึ้น ถึงกับไปยืนด่าว่า หลวงพ่อด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่างๆ นานา หาว่าหลวงพ่อเลี้ยงม้าไม่ดี ปล่อยให้ไปรบกวนชาวบ้าน ให้เดือดร้อนเสียข้าวเสียของ

    หลวงพ่อท่านนิ่งฟังพักใหญ่ ก็บอกว่า “เอ็งทำเป็นด่าข้าดีไปเถอะ ระวังปากเอ็งจะเน่า” ต่อมาอีกไม่กี่วัน นางมาได้เกิดป่วยเป็นโรคปากเปื่อย ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ จมขี้จมเยี่ยว เป็นที่น่าเวทนาแก่ผู้ที่พบเห็น แต่เมื่อมีคนไปบอกหลวงพ่อ ท่านก็เมตตาสงสาร ได้ใช้ให้คนไปบอกนางมา ให้หาดอกไม้ธูปเทียน มาขอขมาท่านเสีย นางมาทราบแล้ว ก็รีบปฏิบัติตามทันที มิช้าก็หายป่วย


    a.jpg

    ม้าของหลวงพ่อเขียน ที่เดิมมีเพียงตัวเมีย กับตัวผู้ คือเจ้าเขียวยักษ์นั้น ต่อมาก็ได้ผสมพันธุ์กัน จนถึงปี ๒๔๗๗ ม้าก็เพิ่มจำนวนถึง ๗๐ ตัว ในจำนวนนี้ มันได้แบ่งพวกออกเป็น ๓ ฝูงๆ ละเกือบ เท่าๆ กัน ในฤดูแล้งม้า จะถูกปล่อยให้ไปหากินตามชายป่า หัวหน้าฝูงจะเป็นผู้นำ แต่ละฝูงจะอยู่ห่างกันไม่เกิน ๑ เส้น (๔๐ เมตร) พอตกเวลาเย็น มันก็จะทยอยกันกลับวัด เข้าคอกเองโดยไม่ต้องมีคนไปไล่ต้อน ถ้าเป็นฤดูฝน หรือฤดูหนาว หลวงพ่อจะเอาข้าวเปลือกแช่น้ำ มากองหลายๆ กองให้ม้ากิน บางทีท่านก็เอาน้ำตาลปี๊บ ไปป้อนลูกม้า ท่านทำเช่นนี้เกือบจะเป็นประจำ ด้วยความเมตตา

    ขณะที่หลวงพ่อเขียน จำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ นั้น หลวงพ่อพร้อมด้วยพุทธบริษัท ได้ชวนกันสละทุนทรัพย์ ตามกำลัง และศรัทธา และได้ช่วยกันหาปัจจัย สร้างโบสถ์ กำแพงแก้ว ซุ้มประตู และเจดีย์ ตัวพระอุโบสถนั้นเพียงแต่ก่ออิฐ แต่ยังมิได้ฉาบปูน

    แต่ในระหว่างการก่อสร้าง มรรคทายกผู้หนึ่งเป็นผู้รักษาเงิน และบัญชี ได้ยักยอกเอาเงินก่อสร้างอุโบสถไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว โดยนำเงินไปซื้อไร่นา และปลูกบ้านเรือนใหญ่โต ทั้งได้ทำลายหลักฐานบัญชีเดิม แล้วทำบัญชีใหม่ปลอมแปลงแทน ครั้นถึงวันจ่ายค่าแรงงานก่อสร้างแก่นายช่าง หลวงพ่อก็เรียกปัจจัยจากมรรคทายกผู้นั้น แต่กลับได้รับคำปฏิเสธอย่างหน้าตาเฉย ว่าเงินที่ตนเก็บไว้ได้ถูกเบิกจ่ายไปหมดแล้ว

    เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น การก่อสร้างอุโบสถจึงได้หยุดชะงักลงทันที ชาวบ้านที่รู้เรื่องก็พากันมาถามหลวงพ่อ ท่านบอกแก่พวกเขาเหล่านั้นว่า “ใครโกงปัจจัยสร้างโบสถ์ ไม่ว่ารายไหนก็รายนั้น เป็นต้องคลานขี้คลานเยี่ยว มันจะต้องฉิบหายวายวอด ถือกะลาขอทานเขากิน ไม่จำเริญสักคนน่อ”

    อยู่ต่อมาไม่นาน ความวิบัติก็บังเกิดขึ้นแก่มรรคทายกผู้นั้น กับภรรยา ตลอดจนลูกสาว ลูกชาย ด้วยเกิดการเจ็บป่วยได้ไข้ ขึ้นมาพร้อมกันในวาระเดียว เริ่มด้วยเกิดคันลูกนัยน์ตา รักษาอย่างไรก็ไม่หาย จนในที่สุด ตาบอดหมดทุกคน แม้หลานของมรรคทายกผู้นั้น ก็เกิดมาเสียลูกนัยน์ตาไปคนละข้าง ต้องทนทุกข์ทรมาน คลานขี้คลานเยี่ยว ดังหลวงพ่อท่านว่าไว้ไม่มีผิด เงินทองที่มีอยู่ ก็ถูกนำมาใช้จ่ายในการรักษาจนหมดตัว ถึงกับขายไร่นา เพื่อนำเงินมาบำบัดรักษา และพลอยหมดสิ้นลงอีก ถึงกับต้องจูงกันไปเที่ยวขอทานเขากิน ในที่สุด ก็ล้มหายตายจากกันไป ที่มีชีวิตอยู่ ก็ร่อนเร่ระเหระหน ไปคนละทิศละทาง จนสิ้นวงศ์วานหว่านเครือ ไม่มีเชื้อสายเหลือในตำบลวังตะกู แม้แต่คนเดียว !

    สมัยหนึ่ง มหาบุญเหลือ เจ้าอาวาส วัดชัยมงคล กับ มหาชั้น เจ้าอาวาส วัดท่าฬ่อ เดินทางไปเทศน์ที่บ้านห้วยพุก เมื่อเทศน์จบ ก็ได้เวลาประมาณ ๔ โมงเย็นเศษๆ เข้าไปแล้ว จึงรีบออกเดินทางจากบ้านห้วยพุก ฝ่าป่าฝ่าดงเรื่อยมา เพราะสมัยนั้นการสัญจรไปมา ต้องอาศัยการเดินเท้าเป็นพื้น ท่านเจ้าอาวาสทั้งสอง ไม่คุ้นกับเส้นทาง จึงเดินวกวนอยู่ในดงช้านาน บ้านช่องผู้คนก็ไม่ค่อยจะมี นานๆ จึงจะพบสักหลังหนึ่ง เมื่อชาวบ้านป่าช่วยชี้หนทางให้ ก็เดินกันจนเท้าระบมแทบจะไปไม่ไหว

    จนถึงเวลากลางคืน ก็ไปถึงตำบลวังตะกู ท่านมหาบุญเหลือ จึงบอกท่านมหาชั้นว่า คงจะต้องนอนพักค้างคืนกับหลวงพ่อเขียนก่อน เพราะจะเดินทางต่อไปจนถึงบางมูลนากไม่ไหว ท่านมหาบุญเหลือรู้จักกับ หลวงพ่อเขียนดี เมื่อไปถึงวัด ได้พากันตรงไปกุฏิหลวงพ่อ ก็เห็นประตูหน้าต่างปิดหมด แลเห็นแสงไฟทางช่องลมสลัวๆ ท่านมหาทั้งสองจึงกระซิบกระซาบกันว่า “อย่าไปเรียกท่านเลย จะเป็นการรบกวนท่านเปล่าๆ เรานอนข้างนอกหน้ากุฏิท่านนี่แหละ” ท่านมหาชั้นจึงเอนกายลงนอน ด้วยความอ่อนเพลีย แต่ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียง หลวงพ่อเขียน ร้องทักมาจากในห้องว่า “โธ่เอ๋ย มหา ! เดินหลงทางกันมาซิน่อ แย่เลยหนอ พักนอนกันเสียที่นี่ ไม่ต้องเกรงใจน่อ” พลางท่านก็เปิดประตูออกมาต้อนรับ

