สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกาย


    และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน 4 พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป









    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด



    เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก


    เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน 4) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด




    โดยอนุโลมและปฏิโลม 1-2-3 เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน



    แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน)

    ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด (มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม)ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3



    ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียด


    ปล่อยอุปาทานขันธ์ 5 และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น







    1.ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง 5 วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ

    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก





    2.แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ





    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสังโยชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา



    3.แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ

    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา







    4.แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ

    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้น เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 4 คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว

    เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป





    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง 4 นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง 3 กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง 3 กลุ่ม รวม 12 ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสังโยชน์พินาศไปในพริบตา





    ญาณทั้ง 3 กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ 3 มีอาการ 12
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    ใจ จิต วิญญาณ

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]







    [​IMG]



    [​IMG]






    โดยทั่วไป มักเข้าใจว่าจิตคือวิญญาณ และวิญญาณ
    ก็คือจิต ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง จิตคือตัวคิด วิญญาณ
    คือตัวรู้ ไม่เหมือนกัน ทั้งจิตและวิญญาณตามความเข้าใจ
    ของสามัญชนนั้น วิชชาธรรมกายเรียกว่า “ดวงใจ” อันที่จริง
    แล้วควรเรียกว่า “หัวใจ” แต่คำว่า “หัวใจ” ก็พากันเข้าใจว่า
    คืออวัยวะที่มีหน้าที่สูบฉีดโลหิต ไปสู่ร่างกายเสียแล้ว จึงจำ
    เป็นต้องใช้คำว่า “ดวงใจ” ในที่นี้

    ในปัจจุบันนี้ มีปัญหาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ในวงการ
    ต่างๆว่า ดวงใจหรือจิตอยู่ที่ไหน วงการแพทย์เห็นว่า จิตอยู่
    ที่มันสมอง สำนักวัดมหาธาตุและวงการอภิธรรม เข้าใจ
    ว่า จิตอยู่ที่ถุงน้ำเลี้ยงหัวใจภายในหัวใจ สำนักวัดปากน้ำว่า
    จิตอยู่ที่เบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ที่ตรงกลางกาย คือตรงกับสะดือ
    เข้าไปข้างใน

    ความเห็นของ วงการแพทย์และของสำนักวัด
    มหาธาตุ กับวงการอภิธรรมเป็นความเห็นที่นำความมหัศจรรย์
    ของจักรวาลแห่งจิต ไปปนกับความมหัศจรรย์ของระบบ
    สรีรศาสตร์ เช่นเดียวกับการสังเกตเห็นว่า เขื่อนหรือทำนบ
    สามารถกั้นคลื่นและกระแสน้ำได้ ก็เลยเหมาเอาว่า ผ้าหรือ
    หนังสามารถกั้นคลื่นวิทยุได้ ซึ่งความจริงไม่เป็นเช่นนั้น มัน
    สมองเป็นเสมือนเครื่องรับกระแสจิต จากจักรวาลจิต แล้วส่งต่อ
    ไปยังระบบต่างๆของร่างกาย สำหรับความเห็นของวัด
    มหาธาตุและสำนักอภิธรรม ไม่มีอะไรดีไปกว่า นำผลปฏิบัติ
    แบบไตรลักษณ์มาค้าน กล่าวคือถ้าจิตอยู่ที่หัวใจหรือสมอง
    ทำไมญาณวิถีเกิดขึ้นในอนุโลมญาณ จึงพุ่งจากตรงสะดือไป
    ยังกลางกระหม่อม

    ศูนย์กลางของตัวเรานี้ อยู่กลางลำตัวตรงสะดือเข้า
    ไปข้างใน ที่นั่นมีเครื่องหมายเป็นดวงกลมๆ ขนาดเท่าดวง
    จันทร์ มีสภาพคล้ายปรมาณูของธาตุจับกลุ่มรวมตัวกัน วิชชา
    ธรรมกายเรียกดวงนี้ว่า “ดวงเห็น” มีหน้าที่เป็น"กาย"

    ในเนื้อของดวงเห็นนี้ กลุ่มปรมาณูอีกกลุ่มหนึ่ง แทรก
    ซึมอยู่เป็นดวงกลม รอบตัว มีขนาดเท่ากับเบ้าตา เรียก
    ว่า “ดวงจำ” คือเห็นแล้วก็จำได้ หรือทำหน้าที่เป็น“ใจ”

    ตรงกลางดวงจำมีช่องว่าง และมีกลุ่มปรมาณูอีกกลุ่ม
    หนึ่ง ลอยอยู่เป็นดวงกลม ขนาดเท่าดวงตาดำข้างนอก เรียก
    ว่า“ดวงคิด” แม่ธาตุตรงกลางปรมาณูดวงคิดนี้คือ“จิต”

    ในเนื้อของดวงคิด มีกลุ่มปรมาณูอีกกลุ่มหนึ่ง แทรกซึม
    อยู่เป็นดวงกลม มีขนาดเท่าดวงตาดำข้างในเรียกว่า “ดวงรู้”

    แม่ธาตุตรงกลางดวงรู้คือ “วิญญาณ” เราจะรู้อะไร
    ก็ต้องได้เห็น เมื่อเห็นแล้วก็จำ แล้วก็คิด แล้วจึงจะรู้ ดวงเห็น
    จึงเป็นแม่ธาตุของดวงรู้ คุณสมบัติของเห็น จำ คิด รู้
    ทั้งสี่อย่างนี้ ผสมผสานรวมกันเป็นหนึ่ง เรียกว่า“ดวงใจ”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มกราคม 2015
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    ตรงช่องว่างกลางดวงจำ มีกลุ่มปรมาณูธาตุน้ำหล่อ

    เลี้ยงอยู่ ดวงคิดหรือจิต ลอยอยู่ในน้ำนั้นอีกที กลุ่มปรมาณู

    ธาตุน้ำนี้เรียกกันทั่วไปว่า “น้ำเลี้ยงหัวใจ” ซึ่งที่ถูกนั้น ควรเรียก

    ว่าน้ำเลี้ยงจิต ปรมาณูธาตุน้ำนี้มีประมาณ 1 ซองมือ หรือ 1

    อุ้งมือ น้ำเลี้ยงหัวใจนี้เอง เป็นสิ่งเดียวที่ได้รับสืบเนื่องกันมา

    จากบรรพบุรุษของตน เมื่อใดจิตสงบไม่ซุกซน ไม่มีอกุศล น้ำ

    เลี้ยงก็ใสสะอาด ถ้าผู้ใดใจประกอบด้วยราคะ น้ำเลี้ยงใจก็จะ

    มีสีแดง ถ้ามีโทสะ น้ำก็มีสีน้ำเงินแก่ ถ้ามีโมหะ น้ำเลี้ยงใจก็

    ขุ่นมัวเป็นสีเทา เมื่อน้ำเลี้ยงใจนี้เปลี่ยนไป ดวงใจทั้งดวงก็มี

    สีเปลี่ยนตามไปด้วย ฉะนั้นเมื่อเห็นดวงใจก็เห็นสีของดวงใจ

    ทันที



    คนที่มีจิตฟุ้งซ่านหรือนอนไม่เหลับ ดวงจิตจะลอยอยู่

    เหนือระดับน้ำ ถ้าลอยมากๆก็อาจเสียสติ อย่างที่เรียกว่า

    ประสาทหลอนหรือบ้าเอะอะไปเลย หรืออย่างเบาะๆก็เป็นคน

    ใจลอย คนที่ตื่นอยู่ตามปกติ ดวงจิตจะลอยอยู่ในน้ำครึ่ง

    หนึ่ง เหนือน้ำครึ่งหนึ่ง ถ้าจมเสมอน้ำเลี้ยงก็เป็นจิตของคน

    หลับ ถ้าจมมากเกินไป เจ้าของก็มีสติไม่ดีเช่นกัน เรียก

    ว่า “บ้าซึม” การแก้โรคจิตโดยใช้ธรรมโอสถ ก็คือ การทำ

    ให้จิตลอยอยู่ตามปกติ เข้าใจว่าทางแพทย์ก็คงถือหลักเดียว

    กันนี้ กล่าวคือ ถ้าบ้าเอะอะก็ให้ยานอนหลับและยาบำรุง

    ประสาท ถ้าบ้าซึมก็ให้ยากระตุ้นประสาทหรือทำช็อก



    ดวงปฐมมรรคอันประกอบด้วยธาตุทั้ง 6 นี้ คือ ศูนย์

    รวมของ ส่วนต่างๆของร่างกาย ถ้าศูนย์รวมนี้มัวหมอง ก็

    แสดงว่าธาตุต่างๆในร่างกายผิดปกติ ไม่สม่ำเสมอ จะมีการ

    เจ็บไข้ได้ป่วยเกิดขึ้น ศูนย์รวมนี้เองที่เรียกว่าขันธโลก หรือขันธ์ 5



    ดวงอากาศธาตุภายในดวงปฐมมรรค ก็คือ อากาศโลก

    อันเป็นศูนย์บังคับอากาศตามช่องว่างต่างๆในร่างกาย เช่น

    ช่องท้อง ช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น



    เมื่อเราเจริญสมาธิ กล่าวคือ ทำเห็นจำคิดรู้ให้เป็น

    หนึ่ง แล้วเอาตัว“หนึ่ง”นี้ จี้ไปตรงกลางดวงปฐมมรรคเห็นจำ

    คิดรู้ หรือเนื้อหนังของเห็นจำคิดรู้นี้เองคือสัตว์โลก ผู้ปฏิบัติ

    กรรมฐานจะต้องรู้ขันธโลก สัตว์โลก อากาศโลกนี้ให้ชัดเจน

    จึงจะใช้ได้



    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ขันธ์ 5 หรือดวงปฐมมรรค คือผล

