สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    พระเกตุมาลาของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงมีหลายลักษณะ เช่น เกตุเปลว เกตุดอกบัวตูม เกตุตุ้ม ?


    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    พระเกตุมาลาของพระธรรมกายนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้าไปรู้ไปเห็นตรงกันว่า เป็นธรรมชาติมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม

    ส่วนการที่ช่างปั้น ปั้นพระพุทธรูปมี เกตุเปลว นั้น ก็ด้วยสมมุติว่าเป็นพระรัศมี ซึ่งมีลักษณะเหมือนเปลวเพลิง

    บางครั้งก็จะพบพระเกตุมาลาเป็นรูปดอกบัวตูม ตามพระพุทธลักษณะที่เป็นจริงของพระธรรมกาย

    ส่วนช่างปั้นที่ปั้นพระพุทธรูปเป็นลักษณะ เกตุตุ้ม นั้น เข้าใจว่าจำลองแบบจากพระพุทธรูปที่ทำขึ้นในยุคแรกในรัฐคันธารราษฎร์ ซึ่งช่างปั้นในยุคนั้นได้รับอิทธิพลจากศิลปะชาวกรีก ที่ทำพระพุทธปฏิมาจำลองพระวรกายเนื้อของพระพุทธเจ้า


    [​IMG]


    พุทธลักษณะ พระธรรมกาย นิพพานถอดกาย(นิพพานธรรมกาย)



    พุทธลักษณะ พระธรรมกาย นิพพานเป็นคล้ายดังภาพข้างล่างนี้


    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    [​IMG]


    พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี​



    การถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย...ที่สืบทอดต่อกันมานั้น มีข้อสังเกตว่า

    ๑. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด มีภูมิธรรมภูมิปัญญา...ไม่เท่ากัน
    การรับ......จึงไม่เท่ากัน

    ๒. วาระของการสอนออกไป
    แม้บางคนจะมีภูมิธรรมภูมิปัญญาสูง บางทีมาในขณะในสมัยที่กำลังแสดงธรรมนั้น บางทีก็ไม่ได้มา
    และบางคนที่มีภูมิธรรมปานกลางก็มา ในส่วนที่กำลังแสดงที่สำคัญบ้าง ไม่สำคัญบ้าง

    สรุปง่ายๆว่า แต่ละคนมีโอกาสเข้ามารับฟัง มาเรียนรู้ธรรมปฏิบัติ
    โดยเข้ามาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน....จึงได้ธรรมะไปก็ไม่เท่ากันอยู่ดี


    ๓. ธาตุธรรมแก่กล้าไม่เท่ากัน
    อันนี้เป็นพื้นของเก่า หรือจะกล่าวว่ามี “บุพเพกตปุญญตา” ไม่เท่ากัน
    แล้วแต่ใครสร้างบารมีมาแบบไหน

    บางคนสร้างบารมีมาเพื่อเป็น “ปกติสาวก” เขาก็รับช่วงหนึ่งสมบูรณ์

    บางคนสร้างบารมีมาในระดับสูงกว่านั้น คือ
    ระดับ “พุทธอุปัฏฐาก” หรือว่า “อัครสาวก” หรือ “อสีติมหาสาวก” เขาก็รับได้มากกว่า

    บางคนก็ตั้งจิตอธิษฐานเข้าสู่ “พุทธภูมิ” ท่านเหล่านี้ก็ได้รับมาก


    มันจึงเป็นไปตามธาตุธรรมที่แก่กล้าไม่เท่ากัน
    และในแต่ละระดับที่ต่างกันนี้ บางทีผู้ที่ปรารถนาต่ำแต่บารมีเต็ม...กลับรับได้ชัดเจน
    เหมือนวิทยุเครื่องเล็กจิ๋ว...แต่ว่ารับได้ดี

    บางคนแม้จะสร้างบารมีมาในระดับปานกลาง อธิษฐานมาในระดับกลาง ระดับสูง
    อาจจะรับได้ดีหรือไม่ได้ดี...เท่าคนที่อธิษฐานบารมีน้อยๆก็ได้
    เพราะบารมียังไม่เต็มธาตุธรรม ยังไม่แก่

    สรุปใน ๓ เหตุ ๓ ปัจจัยนี้
    ทำให้ผู้รับการถ่ายทอด...ได้รับไปสมบูรณ์ไม่เท่ากัน
    เพราะฉะนั้นผลก็ออกไปตามส่วนอย่างนี้


    เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    และ หลวงพ่อพระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) มีความรู้สึกว่า

    “วิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์ และสมบูรณ์ถูกต้อง” ... สมควรที่จะได้รับการถ่ายทอดให้กว้างขวางขึ้น
    เผยแพร่ให้มากขึ้น และทำให้เป็นหลักเป็นฐาน
    เพื่อให้เป็นเอกสาร และพยานบุคคลอ้างอิงได้ต่อไปในอนาคต


    เพราะมิฉะนั้นแล้ว
    วิชชาธรรมกายอาจจะถูกบุคคล หรือ ศิษยานุศิษย์ที่รับไปไม่เท่ากัน
    หรือ บกพร่อง เข้าใจไม่เท่าเทียมกัน หรือ เข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง
    นำออกไปปฏิบัติไปถ่ายทอด ที่ไขว้เขวออกไปนอกลู่นอกทางของแนววิชชาธรรมกาย (ซึ่งมีอยู่ตรงกับพระไตรปิฎก) ทำให้เป็นที่เสื่อมศรัทธาของบุคคลได้





    *เรียบเรียงจาก
    นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๒ ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๙
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่เข้าพรรษาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    ระหว่างวันที่ ๑๐ก.ค. – ๒๓ ต.ค. ๒๕๕๙

    ………………………………………….
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามขอเชิญกุลบุตรผู้มีศรัทธาเข้าร่วมกิจกรรมอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกรียติเข้าพรรษาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    * กำหนดการ โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา
    - เปิดรับสมัครวันนี้ – ๑๐ ก.ค. ๒๕๕๙
    - ๑๐ ก.ค. ๒๕๕๙ ลงทะเบียน เข้าอยู่วัดเตรียมตัวก่อนอุปสมบท
    - จัดพิธีบรรพชาอุปสมบทวันอาทิตย์ที่ ๑๗ ก.ค. ๒๕๕๙
    - เวลา ๗.๐๐ น. พิธีปลงผม
    - เวลา ๙.๓๐.น. ร่วมกิจกรรมฟังธรรมวันอาทิตย์
    ์- เวลา ๑๓.๐๐ น. พิธีขอขมา รับผ้าไตรจากบิดามารดา/เจ้าภาพบวช
    - เวลา ๑๓.๓๐ น. เวียนประทักษิณรอบอุโบสถ
    - เวลา ๑๔.๐๐ น. พิธีบรรพชาอุปสมบท
    * คุณสมบัติอุปสมบท
    ๑. เป็นชายแท้ มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถึงอายุ ๖๐ ปี
    ๒. ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดาให้บวชได้
    ๓. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อรายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการบวช หรือการบำเพ็ญศาสนกิจและต้องไม่เป็นภาระเพื่อนสหธรรมิกหรือทางวัด
    ๔. เตรียมตัวก่อนบวชโดยการลดละเลิกไม่เสพสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษทุกชนิด เช่นบุหรี่ สุรา เป็นตนไดเป็นเวลาสมควรก่อนมาอยู่วัด
    ๕. ไม่เป็นบุคคลต้องหามอันเป็นเหตุให้บวชมิได้เช่น บัณเฑาะชายถูกตอน กระเทย หรือผู้เคยอุปสมบท แล้วต้องปาราชิก เป็นต้น
    ๖. ไม่มีรอยสักขนาดใหญ่ในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน
    * ติดต่อสมัครได้ที่ประชาสัมพันธ์ โทร. 090 5955162 , 0905955164
    หรือติดต่อได้ที่
    ้ี่พระมหาชินวิชญ์ จารุธมฺโม โทร. 089 9135594



    [​IMG]


    [​IMG]
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    หลัก และวิธีเจริญภาวนา : https://www.youtube.com/watch?v=4YM_yee5F3A
    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ขอขอบคุณข้อความ (คัดลอกบางส่วน)
    จากหนังสือ "หลักปฏิบัติ สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น" หน้า ๔๒





    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    "การเห็นนิมิต" มิได้หมายความว่า ... ติดนิมิต

    "การเห็นนิมิต"
    มิได้หมายความว่า ... ติดนิมิต

    หากแต่เป็นเพียงอาศัยการกำหนด "บริกรรมนิมิต" ขึ้น
    เพื่อ ... เจริญสมาธิ
    จึงพัฒนาการเห็นนิมิตนั้นขึ้นไปเป็น
    "อุคคหนิมิต" และ "ปฏิภาคนิมิต"
    ตามระดับสมาธิที่สูงขึ้น
    และเป็นความจำเป็นที่จะต้องน้อมนำเอา "นิมิต"
    คือ สิ่งที่จะนำมาพิจารณาให้เกิดปัญญา
    รู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติ ตามที่เป็นจริง

