คลังเรื่องเด่น
-
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ใจของใครคนนั้นต้องขัดเกลาเอง ครูบาอาจารย์เป็นเพียงผู้ชี้แนะเท่านั้น
เรื่องของการปฏิบัติธรรม จุดที่สำคัญที่สุดก็คือสร้างสติให้เกิด ให้ตัวเราตื่นรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับและตื่นมีสติรู้เท่ากัน ถ้าทำยังไม่ถึงจุดนี้ การปฏิบัติธรรมของเราแทบจะไม่มีผล เนื่องเพราะว่าสิ่งที่เราระมัดระวังรักษาเอาไว้ในช่วงกลางวัน จะไปหลุดหมดเกลี้ยงตอนกลางคืน
บางคนกิเลสงอกงามมากกว่าปกติอีก กลางวันระมัดระวังศีลทุกสิกขาบท แม้แต่มดยังพยายามที่จะเลี่ยงไม่เหยียบ กลางคืนเผลอหน่อยเดียว ฝันว่าเขาฆ่าเขาทั้งกองทัพเลย..! บางคนกลางวันสำรวมมาก แม้แต่เพศตรงข้ามยังไม่กล้ามองตรง ๆ กลางคืนฝันว่าปล้ำลูกชาวบ้านเขาไปเรียบร้อยแล้ว..!
นั่นคือการที่เราขาดสติ ถ้าหากว่าสติเราสมบูรณ์อยู่ หลับและตื่นจะมีความรู้สึกเท่ากัน หลับอยู่ก็รู้ว่าตัวเองตอนนี้กำลังหลับ หลายคนได้ยินเสียงตัวเองกรนด้วย..! เพียงแต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ให้ต่อเนื่องตามกัน ถ้าเผลอสติหลุดไป เดี๋ยวสภาพจิตที่โดนเก็บกดมาตอนกลางวัน ก็จะไปอาละวาดอีก..!
บุคคลที่ทำได้คล่องตัวแล้วจึงได้ชื่อว่า พุทโธ คือ ผู้ตื่น ภัทเทกะรัตโต คือ ผู้มีราตรีอันเจริญ เพราะว่าสภาพจิตอยู่กับคุณงามความดีตลอดเวลา ไม่ปรุงแต่งไปในด้าน รัก โลภ โกรธ หลง... -
"บางคนก็นับถือด้วยความกลัว" (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
"บางคนก็นับถือด้วยความกลัว"
" .. ในอนุสติ ๑๐ ข้อ "เทวตานุสติ" นั้นก็ไม่ใช่ให้คิดให้นึกถึงเทพยดาเป็นที่เคารพนับถืออย่างใด "ท่านให้ระลึกถึงคุณธรรมความดีอันใดที่ส่งผลให้ได้ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม" นั้น ๆ "คนทั้งหลายยังตีความหมายในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ไม่ถูกนะ" มีเยอะแยะอยู่ อาตมาก็ยังหมั่นพูดให้คนฟังได้เข้าใจ ไปเทศน์ที่ไหนก็พยายามสอนให้เข้าใจ
การนับถือเทวดา อินทร์ พรหมหรือภูตผีปีศาจเหล่านี้ "บางคนก็นับถือด้วยความกลัว อย่างนี้แหละ ความกลัวนี้เป็นเหตุ" ทำให้คนเราเที่ยวนับถือในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้โดยการเล่าลือกันว่า "ผีตรงนั้นดุนะ ถ้าไม่กราบไหว้ หรือไม่บูชาด้วยดอกไม้ธูป เทียนไม่ได้เชียวนะ" พอมีผู้หนึ่งโฆษณาไว้อย่างนี้ "คนอื่นก็พากันกลัวตามตื่นกลัวโดยไม่ใช้ปัญญา" ได้แต่ทำตามอย่างกันไป เมื่อจะไปที่นั่นต้องมีดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชา จึงผ่านไปได้
อย่างทางที่จะไปอำเภอหล่มสักจากจังหวัดเพชรบูรณ์ เคยมีคนพูดว่า "ริมแม่น้ำเลยนั้นใสนิ่งน่ากลัวอยู่เหมือนกันแหละ" แต่ต่อมามีการสร้างศาลเจ้าที่ริมฝังแม่น้ำเลยตรงนั้น "ก็มีธรรมเนียมใหม่ขึ้นมา ใครเดินทางไปถ้าไม่มีพวงมาลัย ไม่มีดอกไม้ไปบูชาไม่ได้เลย... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ตัวตายแต่จิตไม่ตาย
ตัวตายแต่จิตไม่ตาย
ผู้ถาม : ดูหนังทีวีเรื่องหนึ่ง เขาตายแต่จิตยังไม่ถึงคราวตาย ก็วนเวียนและไปเข้าร่างหนึ่งที่ตายใหม่ๆไปอยู่แทน จะเป็นไปได้ไหมคะ ?