    ของการ ปรุงแต่งของบาปบุญ ที่ติดตัวเรามาแต่เกิดนั้นเอง

    ดวงปฐมมรรคนี้ก็คือธาตุธรรม ธาตุได้แก่ดิน น้ำ ลม ไฟ

    อากาศ และวิญญาณ เมื่อมีธาตุแล้ว ก็ต้องมีธรรมเป็นที่

    อาศัย ถ้าไม่มีธรรม ธาตุก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกัน

    และกัน




    การเข้าถึงธาตุธรรมได้แก่การดึงจิตที่ลอยไปยังที่

    ต่างๆ กลับยังที่ตั้งเดิมตรงศูนย์กลางกาย ให้หยุดอยู่ที่นั่น







    โดยทำนองเดียวกับ การส่งใจไปจดหรือคิดถึงคนนี้คนโน้น หรือ

    จดสิ่งนั้นสิ่งโน้น ตามความซุกซนของใจ เมื่อใจจดธรรมอัน

    เป็นอาหาร หรือที่รองรับของใจได้ถูกส่วน เลิกซุกซนแล้ว ใจ

    ก็หยุด ธาตุธรรมหรือดวงปฐมมรรคก็ปรากฏให้เห็น


    เมื่อหยุด ดวงเดิมจะตกมายังศูนย์ที่หก ปรุงแต่งด้วยธาตุ+ธรรม

    แล้วลอยเด่นเป็นดวงใหม่ปรากฏ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่7 นั่นเอง


    --------------------------------------------------------
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    จิตตกภวังค์ก็คงอยู่ทีฐานที่ ๗ แต่สภาพของดวงจิตที่อยู่ในน้ำเลี้ยงหัวใจนั้นลอยอยู่ในระดับเสมอกับน้ำเลี้ยงหัวใจ และต่างก็ใสสนิทเสมอกันทั้งน้ำเลี้ยงหัวใจและดวงจิต

    ก่อนอื่นต้องทราบสภาพของคำว่า "ใจ" ก่อน ใจนี้ประกอบด้วยดวงใส ๔ ดวงซ้อนกันอยู่ ดวงแรกขนาดโตเท่ากับเบ้าตาทั้งหมด เรียกว่า ดวงเห็น หรือ กาย ดวงที่สองซ้อนถัดเข้าไปขนาดเท่าดวงตาขาวทั้งหมด เรียกว่า ดวงจำ หรือ หัวใจ ในหัวใจนี้มีน้ำเลี้ยงหัวใจขังอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ (หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านว่า น้ำเลี้ยงหัวใจนี้เองเป็นสิ่งเดียวที่ได้รับสืบเนื่องกันมาจากบรรพบุรุษของตน) ถ้าใจสงบ สะอาดดี น้ำเลี้ยงหัวใจก็จะใสบริสุทธิ์ ถ้าบุคคลประกอบด้วยราคะ น้ำเลี้ยงหัวใจก็จะมีสีแดง ถ้ามีโทสะน้ำจะเป็นสีเขียว ถ้ามีโมหะน้ำเลี้ยงหัวใจก็จะขุ่นมัว เราจะอ่านหัวใจคนได้จากตรงนี้ ในน้ำเลี้ยงหัวใจนี้ มีดวงกลมใสขนาดเท่าดวงตาดำลอยอยู่ ซึ่งเรียกว่า ดวงคิด หรือ ดวงจิต คนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านหรือนอนไม่หลับ เป็นเพราะดวงจิตลอยอยู่เหนือระดับน้ำ ถ้าลอยมากๆ ก็อาจะเสียสติไปเลย นี่เองที่เขาเรียกกันว่า "คนใจลอย" คนที่ตื่นอยู่ตามปรกติ ดวงจิตก็จะลอยอยู่ในน้ำครึ่งหนึ่ง เหนือน้ำครึ่งหนึ่ง ถ้าจมมากกว่าธรรมดาเล็กน้อยก็เป็นจิตของคนหลับ แต่ถ้าจมมากเกินไป เจ้าของก็อาจไม่ได้สติเช่นกัน

    เวลาฝันจิตก็คงอยู่ฐานเดิม แต่ทว่าถ้าหากน้ำเลี้ยงหัวใจไม่สะอาด อันเป็นเหตุให้ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ไม่บริสุทธิ์ไปด้วย ขณะนั้นความฝันก็มักจะฟุ้งซ่านไปตามภาพของดวงจิต คือ ประกอบด้วย ราคะ โทสะ และโมหะ และถ้าเห็น จำ คิด รู้ สะอาด ก็จะฝันเห็นแต่สภาพที่เป็นมงคลหรือฝันเห็นอดีตและอนาคตได้แน่นอน

    เวลาฝัน กายมนุษย์ละเอียดจะออกไปในที่ต่างๆ อันนี้บางทีอาจทำให้สงสัยได้ว่า ถ้ากายออกไปเสียแล้ว มิเป็นการถอดกายหรือและเหตุใดกายมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของจึงยังไม่ตาย ข้อนี้เป็นเพราะอายตนะที่ละเอียดระหว่างกายมนุษย์หยาบกับกายมนุษย์ละเอียดยังเนื่องกันอยู่ มิได้ขาดออกจากกันเลย ฉะนั้นไม่ว่ากายมนุษย์ละเอียดจะไปยังที่ใด ก็สามารถกลับคืนมาสู่กายมนุษย์หยาบได้รวดเร็วเช่นเดียวกับการที่เราส่งใจคิดไปในที่ต่างๆ นั่นเอง

    กลางดวงจิตมี ดวงรู้ หรือเรียกว่า ดวงวิญญาณ เล็กละเอียดขนาดเท่าๆ กับแววตาดำเล็กข้างใน ทั้งหมดนี้รวมกันแล้วเรียกว่า "ใจ" ใจนี้อาจจะเปลี่ยนสภาพ คือ เปลี่ยนสีได้ตามอำนาจของกิเลส แต่ละชนิดที่ผ่านเข้ามาบังคับ
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    เมื่อผู้สูงอายุ เรียนถามหลวงพ่อพระเทพญาณมงคล...

    ผู้มีปัญญาด้อย อายุก็มาก ควรบำเพ็ญธรรมข้อใดจึงดีที่สุดและมีผลที่สุดต่อการปฏิบัติ ?

