*** สัจจะ กับ ภัยพิบัติและการเตรียมการ ****

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย หนุมาน ผู้นำสาร, 2 พฤษภาคม 2009.

  1. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    ในสมัยหนึ่ง ขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ในเวฬุวันวิหาร
    พระกิมพิละเข้าไปกราบทูลถามว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้พระสัทธรรม ดำรงอยู่ไม่นาน หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแล้ว

    และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรม ดำรงอยู่ได้นาน

    ธรรม....คือ ทำ
    ธรรม...หมายถึง การกระทำ
    ธรรม....หมายถึง การกระทำให้ตนเองหลุดพ้นทุกข์
    ธรรมในศาสนาพุทธ...หมายถึง การกระทำที่ทำให้พระพุทธเจ้าหลุดพ้นทุกข์
    เมื่อพระพุทธเจ้าทำได้จริง ตัดลดนิสัยได้จริง ... ก็นำการกระทำนั้นไปโปรดสอนสาวกให้ทำตามอย่าง
    การกระทำที่พระพุทธเจ้าบอกสอนนั้นก็คือ ....ธรรม

    สัจจะ....หมายถึง ความจริง ความเที่ยง
    สัจจะ...หมายถึง สัญญาใจตนเอง ที่จะทำให้เป็นความจริงขึ้นมา
    สัจจะ....หมายถึง ข้อกำหนดให้ตนเอง ได้ตัดลดละกิเลสนิสัยบางอย่าง

    พระสัทธรรม ในที่นี้...หมายถึง สัจจะทำของพระพุทธเจ้า
    เป็นสัจจะ ที่ใช้ตัดลดกิเลสนิสัยตนเอง
    เป็นสัจจะ ที่พระพุทธเจ้าทำ และสอนให้ทำ
    จึงเป็นการปฏิบัติตนให้หลุดพ้นทุกข์ ด้วยสัจจะ

    พระสัทธรรม หมายถึง สัจจะที่พระพุทธเจ้าได้ทำไปแล้ว
    สามารถใช้ตัดลดกิเลสนิสัย ใช้ฝึกฝนขัดเกลานิสัย ใช้ตัดลดตัญหา มานะชั่วได้จริง

    สัทธรรม สัจธรรม สัจจะธรรม สัจจะทำ
    เป็นสิ่งที่สัตว์โลกต้องกลับมาทำให้ได้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  2. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    "บารมี"

    บารมี...คือผลตนทำได้
    บารมี...เป็นสิ่งที่ทำได้จาก "สัจจะปฏิบัติ"
    เป็นสิ่งที่จะทำให้เรา หลีกพ้นจากกรรมได้
    ทั้งกรรมของตนเอง กรรมของประเทศ...จนถึง กรรมของโลก
    สัจจะตัดลดกิเลสนิสัย...คือ หนทางสร้างและสะสมบารมี...ได้เร็วที่สุด
    สัจจะปฏิบัติ....จึงสามารถช่วยตัวเอง และประเทศชาติได้จริง

    บารมีจากการตัดกิเลสนิสัย ที่ทำได้จริง...จะจัดสรรหนทางรอดพ้นภัย พ้นกรรมให้เราเอง
    ประชาชนคนไทย จึงต้องช่วยกันทั้งประเทศ....จึงจะเกิดผลสูงสุด
    อนาคตต่อไป เมื่อถึงวันพิพากษา ผู้ที่ไม่เชื่อ ไม่มีสัจจะ....จะลำบากมาก

    *** บารมี คือผลตนทำได้ ****
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  3. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** จะทำอะไรก็ต้องทำให้เป็นสัจจะ ****

    ถ้า ปากเราบอกจะทำทานในวันพรุ่งนี้ พอถึงวันก็เกิดมีเหตุไม่ได้ไป
    ไปทำอย่างอื่นแทน สิ่งที่กล่าวไว้ ก็ไม่เป็นความจริง
    การกระทำของเรา ก็จะไม่เป็นสัจจะธรรม
    คือ ปากกายใจไม่ตรงกัน

    ศีลที่เรารับ เรากล่าวออกไปแล้ว
    เหมือนประกาศพยากรณ์ตนเอง ว่าจะทำสิ่งนั้น มีดินฟ้าอากาศเป็นสักขีพยาน
    แต่เมื่อเราขาดสัจจะ ทำไม่ได้จริง กลับกลายเป็นทำลาย ศีลที่เรารับเราประกาศไปนั้น ก็มัวหมองไป
    การจะรับศีล เราก็ต้องพิจารณาเรื่องเดินสายกลาง ทำในสิ่งที่พอทำได้ก่อน
    เมื่อเราเริ่มต้นได้ ความตั้งใจ การกระทำเราก็จะค่อยๆขยาย ทำได้มากขึ้น
    สำคัญคือสัจจะ จะทำให้ศีลที่รับนั้น ทำได้จริง

    เรื่องสัจจะ เป็นเรื่องของปัญญาพระพุทธเจ้า ที่พยายามเอาชนะกิเลสตัญหากามคุณ
    เป็นเรื่องของการพ้นทุกข์ ไม่ได้หวังบารมี
    แต่บารมีคือผลที่ทำได้ เกิดขึ้นมาเอง เกิดจากการกระทำของเราเองที่ทำได้จริง

    ธรรมแต่ละข้อ เสมือน เครื่องมือช่าง
    ที่เราต้องเลือกหยิบมาใช้ให้เหมาะกับสภาพที่เกิดขึ้นตอนนั้น
    ตอนไหนควรอุเบกขา ก็ทำให้เป็นสัจจะว่าวันนี้เราจะทำอุเบกขาให้กับตนเอง เราก็จะไม่ไปตอบโต้เขา

    ตอนไหนควรที่จะขันติ เราก็ต้องทำให้เป็นสัจจะ เช่น ทำขันติมีกำหนด ๑ ชั่วโมง
    แล้วเราก็ทำให้เกิดขึ้นจริงตามสัจจะที่เรากล่าวไปแล้ว หรือจะกำหนดเวลาเท่าไหร่ก็ขึ้นกับตัวเราเองพิจารณาก่อนว่า กล่าวไปแล้วจะสามารถทำได้จริง
    การปฏิบัติจึงต้องทำ จากน้อยๆ แต่ทำเป็นประจำทุกวัน
    เราทำได้ทุกวัน สัจจะนั้นก็จะสร้างการกระทำใหม่ให้เราเอง บุคลิกตัวเราก็จะเปลี่ยนไปทางที่ดี
    การกระทำของเราก็จะดีขึ้น นิสัยไม่ดีก็จะลดลง

    วันไหนจะทำอะไร เราก็ควรที่จะตั้งใจทำให้เกิดขึ้นจริง
    คือ ทำด้วยสัจจะ

    ข้าพเจ้า ไม่ได้มาทำลายธรรม ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
    แต่จะมาบอกให้พวกเรา นำธรรมนั้นไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง
    สิ่งที่เรากล่าวไปแล้ว แล้วเราไม่ทำ ทำบ้างไม่ทำบ้าง เป็นการกระทำแบบตามใจตัวเอง
    สิ่งเหล่านี้ มันสร้างการกระทำไม่เที่ยง แล้วมันจะส่งผลย้อนกลับมาที่ตัวเราภายหลัง
    แต่ถ้าเราทำได้ตามที่กล่าวไว้ ก็จะเกิด การกระทำเที่ยง ส่งผลเที่ยง ตามมา

    ธรรมทุกหัวข้อ สำคัญที่ทำได้จริง ทำให้เป็นสัจจะธรรม
    ทำข้อนั้น ก็จะกลายเป็นธรรมติดตัวเราไป
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2009
  4. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ธรรม ****