    ด้วยเหตุนี้ใน "สติปัฏฐานสูตร" จึงอธิบาย
    - กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    - เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    - จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    และ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ว่าคือ การมีสติสัมปชัญญะพิจารณา
    - เห็นกายในกาย
    - เห็นเวทนาในเวทนา
    - เห็นจิตในจิต
    และ เห็นธรรมในธรรม

    สำหรับท่านผู้เจริญภาวนาได้ถูกวิธี
    สามารถเจริญวิชชา และมี "อภิญญา"
    เป็นต้นว่า เกิดอายตนะทิพย์
    ให้สามารถรู้เห็นสิ่งที่ละเอียดประณีต
    หรือลี้ลับห่างไกลได้กว่าอายตนะของกายเนื้อ
    อย่างเช่น ตา หู ของกายเนื้อ
    จึงสามารถ "เห็น" สัตว์ในภูมิต่างๆที่ละเอียด
    อย่างเช่น นรก สวรรค์
    และแม้แต่เห็น "อายตนะนิพพาน" นั้น
    ก็เป็นเรื่องความสามารถพิเศษของท่าน

    และก็เป็น "การเห็น" ธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว
    เหมือนกับตาเนื้อ เห็นรูปทั้งหลายนั่นเอง
    ก็เหมือนกับเราผ่านไปทางไหน
    ก็ได้พบได้เห็นบ้านเมือง
    ผู้คน หรือสัตว์ทั้งหลาย ตามปกติธรรมดา

    แม้จะเจตนาที่จะพิจารณาดู
    ความเป็นไปในอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น
    ก็เพื่อเป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้
    เพื่อให้เกิด "ปัญญา"
    จากการที่ได้ "ทั้งรู้ และ ทั้งเห็น"
    เป็นการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์
    จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า
    "นรก, สวรรค์, นิพพาน" นั้นมีจริงหรือเปล่า

    ถ้ามี ... มีอย่างไร ?
    มีความเป็นไปใน "นรก, สวรรค์"
    ตลอดทั้ง "อายตนะนิพพาน" อย่างไร
    ด้วยผลบุญและผลบาปอะไร
    จึงต้องไปเสวยวิบากอยู่ใน นรกหรือสวรรค์

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    การรู้จักความเป็นไปใน "นิพพาน" นั้น
    เป็น "ยอดของความรู้"
    เป็น "ยอดของปัญญา" ทีเดียว

    * พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ



    [​IMG]
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ขอขอบคุณข้อความ (คัดลอกบางส่วน)
    จากหนังสือ "หลักปฏิบัติ สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น" หน้า ๔๒[/B]



    [​IMG]



    ทำไมจึงต้องปฏิบัติธรรม : http://www.mongkoldhamma.org/พระราชญาณวิสิฐ-ทำไมจึง-video_4…
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มิถุนายน 2016
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    ‪ความเพ่งอยากได้สู่ความพยาบาทสู่ความเห็นผิด‬


    ‪ความเพ่งอยากได้สู่ความพยาบาทสู่ความเห็นผิด‬


    ‪อภิชฌา‬ คือ ความเพ่งอยากได้สมบัติของคนอื่นมาเป็นของตัว โดยเราเพ่งว่าขอให้ถูกล๊อตเตอรี่ ให้รวยสักทีเถอะ ให้ถูกล๊อตเตอรี่สักทีเราจะรวยยกใหญ่ละ นี่ เพ่ง อยากได้สมบัติของคนอื่นมาเป็นของตัว อย่างนี้ นี่ก็เป็นอภิชฌาเหมือนกัน เพ่งอยากได้สมบัติก้อนใหญ่มาเป็นของตัว ได้มาลอยๆด้วย นี่แหละ อภิชฌาแท้ๆเชียว ไม่ให้ใครหละ

    ‎พยาทบาทละ‬ ขออย่าให้คนอื่นถูกล๊อตเตอรี่เบอร์หนึ่งเสีย ให้เราถูกคนเดียวเถอะ นั่นแน่ะ พยาบาท

    พออยากจะได้สมบัติก้อนใหญ่ก็เข้าป้องกันสมบัตินั่นทีเดียว คนอื่นอย่าให้ถูก ให้เราถูกคนเดียว นั่นแน่ะ นี่ พยาบาทให้คนอื่นตกจากสมบัติเสีย ให้ถึงความวิบัติพลัดพรากเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้เป็นอย่างไร ‪#‎อ้ายนั่นเป็นมิจฉาทิฏฐิเห็นผิดนี่‬ นั่นแหละ มิจฉาทิฏฐิ ก็เห็นอย่างนั้นแหละจริงๆ ไม่ใช่ผิดเล่นๆ เห็นชัดทีเดียว
    นี่ ให้พึงรู้ว่า อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เป็นอย่างนี้

    อภิชฌา อยากได้สมบัติของคนอื่น อยากได้อะไร ทำสวนใกล้กันก็คิดจะรุกรานนาเจ้า ค้าขายใกล้กันก็คิดจะเขม็ดแขม่ให้วงของเจ้าแคบเข้ามา ให้วงของเรากว้างออกไป ท่วมทับเข้าเสีย ค้าขายรุกกันอย่างนี้หนา ไม่ใช่รุกกันพอดีพอร้าย ทำนาค้าขายรุกกันอย่างนี้
    ข้าราชการก็แก้ไขอีกเหมือนกัน ให้เราสูงขึ้น ให้เขาต่ำลง ให้เราดีกว่าเขาไว้ นี่ พวกอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ทั้งนั้น
    อภิชฌา เพ่ง ถ้าเราสูงขึ้นก็จะให้ได้สมบัติกว่า ยศฐาดีกว่าเขา พยาบาทเข้า แทรกแซงคอยป้องกันไว้ ไม่ให้เขาสูงกว่าเราได้ มิจฉาทิฏฐิคือเห็นอย่างนั้น เป็นตัวมิจฉาทิฏฐิแท้ๆ นี่อยู่ในวงราชการ

    ทีนี้ ในวงการที่เราเข้ามาบวช เป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เอาอีกเหมือนกัน อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เข้ามาอีกเหมือนกัน อภิชฌา เพ่ง เรารักษาศีลขอให้ดีกว่าเขา คนอื่นสู้ไม่ได้ ถ้าว่าคนไหนจะเหลื่อมล้ำดีกว่าเขา เราออกความพยาบาทเข้าใส่ หาอุบายให้ตกไปฝ่ายชั่วกว่าเราเสีย นี่ก็พยาบาทเหมือนกัน คิดเช่นนั้นเห็นเช่นนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม ผิดเหมือนกันในเรื่องรักษาศีล แก้ไขอย่างนี้ก็ตกอยู่อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิ
    ฏฐิ
    ________________
    เทศนาธรรมจาก
    พระมงคลเทพมุนี
    หลวงปู่สด จนฺทสโร
    _________________
    ที่มา
    บางวรรคบางตอนจากเทศนาธรรมเรื่อง
    โอวาทปาฏิโมกข์
    ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๗



    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    เมื่อ เลื่อนดวงกลมใสมาหยุดนิ่ง ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้ว ไม่ต้องเลื่อนไป(ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน) ไหนอีก ให้ประคับประคองใจ รวมใจหยุดในหยุด กลางของ
    หยุด ให้นิ่งตรงนี้แห่งเดียว โดยกำหนดบริกรรมนิมิตนึกเห็นด้วยใจ และบริกรรมภาวนา
    ท่องในใจ พร้อมกับสังเกตลมหายใจเข้า-ออก ผ่าน (กระทบ) ดวงกลมใสนั้นด้วย แต่ไม่ต้องตามลม คงสังเกตเห็นลมหายใจเข้า-ออก ตรงศูนย์กลางดวงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นั้น
    แห่งเดียว
    ตามที่หลวงพ่อท่านสอนให้มีสติกำหนดเห็นลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตรงศูนย์กลางกาย
    อันเปน็ ฐานที่ตั้ง ของใจฐานที่ ๗ แต่แห่งเดียว ทำนองเดียวกันกับที่เคยกำหนดสติพิจารณาเห็น
    ลมหายใจเข้า-ออก ในเบื้องต้นที่ปากช่องจมูก อันเป็นฐานที่ตั้งของใจฐานที่ ๑ นี้เป็นทำนอง
    เดียวกันกับที่พระพุทธโฆสาจารยไ์ด้อรรถาธิบายถึงการเจริญอานาปานสติ(๖ )ว่า่ ไม่พึงกำหนดใจ
    ไปตามลมหายใจเข้า-ออก เพราะจิตที่แกว่งไปมาจะเป็นไปเพื่อความปั่นป่วนและหวั่นไหว
    แห่งจิต แต่พึงกำหนดจิตอยู่ตรงๆ ที่ลมกระทบด้วยสติ ดังที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร
    ได้กล่าวไว้ว่า(๗)
    “เมื่อพระโยคาวจรใช้สติตามลมหายใจเข้าตรงส่วนเบื้องต้นท่ามกลาง
    และที่สุดของลมอยู่ กายและจิตก็จะปั่นป่วน หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิต
    แกว่งไปมา ณ ภายใน
    เมื่อพระโยคาวจรใช้สติตามลมหายใจเข้าตรงส่วนเบื้องต้นท่ามกลาง
    และที่สุดของลมอยู่ กายและจิตก็จะปั่นป่วน หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิต
    แกว่งไปมา ณ ภายนอก
    เพราะพอใจยินดีเที่ยวลังเลสงสัยถึงลมหายใจออก กายและจิตจึง
    ปั่นป่วน หวั่นไหว และดิ้นรน
    เพราะพอใจยินดีเที่ยงลังเลสงสัยถึงลมหายใจเข้า กายและจิตจึง
    ปั่นป่วน หวั่นไหว และดิ้นรน...”