    ------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ผมเองก็เป็นคนแก่ ปัญญาก็ไม่ได้เฉียบแหลมอะไรนักหนา ผมเห็นว่าไม่ว่าปัญญาจะเฉียบแหลม ไม่ว่าหนุ่ม ไม่ว่าแก่ ก็เหมือนกัน

    ปฏิบัติแนวทางเดียวกัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้สังเกตอัธยาศัยตัวเราเป็นอย่างไร และอินทรีย์เราแก่ข้อไหน เราก็ดำเนินข้อนั้นให้หนัก และข้ออื่นให้เต็ม เพราะอินทรีย์ทั้ง 5 ข้อต้องเต็ม ที่เคยหนักอยู่แล้วก็หนักให้ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะให้ได้ผลดี คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีศีลเป็นบาท และมีสติเป็นเครื่องรักษาตน ส่วนศรัทธา วิริยะ เมื่อเข้าไปรู้ไปเห็น ศรัทธา ความเพียรก็เกิดเอง

    ผมเน้นที่สมาธิ ปัญญา คู่กัน ไม่ให้หย่อน และพยายามให้มีสติสัมปชัญญะ พิจารณากิเลสนิวรณ์ อย่าให้เกิดมากนัก พิจารณาให้เกิดปัญญาเสมอๆ มีสติดูกิเลสในใจตน มันจะเกิดขึ้นมาที จะหงุดหงิด ให้รู้ตัวไว้ ด่าตัวเองไว้ สังเกตตัวเองไว้ เมื่อปัญญามี กิเลสก็เบา สมาธิดี ศีลก็ดี พระพุทธเจ้าตรัสให้รักษาใจ นั่นแหละคือตัวหัวใจของสติปัฏฐาน 4 อย่าลืมว่าสมาธิต้องทำ ปัญญาจึงจะเกิดและแน่น ที่ปัญญาแน่น คือมันโปร่งใส รู้ทั่ว เมื่อรู้ทั่ว สติเอามาใช้บ่อยๆ จะไม่ผิด

    ศีลต้องหมั่นดู หมั่นรักษา หมั่นพิจารณา ต่อวันนี้แหละครับ อย่างน้อยพิจารณาศีลของตน เราบกพร่องข้อไหน ตั้งแต่เช้าเย็นนี่ มดตายไปกี่ตัว เพราะเราเจตนาหรือเปล่า หรือเผลอไผลบริโภคใช้สอยปัจจัย 4 เราพิจารณาหรือเปล่า ถ้าไม่พิจารณา ตกเย็นทำวัตรเสีย แต่อย่าลืม เภสัชต้องพิจารณาในขณะฉัน จึงจะพ้นได้ ไม่อย่างนั้นอาบัติ ถึงแม้ขณะรับ เราจะพิจารณาหรือพิจารณาภายหลัง ไม่อาจพ้นอาบัติได้ เฉพาะเภสัช ให้มั่นไว้อย่างนี้

    เพราะฉะนั้น ทั้งวินัยก็ต้องศึกษา ย่อหย่อนเหลาะแหละไปนรกง่ายๆ อย่านึกว่าห่มผ้าเหลืองไปนรกไม่เป็น คล่องที่สุด เผลอไม่ได้ เป็นภิกษุอย่าประมาท อันตรายเร็วกว่าธรรมดา

    ท่านว่าใครอาบัติปาราชิกแล้ว รีบสึกเสีย อย่าแสดงตนเป็นภิกษุ มีอยู่ในมงคลทีปนี สึกแล้วยังมีโอกาสทำดีได้ เพราะฉะนั้น ศีล วินัย ต้องพิจารณา ต้องสังฆาทิเสส ต้องรีบทีเดียว อยู่กรรมแล้วบอกเพื่อนภิกษุ ส่วนที่ต่ำรองลงมา ต้องรีบแสดงอาบัติ อย่าให้ข้ามพ้นอรุณ แม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ต้องพยายามพิจารณาให้มีสติอยู่เรื่อย นี้เรื่องของศีล

    เรื่องสมาธิก็ต้องทำ พอว่างมีโอกาสเล็กๆ น้อยๆ ต้องทำ ก่อนนอน ตื่นนอน ทำเลย นั่งก็ทำ นอนก็ทำ สติต้องอยู่ที่ศูนย์กลาง อาบน้ำก็ทำ น้ำเย็นๆ ราดไป เห็นชัด เพราะสบายใจ อาการที่จะบรรลุธรรมที่ดีที่สุด คืออาการพอดีๆ สบายๆ

    เพราะฉะนั้น เรื่องปัญญาด้อย อายุมาก ผมว่าไม่ต้องไปคิด ท่านให้มา 3 อย่าง ศีล สมาธิ ปัญญา เดินตรงนี้ และแยกแยะรายละเอียดออกมา ท่านดู “หลักทำนิพพานให้แจ้ง” แล้วอ่านประกอบสติปัฏฐาน 4 มีสติพิจารณาเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ในส่วนที่เป็นสังขารที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาต่อไปว่าเป็นทุกข์ ดูเหตุแห่งทุกข์ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ หนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ตรงนี้ค่อนข้างเห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย ถ้ายังไม่ถึง ลองพิจารณาเท่าที่ทำได้ ทำของเราดีที่สุดแล้ว ได้เท่าไรเอาเท่านั้น เป็นอุเบกขา ธรรมะจะเจริญเอง ไม่ต้องดิ้นรน แต่จงตั้งใจทำอย่างต่อเนื่องจริงจัง พิจารณาเหตุสังเกตผลในวิชชา คือหลักปริยัติ วิธีการปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ เพราะท่านทั้งรู้ทั้งเห็น และในยุคนี้หลวงพ่อวัดปากน้ำแสดงเรื่องวิสังขารอย่างแจ่มแจ้ง ท่านแสดงทั้งสภาวะของนิพพาน ผู้ทรงสภาวะและอายตนะนิพพาน คนอื่นยังไม่ปรากฏว่าแสดง 3 อย่างนี้อย่างชัดเจน.
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    วิบาก... จากการเบียดเบียน ผู้ไม่ทำร้าย ผู้ไม่เบียดเบียน

    [​IMG]



    โอวาทธรรมจากหลวงป๋า

    ผู้มีปกติประพฤติชั่วร้าย ด้วยกิริยา วาจา และด้วยอัธยาศัยใจคอที่หยาบคาย ก้าวร้าว ดูหมิ่นดูแคลน ล่วงเกินต่อผู้อื่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทำต่อผู้ใหญ่โดยชาติวุฒิ โดยวัยวุฒิ และโดยคุณวุฒิ ผู้ทรงศีล ทรงธรรม หรือผู้ประทุษร้าย ผู้ทำลาย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ย่อมได้รับผลเป็นวิบาก ที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา (อนิฏฐวิบาก) อย่างรุนแรง ตามระดับแห่งคุณธรรม ของผู้ที่ถูกกระทบ และ/หรือ ที่ถูกก้าวร้าว และล่วงเกินนั้น ให้ผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับผลกรรมนั้น เป็นดุจซัดธุลีทวนลม เพราะความประพฤติที่ไม่ดีเช่นนั้น ย่อมให้ผลเป็น อุปัตถัมภกกรรม คือ เป็นกรรมสนับสนุน ช่วยเร่งกรรมที่ไม่ดี ที่เคยกระทำไว้ แต่อดีตให้ ให้ผลเร็ว และแรงขึ้น และในขณะเดียวกันยังเป็น อุปปีฬกกรรม เบียดเบียนกรรมดี ที่ได้เคยกระทำไว้ หรือที่กำลังกระทำอยู่ ให้อ่อนกำลังลง คือให้ผลน้อย และ/หรือ ให้ผลช้าลง ดังปรากฏให้เป็นข่าว ให้ได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า ...ผู้ประทุษร้ายหรือทำลาย ผู้ที่มีคุณความดีมากๆ ดังเช่น ผู้ประทุษร้ายหรือทำลาย คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ และแม้ทำลายพระพุทธรูป ด้วยใจบาป หยาบช้า ย่อมได้รับผลกรรม ตามสนอง ในภพชาติปัจจุบันทันตาเห็น เป็นต้นว่า ให้เป็นผู้มีอายุสั้น หรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง และเรื้อรัง หรือฟุ้งซ่านมาก ถึงเสียสติ เพ้อคลั่ง บางรายประสบกับความเสื่อม ถึงความตกต่ำ ล้มเหลวในชีวิต หาความเจริญและสันติสุขในชีวิตมิได้ เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ คือ ถึงความตาย เขาผู้มีปกติประพฤติชั่วร้ายเช่นนั้น ย่อมไปสู่ทุคติภพ คือ ไปเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี ที่ไม่เจริญ ได้แก่ ไปเกิดเป็นเปรตบ้าง สัตว์นรก อสุรกาย หรือ สัตว์เดรัจฉานบ้าง ตามกฏแห่งกรรม โดยที่ไม่มีอำนาจใด ที่จะช่วยได้เลย

    .......................
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    .......................
    จาก
    หลักธรรมาภิบาล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มกราคม 2015
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    [​IMG]