    ธรรมทุกข้อ...พระสงฆ์ ฆราวาส ท่านก็รู้จักกันดีแล้ว มีให้ศึกษากันทั่วหาอ่านศึกษาได้ไม่ยาก
    แต่ขาดเพียง....สัจจะ ที่จะนำธรรมแต่ละข้อ มาปฏิบัติอย่างจริงจังกับชีวิต
    จะทำอะไร... ต้องระบุกำหนดเป็นสัจจะ ให้ความชัดเจนกับตนเอง
    แล้วต้องทำจริง
    สัจจะ ที่ข้าพเจ้าพยายามบอก ไม่ใช่เป็นเพียงหัวข้อธรรมข้อหนึ่งเท่านั้น
    แต่เป็นสัจจะ ที่พระโคดมได้ปฏิบัติ และนำมาสอนสาวกให้ปฏิบัติตาม
    พระพุทธเจ้าสอนให้พ้นทุกข์ จึงมุ่งโปรดสอนให้ผู้ที่เชื่อ พยายามตัดนิสัยการกระทำชั่วออกจากชีวิต
    คือ ตัดด้วยสัจจะ
    ถ้าท่านไม่เปิดใจกว้าง ท่านก็จะไม่เชื่อคำสอนเรื่องสัจจะของพระพุทธเจ้า
    เสมือนมุ่งนิพพานพ้นทุกข์แบบพระพุทธเจ้า แต่ยังไม่ได้เดินตามการปฏิบัติของพระพุทธเจ้า
    ท่านขาดอย่างเดียว คือ ใช้สัจจะมานำชีวิตด้วยหัวข้อธรรมที่เหมาะสมในแต่ละวัน

    คือต้องปิดวางตำราไว้ก่อน แล้วค่อยๆพิจารณาเองว่าจริงหรือไม่
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  5. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** สัจจะ กับ พระพุทธเจ้า ****

    พระพุทธเจ้า ไม่เคยว่าใครผิด
    แต่ท่านจะมีเมตตาโปรดบอก การทำสิ่งนั้นเช่นนั้น ก็จะไม่พ้นทุกข์
    พระพุทธเจ้าทำแบบนี้ได้ เพราะขจัด นิสัยความเห็นที่ชอบมองผู้อื่นผิด มองคนอื่นไม่ถูก จนหมดสิ้นไปแล้ว
    กว่าที่จะขจัดนิสัยนี้จนหมดจนสิ้นได้จริงๆ ท่านก็ต้องทำจริงในแต่ละวัน ต้องฝึกให้เกิดขึ้นจริงทุกวัน จึงต้องใช้เวลา
    พระพุทธเจ้า ทรงตัดนิสัยนี้ด้วย สัจจะ เป็นประจำทุกวัน
    คือ ให้สัจจะกับตนเองว่า ...ไม่เห็นผู้อื่นผิด....มีกำหนดวันละหนึ่งชั่วโมง
    ในแต่ละฃั่วโมงที่ปฏิบัติด้วยสัจจะ ก็เกิด การพิจารณาตนเอง
    พิจารณาการกระทำของตนเองอยู่ ตลอดเวลา พิจารณาความคิดตนเอง พิจารณาอารมณ์ของตนเอง
    เพื่อไม่ให้ผิดต่อสัจจะ ที่ภาวนาอยู่ในใจ

    คนอื่นที่พบพระพุทธเจ้า ไม่รู้หรอกว่าท่านกำลังปฏิบัติตนด้วยสัจจะ
    ถ้าไม่ไปถามพระองค์ ท่านก็ไม่พูดถึง
    แต่ถ้าถามว่าพระองค์ท่านกำลังคิดอะไรอยู่ พระองค์ก็จะบอกความจริง ถึงสัจจะที่กำลังปฏิบัติอยู่

    การพิจารณา ที่เกิดขึ้นใน ชั่วโมงของสัจจะปฏิบัติ
    เกิดเป็นสมาธิขึ้นมาอัตโนมัติ เป็นสมาธิพิจารณาที่จำเป็นต้องใช้นำตนเองให้หลุดพ้นจากกิเลสนิสัย

    เมื่อเกิดการพิจารณาตนเอง ก็เกิดเป็นปัญญา
    ปัญญารู้ทันนิสัยตนเอง ปัญญารู้หนทางเอาชนะทำลายกิเลสนิสัยตัญหามานะชั่วต่างๆได้

    เมื่อพระโคดมอยู่ในป่าคนเดียว
    พยายามหาหนทางพ้นทุกข์ แต่เกิดความคิดเรื่องราวเก่าขึ้นมา เกิดเป็นกามอารมณ์มาคุกคาม
    จึงตั้งใจที่จะ ...เข็นหินไปทิ้งเหว
    พอได้ทำได้ออกแรงมากเข้า เหงื่อก็ผุดออกเปียกไปหมด
    พอเหงื่อได้ออก กามอารมณ์นั้นก็สลายหายไป
    นี้คือ ... ปัญญาพระโคดม เป็นปัญญาพระพุทธเจ้าที่สามารถเอาชนะกามอารมณ์ได้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  6. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ระลึกถึงสัจจาตน ****

    รักทุกท่าน...
    ขอให้ท่าน เป็นผู้รักษาสัจจะสัญญาใจตนเอง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  7. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** มาตรฐานโลกเดียวกัน ****

    สัจจะธรรม...เป็นหลักสากล รอบคอบจักรวาล
    นิสัยสันดานมนุษย์....เป็นเรื่องสากลโลก
    ความดี ความชั่ว อยู่ที่ตัวเรา...ก็เป็นเรื่องสากลโลก
    การทำความดี การขจัดกิเลสนิสัยสันดาน....ก็เป็นเรื่องสากลโลก
    สัจจะ....สัญญากับใจตนเอง ก็เป็นหลักปฏิบัติสากลโลก
    ส่วนหัวข้อปฏิบัติ หัวข้อธรรม...เป็นเรื่องของแต่ละกลุ่มจะถือปฏิบัติกัน เป็นเรื่องแตกต่างกัน
    สุดท้าย
    การหลุดพ้นทุกข์ ... เป็นเรื่องของการตัดกิเลสนิสัย ก็เหมือนกันทั้งโลก ทุกชาติ ทุกศาสนา
    ผู้นำประเทศ...ควรศึกษาพิจารณา ก่อนกรรมมาถึงตัว

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  8. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ใช้ชีวิตไม่ประมาท ****

    ถ้าเหล่าคนนำไม่แตกแยกคิดทำลายกันเองก็จะดี กรุงจะได้ไม่แตก
    ครุฑจะได้อยู่สถาพร สงครามรอบบ้านจะได้ไม่เกิด
    แล้วค่อยๆ ถอยหนีภัยธรรมชาติ
    สึนามิยักษ์จะเข้าอ่าวไทย ยอดภูเขาไฟกลางทะเลจะพ่นเถ้าถ่าน
    พายุใหญ่จะเข้าบ้าน แม่น้ำโขงจะไหลล้นถึงมหานคร ภูเขาจะหลุด หินกลิ้งบดบ้านเรือน
    สายฟ้าจะฟาดกลางกรุง แผ่นดินจะแตกระเบิด สองฝากฝั่งจะไหลลงลาวา น้ำทะเลจะไล่ฝูงชน
    ผู้คนจะได้พบ คำสอนสัจจะธรรมที่หดหายไปนาน
    อีกไม่นาน คอยดูนะ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  9. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** สัจจะ กับ หลวงปู่แหวน ****

    ให้ตั้งสัจจะ...หลวงปู่แหวนให้ตั้งสัจจะ

    การ ปฏิบัติเราจะเดินก็ให้ตั้งสัจจะไว้ว่า จะเดินเท่านี้เท่านั้น หรือเราจะนั่งวันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือถ้าเราสู้ไม่ไหวเราก็เอาแต่พอสมควร ให้ตั้งใจจริงๆ

    กำหนด ตั้งสัจจะไว้ในจิตในใจ ละความมัวเมาออกให้หมด คอยกำหนดจิตเข้ามาสู่ภายในให้ใจเบิกบาน ตั้งความสัจจะว่าจะภาวนาเป็นเวลาเท่านั้นเท่านี้ หรือถ้าจะเดินก็ให้กำหนด ระวังรักษาจิตใจของเรา ให้แช่มชื่นเบิกบานไม่ปล่อยจิตปล่อยใจให้เป็นธรรมเมา รักษาจิตใจให้ตั้งอยู่เฉพาะธรรมโม