    **************************************************


    ๖ คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค ๒ หน้า ๗๐-๗๓.
    ๗ พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ ๓๖๙ หน้า ๒๔๙.
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    พระสารีบุตรมหาเถระ ยังได้กล่าวถึงวิธีการเจริญอานาปาสติ(๘ )ไว้อีกว่า
    “นิมิต ลมอัสสาสะปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
    พระโยคาวจรไม่รู้ธรรม ๓ ประการ ภาวนาจึงไม่สำเร็จ. นิมิต ลมอัสสาสะ
    ปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะพระโยคาวจร รู้ธรรม
    ๓ ประการ ภาวนาจึงสำเร็จได้ฉะนี้แล.



    ----------------------------------

    ๘ พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ ๓๘๓-๓๘๖ หน้า ๒๕๗-๒๕๘.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    “มีพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตรบทหนึ่งว่า

    ‘กาเย กายานุปสฺสี’
    ‘พิจารณาเห็นกายในกาย’

    พระบาลีบทนี้แม้แปลเป็นภาษาไทยแล้วก็ยังเข้า
    ใจความยาก มีผู้อธิบายกันเป็นหลายนัย

    ฝ่ายที่เป็นนักเรียน อธิบายว่า
    ‘พิจารณากายอย่างหนึ่ง ในกายทั้งหลาย’ หมายความว่า ให้แยกกาย
    ที่รวมกันหลายๆ อย่าง ยกขึ้นพิจารณาทีละอย่างๆ เช่น พิจารณาหมู่
    ขนอย่างหนึ่ง ผมอย่างหนึ่ง เล็บอย่างหนึ่ง เป็นต้น


    ส่วนนักธรรม
    อธิบายและความหมายไปอีกอย่างหนึ่ง คือหมายความว่า ให้พิจารณา
    กายธรรมในกายทิพย์ ให้พิจารณากายทิพย์ในกายมนุษย์ เป็นชั้นๆ กัน
    ออกมา หรือให้พิจารณากายมนุษย์ ในกายทิพย์ ให้พิจารณากายทิพย์
    ในกายธรรมเป็นชั้นๆ กันเข้าไป กายมนุษย์อยู่ชั้นนอก กายทิพย์อยู่
    ชั้นกลาง กายธรรมอยู่ชั้นใน

    จะว่าของใครผิดก็ว่ายาก น่าจะถูกด้วยกัน
    ทั้งสองฝ่าย

    คือฝ่ายนักเรียนก็แปลถูก ด้วยแบบแผนและไวยากรณ์ หรือ
    ข้อปฏิบัติเบื้องต้น

    ฝ่ายนักธรรมหรือนักปฏิบัติก็ถูกด้วยอาคตสถาน มีที่
    มาเหมือนกัน และในทางปฏิบัติชั้นกลาง และชั้นสูงก็มีได้ โดยอาคตสถาน
    คือที่มา [ของ] กายมนุษย์และกายทิพย์ มีที่มา เช่น ในมหาสมัยสูตรว่า


    เย เกจิ พุทฺธํ สรณํ คตา เส
    น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
    ปหาย มานุสํ เทหํ
    เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ.


    “บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ บุคคล
    เหล่านั้น จักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละกายที่เป็นของมนุษย์แล้ว จักยัง
    เทวกายให้เต็มรอบ” ดังนี้


    พระคาถานี้ เรียก กายมนุษย์ว่า “มานุสเทหะ” ซึ่งแปลว่า “กายอัน
    เป็นของมีอยู่แห่งมนุษย์” เรียกทิพยกาย ว่า “เทวกาย” โดยความ
    ก็เหมือนกัน.



    ธรรมกายนั้น เช่นพระบาลีในอัคคัญญสูตร แห่งสุตตันตปิฎกว่า(๑๑)


    “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย
    อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”
    “ดูก่อนวาเสฏฐโคตรทั้งหลาย คำว่า ธรรมกาย ก็ดี
    พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”
    ------------------------------------------------------------
    ๑๑ พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อที่ ๕๕ หน้า ๙๒.
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    คำกึ่งคาถาว่า

    ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ

    ละกายที่เป็นของมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้เต็มรอบ นั้น ย่อมแสดงว่า เทวกายหรือ ทิพยกายมีหลายชั้น คือที่เต็มรอบ คือไม่พร่องก็มี ที่ไม่เต็มรอบ ยังพรอ่งก็มี

    แบ่งออกเป็น ชั้นอ่อน ชั้นกลาง และชั้นแก่

    ชั้นอ่อน คือชั้นที่ยังไม่บริบูรณ์ ยังไม่เต็มรอบนี้ ควรจะได้แก่พวกนิรยาบาย ชั้นกลางควรจะได้แก่ชั้นภูมิเทวดา
    ชั้นแก่คือชั้นบริบูรณ์ ควรจะได้แก่เทวดาที่สูงกว่านั้นขึ้นไป


    หรือจะเทียบในพระกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชั้นแก่ ได้แก่พระกายที่ตรัสรู้แล้ว เช่น
    ทรงทิพยจักขุ ทิพพโสต ทิพยกาย ที่ไปโปรดคนโน้นคนนี้ ชั้นกลาง เช่นที่
    ทรงพระสุบินในคืนวันใกล้จะตรัสรู้ ชั้นอ่อน ในพระกายของพระสัมมาสัมพุทธ
    เจ้า ในพุทธประวัติไม่มีแสดงถึงธรรมอันเป็นเหตุให้ทิพยกายบริบูรณ์นั้น
    ตามพระคาถานั้น ก็ได้แก่การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ คือเจริญพุทธคุณ
    นั่นเอง.




    ธรรมกาย
    ธรรมกาย คือกายธรรม นี้เป็นชั้นละเอียด เมื่อกล่าวด้วยเรื่องกาย
    ธรรม จำเป็นจะต้องอธิบายคำว่า “ธรรม” ในศัพท์นี้ให้เข้าใจก่อน ธรรม
    หรือธาตุนั้น ตามพยัญชนะ แปลว่า “ทรง” เมื่อถือเอาคำว่า “ทรง” เป็น
    ประมาณ ก็ได้ความตรงกันข้ามว่า สภาพที่ทรงเป็นธรรม สภาพที่ไม่ทรง
    ก็ไม่เป็นธรรม คือเป็นอธรรม แม้ในสภาพที่เป็นธรรม ซึ่งแปลว่า “ทรง”
    นั้น เมื่อเพ่งตามอาการแล้ว ก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
    ๑. ทรงอยู่อย่างนั้น ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งเรียก
    ว่า อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรือ อมตธรรม ธรรมที่ไม่
    ตาย อย่างหนึ่ง
    ๒. ทรงอยู่ชั่วคราว แล้วก็เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไป เช่น ร่างกาย
    ของคน ของสัตว์ หรือสิ่งประดิษฐ์ทุกๆ ชนิดอย่างหนึ่ง อย่างหลังนี้ ท่าน
    ตอนที่ ๑ ขั้นสมถภาวนาและอนุปัสสนา 21
    เรียกว่า สังขตธรรมบ้าง สังขารธรรมบ้าง เพราะเป็นธรรมที่มีปัจจัย
    ปรุงแต่งขึ้น เรียกว่า มตธรรม ธรรมที่ตายสลายไปบ้าง.
    คำว่า ธรรมกาย ในที่นี้เข้าใจว่า หมายเอา อสังขตธรรม หรือ
    อมตธรรม ที่เป็นส่วน โลกุตตรธาตุ หรือ โลกุตตรธรรม ไม่ใช่
    โลกิยธาตุ หรือ โลกิยธรรม.”
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    [​IMG]







    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ขอขอบคุณข้อความ (คัดลอกบางส่วน) จากหนังสือ "หลักปฏิบัติ สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น" หน้า ๔๓




    อธิบายสติปัฏฐานสี่ : http://www.mongkoldhamma.org/อธิบายสติปัฏฐานสี่-video_6f137…
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    ติลกฺขณาทิคาถา

    หลวงปู่สด จันทสโร (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)

    ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
    อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ
    เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
    เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ
    กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต
    โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ
    ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน
    ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต
    เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ
    อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา
    ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ.



    สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุไม่มีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวร และวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้นฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร


    วันนี้เป็นวันอัฏฐมีดิถีขึ้นแปดค่ำแห่งปักษ์ในมาฆมาสนี้ ที่เราท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า เมื่อถึงวันธรรมสวนะ ได้พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพราะว่าเราช่วยกันรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่กุลบุตรกุลธิดาในยุคนี้และภายหน้า เป็นตัวอย่างอันดีแก่ภิกษุสามเณรในยุคนี้และต่อไปในภายหน้า ได้ชื่อว่าทำตัวของอาตมาให้เป็นเนติแบบแผนตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไปการกระทำของตนให้เป็นแม่พิมพ์หรือให้เป็นกระสวนหรือให้เป็นตัวอย่างเช่นนี้ ได้ชื่อว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่จะชี้แจงแสดงธรรมเทศนาในวันนี้ แก้ด้วย หนทางอันหมดจดวิเศษ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นผู้รู้เห็นเหตุอันลึกลับยิ่งนักหนา จึงได้ ทรงแสดงหนทางอันหมดจดวิเศษ ให้เป็นตำรับตำราไว้
    หนทางอันหมดจดวิเศษนั้น ท่านยกพระไตรลักษณ์ขึ้นไว้เป็นตำรับตำราว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เมื่อนั้นก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นี่หนทางหมดจดวิเศษข้อ ๑
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่าย ในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่ ๒
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตน ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่ ๓
    หนทางหมดจดวิเศษนั้นคืออะไร ? เมื่อฟังเพียงแค่นี้ก็ไม่เข้าใจ หนทางหมดจดวิเศษน่ะ หนทางตั้งต้นที่จะไปสู่มรรคผลนิพพาน ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงพระอรหัต พระอรหัตเป็นหนทางหมดจดวิเศษ หนทางหมดจดวิเศษน่ะอะไร ? ก็ทำใจให้หยุดคำเดียวเท่านั้นแหละ ให้หยุดที่ตรงไหน ? หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไปหยุดอยู่ตรงนั้นแหละ ไปหยุดก็เข้ากลางของหยุดเชียว กลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่น อย่าไปที่อื่นต่อไปเชียว กลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่น หยุดคำเดียวเท่านี้แหละ ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าอรหันต์ ถ้าหยุดได้ก็ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ หยุดนั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษละ ที่พระองค์ทรงรับสั่งทางมรรคผลนิพพานว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา ขนฺตี นั่นความอดทน ตีติกฺขา กล่าวคือ ความอดใจ อดจนกระทั่งหยุด พอใจหยุดเรียกว่าอดละ ต่ออดมันก็หยุดทีเดียว ใจหยุด หยุดนั่นแหละเป็นสำคัญละ ยืนยันด้วยตำรับตำราว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ยังรับรองอย่างนี้อีก สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ต้องทำใจให้หยุดนั่นแหละ เป็นหนทางบริสุทธิ์หมดจดวิเศษทีเดียว
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ต่อจากนี้จงฟังวาระพระบาลีสืบต่อไปว่า อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดมี ปกติไปสู่ฝั่งคือนิพพาน ชนทั้งหลายเหล่านั้นน้อยนัก ส่วนชนนอกนี้เลาะอยู่ชายฝั่งนั่นเทียว คือ โลกโอกอ่าววัฏฏสงสาร ฝั่งน่ะคือวัฏฏะนี่เอง กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ วัฏฏะ นี่เป็นฝั่งข้างนี้ ที่ไปสู่ฝั่งคือนิพพาน คือฝั่งข้างโน้น โบราณท่านแปลว่าไปสู่ฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพาน ไปสู่ฝั่งข้างนี้คือวัฏฏสงสาร วางหลักไว้สองประการดังนี้ เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน ก็ชนเหล่าใดแล ประพฤติธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือนิพพานได้ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ เป็นที่ตั้งอันล่วงเสียซึ่งวัฏฏะ เป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ อันบุคคลข้ามได้ยากยิ่งนัก กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตละธรรมอันดำเสียแล้ว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ อาศัยนิพพานไม่มีอาลัยจากอาลัย ยินดีในนิพพานอันสงัด ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน พึงละกามทั้งหลายเสีย ไม่มีกังวลแล้ว พึงปรารถนายินดีในนิพพานนั้น ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต บัณฑิตควรชำระตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดอบรมดีแล้ว ในองค์เป็นเหตุแห่งตรัสรู้ อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดไม่ถือมั่นยินดีแล้วในอันสละความยึดถือ ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ มีความโพลงดับสนิทในโลก ด้วยประการดังนี้ นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เป็นทางปริยัติ หาใช่ทางปฏิบัติไม่ เป็นทางปริยัติก่อน ทางปริยัติชี้ชัดอยู่ว่า คนทั้งหลายเหล่าใด คนทั้งหลายเห็นตามปัญญา เมื่อบุคคลเห็นตามปัญญา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ บรรดามนุษย์ทั้งสิ้น ชนพวกใด ชนที่เป็นมนุษย์พวกใดที่จะไปถึงฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพานนั่น น้อยตัวนัก ส่วนชนนอกนี้ ส่วนชนคือมนุษย์นอกนี้ แล่นไปสู่ฝั่งนั้นแล ไปในกามวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ก็ชนเหล่าใดแลเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เป็นธรรมที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงพระนิพพานได้ พระนิพพานไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นของง่าย เพราะฉะนั้นทางไปนิพพานก็เป็นของไม่ใช่ง่าย เป็นของยากนัก ธรรมอันนี้ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงชี้ว่า ทางอันหมดจดวิเศษ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย เห็นความเป็นทุกข์ของสังขารทั้งหลาย เห็นความไม่ใช่ตัวของธรรมทั้งปวง นี่เป็นข้อสำคัญควรจะเข้าใจให้มั่นหมายทีเดียว สังขารทั้งหลายคือธาตุธรรมผลิตขึ้นเป็นสังขารทั้งหลาย เหมือนแผ่นดินเป็นที่ตั้งของติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ถ้าไม่มีแผ่นดินแล้ว ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ผุดเกิด นี่เพราะอาศัยแผ่นดินนี้ฉันใด สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุไม่มีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวร และวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้นฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร
    ธาตุธรรมนั้นแยกออกเป็นสราคธาตุสราคธรรม เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วอยู่ด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นสราคธาตุสราคธรรม ธาตุธรรมที่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้วนั่นเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสังขตธาตุสังขตธรรม ธาตุธรรมที่กะเทาะจากราคะ โทสะ โมหะ ไปได้บ้างแล้ว ยังไม่สิ้นเชื้อ เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรม ธาตุธรรมที่กะเทาะจากราคะ โทสะ โมหะ สิ้นเชื้อแล้ว นั่นเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่เราจะเอาธาตุธรรมที่ไหน เราจะเห็นอย่างไร รู้อย่างไรกัน ธาตุธรรมทั้งหมดปรากฏที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นสราคธาตุสราคธรรม ไม่ใช่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม อาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่ เมื่ออาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่เช่นนี้ เราจะต้องเข้าไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรมให้ได้ ถ้าเข้าไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรมไม่ได้ ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี่ไม่มีจบมีสิ้น เหตุนี้ต้องตั้งใจให้แน่แน่ว ต้องทำใจให้หยุด ตั้งใจให้หยุด มุ่งที่จะไปพระนิพพานทีเดียว เพราะน้อยตัวนักที่ตั้งใจจะไปสู่ฝั่งพระนิพพาน มากตัวนักที่จะมุ่งไปสู่โลกในสราคธาตุในสราคธรรม ในสังขารทั้งหลาย มุ่งไปในสังขารทั้งหลายน่ะมากตัวนัก ที่จะปราศจากสังขารทั้งหลายนะน้อยตัวนัก เหตุนี้เราต้องคอยระแวดระวังทีเดียวในเรื่องนี้ เมื่อเป็นผู้จะไปสู่ในทางวิราคธาตุวิราคธรรม ต้องประกอบตามธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวแล้ว ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วน่ะธรรมอะไร ? ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วนั่นน่ะไม่ใช่อื่น ทางมรรคทางผลนี่เอง ทางมรรคผลไม่ใช่ทางอื่น ทางมรรคผลน่ะอะไร ? อะไรเป็นทางมรรค ? อะไรเป็นทางผล ? นี้จะกล่าวถึงทางมรรคผล ก็การทำใจให้หยุดนั่นแหละเป็นตัวมรรคทีเดียว พอใจหยุดก็เป็นตัวมรรค ก็จะมีผลต่อไปเมื่อใจหยุดเป็นตัวมรรคแน่นอนแล้ว มรรคผลเกิดเป็นลำดับไป พอใจหยุดก็ได้ชื่อว่าเริ่มต้นโลกิยมรรค เข้าถึงมรรคแล้ว มรรคผลนี้แหละเป็นธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ต้องเอาใจหยุด ถ้าใจไม่หยุดเข้าทางมรรคไม่ได้ เมื่อไปทางมรรคไม่ได้ ผลก็ไม่ได้เหมือนกัน