    โอวาทธรรมจากหลวงป๋า
    ถามตัวเองดูว่า "ความสงบต้องการไหม มันมีคุณมีโทษ ถ้าเห็นว่ามีคุณ ก็จงทำความสงบให้เกิด ให้สงบจากกิเลสนิวรณ์" โดยการทำสมาธิ ซึ่งมีอุบายวิธี สมถภูมิ ๔๐ ถ้าคิดอะไรไม่ได้ก็ "สัมมาอะระหังๆๆ" ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางของกลางจุดเล็กใส อันนี้เป็น "อาโลกกสิน" ครอบจักรวาล สัมมาอะระหัง นึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ข้อปัญญาคุณ ข้อพระวิสุทธิคุณ น้อมเข้ามาสู่ใจเราเป็นนิจ เป็นพุทธานุสสติอีกโสดหนึ่ง หายใจเข้าออก มองดูลูกแก้วว่ามันเห็นชัดหรือยัง ถ้าเห็นชัดแล้ว จึงค่อยปล่อยลมหายใจ มีสติเห็นลมหายใจเข้าออกกระทบดวงแก้ว ตรงนั้นเป็นอานาปนสติ สามกษัตริย์รวมกันเข้าละก็ รับรองเลย ได้ผลสมบูรณ์ที่สุด ไม่ต้องไปเชื่อใคร แต่ถ้าเท่านี้ยังทำไม่ได้ ก็อย่าไปคิดหาวิธีอื่นเลย เพราะวิธีนี้ดีที่สุดแล้ว ถึงแม้จะมีวิธีอื่น ที่เป็นที่สบายแก่ตน แต่ผลสำเร็จไม่สูง จะให้ได้ผลสำเร็จสูง ต้องสมถวิปัสสนา ด้วยวิธี ๓ วิธีนี้ รวมกันเรียกว่า "วิธีสามกษัตริย์" คือ "อาโลกกสิน อานาปานสติ และ พุทธานุสสติ" ดีที่สุดแล้ว ครอบจักรวาลหมดแล้ว
    .....................
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    ......................
    จากหนังสือ
    ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    ....ทำไม คนจำนวนหนึ่ง ไม่ตระหนัก...







    ....เมื่อไปสอนเด็กที่ไม่เคยเรียนปริยัติลึกซึ้ง สอนคนพิการ ตาบอด ไม่ต้องกำหนดดวงแก้ว ไม่ต้องกำหนดแสง ไม่ต้องกำหนดองค์พระ


    .........แค่ ให้เค้านึกสื่งที่สบายๆ ตามจริต เช่นลม ท้องพองยุบ หน้าพ่อแม่ ทะเล ภาพที่สบาย วิว ฯลฯ ไว้กลางท้องใกล้ฐานที่7 กลับเข้าถึงดวงปฐมมรรค และ กายธรรมเบื้องต้นได้ทุกคน

    เมื่อแสงสว่างภายใน เกิด หลังจากสติสัมปชัญญะ ต่อเนื่อง ลงตัว ที่ศุนย์กลางกายได้

    ก็จะเห็น ของจริงที่เดิมมีอยุ่แล้ว


    ............ทำไม.....^-^........




    คำตอบ ก็ง่ายๆ
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    วิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรมพระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท


    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ได้ตรัส "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" คือ ธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น 12 ประการ ดังต่อไปนี้ (ม.มู.12/448, 450/482-483, 485)


    ตรัสนัยอันเป็นปัจจัยเกิด และ ดับ

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น
    เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ
    เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
    เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
    เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
    เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี
    ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    เพราะ อวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ
    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    ตรัสนัยแห่งความดับ

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ

    เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้


    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม


    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ มีความว่าดังนี้

    "ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น หมายถึงธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส" (พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1: หจก.พริ้นติ้ง (ไทยแลนด์), พ.ศ.2528, หน้า 37-38.)

    มีวิธีเจริญภาวนาพิจารณาเห็นได้ดังต่อไปนี้

    ขณะเมื่อพระโยคาวจรเจริญฌานสมาบัติ พิจารณาอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นไปในญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12 อยู่นั้น ย่อมจะสามารถพัฒนาไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ได้ กล่าวคือ ในขณะที่พิจารณาเห็นทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ในกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดอยู่นั้น หากเพ่งพิจารณาด้วย "ตา" หรือ "ญาณ" พระธรรมกาย ลงไปที่กลางทุกขสมุทัยอริยสัจ ก็จะเห็นว่า

    "อวิชชา มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำขุ่นมัว ไม่ผ่องใส เล็กประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    สังขาร มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
    วิญญาณ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
    นามรูป มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ
    สฬายตนะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของนามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
    ผัสสะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
    เวทนา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
    ตัณหา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
    อุปาทาน มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดภพ
    ภพ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
    ชาติ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส

    ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน ประสานติดต่อกันเป็นปัจจัย อุดหนุนกันไม่ขาดสาย เหมือนลูกโซ่ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นเพราะเป็นปัจจัยติดต่ออาศัยซึ่งกันและกันเกิด เมื่อจะดับธรรมเหล่านี้ ก็ต้องดับเบื้องต้น คือ อวิชชาดับมาก่อน แล้วธรรมอื่นๆ ก็ดับมาเป็นลำดับจนถึงเบื้องปลาย คือ ชาติดับ แต่นั่นธรรมเหล่านี้จึงจะดับขาดสายไปทุกประการ" (อ้างแล้ว. หน้า 38-39)

    อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทธรรมแต่ละดวงนี้ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง

    และดังที่จะได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต โดยละเอียดในลำดับต่อๆ ไปว่า ใน เห็น จำ คิด รู้ ก็มี "อนุสัย" ได้แก่ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย หุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชานุสัยนั้น หุ้มซ้อนดวงรู้ของกายโลกิยะทั้ง 8 อยู่ แต่หยาบละเอียดกว่ากันไปตามความหยาบละเอียดของกายเข้าไป เห็น จำ คิด รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนธรรมกาย

    ต่อเมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกายแล้ว อนุสัยกิเลสทั้งหลาย จึงถูกถอดออกเป็นชั้นๆ จนกระทั่งหมดไปเมื่อถึงธรรมกาย อวิชชาเครื่องหุ้มรู้ เมื่อถูกถอดมาถึงกายธรรม จึงกลับเป็นวิชชา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมขึ้นมาทันที วิชชาเครื่องหุ้มนั้นก็ใสละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ และดวงรู้ก็เบิกบานขยายโตเต็มส่วน มีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย และ กลับเป็นญาณรัตนะ


    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นอาสวักขยญาณคือความหยั่งรู้วิธีทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป

    จึงเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกายว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นคงมีอยู่แต่เฉพาะในกายโลกิยะทั้ง 8 เท่านั้น หาได้มีในพระธรรมกายด้วยไม่ และรู้แจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ส่วนละเอียดด้วยญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้นเอง ที่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะมีอวิชชาเป็นรากเหง้าแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ถ้าดับอวิชชาได้ ทุกข์ก็ดับหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดดับหรือขาดลง ทุกข์ก็ดับ เพราะความเป็นเหตุและผลของทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม" นั้นขาดหมดตลอดทั้งสาย

    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยตา และ ญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้น ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์อย่างไรแล้ว ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย และ รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกาย ว่า พระธรรมกายมรรค ผล นิพพาน ชื่อว่า "พระนิพพานธาตุ" อันพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้าท่านได้บรรลุแล้ว ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนี้เอง ที่กลับเป็นกาย นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา (แท้) ที่วิมุตติหลุดพ้น หรือ ว่าง (สูญ) จากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ว่างจากอัตตาโลกิยะและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโลกิยะนั้น หรือที่ว่างจากสังขาร จึงชื่อว่า "ว่างอย่างยิ่ง-ปรมํ สุญฺญํ" ด้วยประการฉะนี้

    ที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นวิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ในส่วนที่เป็นธาตุละเอียด ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กัน เข้าไปข้างใน ถัดจากธาตุละเอียดของอริยสัจ 4 ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม ทั้งของตนเองและของผู้อื่น และทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) จากสุดหยาบ (กายมนุษย์) ไปถึงสุดกายละเอียด

    โดยความเป็นธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12) และ ดับไป เป็นปัจจุบันธรรม ได้ ดังเช่นต่อไปนี้

    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายที่เจริญฌานสมาบัติให้จิตสงัดจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัยคือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 มีสติสัมปชัญญะ มีศีลสังวรและอินทรีย์สังวรอยู่เสมอ ย่อมสามารถพิจารณาเห็นเป็นปัจจุบันธรรม ทั้งที่ยังเป็นๆ อยู่ ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม ดังต่อไปนี้