    อย่า ละความเพียรความพยายาม ให้เพียรไปติดต่อกัน จะเป็นวันหนึ่งหรือคืนหนึ่งก็ได้ เช่น ตั้งสัจจะว่าจะนั่งตลอดคืนจะไม่นอน อย่างนี้ตั้งสัจจะไว้อย่างนี้เป็นการดี ตั้งสัจจะต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้งใจให้ดี คอยระวังรักษาจิตใจของเรานั้นแหละ ให้ผ่องใสตลอดไป

    ให้ พยายามรักษาความดีความหมั่นความขยันของเราไว้ ให้สละความเกียจคร้านออกไปเสีย ปกติจิตของเรานี้มักจะไหลไปสู่ความเกียจคร้านความลุ่มหลง

    เรา ต้องพยายามหาอุบายมาเตือนตนอยู่เสมอ ด้วยความเพียรความหมั่น ให้รักษา กาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในสิกขาวินัย นำความผิดความชั่ว ออกจากกาย จากวาจา จากใจ

    อาศัย ความเพียรเป็นไปติดต่อ จึงจะชนะความเกียจคร้านได้ ความมัวเมา ความประมาทอันใดมีก็ให้ละเสีย ให้วางเสีย ทำจิตใจของเราให้ตั้งอยู่ในธรรมโม พิจารณากลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ ต้องอาศัยความเพียรความหมั่นความขยัน ไม่เช่นนั้นจิตมันจะตกไปสู่ความเกียจคร้าน

    เรา ต้องตักเตือนข่มขู่ ชักจูงแนะนำจิตของเราด้วยอุบายแยบคาย ถ้าจิตใจมันเกียจคร้าน เราต้องหาอุบายมาตักเตือน ชักจูงแนะนำ ให้มีความอาจหาญ ร่าเริง ให้เกิดความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร ไม่ปล่อยให้จิตนิ่งเฉยเกียจคร้าน

    เรา ต้องละความเกียจคร้าน ความไม่ดีของจิตด้วยการอบรมภาวนาอย่างนี้ ถ้าเราตักเตือนชี้นำด้วยอุบายอันชอบ ในที่สุดจิตก็จะฟังเหตุผล เกิดความมุมานะพยายามในความเพียร เราต้องข่มขู่ตักเตือนบ่อยๆ ในสมัยที่จิตนิ่งเฉยต่อความเพียร

    ถ้า เราคอยประคับประคองจิต ด้วยอุบายข่มขู่ตักเตือน ด้วยอุบายแยบคาย จิตย่อมจำนนต่อเหตุผล ระวังรักษาสติไว้อย่าให้หลงลืม ฝึกหัดให้เกิดความรู้ความฉลาดเกิดขึ้นในจิตในใจของตน

    จิต ของเรา ถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะให้เรานอนท่าเดียว ถ้ามันเกิดอย่างนี้ขึ้นมา เราต้องหาอุบายมาข่มขู่ตักเตือน อุบายใดที่ยกขึ้นมาชี้แจงแล้วจิตยอมเชื่อฟังนั่นแหละคืออุบายที่ควรแก่จิตใน ลักษณะนั้น และในขณะนั้นๆ ถ้าเราไม่ข่มขู่ชี้โทษโดยอุบายที่ชอบ ใครเขาจะมาตักเตือนเรา บางครั้งจิตถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะวางเฉยในอารมณ์ทั้งหมด ในลักษณะเช่นนี้แหละ เราต้องหาอุบายมาทำให้จิตตื่นให้ได้ เช่นไหว้พระสวดมนต์ หรือยกธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณา

    ให้ ตั้งอยู่ในความหมั่นความเพียร ในคุณงามความดีของตน พยายามเพ่งดูในจิตในใจของเรานี้แหละ ถ้าไม่อาศัยความขยันหมั่นเพียร ไม่ได้ จิตเรานี้มันมักจะไหลไปสู่อารมณ์ต่างๆ เป็นอดีตอนาคตไป เราต้องหาอุบายมาชี้แจงให้ตั้งอยู่ในปัจจุบันธรรม

    ถ้า เราไม่หมั่นหาอุบายมาอบรมจิตแล้ว ส่วนมากจิตมักจะเกิดความเฉื่อยชา วางเฉย ดังนั้น อุบายจึงเป็นของสำคัญ ยกขึ้นสู่การพิจารณาชี้แจง ให้จิตอาจหาญ ร่าเริง เห็นแจ้งในจิตในใจของเรา ถ้าจิตยิ่งเกิดเกียจคร้านเท่าไรเราก็ต้องเพิ่มความพยายามตักเตือน โดยอุบายให้มากขึ้นให้เท่าเทียมกัน จนเกิดความขยันขันแข็ง เบิกบานผ่องใส

    ให้ตั้งอกตั้งใจตั้งสัจจะ ตรงต่อคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความอุตสาหะวิรยะ ความพากความเพียร ในภาวนาในคุณความดี

    ให้ตั้งอยู่ในสิกขาวินัย ในความหมั่นความเพียร

    ให้ ตั้งความสัจจ์ความเพียรไว้ อย่าเป็นคนเกียจคร้าน พระพุทธเจ้าสั่งสอนเราให้ตั้งอยู่ในมรรคในผล ให้พยายามรักษาจิตรักษาใจของเรา อาศัยความองอาจกล้าหาญ ในความพากความเพียรของเรา อย่าอ่อนแอท้อแท้ เราต้องสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าองอาจกล้าหาญจึงจะผ่านอุปสรรคไปได้

    ให้รักษาตา รักษาหู รักษาจมูก รักษากาย รักษาใจ ของตน ในทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน.http://palungjit.org/threads/ให้ตั้งสัจจะ-หลวงปู่แหวน.16733/

    โดย: สัจจะ นะครับ ตั้งเมื่อ: 04:38 น. 28 มิ.ย. 2009
    ให้ตั้งสัจจะ...หลวงปู่แหวน | MThA! Webboard

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  10. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    เราจะเปิดเผย สัจจะทำพระพุทธเจ้า

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  11. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ค้นหาสัจจะ ****


    ภูเขาสัจจพันธ์
    อยู่ในแคว้นสุนาปรันตะเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังแคว้นสุนาปรันตะพร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์สาวกจำนวนมากระหว่างทางทรงหยุดประทับโปรดสัจจพันธดาบสที่ภูเขาสัจจพันธ์ จากนั้นพระสัจจพันธ์ ซึ่งบรรลุพระอรหัตตผลแล้วมาในขบวนด้วย หลังจากทรงแสดงธรรมโปรดชาวสุนาปรันตะ และประทับรอยพระบาทรอยแรกไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทาแล้ว จากนั้นเสด็จต่อไปถึงภูเขาสัจจทันธ์ตรัสสั่งพระสัจจพัธ์ให้อยู่สั่งสอนประชาชน ณ ที่นั้น พระสัจจพันธ์ทูลขอสิ่งที่ระลึกไว้บูชา พระพุทธเจ้าทรงประทับรอบพระบาทไว้ที่ภูเขาสัจจพันธ์นั้น อันนับว่าเป็นประวัติการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทสองรอยแรก

    ถ้ำสัตตบรรณคูหา
    อยู่ที่ภูเขาเวภารบรรพต ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ ถ้ำสัตตบรรณคูหา อยู่เหนือถ้ำปิปผลิคูหาที่พักอาศัยของพระมหากัสสปะขึ้นไป ๑๒๐ เมตร เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน การประชุมสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกขึ้นที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา โดยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอุบาลี เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก สิ้นเวลา ๗ เดือน จึงเสร็จ
     
  12. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ค้นหา เรื่องรอยพระพุทธบาทที่ ๕ ****


    ประวัติรอยพระพุทธบาทที่ ๕
    ณ นัมทานที
    (เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต)