    เมื่อครั้งหลวงพ่ออยู่วัดวังตะกูนั้น ได้มีผู้นำสัตว์ป่าทั้งหลาย มาถวายอยู่เนืองๆ อาทิเช่น ลิง ชะนี เก้ง กวาง วัวแดง จระเข้ เป็นต้น โดยเฉพาะลูกกวางนั้น หลวงพ่อได้เอาเศษจีวรผูกคอไว้ เพื่อให้คนทั้งหลายได้รู้ ว่าเป็นกวางของวัด เจ้ากวางตัวนี้เติบโตขึ้นมา และเชื่องมาก มันมักจะติดตามหลวงพ่อไปไหนๆ อยู่เสมอ บางคราวมันก็จะหนีท่านไปกินข้าว หรือเหยียบย่ำข้าวในนา ของชาวบ้านเสียหายบ่อยๆ หลวงพ่อจึงนำไปให้ ท่านอาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณร เลี้ยงดูแทนท่าน ท่านได้บอกกับมันว่า “เอ็งไปอยู่กับ อาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณรน่อแล้วไม่ต้องกลับมาหาข้าอีกน่อ” เมื่อหลวงพ่อให้ลูกศิษย์นำกวางไปให้ท่านอาจารย์เทินแล้ว ปรากฏว่าเจ้ากวางไม่เคยกลับมาที่วัดวังตะกูอีกเลย ทั้งๆ ที่วัดทั้งสองไม่ได้อยู่ห่างไกลกันเท่าใดนัก

    เมื่อกวางไปอยู่กับท่านอาจารย์เทินแล้ว ไม่ว่าท่านจะรับนิมนต์ไปที่บ้านใคร มันจะออกไปตามหาท่านถูกทุกครั้ง แม้ว่าบางครั้ง ท่านจะออกไปจากวัด ขณะที่มันไม่ได้อยู่ในวัด แต่เมื่อมันกลับมา ก็จะออกตามหาท่านอาจารย์ได้ถูกต้องทุกครั้ง

    อยู่มาวันหนึ่ง กวางออกไปหากินไกลวัด ในหมู่บ้านที่มันเคยไป ชาวบ้านไม่รู้ว่าเป็นกวางวัด นึกว่าเป็นกวางป่า จึงเอาปืนมาไล่ยิง แต่ไม่ถูกสักนัดเดียว เผอิญพวกนั้นเหลือบไปเห็นเศษจีวร ที่หลวงพ่อเขียนผูกคอมันไว้ จึงรู้ว่าเป็นกวางวัด ก็ร้องบอกห้ามปรามกัน แต่กวางตกใจเสียงปืน มันก็วิ่งเตลิดผ่านหน้าบ้านของชายคนหนึ่ง ชายคนนั้นไม่รู้เรื่องราว ก็คว้าปืนลูกซองยิงสกัดออกไป ลูกปืนไปถูกลูกนัยน์ตาขวาของกวาง ถึงแก่ตาบอด แต่ต่อมาไม่ช้านาน เขาผู้นั้นไปตัดฟืนในป่า ถูกกิ่งไว้วัดเข้าที่ตาข้างขวา ถึงกับตาแตก และบอดในเวลาต่อมา เป็นที่น่าอัศจรรย์... (ที่กรรมตามทันอย่างรวดเร็ว)