    1.กายมนุษย์ละเอียด ซึ่ง เป็นกาย ณ ภายใน ของผู้ที่ปฏิบัติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต ซอมซ่อ เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส พลอยให้กายมนุษย์หยาบ อันเป็นกาย ณ ภายนอก เศร้าหมองด้วย
    ย่อมเห็น เวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก และ ทั้ง ณ ภายใน คือ ดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ ของกายมนุษย์หยาบ และ ของกายมนุษย์ละเอียด เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และ
    ย่อมเห็น ธรรมในธรรม อันมี "ดวงธรรม" ที่ทำให้เป็นกาย 1 "ดวงศีล" 1 ธาตุละเอียดของ "ทุกขสัจ" 1 "สมุทัย" (ตัณหา) 1 และ ภพภูมิ (ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม) 1 อันมี เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ "ใจ" ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมในธรรมดังกล่าวทุกดวง มัวหมอง ไม่ผ่องใส เป็น "ทุคคติภพ" พลอยให้การดำเนินชีวิตของผู้นั้นเป็นไปไม่ดี คือ เป็น "ทุกข์" ไม่เป็น "สันติสุข" และ
    2.ย่อมสามารถพิจารณาเห็น กายมนุษย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายในกาย ณ ภายใน ของผู้งดเว้น คือ ไม่ประกอบกายทุจจริต วจีทุจจริต และ มโนทุจจริต เป็นผู้มีศีลมีธรรม ประกอบด้วยทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ผ่องใส ตามระดับภูมิธรรม เช่น
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "มนุษยธรรม" กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "เทวธรรม" คือประกอบด้วยหิริ โอตตัปปะ กายทิพย์ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "พรหมธรรม" คือประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม และรูปฌาน/อรูปฌาน กายรูปพรหม/อรูปพรหม ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "พุทธธรรม" ตั้งแต่โคตรภูจิตขึ้นไป "ธรรมกาย" ก็ปรากฏผ่องใสตามระดับภูมิจิต
    ธรรมในธรรมของผู้นั้น รวมทั้งเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ของผู้นั้น ย่อมบริสุทธิ์ผ่องใส และ มีรัศมีปรากฏ เป็นสุคติภพ (ภูมิจิต) และสูงขึ้นไปเป็นโลกุตตรภูมิ ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีของแต่ละท่าน
    พลอยให้การดำเนินชีวิตของท่านผู้นั้นเป็นไปด้วยดี มี "สันติสุข"
    แต่มีข้อพึงสังเกตว่า ผู้มีภูมิจิตสูงกว่า ย่อมสามารถเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ของผู้มีภูมิจิตต่ำกว่าได้ชัดเจน

    โดยนัยนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาถึงธรรมกาย ที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติ และได้สั่งสอนไว้ จึงมีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) อย่างครบถ้วน อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ ด้วยประการฉะนี้




    [​IMG]






    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    พระธรรมเทศนา "สติปัฏฐานสูตร"....พระมงคลเทพมุนี(สด จันทสโร)

    [​IMG]







    3 ตุลาคม 2497


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    อิธ ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยเรื่องธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย เป็นธรรมที่แน่แท้ในพระพุทธศาสนา จะแสดงตามคลองธรรมของสติปัฏฐานสูตร ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้เป็นหลักเป็นประธาน มหาสติปัฏฐานสูตรนั้นเป็นโพธิปักขิยธรรม เป็นไปในเรื่องฝ่ายเครื่องตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เหมือนกันหมด ปรากฏดังนี้ เหตุนั้นตามวาระพระบาลีแห่งมหาสติปัฏฐานสูตรที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ศึกษาพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อาตาปี มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน สมฺปชาโน รู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ สติมา มีสติไม่เผลอ วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงกำจัดความดีใจเสียใจในโลกเสียให้พินาศ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ มีสติไม่เผลอ พึงกำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่ เสมอ มีสติไม่เผลอ พึงกำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ มีสติไม่เผลอ พึงกำจัดความเพ่งอยากได้ ความเสียใจในโลกเสีย นี้เป็นเนื้อความของวาระพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตร แสดงหลักไว้ตามจริงดังนี้ รับรองหมดทั้งประเทศไทยว่าเป็นข้อที่ถูกต้องแน่นอนแล้ว ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป

    พิจารณาจะแสดงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย นี้เป็นข้อที่ลึกซึ้ง ของยาก ได้ไม่ยาก แต่ว่าไม่ง่าย ไม่ยากแก่บุคคลที่ทำได้ ไม่ง่ายสำหรับบุคคลที่ทำไม่ได้ ตำราได้กล่าวไว้ว่า เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ 4 ข้อ

    เห็นกายในกาย น่ะเห็นอย่างไร บัดนี้กายมนุษย์ที่ปรากฏอยู่ นั่งเทศน์อยู่นี่ นั่งฟังเทศน์อยู่นี่ นี่กายมนุษย์แท้ๆ แต่ว่ากายมนุษย์นี่แหละเวลานอนหลับฝันไปก็ได้ พอฝันออกไปอีกกายหนึ่ง เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด นี่รู้จักกันทุกคนเชียวกายนี้ เพราะเคยนอนฝันทุกคน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร เป็นเหมือนมนุษย์คนนี้แหละ คนที่ฝันนี่แหละ นุ่งห่มอย่างไร อากัปกิริยาเป็นอย่างไร สูงต่ำอย่างไร ข้าวของเป็นอย่างไร ก็ปรากฏเป็นอย่างนั้น ก็ปรากฏเป็นคนนี้แหละ แบบเดียวกันทีเดียว คนเดียวกันก็ว่าได้ แต่ว่าเป็นคนละคน เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด เวลานอนหลับสนิทถูกส่วนเข้าแล้ว ก็ฝันออกไป ออกไปอีกคนหนึ่ง ก็เป็นกายมนุษย์คนนี้แหละ รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้แหละ ถึงได้ชื่อว่าเป็นกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์คนที่ฝันออกไปนั่นแหละเขาเรียกว่า กายมนุษย์ในกายมนุษย์ นี่แหละ กายในกาย หละ เห็นจริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่เห็นตามเหลวไหล เห็นอย่างนี้ ก็เป็นหลักเป็นพยานได้ทุกคน เพราะเคยนอนฝันทุกคน นี่เห็นในกาย เห็นอย่างนี้นะ เมื่อเห็นกายในกายอย่างนี้แล้ว

    เห็นเวทนาในเวทนา ล่ะ ก็ตัวมนุษย์คนนี้มีเวทนาอย่างไรบ้าง สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เวทนาเป็นอย่างนั้นมิใช่หรือ ก็ส่วนกายที่ฝันออกไปนั้นก็มีสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เหมือนกัน แบบเดียวกันกับกายมนุษย์คนนี้แหละ ไม่ต่างอะไรกันเลย

    จิตล่ะ เห็นจิตในจิต ก็แบบเดียวกันกับเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิตนี่ ต้องกล่าว “เห็น” นะ ไม่ใช่กล่าว “รู้” นะ เห็นจิตในจิต ดวงจิตของมนุษย์นี้เท่าดวงตาดำข้างนอก อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ตำรับตำรากล่าวไว้ว่า หทยคุหา จิตฺตํ สรีรํ จิตฺตํ เนื้อหัวใจเป็นที่อยู่ แล้วก็กล่าวไว้อีกหลายนัย ปกติมโน ใจเป็นปกติ ภวงฺคจิตฺตํ ใจเป็นภวังคจิต ตํ ภวงฺคจิตฺตํ อันว่าภวังคจิตนั้น ปสนฺนํ อุทกํ วิย จิตเป็นดังว่าน้ำ จิตนั่นแหละเป็นภวังคจิต เวลาตกภวังค์แล้วใสเหมือนกับน้ำที่ใส จิตดวงนั้นแหละเป็นจิตของมนุษย์ ที่ต้องมีปรากฏว่า จิตในจิต นั่นแหละอีกดวงหนึ่งคือ จิตของกายมนุษย์ละเอียด ที่ฝันออกไปนั้นเรียกว่า จิตในจิต

    ธรรมในธรรม เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ เป็นไฉนเล่า ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มีอยู่ในศูนย์กลางกายมนุษย์ ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ติดอยู่ในกลางกายมนุษย์ นี่เห็นธรรมในธรรมหละ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดมีอยู่ ไม่เท่าฟองไข่แดงของไก่ 2 เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่แหละ 2 เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นเป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นอีกดวงหนึ่ง นั่น เห็นอย่างนี้ “เห็น” หรือ “รู้” ล่ะ รู้กับเห็นมันต่างกันนะ เห็นอย่างหนึ่ง รู้อย่างหนึ่ง นะ ไม่ใช่ เอา “รู้” กับ “เห็น” มาปนกัน ไม่ได้

    กาเย กายานุปสฺสี เห็นกายในกาย เห็นเหมือนอะไร เห็นเหมือนนอนฝันอย่างนั้นซี เห็นจริงๆ อย่างนั้น ตากายมนุษย์นี่เห็นหรือ ตากายฝันมันก็เห็นละซี จะไปเอาตากายมนุษย์นี่เห็นได้อย่างไรล่ะ ตากายมนุษย์นี่มันหยาบนี่ อ้ายที่เห็นได้นั่นมันตากายมนุษย์ละเอียดนี่ มันก็เห็นกายโด่ๆ อย่างนั้น