    ...ต่อมาเมื่อได้พบหลักฐาน จาก “กเบื้อง จาร”
    ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินบริเวณ บ้านคูบัว จังหวัด ราชบุรี ทำให้เราได้รู้ความจริง....
    รอยพระพุทธบาทที่ ๕ หรือตามประวัติที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ประทานรอยพระพุทธบาทนี้ไว้ให้ พญานาคราช ทั้งหลายได้สักการบูชานั้น ไม่ได้อยู่ที่ประเทศไหนตามที่เข้าใจกัน ความจริงอยู่ในประเทศไทยนี่เอง
    อีกทั้งความเชื่อถือของชาวใต้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ต่างก็มีความเคารพเลื่อมใส พากัน ไปกราบไหว้บูชาอยู่เสมอมา ทั้งได้ประสบพบ กับความ “พิสดาร” อีกนานัปการ คนที่ไม่มี ความเคารพต่างก็ประสบภัยพิบัติกันไปแล้ว หลายราย โดยเฉพาะวัตถุสิ่งของที่นั่น แม้แต่ ทรายเม็ดเดียวยังเอากลับมาไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราพอจะสรุปกันเพียงผิวเผินได้ว่า ถ้าไม่ใช่ของ จริงแล้วไซร้ คงจะไม่มีอะไรเป็นที่อัศจรรย์อย่าง แน่นอน
    ................................
    นิราศถลาง
    ขอนำบทกลอนที่บรมครูผู้มีชื่อเสียงอย่าง “ท่านสุนทรภู่” ได้พรรณนาการเดินทางมายัง ดินแดนปักษ์ใต้ในสมัยอดีต เมื่อเกือบ ๒๐๐ ปี ที่ผ่านมา โดยบันทึกเหตุการณ์ไว้เป็นบทกลอนจะขอนำมาเฉพาะตอนที่ไปกราบรอยพระพุทธบาท ดังนี้...
    “...มาประมาณโมงหนึ่งถึงพระบาท
    ที่กลางหาดเนินทรายชายสิงขร
    พี่ยินดีปรีดาคลายอารมณ์
    ประณมกรอภิวาทบาทบงสุ์
    จุดธูปเทียนบุปผาบูชาพร้อม
    รินน้ำหอมปรายประชำระสรง
    แล้วกราบกรานคลานหมอบยอบตัวลง
    เหมือนพบองค์โลกนาถพระศาสดา
    พี่พบต้องมองและพระลายลักษณ์
    เหมือนประจักษ์จริงจังไม่กังขา
    มีทั้งร้อยแปดอย่างกระจ่างตา
    เป็นดินฟ้าพรหมอินทร์สิ้นทั้งปวง”

    ...รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง ....
    แต่ก่อนที่ถึงเรื่องราวทั้งหลายต่อไป จะขอย้อนกล่าวถึงรอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่งเสียก่อน ความจริงรอยพระพุทธบาทในประเทศไทยยังมีอีกมาก แต่เท่าที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจนเป็นที่ยอมรับของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายนั้น

    มีปรากฏอยู่ในพระบาลีดังนี้ คือ :-
    ๑. สุวรรณมาลิก (ลังกา)
    ๒. สุวรรณบรรพต (สระบุรี)
    ๓. สุมนกูฏ (ลังกา)
    ๔. โยนกปุระ (เชียงใหม่)
    ๕. นัมทานที (ภูเก็ต)

    ข้อความในวงเล็บนั้น ผู้เขียนลงเอาไว้เพื่อความเข้าใจตามที่ได้ค้นคว้ามา ซึ่งจะหาอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ “ธัมมวิโมกข์” ฉบับ ที่ ๑๕๖, ๑๖๓, ๑๖๔ (ปี ๒๕๓๗) ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่ ๕ “นัมทานที” ซึ่งได้ยืนยันไว้เป็นหลักฐานจากหนังสือ “พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์” อ่านคำจารึกโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มีใจความตามสำนวนสมัยเมื่อสอง พันห้าร้อยกว่าปีมานี้เองว่า...

    “บุญมุนี อยู่ถ้ำฤษี ผู้นำพุทธ สู่เกาะ คนชาวน้ำ หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้
    ห้อมล้อม พุทธสอนมาก หมู่คนขอรอยตีนไว้ ชายทเล พุทธเหยียบดิน ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า เมื่อวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒...”

    ถ้าใช้สำนวนในปัจจุบันอ่านได้ดังนี้
    “พระปุณณะ อยู่ถ้ำฤษี (เขางู จ.ราชบุรี) ผู้นำพระพุทธเจ้า สู่เกาะคนชาวน้ำ (ชาวเล) หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พระพุทธเจ้าสอนมาก หมู่คนขอรอยพระบาท ไว้ที่ชายทะเล...”

    ท่านเจ้าคุณพระราชกวี ได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ไว้อีกว่า
    “เท่าที่ปรากฏรอยตีนพุทธนี้ ย่อมทรงแสดงให้เห็นหลักฐาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระองค์ว่า ได้เสด็จตั้งแต่ใต้สุดถึงเหนือสุดของ ดินแดน “สุวัณณภูมิ” จึงเสด็จเพื่อทรงเหยียบ แสดงรอยพระบาทเป็นประจักษ์พยานไว้ ณ สัจจพันธ์คีรี (จังหวัดสระบุรี) และที่ เกาะแก้ว(เกาะแก้วพิสดาร?) หรือ “นิมมทานที” (ไทยว่า..นัมมะทา) ซึ่งเป็นที่เลื่องลือมานาน กระทั่งถึงต่างประเทศคือลังกาและชมพูทวีป เพราะคำใน “อรรถกถา” ยืนยันอยู่

    อรรถกถาปุณโณวาทสูตร
    ในตอนนี้ตามความใน อรรถกถาปุณโณวาทสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงสาวัตถีได้ตรัสเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า

    “อานันทะ..ดูก่อนอานนท์ พรุ่งนี้พวกเราจะเที่ยวบิณฑบาตที่หมู่บ้านพ่อค้าในแคว้นสุนาปรันตะ เธอจงให้สลากแก่ภิกษุ ๔๙๙ รูป..”

    เมื่อพระอานนท์รับพระพุทธบัญชาแล้วจึงได้ประกาศแก่ภิกษุทั้งหลาย
    และในวันนั้น พระกุณฑธานเถระ จับได้สลากเป็นองค์แรกในตอนเช้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งเข้าผลสมาบัติ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ของท้าวสักกะเกิดร้อนขึ้นมา

    พระองค์ทรงพิจารณาแล้วทราบว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจะเสด็จไป แคว้นสุนาปรันตะ ซึ่งเป็นระยะทางไกลมาก จึงรับสั่งให้วิษณุกรรมเทพบุตร เนรมิตเรือนยอด ๕๐๐ หลัง สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๔ มุข (จตุรมุข) ของพระอัครสาวกทั้งสองมี ๒ มุข ที่เหลือมี มุขเดียว พระศาสดาทรงเข้าสู่เรือนยอด และ พระสาวก ๔๙๙ รูป ต่างเข้าสู่เรือนยอด ๔๙๙ หลังตามลำดับ โดยมีเรือนยอดว่างอยู่หลังหนึ่ง เรือนยอดทั้ง ๕๐๐ หลังนั้นลอยไปในอากาศ

    ครั้นถึงภูเขาชื่อ “สัจจพันธ์”
    แล้วทรงหยุดเรือนยอดไว้ในอากาศ ทรงเทศน์โปรดท่านสัจจพันธ์ฤาษี จนสำเร็จพระอรหันต์แล้ว จึงได้เข้าสู่เรือนยอดที่ว่างหลังนั้น ตามเสด็จไปพร้อมกับพระภิกษุทั้งหลายมายังหมู่บ้านพ่อค้า (เพชรบุรี) ที่เป็นน้องชาย พระปุณณะ ต่างก็ ได้ถวายทานเป็นอันมากแด่พระภิกษุทั้งหลาย อันมีองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน

    เมื่อพระศาสดาประทับในที่นั้น ๒-๓วัน จึงได้เสด็จไปโปรด “นัมทานาคราช” ซึ่งตาม ในจารึกกเบื้องจารได้บอกว่า พระศาสดาได้ เสด็จโปรด “คนน้ำ” ที่เกาะแก้ว โดยประทับ ไว้ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า