หลวงพ่อ : ก็ต้องไปถามทีวีดู
ผู้ถาม : ถามหลวงพ่อดีกว่าเจ้าค่ะ
หลวงพ่อ : หลวงพ่อไม่รู้จะตอบยังไงน่ะซิ เรื่องจริงก็มีอยู่รายเดียว
เจ้าคุณราชสุทธาจารย์ ท่านตายแล้ว วิญญาณของท่านมาช่วยงานเผาศพตัวท่านเอง
เวลาเขาเผาเสร็จ เขาก็เดินทางกลับบ้าน ท่านก็เดินกลับด้วย ก็นึกถึงน้องสาวว่าเมื่อเราป่วยใหม่ๆ น้องสาวกำลังคลอดบุตรกำลังอยู่ไฟ ก็แวะเข้าไปเยี่ยมน้องสาว
น้องสาวเห็นหน้าเข้า ก็บอก "พี่เล็งตายแล้วไปสู่ที่ชอบๆเถิด อย่าได้มากวนเลย"
ท่านก็เลยบอกว่าเวลานั้นรู้สึกอายน้องสาว เราไปเยี่ยมแต่เขากลับเห็นว่าเราเป็นศัตรู ก็
ถอยหลังออกมา พอถอยหลังออกมาประตู ก็หมุนติ้วทรงตัวไม่อยู่ล้มลง ล้มลงก็ไปเข้าร่างกายของเด็กซึ่งเป็นลูกของน้องสาว
ทีนี้ก็มีปัญหาถามท่านว่า ไอ้คนเราเกิดมาก่อน จิตวิญญาณมันมีอยู่แล้วใช่ไหม แล้ว
จิตวิญญาณดวงนี้มันเข้าไปซ้อนกันได้ยังไง
ท่านก็บอกว่ามีบาลีในอภิธรรมบอกว่า "ปุเร ชาโต ปัจฉา ชาโต"
เขาแปลว่าเกิดก่อนหรือเกิดหลัง
"ปุเร ชาโต"... -
พระจับสตางค์
พระจับสตางค์
มีอีกข้อหนึ่งบรรดาญาติโยมพุทธศาสนิกชน มาพูดเรื่องพระหยิบสตางค์ว่า มีสำนักหนึ่งหลายสำนักทีเดียว ถ้าเข้าไปปฏิบัติในสำนักนั้นล่ะ ห้ามหยิบสตางค์ ถ้าใครเขานำเอาสตางค์มาถวาย มีทายกเก็บไว้ใช้ ความจริงข้อนี้น่าจะอ่านพระวินัยให้เข้าใจชัดไม่ใช่ของลี้ลับ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบอกไว้แล้วว่า
"รับเงินเองก็ดี ให้บุคคลอื่นรับก็ดี หรือให้บุคคลอื่นเก็บไว้เพื่อตนก็ดี เป็นอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์เหมือนกัน"
ถ้าอย่างนั้นละก็จะไปนั่งหลอกชาวบ้านเพื่อประโยชน์อะไร ทำตนเป็นเคร่ง ใครเขาถวายสตางค์เข้ามาหยิบไม่ได้ แต่ก็รู้อยู่ว่าสตางค์อยู่ที่ตาคนนั้นตาคนนี้ ตาคนนั้นตาคนนี้เก็บไว้ให้ อาบัติมันเท่ากัน นี่ทำแบบนี้มันก็เป็นมายาเป็นอุปกิเลส นี่มันเสีย 2 ทาง
อาบัติ "นิสสัคคิยปาจิตตีย์" ก็เป็นด้วย และก็เสียในด้าน "มุสาวาท" โกหกชาวบ้านอีกด้วย จิตใจทำเพื่อโอ้อวด เป็น "อุปกิเลส" ฝ่ายธรรมะ
โดนเข้าไป 3 ต่อ กระสุดนัดเดียวได้ นกระยำ 3 นก เรียกว่าได้ทั้งแร้ง ทั้งเหี้ย ทั้งกามาเลย ดีไหม...อย่างนี้ก็เจริญพรซิ หรือบรรลัยพรก็ไม่แน่ ไม่เป็นเรื่อง ไม่ควรแก่การปฏิบัติจริงๆ... -