    เห็นเวทนาในเวทนา เล่า ถ้าว่าเมื่อทำถูกส่วนเข้าเช่นนั้นละก้อ เห็นเวทนาจริงๆ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เวทนา 3 หรือ เวทนา 5 เห็นจริงๆ เป็นดวง เป็นดวงใส เวทนา เวทนาแท้ๆ สุขก็ดวงใส ทุกข์ก็ดวงข้นดวงขุ่น ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดวงปานกลาง เห็นชัดๆ เป็นดวงขนาดไหน ถ้าเต็มส่วนมันเข้าก็เท่ากับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น ดวงเวทนาขนาดนั้น ถ้าลดส่วนลงไปก็โตได้เล็กได้ นั่นเห็นเวทนาในเวทนา เห็นอย่างนั้นเชียว เห็นเหมือนนอนฝัน กายละเอียดทีเดียว เห็นเวทนาเป็นดวงทีเดียว แต่ว่าสุขก็อยู่ในสุขของมนุษย์นี่ ทุกข์ก็อยู่ในทุกข์ของมนุษย์นี่ ไม่สุขไม่ทุกข์ก็อยู่ในไม่สุขไม่ทุกข์ของมนุษย์นี่ ดีใจ ก็อยู่ในดีใจของมนุษย์นี่ เสียใจก็อยู่ในเสียใจของมนุษย์นี่ เขาเรียกว่า เวทนาในเวทนา เป็นดวงพอๆ กัน เท่าๆ กัน

    เห็นจิตในจิต ล่ะ ดวงจิตตามส่วนของมันก็เท่าดวงตาดำข้างนอก ถ้าไปเห็นเข้ารูปนั้น มันขยายส่วน วัดเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ดวงจิตก็ขนาดเดียวกัน ไปเห็นจริงๆ เข้าเช่นนั้น ขยายส่วนเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ปรากฏอยู่ในดวงจิตกายมนุษย์หยาบนี่แหละ แต่ว่าเป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด อยู่ในกายมนุษย์ละเอียดโน่น แต่ว่าล้อมอยู่ข้างในนี่แหละ

    เห็นธรรมในธรรม ล่ะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ เมื่อไปเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ขยายส่วนได้ โตได้ขนาดดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ขนาดๆ เดียวกัน ขยายส่วนออกไป นั้นได้ชื่อว่า เห็นธรรมในธรรม คือในกายมนุษย์นั้นเอง ในกายมนุษย์ละเอียดนั้น นี่รู้จักชั้นหนึ่งละนะ

    เมื่อเห็นเข้าเช่นนี้เราจะทำอย่างไร ตำรากล่าวไว้ว่า อาตาปี เพียรให้กลั่นกล้าอาจหาญทีเดียว เพียรไม่ย่อไม่ท้อไม่ถอยทีเดียว เป็นเป็นเป็น ตายเป็นตายทีเดียว เพียรกันจริงๆ ต้องใช้ความเพียรประกอบด้วยองค์ 4 ทีเดียว ประกอบด้วยองค์ 4 นั่นอะไรบ้างล่ะ เนื้อ เลือด กระดูก หนัง เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหมดไปไม่ว่า เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน ไม่ละล่ะ ใจต้องจรดอยู่ทีเดียว ในกาย เวทนา จิต ธรรมนั้น ไม่เคลื่อนล่ะ ใจจะต้องจรดอยู่ทีเดียว ไม่ปล่อยกันละ ฝันไม่กลับกันละ ฝันกันเรื่อย แม้จะกลับมาก็เล็กน้อย ฝันมันอีก ฝันไม่เเลิกกันละ ให้ชำนาญทีเดียว นั่งฝันนอนฝัน นั่งก็ฝันได้ นอนก็ฝันได้ เดินก็ฝันได้ ยืนก็ฝันได้ ขี้เยี่ยวฝันได้ทีเดียว นี่เขาเรียกว่า อาตาปี เพียรเร่งเร้าเข้าอย่างนี้ สมฺปชาโน สติมา รู้อยู่เสมอ ไม่เผลอ เผลอไม่ได้ เผลอหายเสีย ถ้าได้ใหม่ๆ ละ ถ้าเป็นใหม่ๆ เป็นใหม่ๆ เผลอไม่ได้ หายเสีย ไม่เผลอกันทีเดียว ไม่วางธุระ เอาใจใส่ ไม่เอาใจไปจรดอื่น จรดอยู่ที่กาย เวทนา จิต ธรรม ในกายนั่น

    จรดอยู่ที่กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม 4 อย่างนั่นจรดได้หรือจรดตรงไหนละ ที่จรดเขามี ที่ตั้งของใจเขามี ที่จรดเขามี แต่ว่าที่ 4 อย่างนั้นจะดูเวลาไรเห็นเวลานั้น เหมือนกายมนุษย์นี่ ถ้าว่ามีความเห็นละก็ ก็จะเห็นปรากฏ ทีนี้ไม่มีความเห็น มีแต่ความรู้ กายของตัวเห็นอยู่เสมอ เวทนาของตัวก็รู้สึกอยู่เสมอ จิตของตัวก็รู้สึกอยู่เสมอ จะคิดอะไร ธรรมของตัวก็รู้อยู่เสมอ ความดีของตัวไม่มีชั่ว ไ่ม่เจือปน มนุษย์รู้ได้เท่านี้ ส่วนกายมนุษย์ละเอียดเห็น เห็นปรากฏ เมื่อเห็นปรากฏดังนี้ละก็ นี่แหละ ความจริงในพระพุทธศาสนา รู้จักเท่านี้แหละ และก็เมื่อรู้จักเท่านี้ อย่ารู้จักเพียงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แต่เพียงเท่านั้นนะ ยังมีอีกหลายชั้น นับชั้นไม่ถ้วน นี่ชั้นหนึ่งละนะ เข้าไปอีกชั้นหนึ่ง กายในกายนั่น เขาเรียกว่า ฝันในฝัน ยังไงล่ะ ฝันในฝัน ไอ้กายที่ฝันไปน่ะไปทำการงานเหนื่อยเข้า ไปแสดงฝันเต็มเปรมของการฝันเข้า เหนื่อยก็ไปนอนหลับเข้า นอนหลับฝันเข้าอีกแน่ะ ไอ้กายฝันก็ฝันเข้าอีก นี่เขาเรียกว่า ฝันในฝัน ฝันในฝันมันเป็นยังไงล่ะ ลุกออกไปอีกกายหนึ่งน่ะซิ ออกไปอีกกายก็เป็นกายทิพย์ อันนี้เป็นกายทิพย์ ออกไปอีกกาย เป็นกายทิพย์ กายทิพย์ก็เห็นโด่อีกนั้นแหละ เหมือนกับกายมนุษย์ที่ฝันนั่นแหละ แบบเดียวกัน ไม่เปลี่ยนไม่แปลงอะไรกัน หน้าตา เอากระจกคันฉ่องมาส่องเงาหน้า เอามาเทียบกันดู จำได้ทีเดียว นีคนเดียวกัน ไม่ใช่แยกจากคนนี้ไป คนเดียวกัน เมื่อรู้จักเช่นนั้นน่ะ เห็นกายในกายที่ 3 เข้าไปแล้ว ไม่ใช่ที่ 2 แล้ว เวทนาก็แบบเดียวกัน เห็นอย่างเดียวกัน เวทนาตั้งอยู่ตรงไหน ถ้าเขาถามว่าเวทนาตั้งอยู่ตรงไหน ที่เห็นน่ะ อยู่กลางกาย กายที่ฝันในฝันนั่นแหละ กายที่ 3 นั่นแหละ อยู่กลางกายนั่นแหละเวทนา จิตในจิตล่ะ จิตก็อยู่ในกลางเวทนานั่นแหละ ธรรมในธรรมก็อยู่กลางจิตนั่นแหละ ธรรมในธรรมน่ะไม่ได้อยู่ที่ไหนหรอก เป็นดวงเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ บริสุทธิ์สนิทเท่าๆ กัน นี้เหมือนฝันในฝัน ตัวจริงอย่างนี้ ไม่ใช่คลาดเคลื่อน ที่วัดปากน้ำดำเนินปฏิบัติ น่ะไม่ได้เอาเรื่องอื่นมาเหลวไหล ค้นเข้าไปตัวจริงในตัวอย่างนี้ นี่ก็เป็น 2 กายละนะ เข้าไป 3 กายแล้ว กายฝันในฝันแล้ว ได้เท่านี้ก็พอแล้วนี่ ได้เท่านี้ก็พอเอาเป็นตัวอย่างได้แล้ว ทีนี้ก็เดินไปในแนวนี้ตำรานี้ อย่าถอยหลังก็แล้วกัน มันจะมีสักกี่ร้อยพันกายก็ไปเถอะ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เข้าไปอย่างนี้แหละ ไม่คลาดเคลื่อนทีเดียว แต่ว่าที่จะเข้ารูปนี้น่ะ แสดงไว้วานแล้ว แสดงไว้เมื่อวันพระแล้ว แสดงไว้แล้วตั้งแต่ เอกายนมรรค มาโน่้น ยังค้างอยู่ กายในกายยังไม่ได้อธิบายให้กว้างออกไป ก็รึจะอธิบายให้กว้างออกไปว่า ได้ความอย่างนี้ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม อย่างนี้แหละ นี่เป็นกายที่ 3