    หลวงพ่อได้อยู่วัดวังตะกู เป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีอาจารย์รูปหนึ่ง เดินทางมาจากจังหวัดนครราชสีมา ได้มาขอพักอยู่ที่วัดวังตะกู ครั้นอยู่นานเข้าก็มีประชาชนนับถือมาก เลยถือโอกาสตั้งตัวเป็นเจ้าอาวาส โดยมีทายกบางคนให้การสนับสนุน จึงได้รื้อกุฏิปลูกใหม่ ให้เรียงเป็นแถว เป็นระเบียบ ดูจะเป็นการขับไล่หลวงพ่อเขียนทางอ้อม โดยเว้นกุฏิของหลวงพ่อ ทิ้งไว้ให้โดดเดี่ยวอยู่องค์เดียว นอกจากนั้นยังได้สร้างเชิงตะกอนเผาศพ ไว้ด้านทิศตะวันออก ใกล้ๆ กับกุฏิของหลวงพ่อ เวลาเผาศพ กระแสลมก็จะพัดควัน และกลิ่นเข้าหากุฏิหลวงพ่อ จนตลบอบอวลไปหมด ทำให้ท่านได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะการเผาศพในสมัยนั้น กว่าจะไหม้หมดก็กินเวลาหลายชั่วโมง ถึงแม้หลวงพ่อจะได้รับความทุกข์ทรมานเพียงใด ท่านก็ทนอยู่ได้โดยใช้ขันติธรรมไม่ยอมไปไหน อีกทั้งในขณะนั้น ทายกเก่าๆ ก็ตายเกือบหมดแล้ว ท่านจึงขาดที่พึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    a.jpg

    ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ บ้านสำนักขุนเณร ขณะนั้นยังเป็น กำนันตำบลวังงิ้ว เป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล ทั้งมีความเคารพนับถือหลวงพ่อมาก จึงพร้อมกับ คณะทายก อุบาสก อุบาสิกา ได้พากันมานิมนต์หลวงพ่อ ขอให้ไปจำพรรษาที่วัดสำนักขุนเณร ซึ่งอยู่ห่างไกลจากวัดวังตะกู ประมาณ ๕ กิโลเมตร คณะที่ไปนิมนต์หลวงพ่อได้รับปากกับท่านว่า จะช่วยสร้างกุฏิให้พอเพียงกับพระภิกษุสงฆ์ ที่ติดตามท่านไปด้วย ทั้งจะสร้างคอกม้าให้กว้างขวาง พอที่จะบรรจุม้าทั้ง ๗๐ ตัวของหลวงพ่อ ได้อย่างสบาย หลวงพ่อได้มองเห็นเจตนาดี และเสียอ้อนวอนมิได้ ก็รับนิมนต์ไปอยู่วัดสำนักขุนเณร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ระหว่างวัดสำนักขุนเณร กับวัดวังตะกู มิได้ขาด

    ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๓ หลวงพ่อจึงตัดสินใจที่จะไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร แต่ก่อนท่านจะจากไป หลวงพ่อได้ไปยืนทำสมาธิ ที่ต้นไม้ทุกต้น ภายในบริเวณวัดวังตะกู เสมือนหนึ่งท่านจะอำลาเทพยดา ที่ต้นไม้เหล่านั้น เพราะท่านอยู่ที่นี้มาถึง ๓๐ พรรษา เมื่อหลวงพ่อไปอยู่วัดสำนักขุนเณรแล้ว คณะทายกทายิกา วัดวังตะกู มีความอาลัย ก็พากันมานิมนต์หลวงพ่อให้กลับไปจำพรรษา ที่วัดวังตะกูตามเดิม ด้วยความเมตตา ท่านก็กลับไปอยู่วัดวังตะกูอีก ๑ สัปดาห์ แล้วท่านก็ขอตัวกลับมาอยู่ วัดสำนักขุนเณร แต่นั้นมา