มอบศพให้โรงพยาบาล
มอบศพให้โรงพยาบาล
ผู้ถาม : กราบเรียนหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง คืออย่างนี้ครับหลวงพ่อ
พ่อของกระผมเป็นคนมีชื่อเสียงในวงราชการ อายุก็มากแล้ว สุขภาพใกล้จะกลับบ้านมิกลับบ้านแหล่ พ่อแกฉลาดรีบทำพินัยกรรมมอบศพให้โรงพยาบาลศิริราชทันที
ทีนี้ปัญหาก็มีอยู่ว่าเมื่อตายแล้วกระผมจะทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะพวกลูกๆทุกคนต่างก็เป็นใหญ่เป็นโตมีเงินมีทองมาก อยากจะเผาให้เป็นเกียรติ
สมมุติว่าแกตายไปแล้วเราไม่เอาไปให้โรงพยาบาล จัดการเผาเสียเองอย่างนี้วิญญาณของพ่อจะโกรธไหม และจะมาเล่นงานได้หรือไม่ ขอให้หลวงพ่อช่วยสงเคราะห์เป็นกันชนไว้ด้วยเถิดขอรับ
หลวงพ่อ : ท่านอาจจะเสียกำลังใจก็ได้นะ ก็การให้โรงพยาบาลเป็นมหากุศลนี่ อุทิศร่างกาย
ผู้ถาม : ตายแล้วเอากระดูกกระเดี้ยวไปให้ เอาศพไปให้ มีประโยชน์ด้วยหรือครับ
หลวงพ่อ : เอ้า เป็นกุศลใหญ่ เขาตั้งใจไว้ก่อนตาย "อัชฌัตติกทาน" ทานภายใน ได้อานิสงส์มาก
ผู้ถาม : ก็ตัดสินใจเอาเองนะ จะเผาก็มีเกียรติ แต่พ่อจะโกรธ จะไม่เผาก็กลัวจะเสียเกียรติ
หลวงพ่อ : เอางี้ซิ ปั้นหุ่นท่าน เอากระดาษทำหุ่นก็ได้ให้เหมือนพ่อแล้วเผา
ผู้ถาม : เผาจริงคือเอาหุ่นใช่ไหมครับ เอาตัวจริงให้โรงพยาบาล... -
"การอุทิศบุญ" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
"การอุทิศบุญ"
" .. การอุทิศนี้เป็นของสำคัญนะ อุทิศด้วยการกรวดน้ำก็ดีไม่กรวดน้ำก็ได้ "สำคัญที่อุทิศทางใจ" น้ำนี้เป็นสักขีพยานกายนอกต่างหาก "หลักอันใหญ่โตจริง ๆ คือใจ น้ำใจต่างหาก" นี้หลักของธรรมแท้เป็นอย่างนี้ .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน -
โมทนาบุญ ได้อานิสงส์ไม่น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
โมทนาบุญ ได้อานิสงส์ไม่น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
ผู้ถาม : สมมุติว่าคนอื่นเขากำลังถวายสังฆทานหลวงพ่อ ลูกก็แอบไปจับข้างหลัง เพื่อเป็นการถวายไปในตัวด้วย แบบนี้จะมีอานิสงส์เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่เจ้าคะ ?