    กายที่ 4 กายทิพย์น่ะฝันอีก ฝันในฝันเข้าไปอีก เป็น 3 ชั้น 3 ฝันแล้ว แบบเดียวกัน พอเห็นกาย ก็เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แบบเดียวกัน แบบเดียวกันน่ะแหละ แล้วกายทิพย์ละเอียดนั่นแหละฝันเข้าไปในฝันเข้าอีก เป็น 4 ฝัน 4 ชั้นเข้าไป ก็เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม อีก ก็มีความเพียรไปอีก อย่าเผลอ ไม่ได้นะ เพียรไว้ มีสติไว้เสมอ ไม่เผลอ เพียรไว้ มีสติไว้เสมอ นำอภิชฌาโทมนัสในโลกเสีย อย่าให้ความดีใจเสียใจแลบเข้าไปได้นะ ถ้าความดีใจเสียใจแลบเข้าไปได้เดี๋ยวก็ต้องเลิกฝันละ ต้องตื่นหละ ต้องกลับมาแล้ว ฝันไม่ได้ซะแล้ว ความดีใจแลบเข้าไป แลบเข้าไปยังไงล่ะ แลบเข้าไปมันลึกซึ้งนัก กำลังฝันๆ อย่างนั้นแหละ ความดีใจ จะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เข้าไปแต่งแล้ว เสียใจ มันก็ไม่ได้สมเจตนาก็เสียใจละ พอดีใจเสียใจแวบเข้าไปก็ขุ่นมัวทีเดียว ประเดี๋ยวก็ต้องถอยออก ต้องฝันไม่ได้ ต้องเลิกฝันกัน เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจนี่ร้ายนัก ไม่ใช่ร้ายแต่เมื่อเวลาปฏิบัติธรรมะ เห็นธรรมะอย่างนี้นะ ถึงเวลาเราดีๆ อยู่ อ้ายความดีใจเสียใจนี่แหละ ตีอกชกใจน่ะ กินยาตาย ผูกคอตาย โดดน้ำตาย ดีใจเสียใจนี่แหละมันเต็มขีดเต็มส่วนของมันเข้า บังคับอย่างนี้ เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจนี่เป็นมารร้ายทีเดียว ถ้าว่าใครให้เข้าไปอยู่ในใจบ่อยๆ แล้วก็หน้าดำคร่ำเครียดซิ กายไม่สดชื่นซิ ไม่เศร้าหมองไม่ผ่องใสหรอก เพราะอะไร มันดีใจเสียใจ บังคับใจมัน เดือดร้อนมัน หน้าดำคร่ำเครียดทีเดียว ก็บางคนไม่อ้วนทีเดียว ผอม ผอมเกลียวทีเดียว ไอ้นี่มันเอาความดีใจเสียใจหมกมาทุกวัน ไม่ปล่อยมันออกไป ถ้าว่าทำใจให้สบาย ให้ชื่นมื่น ให้เย็นอกเย็นใจ สบายใจ จะมั่งมีดีจนอะไรก็ช่าง ทำใจให้เบิกบานไว้ ทำใจให้สบายไว้ ร่างกายมันก็ชุ่มชื่นสบาย นี่อ้ายดีใจเสียใจมันฆ่ากายมนุษย์อย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดก็ฆ่า กายทิพย์ก็ฆ่า กายทิพย์ละเอียดก็ฆ่า ฆ่าทั้งนั้น ทุกกาย ดีใจเสียใจน่ะคอยระวังไว้ ท่านจึงได้สอนนักว่า นำความดีใจและเสียใจในโลกเสียให้พินาศ

    ดีใจเสียใจในโลกนี่นะ ดีใจเสียใจในอัตตภาพร่างกาย โลกน่ะคือ ขันธ์ 5 นี้แหละ ร่างกายอันนี้แหละมันตัวโลกสำคัญละ เขาเรียกว่า สัตว์โลก โอกาสโลก ขันธโลก สัตว์โลก โอกาสโลก ว่างๆ ที่ว่างๆ อยู่นี้ ที่ว่างๆ เปล่า ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณ อากาศ นี่เขาเรียกว่าโอกาสโลก ขันธโลก ที่มันรวมเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเดียว สัตวโลก ไอ้ที่อาศัยขันธ์นั่นแหละไปเกิดมาเกิด ไอ้ที่เป็นกายๆ เข้าไปในข้างใน นี่เป็นสัตว์ทั้งนั้น เป็นกายเข้าไปข้างใน เป็นชั้นๆๆ เข้าไป สัตวโลกเป็นชั้นๆ เข้าไป สัตวโลกทั้งนั้น เมื่อเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมของกายมนุษย์ละเอียดแล้ว กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละฝันในฝันเข้าไปอีก เป็นข้อที่ 4 ออกไปอีกกาย

    ธรรมในธรรมของกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว, กายทิพย์ละเอียดนั่นแหละ ฝันในฝัน เป็นข้อที่ 4 ออกไปอีกกาย

    เป็นกายที่ 5 ก็คือ กายรูปพรหม กายรูปพรหมก็มีกาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน ปรากฏดังกล่าวแล้ว ไม่ต้องอธิบาย เวลาจะไม่พอ ย่นย่อพอควรแก่กาลเวลา กายรูปพรหมนั่นแหละ ฝันในฝันเข้าไปได้อีกเหมือนกัน ออกไปอีกกาย เป็น รูปพรหมละเอียด [ก็เห็น]กาย เวทนา จิต ธรรม อีกแบบเดียวกัน กายรูปพรหมละเอียด ฝันในฝันเข้าไปอีก ได้อีกเหมือนกัน ออกไปอีกกาย เรียกว่า กายอรูปพรหม มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน กายอรูปพรหมฝันออกไปอีกได้เหมือนกัน ออกไปอีกกายเรียกว่า กายอรูปพรหมละเอียด มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน กายอรูปพรหมละเอียดนั่นแหละ ฝันในฝันเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่ง เรียกว่า กายธรรม

    กายธรรม ก็มี กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน กายก็คือ ธรรมกาย เวทนาก็คือ เวทนาของธรรมกายนั้น จิตก็จิตของธรรมกายนั้น ธรรมก็เป็นธรรมของธรรมกายนั้น ขยายส่วนแน่ะ ดวงใหญ่ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น นั่นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเท่าหน้าตักธรรมกาย ธรรมกายนั่นแหละฝันได้อีกเหมือนกัน ออกไปอีกกาย เรียกว่า กายธรรมละเอียด ใหญ่ออกไป หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักเข้าไป มี กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน

    ธรรมกายละเอียดนั่นแหละฝันออกไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกาย มีกายพระโสดา เป็น กายพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป กายพระโสดานั่นแหละ พอประกอบธาตุธรรมถูกส่วนเข้า ออกไปอีกกาย แบบฝันนั่นแหละ ออกไปอีกกาย เป็น กายพระโสดาละเอียด หน้าตักกว้าง 10 15วา สูง 10 15วา มี กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน

    ธรรมกายละเอียดของพระโสดานั่นแหละ ฝันเข้าไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่ง เรียกว่า ธรรมกายพระสกิทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน มีกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แบบเดียวกัน พระสกทาคาก็ฝันเข้าไปอีก ออกไปอีกกายหนึ่ง เป็น กายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน มี กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แบบเดียวกัน

    กายพระสกทาคาละเอียดฝันไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่ง เรียกว่า กายพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา ธรรมกายพระอนาคาฝันไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่ง เรียกว่า กายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา

    ธรรมกายพระอนาคาละเอียดฝันไปได้อีกเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่ง เรียกว่า กายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป กายพระอรหัต นั้นแหละฝันไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่ง เรียกว่า กายพระอรหัตละเอียด ใหญ่หนัก ขึ้นไป มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน ฝันออกไปอย่างนี้แหละ มี กายพระอรหัต-พระอรหัตละเอียดๆๆ นับอสงไขยไม่ถ้วน