    ท่านเจ้าคุณพระราชกวี วินิจฉัยคำว่า “นาค” กับ “น้ำ” นั้นออกเสียงใกล้เคียงกัน และใน “อุทานวรรค” ตรัสว่าเป็น “คนทะเล” ซึ่งในเวลานี้ปรากฏว่า “คนน้ำ” หรือว่า “ชาวเล” ยังมีอยู่ ๕ กลุ่ม เช่นที่ “หาดราไวย์” เป็นต้น

    ใครจะลองไปถามประวัติแกดูบ้างก็ได้ เผื่อแก อาจจะจำได้บ้าง แต่ต้องพูดภาษาเขาได้นะ
    แต่ตามที่ทราบว่า สมัยก่อนพวกนี้จะรับจ้างพายเรือรับส่งคนไปกราบรอยพระพุทธบาทต่อมาชาวบ้านแถวหาดราไวย์ สามารถใช้เรือหางยาวแทน แกจึงเลยตกงานไปโดยปริยาย เพราะไม่สามารถไปหาเงินมาซื้อเรือหางยาวแข่ง กับชาวบ้านได้ จึงต้องไปดำน้ำหากุ้งหาปลามา ขายแทน แต่บางคนก็มีกับเขาเหมือนกันนะ

    ตามความในพระไตรปิฎกกล่าวต่อไปว่าเมื่อพระศาสดาทรงออกจากที่นั้นแลัวก็เสด็จถึง ภูเขาสัจจพันธ์ คือที่ สระบุรี นี่เอง ทรงแสดงรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบ เหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสดๆ ฉะนั้น ต่อจากนั้นก็เสด็จไปถึงพระเชตวันทีเดียว

    เรื่องนี้ตามที่วินิจฉัยไว้แล้วว่า รอยพระพุทธบาททั้ง ๒ แห่งนี้ มิได้อยู่ที่อินเดียแน่นอน แต่ถ้าจะคิดว่ารอยพระบาท ณ นัมทานที อยู่ที่ลังกา ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเสด็จมาถึง“สุนาปรันตะ” สิ้นระยะทาง ๓๐๐ โยชน์ หรือ ๔,๘๐๐ ก.ม. ก็จะต้องย้อนกลับไปกลับมาหลาย ครั้ง ทั้งที่ลังกาก็ไม่ปรากฎว่าพบรอยพระบาท ที่อยู่ริมทะเลอย่างนี้มาก่อน มีแต่รอยที่ปรากฎอยู่ ตามภูเขาเท่านั้น เช่น รอยพระพุทธบาทบนยอด เขา “สุมนกูฏ” เป็นต้น

    เพราะฉะนั้น รอยพระบาททั้งสองแห่งนี้จะต้องอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ถ้าเชื่อว่ารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีเป็นของจริง รอยพระพุทธบาทที่ภูเก็ตก็ต้องเป็นของจริงเช่นกัน โดยเฉพาะความพิสดารเล่ากันไม่หวาดไม่ไหว เล่าลือกันจนไม่มีใครกล้าไป แต่ที่ไปกันได้เพราะอาศัย ความตั้งใจจริง หรือที่เรียกกันว่า “เอาชีวิตเป็น เดิมพันกันทีเดียว” เพราะถ้ายังรักตัวกลัวตาย หรือชอบความสนุกสนาน ก็คงจะไม่ได้ไปยืน อยู่ ณ ที่นี้เป็นแน่แท้

    โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ สมัยโบราณก็มีความเชื่อว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่ ๕ ที่ได้ประทับไว้ ณ ริมฝั่งน้ำนัมทา ตามที่ นางนพมาศ เป็นผู้คิดประดิษฐ์ “กระทง” ให้ มีลักษณะเป็นรูป “ดอกบัว” เพื่อเป็นเครื่อง บูชาสักการะลอยไปบูชารอยพระพุทธบาท โดย ฝากไปกับ “พระแม่คงคา” ซึ่งเรื่องวัตถุประสงค์ ในการลอยกระทงนี้ กำลังถูกลอยหายไปกับ กระแสน้ำเหมือนกัน ผู้เขียนจึงขอตั้งหัวข้อ ไว้ดังนี้ว่า...

    Untitled Document

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  13. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ค้นหา เรื่องบาทบงสุ์ ****

    ส่วนหนึ่ง ของคำนมัสการลายลักษณ์พระพุทธบาท (ทำนองเสนาะ)
    ...พระบาททศพล ทั้งคู่เลิศล้น ปรากฎรจนา, มีกงจักรแก้ว เพริศแพร้วทอตา กงกำโสภา ดวงดุมเพลาทอง, มงคลงามสรรพ ร้อยแปดประดับ บาทบงสุ์ทั้งสอง, ทั่วทั้งไตรภพ มีครบทุกช่อง ลายลักษณ์เรืองรอง ทุกห้องเฉิดฉันท์,
    ....หอบเอาทรายแก้ว นวลละอองผ่องแผ้ว มาโปรยปรายลง, ให้ทางราบรื่น ในพื้นบาทบงสุ์ พระพุทธเจ้าเสด็จลง โปรดโลกหญิงชาย, ยามเยื้องยุรยาตร ปวงดอกปทุมมาศ อันตรธานหาย จึงได้ประจักษ์ ลายลักษณ์ทั้งหลาย เหยียบย่ำทำลาย จะเป็นโทษนักหนา
    พระศาสดาเจ้า เสด็จเข้านิพพาน สิ้นแล้วตัณหา, ยังแต่รอยบาทบงสุ์ อันทรงพระกรุณา บรรจบครบห้า ประดิษฐานโดยมี,

    พระบาทหนึ่งปรากฎ อยู่เหนือบรรพต สุวรรณโมลี,
    พระบาทสองนั้น อยู่สุวรรณคีรี, ใกล้สระบุรี ศรีพระนคร,
    พระบาทสามนั้นโสต อยู่เขาสุมนกูฎ, ลังกาบวร,
    พระบาทสี่ทศพล อยู่บนสิงขร ฝ่ายเบื้องอุดร โยนกบุรี, ,
    พระบาทห้าประดิษฐาน อยู่ริมชลธาร นัมทานที, เป็นที่วันทา นาคาธิบดี มัจฉาภุมภีร์ เข้าไหว้แน่นอนันต์,

    พระบาทห้าแห่ง พระพุทธเจ้าสำแดง ย่างเหยียบไว้นั้น, เป็นที่วันทา เทวาทุกชั้น มนุษย์คนธรรพ์ ครุฑธิราชอสุรา, ลายลักษณ์เลิศไตร บูชาเข้าไว้ หญิงชายถ้วนหน้า, เช้าค่ำไก่ขัน ทุกวันเวลา อุตส่าห์ภาวนา เป็นนิจนิรันดร์, ใครว่าลายลักษณ์ ได้บุญมากนัก แปดหมื่นสี่พัน, เหมือนได้พบองค์ พระผู้ทรงธรรม์ พรรณนามานั้น หวังเข้านิพพาน

    อะหัง วันทามิ ทูระโต
    อะหัง วันทามิ ธาตุโย
    อะหัง วันทามิ สัพพะโส
    สาธุ...สาธุ...อนุโมทามิ
    นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ ฯ

    หมายเหตุ: คำว่าลายลักษณ์นี้ ได้นำต้นฉบับเดิมมาตรวจสอบกับตำราบาลี “พุทธปาทลักขณะ” จึงต้องแก้ไขจากสำนวนเดิมไปบ้าง เพื่อให้สมบูรณ์ครบถ้วนทุกประการ จึงขอเริ่มเป็นต้นฉบับของ “วัดท่าซุง” ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป.

    พระชัยวัฒน์ อชิโต (๒๔ พ.ค. ๒๕๓๗)
    �Ѵ�ѹ����� (��ҫا) - (Update 15/02/09) �ӹ��ʡ������ѡɳ���оط��ҷ
    ................................