หลวงพ่อ : บาปซิไปจับเขานี่ เป็นบาปนะนี่ เฉพาะยกทรงทำ บาป คนอื่นเขาทำไม่บาป
นี่นะแสดงว่เขายินดีด้วย ใช่ไหมล่ะ ก็เป็น "ปัตตานุโมทนามัย" แต่ความจริงไม่ต้องเหนื่อยก็ได้นะ นั่งยินดีเฉยๆจะดีกว่า พนมมือไหว้ก็แล้วกัน
ผู้ถาม : อ๋อ ไม่ต้องแตะหน้าแตะหลัง
หลวงพ่อ : ไปแตะเข้าคนนั้นรำคาญเขาจะเตะเอาล่ะซิ
ผู้ถาม : ทีนี้เวลาที่คนอื่นเขาทำบุญกับหลวงพ่อ เราก็ยกมือโมทนา โมทนาๆ อย่างนี้เราก็ได้อานิสงส์เต็มที่
หลวงพ่อ : โมทนานี่ อานิสงส์เขาได้ ไม่น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ที่ตั้งใจจริงๆนะ
ถ้าเจ้าของทานเป็นพระอรหันต์ชาติไหน คนนั้นก็เป็นพระอรหันต์ชาตินั้นเหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องเล็ก ใหญ่มาก
แต่ว่าถ้าโมทนาแบบยกทรงนะ นั่งโมทนาๆๆ อย่างนี้ถูกเตะ เขารำคาญ ยกมือเฉยๆ ตั้งใจเรียบๆ ใช่ไหม เวลานั้นเขามีพระพุทธรูปไปด้วย ควรจะนึกถึงพระพุทธเจ้า ที่ฉันไหว้เวลาเขาถวายสังฆทาน ฉันไห้วพระพุทธเจ้าท่าน
ผู้ถาม :... -
ทำไมวิมานของหลวงพ่อจึงมี 3 หลัง
ทำไมวิมานของหลวงพ่อจึงมี 3 หลัง
เออ นี่เขาถามมากแล้ว ฉันจะคุยบ้างนะ เมื่อคืนวานซืนนี้ฉันว่าง เพราะอะไรรู้ไหม ไข้มันกิน ไข้กินตอนตี 2 เราก็ว่างจะไปไหนดี
ท่านสหัมบดีพรหมท่านพาไปที่นิพพาน ท่านบอกว่า คุณทราบไหมว่าวิมานของคุณทำไมจึงมี 3 หลัง
บอก ยังสงสัยนานแล้วหลายปีแล้ว มาทีไรก็ใช้หลังนี้หลังเดียว สองหลังไม่ได้ใช้
ท่านบอกว่า ใช่ ท่านบอก คุณสังเกตหรือเปล่า มาทีไรคุณใช้หลังนี้นะ
อีกหลังข้างหน้านั่นคือพระพุทธเจ้าประทับ จริงๆแล้วพระพุทธเจ้าท่านประทับหลังนั้น
อีกหลังใหญ่ พระอรหันต์มารวมพร้อมเลย เจ้าของไม่รู้หลายปีแล้ว เพิ่งรู้เมื่อคืนนี้เอง
"แล้วบริวารไว้ไหนล่ะครับ ไม่มีอีกหลังให้บริวาร ?"