    เมื่อวานนี้บวชสามเณรองค์หนึ่ง พอใจหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้น ไปตลอดเทียวทางมรรคผล ทำใจได้หยุด เอาผมมาปอยหนึ่งที่โกนแต่เมื่อบวชนั่น เขาก็จำได้ ให้น้อมเข้าไปในช่องจมูกข้างขวา ไปตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางตัวเจ้านาคที่บวชเป็นเณรนั่น เห็นผมจำได้ว่าโคนน่ะไปทางตะวันออก ปลายไปทางตะวันตก ผมมันมีคู้กลางอยู่กลางหน่อย ถามว่ามันล้มไปทางซ้ายหรือล้มไปทางขวา ตรงกลางที่โค้งอยู่หน่อยน่ะ เจ้านาคบอกว่าไม่ล้ม โคนตั้งโค้งขึ้นมาด้วย โค้งก็เอาใจหยุดอยู่ ตรงกลางโค้งนั่นแหละ หยุดอยู่ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น หยุดนิ่งเถอะประเดี๋ยวเถอะ ผมนั่นแปรไป แปรสีไป พอถูกส่วนเข้าก็เป็นดวงใส ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละ เณรเห็นแล้วเป็นดวงใส ผมนั่นก็แปรไปๆ แปรสีไปเป็นดวงใส ดวงนั้นโตเล็กเท่าไหน เจ้านาคบอกเท่าหัวแม่มือได้ เอ้ารักษาไว้ดวงนั่นน่ะ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นแหละ ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่น พอนิ่งแล้ว ก็เข้ากลางของกลางๆๆ นิ่งหนักเข้า นึกว่ากลางของกลางหนักเข้า ประเดี๋ยวเดียวแหละ ดวงนั่นขยายโตออกไปๆๆ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นเจ้านาคขยายได้แล้ว ดวงนั่นขยายออกไปเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แล้ว ถูกส่วนเข้า ใจหยุดนิ่งกลางของกลางๆๆ นิ่งหนักเข้าหนักเข้าเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นแหละดวงนี้แหละเขาเรียกว่า เอกายนมรรค หรือเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่แหละทางหมดจดวิเศษละทางนี้ ไม่มีทางอื่นมาคัดง้างได้ละ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วนั่นแหละ กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น หยุดเข้าเถอะ พอใจหยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าๆๆ ก็เข้าถึงดวงศีล เมื่อเข้าถึงดวงศีลแล้ว ใจหยุดอยู่กลางของดวงศีลนั่นแหละ ก็เท่ากับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ กลางของกลางดวงศีลหนักเข้ากลางของ กลางหนักเข้าๆๆ ก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน เจ้านาคทำได้ประเดี๋ยวเดียวเข้าถึงดวงสมาธิแล้ว กลางดวงสมาธินั่นแหละ หยุดเข้าเถอะ กลางของกลางๆๆ ดวงสมาธินั่น พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธินั่น หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอใจหยุดกลางดวงปัญญา ก็กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ อยู่กลางดวงปัญญานั่น หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุดก็กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ จนกระทั่งหยุดหนักเข้า หนักเข้า ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ หยุดหนักเข้า กลางของกลางๆๆๆ พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายมนุษย์ละเอียด ที่นอนฝันออกไป ถามเจ้านาคว่า อย่างไร กายนี้เคยเห็นไหมละ เมื่อเวลานอนฝัน เจ้านาคบอกว่าเห็นเมื่อนอนฝัน เห็นมัน ถูกทีเดียว นี่ไม่ใช่เป็นของยาก ชั่วบวชนาคประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละไปตลอดแล้ว พอเห็นกายละเอียดก็เอาละถูกส่วนละ จำได้นะ
    ต่อไปอีก ให้กายละเอียดนะ นั่งเหมือนกายมนุษย์นี่ เขาก็ทำถูกแบบเดียวกัน แล้วเอาใจของกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ นิ่งอยู่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกัน พอนิ่งถูกส่วนเข้าละก้อ กลางของกลางๆๆ ที่นิ่งนั่นแหละ ประเดี๋ยวเดียว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เห็นดวงศีลอยู่ในดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ในกลางดวงศีลนั่นแหละ พอใจหยุดก็หยุดอยู่กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ หนักเข้าเห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนแล้วก็เข้ากลางของกลางๆๆ ที่หยุดนั่นเห็นดวงปัญญา อยู่ในดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ในกลางดวงปัญญานั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนเข้าแล้ว กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติแล้ว ก็กลางของกลางๆๆ ที่หยุดนั่นแหละ ไม่ได้ไปไหน พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ พอเห็นกายทิพย์เข้า เอ้าเป็นกายที่ ๒ ละ อยากจะรู้มรรคผลไหมละ นั่นแหละที่ดำเนินการนั่นแหละเป็นมรรคทั้งนั้น ที่มาโผล่เห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นผลแล้ว ตั้งแต่ดำเนินมาหยุดอยู่ที่กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เข้าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นกายทิพย์เข้า นั่นกายทิพย์นั่นเป็นผลแล้ว แต่ว่าเป็นโลกียผล โลกียมรรค ไม่ใช่ โลกุตตรผล ไม่ใช่โลกุตตรมรรค ให้รู้จักหลักอันนี้ นี่โลกีย์ นี่ทางหมดจดวิเศษ ไม่ใช่ทางอื่น นี้เป็นทางหมดจดวิเศษทีเดียว
    ให้กายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูกส่วนเท่านั้น ให้เอาใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูก ส่วนเข้า ก็หยุดอยู่กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานของกายทิพย์ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่ใจหยุดอีกนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆ ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน-นอก-ใน ไม่ไป กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลาง ดวงศีลนั่นอีก พอใจหยุด ก็เข้ากลางของใจที่หยุดอีกนั่นแหละ แบบเดียวกัน กลางของ กลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ละเอียด ทำไปดังนี้อีก นี่เป็นมรรคเป็นผลไปอย่างนี้ แล้วก็เดินไปตามมรรคอีก
    ให้นั่งนิ่งแบบเดียวกับกายทิพย์หยาบอีก นั่งนิ่ง ก็เอาใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดอีก นั่นเข้ามรรค หยุดนิ่งแล้วก็กลางของกลางๆๆ ที่ใจนิ่งทีเดียว พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่มรรคทั้งนั้น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลอีก กลางของกลางๆๆ เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ที่ใจหยุดนิ่งเข้าถึงดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก กลางของกลางๆๆ กลางดวงปัญญานั่น ก็เข้าถึงดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก กลางของกลางๆๆ ที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่ในกลางดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางๆๆ ที่ให้หยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายรูปพรหม พอถึงกายรูปพรหม นี่ก็เป็นตัวผลแล้ว นี่มรรค มาแล้ว มาถึงผลแล้ว นี่ ๕ ผลแล้ว
    พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีลอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอใจหยุดก็กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่หยุดนั่น เข้าถึงดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติอยู่กลางดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอถูกส่วนเข้าก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดนี่ก็เป็นตัวผลอีก เดินมาตามมรรคนั่น เข้าถึงผลอีกแล้ว นี่ต้องเข้าใจอย่างนี้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้จะไม่รู้จักมรรคผล มรรคผลนี่เป็นของยากนัก ไม่ใช่เป็นของง่าย
    ใจของกายรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ไม่ได้ถอยออกละ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีก พอใจหยุด ก็กลางของกลางๆๆ เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ ใจหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม เห็นกายอรูปพรหม นี่เป็นผล กายอรูปพรหมนี่เป็นผล ที่ดำเนินมานั้นเป็นมรรค
    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก หยุดอยู่นั่น หยุดนิ่งอยู่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของใจที่หยุด ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เข้ากลางของหยุดอีก พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงสมาธิอีก ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก ถูกส่วนเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด
    จากกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แบบเดียวกัน ไม่ได้มีเคลื่อนกันละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของหยุด กลางของกลางๆๆ พอกลางของกลางหนักเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อยู่ในกายอรูปพรหมละเอียด ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งกลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมาเกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน อย่างโตที่สุดไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วา อย่างเล็กที่สุดก็ตามส่วนลงมา นั่นเรียกว่า กายธรรม เข้าถึงพุทธรัตนะแล้ว พุทธรัตนะนั่นแหละเป็นตัวผล ไม่ใช่ตัวมรรค เป็นตัวผลทีเดียว มรรคเดินมาตามลำดับนั่น
    ใจของกายธรรมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสยิ่งกว่ากระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ใสหนักขึ้นไป
    ใจของกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด นี่เข้าถึงผลอีกแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลม รอบตัว ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายธรรม หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดนั่น พอหยุดถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงธรรมกายพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว
    ใจของพระโสดาหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นธรรมกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระสกทาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็เท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นสกทาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอนาคา
    ใจของพระอนาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา ใสหนัก ขึ้นไป
    ใจพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด ใสหนักขึ้นไป
    นี้วานนี้ได้สอนเจ้านาคให้ถึงนี้ พอบวชเณรเสร็จแล้ว ไปตามญาติ ไปนิพพานก็ได้ ไปโลกันต์ก็ได้ พวกพ้องไปตายอยู่ที่ไหน ไปตามเอารับส่วนบุญเสียด้วย ตากับยายทั้งสองคนไปตามมาและเห็น ฝ่ายพระบวชใหม่ก็เห็นด้วย นี่ทางพุทธศาสนาความจริงเป็นอย่างนี้
    นี่แหละ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา หนทางหมดจดวิเศษทีเดียว หมดจดวิเศษกว้างขวางนัก ทางปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต ทางมรรค ทางผล ทางศีล ทางสมาธิ ทางปัญญา ทางวิมุตติ ทางวิมุตติญาณทัสสนะ นี่แหละเป็นทางหมดจดวิเศษ ทางอื่นไม่มี นี่วันนี้ที่ตั้งใจแสดงก็ให้รู้ทางหมดจดวิเศษ ที่จะเข้าไปทางนี้ก็เพราะเห็นสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ก็ตกอกตกใจหา หนทางไป ทางนี้ก็ถูกมรรคผลนิพพานทีเดียว นี้ทางเป็นหลักเป็นประธานเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ต้องฟังจริงๆ ตั้งใจจริงๆ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นง่าย เป็นของยากนัก ผู้แสดงก็ตั้งอกตั้งใจแสดง ถ้าผู้ฟังไม่ตั้งใจฟัง ก็ขี้เกียจ เดี๋ยวก็เลิกเสียเท่านั้น ถ้าผู้ฟังตั้งใจฟัง ผู้แสดงก็ตั้งใจแสดง ตรงกันเข้า ขันกับพานมันก็รับกันเท่านั้น นี่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผู้แสดงก็ได้ ผู้รับก็ได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าว่าพูดเสีย ผู้แสดงก็สะดุดใจเสีย ก็หยุดเสียไม่แสดง ก็เสียทั้งสอง ฝ่ายเป็นฝ่ายดำไป ไม่ใช่ฝ่ายขาว ได้ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายขาวไม่ใช่ฝ่ายดำ ให้รู้จักความจริงทางพุทธศาสนาดังนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดิ์จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    ..........................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กรกฎาคม 2016
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    [​IMG]


    พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ



    คัดมาบางส่วนจาก
    กัณฑ์ที่ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ




    ขันธ์ ๕ เป็นชื่อของอุปาทาน ถ้าปล่อยขันธ์ ๕ หรือวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ก็พ้นจากภพไม่ได้ คงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภาพ รูปภพ อรูปภพ นี้เอง มืดมนวนอยู่ในที่มืด คือโลกนี้เอง ได้ในคำว่า อนฺธภูโต อยํ โลโก ซึ่งแปลว่า โลกนี้น่ะมืด ผู้แสวงหาโมกขธรรม ถ้ายังติดขันธ์ ๕ อยู่แล้ว ยังจะพบโมกขธรรมไม่ได้เป็นอันขาด กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ กล่าวคือ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรกก็พวกมีขันธ์ ๕ พวกมืดทั้งนั้น ยิ่งในโลกันตนรก เรียกว่า มืดใหญ่ทีเดียว

    วิชชาที่ว่านี้หมายเอา วิชชา ๓ คือ ๑ วิปัสสนาวิชชา ๒ มโนมยิทธิวิชชา ๓ อิทธิวิธิวิชชา แต่ถ้านับรวมตลอดถึงอภิญญา ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของวิชชาเข้าด้วยกันแล้วรวมกันเป็น ๘ คือ ๔ ทิพพจักขุวิชชา ๕ ทิพพโสตวิชชา ๖ ปรจิตตวิชา ๗ ปุพเพนิวาสวิชชา ๘ อาสวักขยวิชชา

    ส่วนจรณะ นั้น มี ๑๕ คือ ๑ ศีลสังวร ๒ อินทรียสังวร ๓ โภชเน มัตตัญญุตา ๔ ชาคริยานุโยค ๕ สัทธา ๖ สติ ๗ หิริ ๘ โอตตัปปะ ๙ พาหุสัจจะ ๑๐ อุปักกโม ๑๑ ปัญญา กับรูปฌาน ๔ จึงรวมเป็น ๑๕

    วิปัสสนา ต่อไปนี้จักแสดงถึงวิชชา และจะยกเอา วิปัสสนาวิชชา ขึ้นแสดงก่อน "วิปัสสนา" คำนี้ แปลตามศัพท์ เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หรือนัยหนึ่งว่าเห็นต่างๆ เห็นอะไร? เห็นนามรูป, แจ้งอย่างไร? แจ้งโดยสามัญลักษณะว่าเป็นของไม่เที่ยง เต็มไปด้วยทุกข์ และเป็นอนัตตา ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา มีข้อสำคัญที่ว่า เห็นอย่างไร? เป็นเรื่องแสดงยากอยู่ เห็นด้วยตาเรานี่หรือเห็นด้วยอะไร? ตามนุษย์ไม่เห็น ต้องหลับตาของมนุษย์เสีย ส่งใจไปจดจ่ออยู่ที่ศูนย์ดวงปฐมมรรค เห็น จำ คิด รู้ มีอยู่ในดวงปฐมมรรคนั้น ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมไม่เห็น ก็เพราะว่าพวกเหล่านี้ยังไม่พ้นโลก เสมือนลูกไก่อยู่ในกระเปาะไข่ จะให้แลลอดออกไปเห็นข้างนอกย่อมไม่ได้ เพราะอยู่ในกระเปาะของตัว เพราะโลกมันบัง ด้วยเหตุว่าโลกมันมืดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น พวกเหล่านี้จึงไม่สามารถจะเห็น กล่าวคือ พวกที่บำเพ็ญได้จนถึงชั้นรูปฌาน และอรูปฌาน ก็ยังอยู่ในกระเปาะภพของตัว ยังอยู่จำพวกโลก หรือที่เรียกกันว่า ฌานโลกีย์ ยังเรียกวิปัสสนาไม่ได้ เรียกสมถะได้ แต่อย่างไรก็ดี วิปัสสนาก็ต้องอาศัยทางสมถะเป็นรากฐานก่อนจึงจะก้าวขึ้นสู่ชั้นวิปัสสนาได้
    การบำเพ็ญสมถะนั้น ส่งจิตเพ่งดวงปฐมมรรคอยู่ตรงศูนย์ คือ กึ่งกลางกายภายในตรงกลางพอดี ไม่เหลื่อมซ้ายขวาหน้าหลัง แล้วเลื่อนสูงขึ้น ๒ นิ้ว เมื่อถูกส่วนก็จะเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมเป็นชั้นๆ ซ้อนกันอยู่ภายในตามลำดับจากกายมนุษย์เข้าไป พิจารณาประกอบธาตุธรรมถูกส่วนรูปจะกะเทาะล่อนออกจากกัน เห็นตามลำดับเข้าไป กายมนุษย์กะเทาะออกเห็นกายทิพย์ กายทิพย์กะเทาะออกเห็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมกะเทาะออกเห็นกายอรูปพรหม ในเมื่อประกอบธาตุธรรมถูกส่วน วอกแวกไม่เห็น นิ่งหยุดจึงเห็น หยาบไม่เห็น ละเอียดจึงเห็น อาตาปี สัมปชาโน สติมา ประกอบความเพียรมั่นรู้อยู่เสมอไม่เผลอ เพียงแต่ชั้นกายทิพย์เท่านั้นก็ถอดส่งไปยังที่ต่างๆ ได้ ไปรู้ไปเห็นเหตุการณ์ได้เหมือนตาเห็น คล้ายกับนอนหลับฝัน แต่นี่ไม่ใช่หลับเห็นทั้งตื่นๆ การนอนคนธรรมดาสามัญจะหลับเมื่อไรไม่รู้ จะตื่นเมื่อไรก็ไม่รู้ แต่ถ้าถึงชั้นกายทิพย์แล้ว จะต้องการให้หลับเมื่อไร จะให้ตื่นเมื่อไรทำได้ตามใจชอบ พวกฤาษีที่ได้บำเพ็ญฌานเขาก็ทำได้ แต่ทั้งนี้ก็อยู่ในขั้นสมถะนั้นเอง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็ได้เรียนฌานมาแล้วจากในสำนักฤาษี กล่าวคือ อาฬารดาบสและอุทกดาบสก็ได้ผลเพียงแค่นั้น พระองค์เห็นว่ายังมีอะไรดียิ่งกว่านั้น จึงได้ประกอบพระมหาวิริยะบำเพ็ญเพียรต่อไป จนในที่สุดพระองค์ได้บรรลุวิปัสสนาวิชชา เมื่อถึงขั้นนี้แล้วจึงมองเห็นสามัญลักษณะ เห็นนามรูปด้วยตาธรรมกาย เพราะพระองค์ทะลุกระเปาะไข่ คือ โลกออกมาได้แล้ว