    *** บทสวด ลายลักษณ์ บทสวดมนต์ ลายลักษณ์ (บางส่วน) ****

    ...ทั้งด้าวไตรภพ พรรณามาจบ ลายลักษณ์พระองค์ สวยสิ้นทุกสิ่ง งามยิ่งบรรจง ลายลักษณ์พระองค์ พุทธบาทศาสดา
    พระศรีสันเพชร ท้าวเธอเสด็จ โปรดโลกโลกา มีดอกบัวทอง ทั้งสองโสภา ผุดจากผสุธา รองรับมินาน
    ทุกย่างพระบาท ดอกดวงประทุมมาศ ไม่คลาดจากสถาน ที่ใดไม่สบาย พระพายพัดพาน หอบเอาบุษมาศ ในสถานพระองค์
    หอบเอาทรายแก้ว อันงามเลิศแล้ว มาโปรงปรายลง ให้ทางราบรื่น รองพื้นพระบาทบง พระเจ้าเสด็จลง ทรงได้สบาย
    อันรอยพระบาท ครั้นพระคลาคลาด ก็บันดลหาย มิได้ปรากฎ แก่คนทั้งหลาย เหยียบย่ำทำลาย จักเป็นโทษนะ
    พระศาสดาจารย์ เสด็จเข้า นิพพาน ลับแล้วเราอ่า ยังแต่รองพระบาทบง พระผู้ทรงรักขณา บรรจบครบห้า สถานโดยมี

    พระบาทหนึ่งปรากฎ อยู่เหนือบรรพต สุวรรณมาลี
    พระบาทสองนั้นอยู่ เขาอสวรรณ์ อยู่ใกล้กรุงศรี อยู่อยุธยานคร
    พระบาทสามนั้นโสด อยู่เขาบรมโกศ ลังกาบวร
    พระบาทสี่ทศพล อยู่บนสิงขร อยู่ตรงหน้าเมืองนคร อยู่ลพบุรี
    พระบาทห้าประดิษฐาน อยู่แทบชลธาร แม่น้ำนที เป็นที่วันฑา มัจฉากุมภี สัตว์ในวารี ยินดีอภิวันท์

    ลายลักษณ์ห้าแห่ง พระบาทสำแดง ย่างเหยียบไว้นั้น เพื่อได้วันฑา เทวานาคัน มนุษย์คนธรรม์ ครุฑธิราชอสุรา
    ลายลักษณ์เลิศไกร ไว้สั่งสอนใจ หญิงชายทั่วหน้า หัวค่ำไก่ขัน ทุกวันอัตตรา อุสาภาวนา ให้เป็นนิรันด์
    ใครไหว้ลายลักษณ์ ได้บุญมากนัก แปดหมื่นสี่พัน จะได้พบพระองค์ พระผู้ทรงวินัยธรรม เป็นที่ป้องกัน โรคร้ายราวี
    ผู้ใดอุสา เจริญภาวนา เป็นนิจราตรี ใครกล่าวสรรเสริญ คุณพระบาทมุณี ทั้งห้าโดยมี พ้นที่คละณา
    เดชะกุศล ที่ตนสร้างมา บารมีแก่กล้า จะเข้าสู่นิพพาน
    www.googig.com : �ҡ���, ������͹, ��Ό, �Ҥ��, ����, ����͹, �Ѻ���, ��ź���, ���͡, ���¹��

    ................................

    *** คำนมัสการ ลายลักษณ์พระพุทธบาท (บางส่วน) ****

    มิสิ้นไตรภพ พรรณามาจบ ลายลักษณ์พระองค์
    มีสิ้นทุกสิ่ง งามยิ่งยรรยง ในพื้นบาทบงสุ์ พุทธบาทบาทา
    พระศรีสรรเพชญ์ พระพุทธเจ้าเสด็จ โปรดโลกโลกา
    มีดอกบัวทอง ทั้งสองโสภา ผุดจากพสุธา รองรับบาทบงสุ์
    ทุกย่างพระบาท ปวงดอกปทุมมาศ มิได้คลาดทุกสถาน
    ที่ใดไม่สบาย พระพายพัดพาน หอบเอาสุคนธาน มนัสการพระองค์
    หอบเอาทรายแก้ว นวลละอองผ่องแผ้ว มาโปรยปรายลง
    ให้ทางราบรื่น ในพื้นบาทบงสุ์ พระพุทธเจ้าเสด็จลง โปรดโกลหญิงชาย
    ยามเยื้องยุรยาตร ปวงดอกปทุมมาศ อันตรธานหาย
    จึงได้ประจักษ์ ลายลักษณ์ทั้งหลาย เหยียบย่ำทำลาย จะเป็นโทษหนักหนา
    พระศาสดาเจ้าเสด็จเข้านิพพาน สิ้นแล้วตัณหา
    ยังแต่รอยบาทบงสุ์ อันทรงพระกรุณา บรรจบครบห้า ประดิษฐานโดยมี

    พระบาทหนึ่งปรากฏ อยู่เหนือบรรพต สุวรรณมาลี
    พระบาทสองนั้น อยู่สุวรรณคีรี ใกล้สระบุรี ศรพระนคร
    พระบาทสามนั้นโสต อยู่เขาสมุนกูฏ ลังกาบร
    พระบาทสี่ทศพล อยู่บนสิงขร ฝ่ายเบื้องอุดร โยนกบุรี
    พระบาทห้า ประดิษฐาน อยู่ริมชลธาร นัมทานที เป็นที่วันทา นาคาธิบดี มัจฉากุมภีร์ เข้าไหว้แน่นอนันต์

    พระบาทห้าแห่ง พระบาทเจ้าสำแดง ย่างเหยียบไว้นั้น
    เป็นที่วันทา เทวาทุกชั้นมนุษย์คนธรรพ์ ครุฑธิราชอุรา
    ลายลักษณ์เลิศไตร บูชาเข้าไว้ หญิงชายถ้วนหน้า
    เช้าค่ำไก่ขัน ทุกวันเวลา อุตส่าห์ภาวนา เป็นนิจนิรันดร์
    ใครว่าลายลักษณ์ ได้บุญมากนักแปดหมื่นสี่พัน เหมือนได้พบองค์
    พระผู้ทรงธรรม์ พรรณนามานั้น หวังเข้านิพพาน

    www.googig.com :
     
  14. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ตามหาผู้ทรง ****

    หาดทรายที่ชายฝั่ง ณ ที่ตั้งขนานมา
    ชื่อนำวะคาถาวรที่บาทชะบง
    รอยนี้ใครผู้ทรงได้เป็นองค์สงฆ์ขึ้นมา
    ซื่อสัตย์อันตัดขาดมีอำนาจด้วยปัญญา
    คำสอนที่ย้อนมาคือสัจจาที่ทำได้
    รอยนี้เป็นของใครผู้ทำได้คงต้องมา

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  15. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ค้นหาเรื่อง ลอยกระทงเพื่อบูชาอะไรกันแน่ ****

    ---พลิกประวัติศาสตร์และโบราณคดี----

    จึงนับเป็นที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เรามีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เพราะมีแต่ประเทศ ไทยเท่านั้น ที่ยังรักษารูปแบบประเพณีนี้มานาน แล้ว ซึ่งประเทศอื่นๆ ไม่มีประเพณีเช่นนี้มา ก่อนเลย อีกทั้งรอยพระพุทธบาทที่อยู่กลางทะเล ก็มีอยู่ในประเทศไทยแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ “นางนพมาศ” คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูป “ดอกบัว” นั้น ก็เป็นการบ่งบอกเอาแล้วว่า เพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาท” เป็นแน่แท้...

    เพราะ “ดอกบัว” เป็นสัญลักษณ์เฉพาะผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
    ดังจะสังเกตได้ว่า “พระพุทธรูปปางลีลา” ทุกองค์ มักจะนิยมสร้างเป็นรูป "ดอกบัว" ไว้เพื่อรองรับฝ่าพระบาททั้งสองข้าง
    ฉะนั้น เพื่อให้สมเหตุสมผลตามข้อวินิจฉัย ผู้เขียนจึงใคร่ขอ นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัยมา ยืนยันเป็นคำเฉลย จากคำถามที่ตั้งไว้ว่า... “เราลอยกระทงเพื่อบูชาอะไรกันแน่

    --- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ----

    ในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” อันเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องนี้เอาไว้ว่า...