หลังใหญ่นั่นให้บริวาร บริวารที่นั่นต้องเป็นอรหันต์ ที่อื่นไม่มีหรอก
(จากคอลัมภ์ "สนทนาที่สายลม" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 139 เดือนกันยายน 2535 หน้า 35) -
เจริญกรรมฐานได้ทุกที่ทุกเวลา
เจริญกรรมฐานได้ทุกที่ทุกเวลา
การเจริญพระกรรมฐาน ไม่จำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิเสมอไป ด้านภาวนานี่ก็เหมือนกัน ไม่ต้องตั้งท่า เดินไปเราก็ภาวนาของเราเรื่อยไป ภาวนาบ้างลืมไปบ้าง นั่งรถไปภาวนาไป กระจุ๋มกระจิ๋ม นิดๆหน่อยๆ อย่างนี้ดีมาก
ถ้าแบบนี้มันจะใช้อารมณ์ได้ทุกเวลา
และการเจริญพระกรรมฐาน ถ้ายังเก่งในมุ้งอยู่ ยังอีกนาน ถ้าไม่ถึงเวลาสงัดเราทำสมาธิไม่ได้ ยังอยู่ไกลมาก
ถ้าทำจุ๋งๆจิ๋งๆนิดๆหน่อยๆ ตามเรื่องตามราว นั่งคุยอยู่กับเพื่อน เพื่อนเขาลุกไปทำธุระ เราจับลมหายใจเข้าออก ภาวนา 2-3 คำ เพื่อนมาก็คุยกันใหม่
ดีไม่ดีทำงานทำการไป เหนื่อยๆก็วางปากกา วางเครื่องมือ จับคำภาวนาเสียนิด ไม่ต้องขัดสมาธิ อย่างนี้ดีไหม
(คัดบางส่วนจากหนังสือ "หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม เล่ม 2" หน้า 68-69) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ท้าวสักกะ(พระอินทร์)กับพระพุทธเจ้า/ เรื่องของท้าวสักกะทั้ง๑๗เรื่องในพระไตรปิฏก
ท้าวสักกะ(พระอินทร์)กับพระพุทธเจ้า
เรื่องของท้าวสักกะทั้ง๑๗เรื่องในพระไตรปิฏก
ที่มา https://www.youtube.com/@Tripitaka-TH -
จับลมหายใจไปพระนิพพาน
หายใจเข้าครั้งหนึ่ง หายใจออกครั้งหนึ่ง นึกถึงภาพพระองค์ท่าน นึกถึงคำภาวนา ก็คือเราใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง หายใจเข้าใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง หายใจออกใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง
ให้ตั้งใจว่า...ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เต็มไปด้วยความทุกข์นี้ เราไม่ขอเกิดมามีมันอีก ขึ้นชื่อว่าโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากเร่าร้อนนี้ เราไม่ขอมาเกิดอีก การเป็นเทวดาเป็นพรหม ที่มีสุขชั่วคราว เราก็ไม่ปรารถนา ตายเมื่อไร เราขอไปอยู่พระนิพพาน กับพระองค์ท่านเท่านั้น
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ใจของใครคนนั้นต้องขัดเกลาด้วยตนเอง
เรื่องของการปฏิบัติธรรม จุดที่สำคัญที่สุดก็คือสร้างสติให้เกิด ให้ตัวเราตื่นรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับและตื่นมีสติรู้เท่ากัน ถ้าทำยังไม่ถึงจุดนี้ การปฏิบัติธรรมของเราแทบจะไม่มีผล เนื่องเพราะว่าสิ่งที่เราระมัดระวังรักษาเอาไว้ในช่วงกลางวัน จะไปหลุดหมดเกลี้ยงตอนกลางคืน
บางคนกิเลสงอกงามมากกว่าปกติอีก กลางวันระมัดระวังศีลทุกสิกขาบท แม้แต่มดยังพยายามที่จะเลี่ยงไม่เหยียบ กลางคืนเผลอหน่อยเดียว ฝันว่าเขาฆ่าเขาทั้งกองทัพเลย..! บางคนกลางวันสำรวมมาก แม้แต่เพศตรงข้ามยังไม่กล้ามองตรง ๆ กลางคืนฝันว่าปล้ำลูกชาวบ้านเขาไปเรียบร้อยแล้ว..!