    พระองค์เห็นโลกหมดทั่วทุกโลก ด้วยตาธรรมกาย พระองค์รู้ด้วยฌานธรรมกาย ผิดกว่าพวกกายทิพย์ รูปพรหมและอรูปพรหมเหล่านั้นเพราะพวกเหล่านั้นรู้ด้วยวิญญาณ แต่พระองค์รู้ด้วยญาน จึงผิดกัน สภาพเหตุการณ์ทั้งหลายแหล่พระองค์รู้เห็น แต่ไม่ใช่รู้ก่อนเห็น พระองค์เห็นก่อนรู้ทั้งสิ้น

    การเห็นรูปด้วยตามนุษย์ อย่างเช่นพระยสะกับพวกไปพบซากศพและช่วยกันเผา ขณะเผาได้เห็นศพนั้นมีการแปรผันไปต่างๆ เดิมเป็นตัวคนอยู่เต็มทั้งตัว รูปร่าง สี สัณฐานก็เป็นรูปคน ครั้นถูกความร้อนของไฟเผาลน สีก็ดำต่างแปรไป ดำจนคล้ายตะโก หดสั้นเล็กลงทุกทีๆ แล้วแขนขาหลุดจากกัน จนดูไม่ออกว่าเป็นร่างคนหรือสัตว์ ไม่เพียงเท่านั้น ครั้นเนื้อถูกไฟกินหมดก็เหลือแต่กระดูกเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย ในที่สุดกระดูกเหล่านั้นแห้งเปราะแตกจากกันล้วนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จนดูไม่ออกว่าเป็นกระดูกสัตว์หรือกระดูกมนุษย์พระยสะปลงสังเวชถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แห่งสังขารร่างกายที่เป็นซากศพนั้น แม้กระนั้นก็ยังไม่ทำให้บรรลุมรรคผล จนกว่าจะได้ไปพบพระพุทธเจ้าจึงบรรลุมรรคผล นี่ก็เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า เห็นด้วยตามนุษย์ ไม่ทำให้บรรลุมรรคผลได้ อย่างมากก็เป็นเพียงปัจจัย เพื่อจะให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น การเห็นด้วยตาทิพย์ตารูปพรหม และอรูปพรหมก็เช่นเดียวกัน เป็นเพียงปัจจัยเพื่อให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย จึงจะบรรลุมรรคผลได้

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า เบญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ รูปจะกล่าวในที่นี้ เฉพาะรูปหยาบๆ คือสิ่งซึ่งธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันเข้า รวมกันเป็นก้อนเป็นชิ้น เป็นอัน แลเห็นด้วยตา เช่นร่างกายมนุษย์และสัตว์ ที่เรียกว่ารูปเพราะเหตุว่าเป็นของซึ่งย่อมจะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มีหนาวและร้อนเป็นต้น กล่าวคือ หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีดย่อมแตกสลายไป แต่ถ้าแยกโดยละเอียดแล้ว รูป นี้มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น อุปาทายรูปเป็นต้น แต่ว่าจักยังไม่นำมาแสดงในที่นี้การพิจารณาโดยสามัญลักษณะ พิจารณาไปๆ ละเอียดเข้าซึ้งเข้าทุกที จนเห็นชัดว่านี่มิใช่ตัวตน เรา เขา อะไรสักแต่ว่าธาตุประชุมตั้งขึ้นแล้วก็ดับไปตาธรรมกายนั้นเห็นชัดเจน เห็นเกิดเห็นดับติดกันไปทีเดียว คือ เห็นเกิดดับๆๆๆ คู่กันไปทีเดียว ที่เห็นว่าเกิดดับๆ นั้นเหมือนอะไร เหมือนฟองน้ำ เหมือนอย่างไร เราเอาของฝาด เช่น เปลือกสนุ่นมาต้มแล้วรินใส่อ่างไว้ ชั้นต้นจะแลเห็นเป็นน้ำเปล่าๆ ต่อมาเมื่อเอามือแกว่งเร็ว ๆ อย่างที่เขาเรียกว่าฟองน้ำ ดูให้ดีจะเห็นในฟองน้ำนั้นมีเม็ดเล็กๆ เป็นจำนวนมากติดต่อกันเป็นพืดรวมกัน เรียกว่า ฟองน้ำ เราจ้องดูให้ดีจะเห็นว่าเม็ดเล็กๆ นั้นพอตั้งขึ้นแล้วก็แตกย่อยไปเรื่อยๆ ไม่อยู่นานเลย นี่แหละเห็นเกิดดับๆ ตาธรรมกายเห็นอย่างนี้ เห็นเช่นนี้จึงปล่อยอุปาทานได้

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอีก ๔ กองนั้นก็ทำนองเดียวกันเห็นเกิดดับๆ ยิบไป เช่นเดียวกับเห็นในรูป ทุกข์เป็นของมีและขึ้นประจำกับขันธ์ ๕ เป็นของธรรมดา แต่ที่เราเดือดร้อนก็เป็นเพราะไปขืนธรรมดาของมันเข้า ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ย่อมแปรผันไปตามธรรมดาของมัน เกิดแล้วธรรมดามันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เมื่อมันถึงคราวแก่ เราไม่อยากจะแก่หรือไม่ยอมแก่ อาการของมันที่แสดงออกมามีผมหงอกเป็นต้น ถ้าเราขืนมัน ตะเกียกตะกายหายาย้อมมันไว้ นี่ว่าอย่างหยาบๆ ก็เห็นแล้วว่าเกิดทุกข์แล้วเกิดลำบากแล้ว ถ้าเราปล่อยตามเรื่องของมันก็ไม่มีอะไรมาเป็นทุกข์

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ทำนองเดียวกัน ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะขืนมัน ขืนธรรมดาของมัน สิ่งไม่เที่ยงจะให้เที่ยง สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนก็ยังขืนยึดว่าเป็นตัวตน เหตุที่ให้ขืนธรรมดาของมันเช่นนี้ อะไร? อุปาทาน นั่นเอง ถ้าปล่อยอุปาทานได้ การขืนธรรมดาก็ไม่มี ตามแนวที่ประปัญจวัคคีย์ตอบกระทู้ถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสถามว่าเมื่อมันมีอาการแปรผันไป เป็นธรรมดาแก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้แล้วเบญจขันธ์นี้จะเรียกว่าเป็นของเที่ยงไหม? ตอบว่าไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นทุกข์หรือเป็นสุข? ตอบว่าเป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้นควรละหรือจะยึดเป็นตัวตน? ไม่ควรพระพุทธเจ้าข้า
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    [​IMG]






    โอวาทของท่าน

    พระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส)


    -----------------------------------------------------------------------------------------



    หมายเหตุ พระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส) พระมหาเถระผู้ทำวิชชาอยู่ในกุฏิหลวงพ่อวัดปากน้ำ จะกล่าวว่าเป็นพระคู่บารมีกับหลวงพ่อวัดปากน้ำก็ไม่ผิดครับ


    เรื่อง

    เป็นธรรมกายแล้ว อย่าเป็นธรรมโกย, ธรรมเก, ธรรมโกง



    (เมื่อหลวงพ่อชั้ว ได้แนะนำวิธีการเจริญภาวนา เข้าดูนิพพานด้วยธรรมกายแล้ว
    ก็ได้ให้โอวาทต่อไปอีกว่า)