    “..สมมุติว่าเอาโคมนั้นลอยไปตาม “ลัทธิพราหมณ์” ที่พอใจลอยอะไรๆ จัดอยู่เช่นกับ “ลอยบาป..ล้างบาป” จะถือว่าเป็น “ลอยเคราะห์ลอยโศก” อย่างใดไปได้ดอกกระมัง การก็ตรงกันกับ “ลอยกระทง” บางทีสมมติว่าลอยโคมข้อความตาม “กฎมณเฑียรบาล” มีอยู่แต่เท่านี้

    ส่วน พระราชพิธี ซึ่งได้ประพฤติอยู่ในปัจจุบันนี้
    นับว่าเป็น พระราชพิธีพราหมณ์ มิได้เกี่ยวข้องด้วยพระพุทธศาสนาสืบมา
    การที่ยกโคมขึ้นนั้น ตามคำโบราณกล่าวว่า ยกขึ้นเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ “พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม”

    แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนา
    ก็กล่าวว่าบูชา พระบรมสารีริกธาตุ “พระจุฬามณี” ในดาวดึงสพิภพ
    และ
    *** บูชา “พระพุทธบาท” ซึ่งได้ปรากฏอยู่ ณ หาดทราย เรียกว่า “นะมะทานที”
    อันเป็นที่ “ฝูงนาคทั้งปวง” สักการบูชาอยู่...” ****

    ---สมัยกรุงศรีอยุธยา----

    จากหนังสือ “คำให้การขุนหลวงหาวัด” มีใจความว่า...
    “...ในสมัย สมเด็จพระเอกทัศราชา ครองกรุงศรีอยุธยา ครั้งถึงเพ็ญเดือน ๑๑ ออกพระวรรษา พระองค์เสด็จทรงประทีปเสด็จอยู่บนเรือขนาน แล้วถวายธูปเทียนดอกไม้ และกระทงกระดาษตามเทียนและเรือต่างๆ เป็นอันมาก
    แล้วพระองค์อุทิศ *** ถวายพระพุทธบาทใน “นัมทานที” ****
    แล้วก็ลอยกระทงอุทิศส่งไปเป็นอันมากเต็มไปทั้งแม่น้ำ แล้วจุดดอกไม้เพลิงที่ริมคงคาต่างๆ เป็นอันมาก...”

    ส่วน คณะทูตชาวลังกา ที่เคยเข้ามาขอพระสงฆ์ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกฏฐ์ เมื่อ พ.ศ.๒๒๙๓ ได้บันทึกไว้เป็น “จดหมายเหตุ” ถึงข้าราชการไทย
    ได้อธิบายเรื่องนี้ว่า ...
    “ พระราชพิธีอันนี้ทำเพื่อการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ซึ่งบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์) ในดาวดึงสพิภพ
    และ *** บูชารอยพระพุทธบาท **** ซึ่ง “พญานาค” ได้กราบทูลอัญเชิญสมเด็จ พระพุทธองค์ให้ทรงประดิษฐานไว้เหนือหาดทราย “ฝั่งแม่น้ำนัมทานที"

    ---สมัยกรุงสุโขทัย----

    สำหรับหลักฐานชิ้นนี้ มีความสำคัญมาก เพราะเป็นต้นกำเนิดประเพณีนี้ ผู้เขียนจึงขอนำเอกสารที่บันทึกไว้โดยท่านเจ้าของเรื่องโดยตรง นั่นก็คือ...
    หนังสือเรื่อง “นางนพมาศ” หรือ “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” นั่นเอง โดยได้บรรยายพระราชพิธีต่างๆ ในราชสำนัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายสมัยนั้นได้แนะนำไว้ และได้พรรณนาสภาพบ้านเมืองในสมัยนั้นไว้ว่า...

    “...เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้วได้ ๑๘๓๐ พรรษา นครสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสมบูรณ์พูลสุขด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ไพร่ฟ้าหน้าใส (ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ไพร่ฟ้ากำลังหน้า แห้ง เพราะของแพงจาก...ค่าเงินบาทลอยตัว) พลเมืองมีความสุขสบาย มีวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงามโดยถ้วนหน้า

    พระมหากษัตริย์ก็ปกครองโดยธรรม ทรงไว้ซึ่ง “ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ” ทรง พัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า มีถนนหนทางที่งามสะอาด และทรงสร้างปราสาทราชมณเฑียร สถานอันงามวิจิตรมีจตุรมุขทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้านั้นมีพระที่นั่งมุขกระสันติดเนื่องกันกับสนามมาตยา หน้ามุขเด็จขนานนามต่างๆ เป็นทั้งมณฑปพระพุทธรูปและเทวรูป

    ตึกตำแหน่งเรือนหลวงเรือนสนมกำนัลเหล่านี้ ล้วนวิจิตรไปด้วยลายปูนปั้น ลายจำหลักวาดเขียนลงรักปิดทองแลอร่ามตา มีพระแท่นที่ฉากกั้น เครื่องปูลาดอาสนบัลลังก์กั้นเศวตฉัตรห้อยย้อยด้วยระย้า ประทีปชวาลาเครื่องชวาลา เครื่องราชูปโภคงามยิ่งนัก...”

    นอกจากนั้นยังกล่าวถึง วัดมหาธาตุ เทวสถาน ราชอุทยาน ไม้ดอกนานาชนิด ผลไม้ ไร่นาที่ทำกิน ผาสุขสบายถ้วนหน้า ปราศจากพาลภัยอันตรายจากโจรผู้ร้าย มีการละเล่น ขับพิณดุริยางค์ มีการประกวดร้อยกรองทำนองอันไพเราะ เห่กล่อมชาวนครให้ชื่นชมสมสวาทตราบเท่าเข้าแดนสุขาวดี

    นอกจากนี้นางยังได้กล่าวถึงความประพฤติของนางสนม ซึ่งมีทั้งประพฤติดีและชั่ว เช่นสามัญชนทั้งหลาย กล่าวถึงพระเกียรติคุณและพระราชจริยาวัตรขององค์ “สมเด็จพระร่วงเจ้า” เป็นการกล่าวเฉลิมพระเกียรติ ด้วยความจงรักภักดีอย่างสูงสุด และกล่าวถึงตระกูลต่างๆ ว่า ฝ่ายทหารมี ๔ ตระกูล ฝ่ายพลเรือนก็มี ๔ ตระกูล

    ความรู้ในทางโลก ได้กล่าวถึงชาติและภาษาต่างๆ กล่าวถึงการแบ่งอาณาเขตในชมพูทวีป ส่วนในทางศาสนาได้กล่าวถึงพุทธศาสนาศาสนาพราหมณ์ และลัทธิศาสนาอื่นบ้าง เป็นต้น สำหรับเรื่องการ “ลอยกระทง” ได้มีพรรณนาไว้ดังนี้...

    ---ประวัติการลอยกระทง ----

    สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น มีพระราชพิธี “จองเปรียง” ในวันเพ็ญเดือน ๑๒เป็นนักขัตฤกษ์ ชักโคม ลอยโคม ประชาชนพลเมืองชายหญิงต่างตกแต่ง โคมชัก โคมแขวน โคมลอย ทุกตระกูลทั่วทั้งพระนครเพื่อถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงสักการะ พระจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ส่วนพระสนมกำนัลฝ่ายใน ก็ทำโคมลอยด้วยบุปผาชาติเป็นรูปต่างๆ ประกวดกัน เพื่อถวายให้ทรงอุทิศบูชารอยพระพุทธบาท ณ ฝั่งแม่น้ำ นัมทานที แต่ “นางนพมาศ” พระสนมเอกของ “พระร่วงเจ้า” นั้น ได้ประดิษฐ์โคมลอย (คือกระทง) อย่างงดงามเป็นพิเศษ

    สมเด็จพระร่วงเจ้าทอดพระเนตรเห็นโคมงามประหลาดของนางนพมาศ ก็ทรงพอพระทัยมาก
    จึงรับสั่งให้ถือเป็นประเพณีว่า ...ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ นี้ ให้ประดิษฐ์ “โคมลอย” เป็นรูป “ดอกบัว”
    *** ไปสักการบูชารอยพระพุทธบาท ณ ฝั่งแม่น้ำนัมทานที ****
    ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อ เรียกว่า “ลอยกระทงทรงประทีป"