นั่นคือการที่เราขาดสติ ถ้าหากว่าสติเราสมบูรณ์อยู่ หลับและตื่นจะมีความรู้สึกเท่ากัน หลับอยู่ก็รู้ว่าตัวเองตอนนี้กำลังหลับ หลายคนได้ยินเสียงตัวเองกรนด้วย..! เพียงแต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ให้ต่อเนื่องตามกัน ถ้าเผลอสติหลุดไป เดี๋ยวสภาพจิตที่โดนเก็บกดมาตอนกลางวัน ก็จะไปอาละวาดอีก..!
บุคคลที่ทำได้คล่องตัวแล้วจึงได้ชื่อว่า พุทโธ คือ ผู้ตื่น ภัทเทกะรัตโต คือ ผู้มีราตรีอันเจริญ เพราะว่าสภาพจิตอยู่กับคุณงามความดีตลอดเวลา ไม่ปรุงแต่งไปในด้าน รัก โลภ โกรธ หลง... -
"ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย" (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
"ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย"
" .. พระรูปหนึ่งบอกว่า "เป็นนักปฏิบัติ เมื่อมาขออยู่กับอาตมา" ถามถึงระเบียบปฏิบัติ อาตมาจึงอธิบายให้ฟ้งว่า "เมื่อมาอยู่กับผม จะสะสมเงินทองและสิ่งของไม่ได้ผมถือตามวินัย" ..
ท่านพูดว่า : "ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย"
อาตมาบอกว่า : "ผมไม่ทราบกับท่าน"
ท่านเลยถามว่า : "ถ้าผมจะใช้เงินทอง แต่ไม่ยึดไม่หมายจะได้ไหม"
อาตมาตอบว่า : "ได้ ถ้าท่านเอาเกลือมากินดูแล้วไม่เค็มก็ใช้ได้"
ท่านจะพูดเอาเฉย ๆ เพราะท่านขี้เกียจรักษาของ จุก ๆ จิก ๆ นี่มันยาก "เมื่อเอาเกลือมากินท่านไม่เค็มแล้ว ผมจึงเชื่อ" ถ้ามันไม่เค็มจะเอามาให้กินสักกะทอ (เข่งเล็ก) ลองดู มันจะไม่เค็มจริง ๆ หรือ "เรื่องไม่ยึดไม่หมายนี้ ไม่ใช่เรื่องพูดเอง คาดคะเนเอา" ไม่ใช่ "ถ้าท่านพูดอย่างนี้อยู่กับผมไม่ได้" ท่านจึงลาไป .. "
"หมือนกับใจคล้ายกับจิต"
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ยักษ์ถามธรรม ???! พระพุทธเจ้าตอบธรรม
ยักษ์ถามธรรม ???! พระพุทธเจ้าตอบธรรม
*********************************************
อนุโมทนา และขอบคุณที่มา https://www.youtube.com/@Tripitaka-TH -
"ความริษยาเหตุแห่งความฉิบหาย" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ)
"ความริษยาเหตุแห่งความฉิบหาย"
" .. ทีสำคัญควรเข้าใจความจริงประการหนึ่งว่า "ความริษยานั้นจะเกิดได้ด้วยความรู้สึกไม่ดีต่อผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ใช่ความเกลียด" แต่เป็นความรู้สึกว่า "ผู้ใดผู้หนึ่งนั้นมีดีกว่าตน เป็นที่สนใจมากกว่าตน ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญมาก" จนน่ากลัวว่าจะเกินหน้าตน
หรือไม่ก็เป็นความรู้สึก "ทำนองหมั่นไส้ใครคนใดคนหนึ่งนั้น" ความรู้สึกทำนองดังกล่าว "ที่แท้จริงคือความริษยาที่จะพาให้โลกฉิบหาย" มากน้อยหนักเบาเพียงไรขึ้นอยู่กับความแรงความอ่อนของความรู้สึกริษยา ที่ก็คือความอิจฉาที่รุนแรงนั่นเอง
บางคนไม่ใช่ผู้มีความริษยา ที่จะเป็นเหตุแห่งความฉิบหาย "แต่อาจเป็นผู้ร่วมมือกับผู้มีความริษยา" คือทั้งที่ความริษยาไม่ได้เกิดในใจตน แต่หลงร่วมก่อทุกข์โทษภัยกับผู้มีความริษยาได้ "ด้วยการได้ยินได้ฟังวาจาของผู้มีความริษยา ที่กล่าวร้ายผู้ถูกริษยานานาประการ" แล้วหลงเชื่อว่าเป็นความจริง .. "
"แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐"
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
สมาธิมี 2 แบบ
สมาธิมี 2 แบบ
เอ้อ..สมาธินี่มันมี 2 แบบ พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนไว้ 2 แบบ คือ แบบทรงอารมณ์ กับ แบบคิด
บางครั้งถ้าจิตมันต้องการทรงอารมณ์ต้องการสงัดก็ต้องภาวนา ท่านจะสบาย
บางครั้งมันซ่าน ต้องการคิด เราก็คิดอยู่ในขอบเขต
ไอ้คิดในขอบเขตมันคิดว่า ร่างกายนี่มันก็เป็นทุกข์ทุกอย่าง เกิด แก่ เจ็บตาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจ การทำมาหากินก็เป็นทุกข์ทั้งหมด ความเป็นมนุษย์นี่มันเป็นทุกข์ ถ้าเป็นเทวดาหรือพรหมมันก็สุขชั่วคราว ไม่ช้าก็จุติอีก สู้เราไปนิพพานไม่ได้
ก็คิดกันแบบนี้ง่ายๆ แบบนี้ที่ว่าการปฏิบัติจริงๆ เขาไม่ใช้ยาว เขาสั้นๆแบบแม่ครัวที่ทำกับข้าว ถ้าไปดูตำราชั่งโน่นชั่งนี่ยังไม่ได้กินกันเลย ใช่ไหม สู้เอามือหยิบๆใส่ไม่ได้ อร่อยกว่าใช่ไหม ก็แบบเดียวกัน
(จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 290 เดือนพฤษภาคม 2548 หน้า 18-19) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
การที่เราจะหลุดพ้นจากกองทุกข์นั้นต้องมีปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง ยอมรับความเป็นจริงของร่างกาย
เรื่องของทิพจักขุญาณนั้นเป็นแค่ของแถมในการปฏิบัติเท่านั้น และแถมมาแล้วก็มักจะจัดการไม่ถูก สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก
ที่กระผม/อาตมภาพใช้คำว่า "ของแถมในการปฏิบัติ" ก็เพราะว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ตาม ถ้าวิสัยเดิมมาทางด้านวิชชาสาม อภิญญาหก หรือปฏิสัมภิทาญาณสี่ ถ้าจิตสงบลงได้ระดับเมื่อไร ทิพจักขุญาณจะเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องไปดิ้นไปรน ดังที่เคยเปรียบเทียบไว้ว่า ซื้อรถเมื่อไรก็ได้ล้อมาด้วย ไม่มีใครที่ซื้อรถแล้วต้องตะเกียกตะกายไปหาล้อเพิ่มขึ้น แต่ด้วยความที่ท่านทั้งหลายนั้น ต้องบอกว่าสติปัญญาน้อย จึงจัดการกับทิพจักขุญาณไม่ค่อยจะถูก
แม้กระทั่งลูกศิษย์รุ่นเก่า ๆ ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุง เท่าที่กระผม/อาตมภาพสัมผัสมาด้วยตัวเอง ก็นำเอาทิพจักขุญาณไปใช้ผิดเกิน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุง ท่านมั่นใจว่าลูกศิษย์ของท่านฉลาดพอ ท่านถึงได้สอนมโนมยิทธิให้ แต่ปรากฏว่าที่ฉลาดพอนั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ก็ออกทะเล กู่ไม่กลับ เพราะเมื่อเกิดทิพจักขุญาณขึ้นแล้ว ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ต่าง ๆ จะตามมาด้วย
ตัวกระผม/อาตมภาพเอง ก็เคยพลาดอยู่ถึง ๓ ปี กลายเป็น "ขี้ข้าชาวบ้าน" แม้ว่าตอนนั้นจะเป็นฆราวาส...
หน้า 13 ของ 412