    สมัยหนึ่ง ท่านอาจารย์[​IMG]ประทุม สุนทรเกล้า เจ้าอาวาสวัดวังตะกูสมัยหนึ่ง ได้ไปกราบนมัสการหลวงพ่อเขียน ที่สำนักวัดขุนเณร ได้ขออนุญาตท่านหล่อรูป และสร้างเหรียญหลวงพ่อ โดยจะจัดพิธีพุทธาภิเษก ให้ประชาชนบูชา เพื่อหารายได้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดวังตะกู หลวงพ่อก็อนุญาต

    ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้น ทางคณะกรรมการได้นิมนต์ พระอาจารย์สำคัญๆ หลายรูปมาร่วมพิธีปลุกเสก เป็นอันมาก ในขณะประกอบพิธีอยู่นั้น ทั้งๆ ที่ท้องฟ้าแจ่มใส ปราศจากเมฆหมอก ก็ปรากฏว่า... สายฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก พระอาจารย์ต่างๆ ที่กำลังทำพิธีต้องหนีขึ้นกุฏิหมด เหลือแต่หลวงพ่อองค์เดียว

    กรรมการก็รีบเข้าไปนิมนต์ท่าน ขึ้นกุฏิหลบฝน แต่ท่านกลับบอกว่า ถ้าท่านลุกจากที่นี้อีกองค์หนึ่ง พิธีก็เสียหมด ทั้งยังกล่าวต่อไปว่า “ฝนมันตกไม่นานหรอกน่อ เพียง ๕ นาทีเท่านั้นก็หาย เทวดาเขาให้ฤกษ์ดีน่อ” บรรดากรรมการทั้งหลาย ได้ฟังหลวงพ่อบอกเช่นนั้น ก็คอยจับเวลาดู ครั้นได้เวลาครบ ๕ นาที ฝนก็หยุดตก ขาดเม็ดทันที !

    ท่านอาจารย์ประทุมคิดว่า สายฝนกระหน่ำอย่างนี้ หลวงพ่อคงจะเปียกฝน โชกไปทั้งตัว จึงนำเอาผ้าไตรไปถวายหลวงพ่อ เพื่อให้ครองใหม่แทนผืนเก่า แต่หลวงพ่อบอกว่า “ไม่ เปลี่ยนน่อ” ปรากฏว่า ผ้าไตรที่หลวงพ่อครองอยู่นั้น ไม่เปียกฝนแม้แต่น้อย และบริเวณที่ท่านนั่งอยู่ ไม่มีแม้แต่ละอองฝน ประดุจมีคนมากางกลดเฉพาะตัวท่านฉะนั้น ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ฝนตกแต่ในบริเวณวัดเท่านั้น นอกเขตวัดออกไป ไม่มีฝนตกเลย แม้แต่เม็ดเดียว

    เนื่องจากสัตว์ป่า ที่ชาวบ้านเขานำมาถวายหลวงพ่อ มีจำนวนมากขึ้นทุกที และสัตว์เหล่านั้นมักจะไปเหยียบย่ำพืชผลของชาวบ้าน ได้มีบุคคลบางคนเขียนบัตรสนเท่ห์ ร้องเรียนไปยังนายอำเภอบางมูลนาก ทางอำเภอจึงส่งเรื่องให้เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรพิจารณา

    ทางเจ้าคณะจังหวัด ได้รับหนังสือจากนายอำเภอแล้ว จึงได้ตั้งคณะกรรมการไปสอบสวนหลวงพ่อเขียน ประกอบด้วยผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และมีปลัดอำเภอบางมูลนากร่วมด้วย ทางคณะสงฆ์ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการ ไปสอบสวนให้ได้ตัวเจ้าทุกข์ ว่าเป็นความจริงตามคำร้องเรียนหรือไม่ และให้สอบถามชาวบ้าน หากจะปลดหลวงพ่อเขียน จากตำแหน่งเจ้าอาวาส แล้วให้พระที่อาวุโสรองลงมาเป็นเจ้าอาวาสแทน จะขัดข้องหรือไม่