    เมื่อพบเห็นพระพุทธเจ้าหมดแล้ว จะเข้าไปถวายนมัสการท่านได้
    และจะทูลถามท่านได้ ติดขัดเรื่องอะไร ทูลถามท่านจะบอกหมด

    แต่ว่า ถ้าจะทูลถามพระพุทธเจ้า ต้องนิ่งให้สนิทนะ
    ถ้านิ่งไม่สนิทหละ ไม่ได้ยินเสียงท่าน
    จะเห็นแต่พระโอษฐ์ท่านงาบ ๆ อยู่เท่านั้น เพราะเรานิ่งไม่พอ
    ถ้าเรานิ่งพอหละ พระสุรเสียงดังก้องอย่างฟ้าเชียว ไพเราะ

    การที่จะดูอย่างนี้ละ ต้องดูเฉพาะตัวนะื และอย่าไปดูให้ใคร
    เมื่อได้ธรรมกายแล้ว จะแก้โรคภัยไข้เจ็บได้ทุกอย่าง
    แต่ถ้าเราไม่แก้ได้ละก็ดี หรือเราไม่ดูให้ใครได้ละก็ดี เราไม่ให้เขารู้ว่าเรารู้ได้ละก็ดี

    ถ้าว่าให้เขารู้ละก็ หนักเข้าก็มีคนมาหา
    เมื่อมีคนมาหาเข้าละก็ ทีหลังเราแก้ไข เขาก็จะให้ลาภสักการะ
    นี่มันจะกลายเป็นหมอดูไป เมื่อกลายเป็นหมอดูละหนักเข้า
    เขาก็ให้ลาภสักการะ ได้เงินได้ทอง เกิดโลภขึ้น
    เมื่อเกิดโลภขึ้นแล้วก็กลายเป็น ธรรมโกย หละ

    ทีหลังเวลาเขาจะมาหา ก็จะคิดเอาเงินเอาทองเขา เมื่อเกิดโลภขึ้นเช่นนั้น
    ธรรมกายนี่เป็นของบริสุทธิ์ หนักเข้าก็มืดไปเสีย ไม่งั้นก็ดับสูญหายไปเสีย

    บางที เมื่อทำสิ่งใด เมื่อสติมันเกิดเป็น ธรรมเก ขึ้น
    เมื่อเป็นธรรมเกขึ้นแล้ว ทีนี้มันก็จะต้องเกิดเป็น ธรรมโกง
    หนักเข้าก็จะต้องหลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต เมื่อดับมืดเสียแล้ว
    นี่เป็นแต่ครั้งพุทธกาลมาแล้วที่เป็นธรรมกาย ธรรมเก ธรรมโกง

    ธรรมโกงนี่น่ะ พระเทวทัตน่ะ นั่งธรรมกายดีกว่าเดี๋ยวนี้มากมาย
    ถึงกับเหาะไปในอากาศได้ แต่ทีนี้ไปติดลาภเข้า
    พอพระเจ้าอชาตศัตรูบำรุงบำเรอด้วยภัตตาหารบริบูรณ์ ก็เกิดเป็นธรรมโกงขึ้น

    ธรรมกายเป็นของบริสุทธิ์ นี่คิดจะฆ่าพระพุทธเจ้า จะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง
    ธรรมกายก็ดับไป เมื่อดับแล้วก็เกิดเป็นธรรมเกขึ้น

    ทีนี้พระเจ้าอชาตศัตรูก็ไม่เล่นด้วย
    เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูไม่เล่นด้วย ก็เสื่อมจากลาภสักการะ เกิดเป็นธรรมโกง
    ไปขอวัตถุ ๕ ประการต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ให้
    ก็เกิดทำสังฆเภทขึ้น ก็ไปอยู่ในอเวจีนรกกันเท่านั้น





    (จากหนังสือ ทางมรรคผลนิพพาน: ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย
    จัดพิมพ์โดย โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พ.ศ. ๒๕๒๕)
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    อมตวัชรวจีหลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จันทสโร)--พรหมวิหาร


     


    ทำจิตให้เหมือนแม่ลูกอ่อนรักลูกน้อยจึงจะรู้รสชาติจิตดวงนี้

    เมตตาพรหมวิหารให้รักษาเอาไว้ นี่ พวกทำจิตให้เป็นน่ะ ทำได้อย่างนี้ ให้จำแม่ลูกอ่อนรักลูกไว้ ถ้าไม่เป็นแม่ลูกอ่อนไม่รู้รสชาติของจิตนี้ ไม่รู้จักรสชาติของจิตดวงนี้ ถ้าเป็นแม่ลูกอ่อนจึงจะรู้จักรสชาติของจิตดวงนี้ ถ้าเป็นพ่อลูกอ่อนก็รู้จักรสชาติของจิตดวงนี้ ถ้าไม่เป็นพ่อลูกอ่อนก็ไม่รู้จักรสชาติของจิตดวงนี้

    จิตดวงนี้ เป็นจิตดวงสำคัญ เมื่อรู้จักใช้แล้วละก็ ใช้จำเพาะลูกของตนก็ไม่ได้ผล จิตมีฤทธิ์นัก ถ้ารู้จักใช้ถูกส่วนแล้วละก็ มีฤทธิ์เดชมากมายนักนะ จะมีคนรักใคร่มากมายนับประมาณไม่ได้ ถ้าใช้ถูกส่วน

    ถ้าว่า ผู้ทำจิตเป็น ทำใจหยุดนิ่งได้ ก็แก้ไขใจของตัวได้ ไปแค่ไหนก็แก้ไขแค่นั้น แก้ให้รักใคร่สัตว์โลก เมือนอย่างกับแม่ลูกอ่อนที่รักลูกที่เกิดใหม่ๆ

    โคก็ดี รักลูกที่เกิดใหม่น่ะ สัตว์ดิรัจฉาน ลูกที่เกิดใหม่ๆน่ะ ใครเข้าไปขวิดทีเดียว ไก่ป่าก็ดี เปรียวนัก กลัวมนุษย์นัก แต่พอลูกอ่อนออกมาละก็ ออกจากไข่ใหม่ๆ พาลูกเดินต๊อกแต๊กละก็ เอาละ ใครเข้าไปละก็ ปราดตีใส่ทีเดียว ไก่เถื่อนนะ ไก่ป่านะ กลัวมนุษย์นัก แต่ว่ามนุษย์เข้าใกล้ตีทีเดียว ร้องทีเดียว แผ่ปีกทีเดียว เพราะรักลูก ออกห่างจากลูกไม่ได้

    จิตดวงนั้น สัตว์ดิรัจฉานก็ยังใช้ในลูก สัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า เท้าเหี้ยน ใช้ในลูกเหมือนกันหมด ว่าแม่ลูกอ่อนใช้ในลูกละก็ ให้จำจิตดวงนั้นไว้

    นั่นแหละ ทำให้เป็นขึ้นเถอะ จิตดวงนั้นน่ะ ให้เป็นแก่มนุษย์ทั่วไปละก็ บุคคลนั้นแหละ จะทำอะไรละก็ ในมนุษย์โลกสำเร็จหมด สำเร็จหมดทีเดียว จะสร้างประเทศก็สำเร็จหมด สร้างวัดสร้างวาเป็นสำเร็จหมด ใช้อย่างนั้นแหละ คนต้องมาช่วยทำให้สำเร็จทุกประการ เหมือนอย่างกับแม่ลูกอ่อนรักลูก เอิบอาบดึงดูดกระฉับกระเฉงแน่นแฟ้นในลูก ลูกจะแอะก็ไม่ได้ละ แม้ก็ต้องควักละ นั่นแหละฉันใด ลูกนั่นก็ทำใจหยุดดีมั่นคงดี แม่มีความกระสันแน่นแฟ้นในลูกยิ่งนักหนา

    จิตดวงนั้นแหละ ผู้เจริญเมตตาให้รักษาไว้ อย่าให้คลาดเคลื่อน ถ้ารักษาไม่ได้แล้วขอสะกิดใจว่า นั่นแหละ พรหมวิหารในพระพุทธศาสนา จะทำอะไรในพระพุทธศาสนา สำเร็จทุกสิ่งทุกประการ

    _________________
    เทศนาธรรมจาก

    พระมงคลเทพมุนี
    หลวงปู่สด จนฺทสโร

    _________________
    ที่มา
    บางวรรคบางตอนจาก
    เทศนาธรรมเรื่อง

    กรณียเมตตสูตร (ต่อ)
    ๑ มิถุนายน ๒๔๙๗
    __________________




    [​IMG]
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    [​IMG]


    การพัฒนาจิต 3/4 : พระเทพญาณมงคล - การพัฒนาจิต 3/4



    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ขอขอบคุณข้อความ (คัดลอกบางส่วน) จากหนังสือ "หลักปฏิบัติ สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น" หน้า ๔๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,457
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,125
    ค่าพลัง:
    +70,477
    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...