    .......ผู้เขียนได้ลำดับประวัติ “รอยพระพุทธบาท” และ “การลอยกระทง” มาจนถึงประวัติความเป็นมาของ “นางนพมาศ” ก็เพื่อชี้แจงแสดงเหตุผลประกอบไปด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อันพอที่จะสรุปได้ว่าการลอยกระทงนั้น เป็นการลอยเพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาท ณ นัมทานที” แต่เพียงประเด็นเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันมา อันเป็นปริศนามานานหลายร้อยปีแล้ว

    ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่มาของการจัด กิจกรรม “ตามรอยพระพุทธบาท” เพื่อฟื้นฟู ประเพณี “ลอยกระทง” และฟื้นฟูประเพณีการสักการบูชา “พระจุฬามณี” ตลอดถึงการสร้างพระพุทธรูป “ปางประทับรอยพระบาท” ณ นัมทานที” ขนาดสูง ๙ ศอก และสร้างป้ายจารึก “ประวัติรอยพระพุทธบาท” เพื่อไว้เป็น อนุสรณ์ ณ เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต กันต่อไป (ปัจจุบันนี้ ปี พ.ศ.๒๕๔๓ ได้สร้างไว้อีกองค์ หนึ่งที่ วัดพระร่วง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย)

    --- ข้อสรุป ----

    ข้อมูลทั้งหลายเหล่านี้ที่ได้นำมาอ้างอิง หวังว่าคงจะเป็นคำตอบที่ชัดเจน พอที่จะสรุป “ฟันธง” ลงไปได้จากคำถามที่ว่า..
    “ลอยกระทง เพื่อวัตถุประสงค์อะไร...?”
    ก็คงจะลอยเพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาทที่ ๕ ณ นัมทานที” แต่เพียงประเด็นเดียวเท่านั้นที่เป็นคำตอบ

    เรียบเรียงโดย..พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต วัดท่าซุง
    �Ѵ�ѹ����� (��ҫا) - ����..��ŧ "��¡�з�" ������稾��෾�ѵ��Ҫ�ش��

    มีความรู้อีกมากต้องค้นหาเอง
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  16. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** พรบรรจุนาค อนุโมทนานาค ****

    ศูนนะกะจะพรหมมา มันสุกัง ตุมังวะสัง ศูนนะกะจะมันชนัง ขันตุกะ ตุมัสวะสัง
    พรหมมาจะสุตัง ตุมัสผัสสะมนุสสัง สุชะนะจิตตัง ขันตุเวทะสัง บันทะบุรุษมนุสสัง สุตายะ สุขายะ
    อุปปมาโน จันตุตะโส เหทะโว สุคะตะ มันตุโต สังฆะกะโห โพธิทะโร จันตุโต โต เต ติ ฯ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
    ขอฝากธรรมของโลกุตตระ ถึงนาคทั้งมวล
    วันเสาร์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
     
  17. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** เหนือความเชื่อ ... เรื่อง กเบื้องจาร สานต่อศาสนา ****

    ---ส่วนหนึ่งในกเบื้องจาร----
    บุณณมุนี ถ้ำพุทธ (ถ้ำฤษี) เราเขียนเรื่องนี้คอยภิกขุอ่ำ อันอุปัชฌายให้ชื่อว่า ธัมมทัตต คน อันพุทธกล่าวว่า ตัว ช้างปาลิเลยยกมาเกิด ธัมมทัตต จงอ่าน เขียนให้คนอ่าน (๑๖๑/๑) ธัมมทัตต บุณณผู้มุนีเขียนคำกล่าวของพุทธในวันขึ้น ๑๑ ค่ำ (เดือนอ้ายพุทธพัสสา ๒๑) เขียนคำคอยธัมวงเวที วันขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ พุทธ พัสสา ปี ๔๓ ในพัสสาเรานี้ ๒๔ (๑๖๒/๒) บุณณวรภิกขุ อยู่เขางู ถ้ำพุทธ เดิมอยุ่ปรานของป๊อบ้านแม่กุน เดินทางถอมคธ สาวัตถี พบพุทธ ธัม สงฆ ได้ปัพพชา อุปสมบท เป็นภิกขุเมื่อพุทธพัสสา ๑๙ (๑๔๐/๑) เถรอานันท เป็นอุปัชฌาย เถรอุบาลีเป็น (ผู้) ให้ (สรณ) สีล เมื่อแล้วเข้า (หา) พุทธออกปาก (ว่า) เอหิ ภิกขุ (เธอจงเป็นภิกขุมาเถิด) เมื่อขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ พุทธพัสสา๑๙ (๑๔๐/๒)
    [?ӹҹ?Ð?ط?Ȓʹң??ͧ䷂-?҃֡?ҡ?Ðທ鍧?҃] - ?̓촍?҅Ԣ?


    --- แปลภาษาชาวบ้าน ----
    เรา พระบุณณมุนี อยู่ถ้ำพุทธ (ถ้ำฤษี)
    เราเขียนเรื่องนี้เพื่อคอย พระภิกขุชื่ออ่ำ ที่พระอุปัชฌายให้ชื่อว่า ธัมมทัตต
    คนผู้นี้ พุทธเจ้ากล่าวว่า คือตัวตนช้างปาลิเลยยก มาเกิด
    ขอให้ท่าน ธัมมทัตต จงอ่านสิ่งที่ได้พบในกเบื้องจารนี้ และเขียนให้ผู้คนได้อ่านต่อไปในภายภาคหน้า ธัมมทัตต
    เราบุณณผู้มุนี เขียนคำกล่าวของพุทธเจ้าในวันขึ้น ๑๑ ค่ำ (เดือนอ้ายพุทธเจ้าพรรษา ๒๑)
    เขียนคำคอยธัมวงเวที วันขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ พุทธเจ้าพรรษาปี่ที่ ๔๓ ส่วนพรรษาเรานี้ ๒๔ ปี


    ---ประวัติผู้เขียน----
    บุณณวรภิกขุ อยู่เขางู ถ้ำพุทธ เดิมอยุ่ปรานของพ่อบ้านแม่กุน
    เดินทางถึง มคธ สาวัตถี พบพุทธเจ้า ธัม สงฆ
    ได้บรรชาชาอุปสมบท เป็นภิกขุ เมื่อพุทธเจ้ามีพรรษา ๑๙ ปี
    เถรอานันท เป็นอุปัชฌาย เถรอุบาลีเป็น ผู้ให้ (สรณ) สีล
    เมื่อเสร็จแล้ว เข้าหาพุทธเจ้า ได้กล่าว่า เอหิ ภิกขุ (เธอจงเป็นภิกขุมาเถิด)
    เมื่อขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ พุทธเจ้าพรรษาปี่ที่ ๑๙

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
    วันเสาร์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒
     
  18. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ผู้ทำได้ ****

    ด้วยอำนาจสัจจาที่ทำได้
    การกลับมา เพื่อสานต่อศาสนาหลังกึ่งพุทธกาล
    มารองรับสัจจะ คำสอนพุทธในหลักโลกุตตระธรรม

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  19. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ออกจากเกาะกลางทะเล ****

    ผู้ทำได้ ที่บำเพ็ญเพียรคอยเฝ้าเหตุการณ์พุทธศาสนา
    อยู่ถ้ำในเขาบนเกาะกลางทะเลแต่ผู้เดียว มีพะพุทธรูปใหญ่เอียงครึ่งตัวอยู่ในถ้ำ
    ถึงวาระสัจจาที่ให้ไว้ เพื่อสานต่อศาสนาพระโคดมที่หักกลาง ตัวกระทำที่ทำได้คือความศักดิ์สิทธิ์
    ผู้ทำได้คงต้องมา

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2009
  20. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** การกระทำเที่ยงเป็นสิ่งสำคัญ ****

    แล้วตัวท่าน มีสัจจะทำได้แค่ไหนแล้ว
    อภิญญาเป็นสาธารณะ... คือ รู้เหตุรู้ผล รู้สัจจะทำไปทั่ว

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...