    เมื่อคณะกรรมการเดินทางไปถึงวัด ได้เรียกประชุมชาวบ้าน ในเบื้องต้น ปลัดอำเภอฯได้สอบถามหลวงพ่อเขียนว่า “หลวงพ่อเลี้ยงสัตว์ และผสมพันธุ์ จนมีเป็นจำนวนมาก ใช่หรือไม่ ? ”

    หลวงพ่อตอบว่า “อาตมาไม่ได้เลี้ยง ชาวบ้านเขาพากันนำมาถวาย ขัดศรัทธาไม่ได้ก็รับไว้น่อ ทั้งอาตมาก็ไม่ได้ผสมมัน พวกมันผสมกันเองน่อ”

    จากนั้น คณะกรรมการได้สอบถามหาตัวเจ้าทุกข์ผู้ร้องเรียน แต่ไม่มีผู้ใดแสดงตัวออกมา ครั้นคณะกรรมการสอบถามชาวบ้าน ถึงเรื่องจะเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาส ว่าเห็นสมควรให้พระอาวุโสองค์ใด เป็นเจ้าอาวาสแทนหลวงพ่อเขียน ก็ไม่มีผู้ใดเสนอ เมื่อสอบถามต่อไปว่า ผู้ใดเห็นควรให้หลวงพ่อเขียนเป็นเจ้าอาวาสต่อไป ปรากฏว่าชาวบ้านสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ ในที่สุดคณะกรรมการก็เอาผิดหลวงพ่อเขียนไม่ได้ และจำต้องให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสต่อไป

    หลวงพ่อเขียน พร้อมด้วยกำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา และประชาชน ได้ช่วยกันก่อสร้าง ถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา ณ วัดสำนักขุนเณร หลายอย่าง ดังนี้
    ๑. กุฏิหอสวดมนต์
    ๒. หอประชุมสงฆ์
    ๓. สร้างสะพานข้ามคลอง เชื่อมวัดกับหมู่บ้าน
    ๔. สร้างพระประธาน ๑ องค์
    ๕. สร้างศาลาหลังใหญ่ กว้าง ๑๒ วา ยาว ๑๕ วา
    ๖. สร้างพระอุโบสถ ๑ หลัง


    เนื่องจาก กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ ได้ยกที่ดินให้ เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียน หลวงพ่อเขียน ท่านได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้มอบปัจจัยจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาทแก่ทางราชการ เพื่อสมทบในการก่อสร้างอาคารเรียนแห่งนี้ เมื่อโรงเรียนสร้างเสร็จ ทางราชการจึงได้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดสำนักขุนเณร (หลวงพ่อเขียนอุทิศ) เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งคุณความดีของหลวงพ่อ โรงเรียนแห่งนี้ เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้น ประถมปีที่ ๑ ถึง ประถมปีที่ ๗ (ปัจจุบันเหลือแค่ ประถมปีที่๖) นับว่าหลวงพ่อได้ช่วยสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนของชาติ ให้เจริญก้าวหน้า ด้วยเมตตาธรรมของท่านเป็นอย่างยิ่ง

    การเจริญกรรมฐานของหลวงพ่อนั้น ท่านมักจะปฏิบัติในเวลาดึกสงัด ปราศจากสรรพสำเนียงรบกวน ชาวบ้านจำนวนมาก ไม่มีผู้ใดทราบ ว่าหลวงพ่อใช้เวลาเจริญกรรมฐานตอนไหน เพราะในยามค่ำคืน จะมีแสงไฟสลัวๆ ในกุฏิของหลวงพ่อเสมอๆ และมักจะดับเอาตอนรุ่งสางแล้ว

    ตามปกติในเวลากลางวัน ท่านก็ต้องออกมานั่งปัดเป่าความทุกข์ให้แก่ชาวบ้าน ที่พากันหลั่งไหลมานมัสการไม่ขาดสาย ตั้งแต่เช้าจรดเย็นเป็นประจำ แม้กระทั่ง เมื่อสังขารของท่าน ทรุดโทรมมากแล้วก็มิได้เว้น

    หลวงพ่อเขียน มีโรคประจำตัวท่านอยู่โรคหนึ่ง นั่นก็คือ โรคหืด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานท่านเป็นอย่างมาก เมื่อเวลาโรคกำเริบ แต่หลวงพ่อจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา เพราะท่านระงับด้วยขันติธรรม

    ต่อมา เมื่อท่านชราภาพมากขึ้นทุกขณะ ท่านฉันภัตตาหารไม่ค่อยจะได้ ทำให้เรี่ยวแรงหมดไปทุกที คณะกรรมการวัด และศิษยานุศิษย์ จึงได้นำหลวงพ่อไปรักษา ที่สถานพยาบาลในตลาดบางมูลนาก แต่เนื่องจากความชรา และโรคกำเริบ สุดความสามารถของแพทย์จะรักษาท่านได้ ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในคืนวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ เวลา ๒๓.๕๐ น. สิริรวมอายุได้ ๑๐๘ ปี


    a.jpg

    หลวงพ่อเขียนท่านศักดิ์สิทธิ์ แม้เมื่อท่าน มรณภาพไปแล้ว ดังเช่นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. ได้มีคนร้าย ไม่ทราบจำนวนนำรถยนต์มาขน พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ที่หลวงพ่อเขียนได้หล่อไว้ ซึ่งประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดวังตะกู ประมาณ ๔๐ กว่าปีมาแล้ว ต่อมา พระอุโบสถพัง ทางวัดจึงย้ายไปประดิษฐานไว้ ในพระวิหารวัดวังตะกู พร้อมด้วยพระประธาน และรูปหล่อของหลวงพ่อ คนร้ายจำนวนดังกล่าว ได้ลอบไขกุญแจเข้าไปหามเอาพระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ออกมาได้แล้ว แต่ยังไม่พ้นเขตวัด คนร้ายอีกจำนวนหนึ่ง เตรียมติดเครื่องยนต์คอยอยู่นอกวัด แต่กลุ่มที่อยู่ในวัด หาทางออกนอกวัดไม่ได้ รถที่อยู่นอกวัดก็เกิดขัดข้อง แก้ไขเท่าใดก็ไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้ คนร้ายที่ช่วยกันหามพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จึงจำเป็นต้องนำพระทั้งสององค์ไปซุ่มไว้ ข้างที่บรรจุอัฐิ นายมานพ จันทร์พวง เหล่าคนร้ายทั้งหมด ได้กลับมาที่รถ และ ช่วยกันแก้ไขรถ อยู่นานหลายชั่วโมง จนฟ้าเริ่มสาง เป็นเวลาที่ชาวบ้านจำนวนมาก มาตักน้ำในสระของวัด พอชาวบ้านมากันมากเข้า รถก็ติดพอดี คนร้ายไม่กล้าวกกลับไปขนเอาพระที่ซ่อนไว้ จึงจำต้องขับรถหนีไป

    เมื่อคนร้ายไปแล้ว ชาวบ้านเห็นประตูวิหารเปิดอยู่ และไม่เห็นพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จึงนำความไปแจ้งแก่เจ้าอาวาส และช่วยกันหาอยู่นานก็ไม่พบ ในที่สุดเจ้าอาวาสวัดวังตะกู ได้จุดธูปเทียนบอกกล่าวแก่หลวงพ่อเขียน จึงได้พบพระ ถูกซ่อนไว้ในที่บรรจุอัฐิ...

    อำนาจจิตอันมหัศจรรย์ของหลวงพ่อเขียน ยังมีอีกมากมาย และเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อกันไป ควบคู่กับคุณงามความดีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวบ้านบางมูลนาก จนตราบเท่าทุกวันนี้ ”...



    ..........................


    พี่แก้วได้เช่าเหรียญหลวงพ่อเขียนมอบให้ขอบคุณจ่ะ พี่แก้ว
    ..........................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...