    ฝันออกไปอย่างนี้แหละ ตรวจกายพระอรหัต มีกายพระพุทธเจ้าอีกก็ได้ กายในกาย กายในๆๆๆๆ มันอย่างนี้แหละ ผู้เทศน์นี้ได้ทำวิชชานี้ 23 ปี ออกพรรษา วันออกพรรษานี้ ก็ 3 เดือนเต็มล่ะ ยังไม่หมดกายละเอียดเหล่านี้เลย ไม่ได้ถอยกลับเลย ยังไม่หมดกายละเอียดเหล่านี้เลย ยังไม่ถึงที่สุด ไปทูลถามพระพุทธเจ้าองค์เก่าองค์แก่ที่เข้านิโรธเข้านิพพานไปแล้ว ถอยเข้าไปหากายละเอียดนี้นะ ไปถึงแล้วหรือยัง ยังไม่มีใครรู้เลยว่าไปถึงหรือไม่มีใครไปถึง เอาละซิคราวนี้ นี่ศาสนาตัวจริงของกายมนุษย์เป็นอย่างนี้ เมื่อเป็นพระอรหันต์ขึ้น ก็ต้องไปตรวจของตัว เข้านิพพานแล้วต้องไปตรวจของตัว เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นแล้ว เข้านิพพาน ก็ต้องไปตรวจกายของตัวอย่างนี้แหละ ว่าที่สุดอยู่ที่ไหน ต้องไปถึงที่สุดให้ได้ ต้องไปบอกที่สุดให้ได้ นี่ความจริงเป็นอย่างนี้ เมื่อรู้จักความจริงอย่างนี้แล้วละก็ อย่าเหลวไหล อย่าเลอะเทอะ ที่อื่นไม่ใช่ของตัว ให้เอาใจจรดจี้อยู่ในตัว ไม่มีถอยกลับ ให้เข้าไปถึงกายที่สุดให้ได้ ว่ากายที่สุดของตัวอยู่ที่ไหน เมื่อไปถึงที่สุดของตัวได้ละก้อ ตัวก็รักษาตัวได้ ไม่มีใครมาเป็นอิสระ ไม่มีใครมาบังคับบัญชา ถ้ายังไม่ถึงที่สุดของตัวแล้วก็อย่าหมายเลย เขาจะต้องบังคับบัญชาแต่ท่าเดียวเท่านั้นแหละ แกจะต้องเป็นบ่าวเป็นทาสของเขา เวลามีพญามารมาบังคับ ใช้ให้เป็นบ่าวเป็นทาส ให้ทำอะไรทำได้ ให้ด่า ให้ตี ให้ชก ให้ฆ่า ให้ฟันกันก็ได้ ธรรมกาย อ้า! มาร (ฝ่ายอกุศล) บังคับ มันบังคับได้อย่างนี้ ให้เป็นบ่าวเป็นทาสเขา ให้เลวทรามต่ำช้า ให้เป็นคนจนอนาถาติดขัดทุกสิ่งทุกอย่าง เครื่องกินเครื่องใช้ขาดตกบกพร่อง เครื่องกินเครื่องใช้มากมีมูลมอง จะใช้สอยก็มี ทำได้ มารเขาทำได้ บังคับได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะตัวไม่เป็นอิสระในตัว เพราะตัวไม่เป็นใหญ่ในตัว เพราะตัวไม่รู้จักที่สุดของตัว นี่มนุษย์โง่ขนาดนี้ เห็นไหมล่ะ ไม่ใช่มนุษย์โง่เท่านั้น พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ท่านก็ไปไม่ถึงที่สุดเหมือนกัน ถ้าใครไปยังไม่ถึงที่สุดก็ยังไม่ฉลาดเต็มที่ ต่อเมื่อใดไปถึงที่สุดกายของตัว ไม่มีสุดต่อไปแล้วนั่นฉลาดเต็มที่แล้ว ตัวของตัวเองเป็นที่พึ่งแก่ตัวเองได้แล้ว นี้เป็นข้อสำคัญอย่างนี้นะ นี่เจอพุทธศาสนานี่แหละเป้าหมายใจดำ อย่าไปทำแง่อื่น อย่าไปหลงเน้อ อย่าไปหลง เลอะเทอะเหลวไหล เอ้า! ต่างว่ามีครอบครัวแล้ว ได้อะไรบ้าง ได้ลูกคนหนึ่ง แล้วเอามาทำไมล่ะ เอามาเลี้ยง เด็ก 10 คน เอ้า! เอาไว้เลี้ยงอย่างไงก็เลี้ยงไป บ่นโอ๊กแล้ว เด็ก 10 คนนั่นแหละ เอ้าได้ 50 คน เอ้า! เอาละซิทีนี้ เอ้า! เปะปะไปซี เอ้า! อยากได้ลูกใช่ไหมล่ะ ไม่จริง เหลว! โกหกตัวเอง โกงตัวเอง พาให้เลอะเลือน ไม่เข้าไปค้นกายของตัวให้ถึงที่สุด ไม่ให้ตรวจตัวถึงที่สุด เป็นมนุษย์กับเขาทั้งที เพราะเชื่อกิเลสเหลวไหลเหล่านี้แหละพาให้เลอะเลือน จะครองเรือนไปสักกี่ร้อยปีก็ครองไปเถิด งานเรื่องของคนอื่นเขาทั้งนั้น เรื่องของพญามารทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องของตัว ไม่ใช่งานของตัว ไปทำงานให้พญามารเขาทั้งวันทั้งคืน เอาเรื่องอะไรไม่ได้

    เพราะอะไรล่ะ เพราะไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เกิดมาพบอย่างไงก็ไปอย่างนั้นแหละ เพราะไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ นี่ไม่ได้ฝึกใจในธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกใจของสัตบุรุษ ความเห็นก็พิรุธเหลวไหลไปดังนี้ เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว นี่แหละ เป็นความจริงทางพระพุทธศาสนาตัวจริงทีเดียว นี้เป็นข้อที่ลึกซึ้ง

    ให้หนึ่งไว้ในใจว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะต้องเข้าให้ถึงที่สุด เข้าไปในกายที่สุดของเราให้ได้ เป็นกายๆ ออกไป เมื่อเป็นกายๆ เข้าไปแล้ว ถ้าทำเป็นแล้ว ไม่ใช่เดินท่านี้นะ เดินในไส้ทั้งนั้นๆ ไส้เห็น ไส้จำ ไส้คิด ไส้รู้ ในกำเนิดดวงธรรมที่ทำให้เป็นสุดหยาบสุดละเอียด เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด... เดินไส้ทั้งนั้น (หยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดๆๆๆ) เดินไส้ ไม่ใช่ เดินท่าอื่น เดินในกลางดวงปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา เดินไปในกลางดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั้นเป็นทางเดินของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เดินไปในไส้ ไม่ใช่เดินไปในไส้เพียงเท่านั้น ในกลางว่างของดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ของดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ว่างในว่างเข้าไป ในเหตุว่างในเหตุว่าง เหตุเปล่า ในเหตุดับ เหตุลับ เหตุหาย เหตุสูญ เหตุสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษในเหตุไม่เหลือเศษ หล่อเลี้ยง เป็นอยู่ ปราสาท เหตุรส เหตุชาติ เหตุไอ เหตุแก๊ส เหตุแก๊สกรด หนักเข้าไป เหตุสุดในเหตุสุด ในแก๊สกรดหนักเข้าไปอีก ไม่มีถอยหยุดกลับ นับอสงไขยไม่ถ้วน นับชาติอายุบารมีไม่ถ้วน1 ไม่มีถอยกลับกัน เดินเข้าไปอย่างนี้นะ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ใช่เดินโลเลเหลวไหลนะ ที่เรากราบที่เราไหว้เรานับถือนะ ท่านวิเศษวิโสอย่างนี้ นี่แหละเป็นผู้วิเศษแท้ๆ นี่แหละเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกแท้ๆ ท่านเป็น ผู้รู้จริง เห็นจริง ได้จริง เราจึงเอาเป็นตำรับตำราได้ เมื่อรู้จักหลักธรรมอันนี้แล้ว อย่าเข้าใจว่าได้ฟังง่ายๆ นะ ตั้งแต่เราเกิดมาเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา น่ะ อย่างนี้ไม่เคยได้ฟังเลยไม่ใช่หรือ ไม่เคยฟัง ได้ฟังแล้วจำเอาไว้ ทำให้เป็นเหมือนอย่างแสดงนี้ทุกสิ่งทุกประการ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.



    ------------------------------------------------------------

    หมายเหตุ

    1 มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือ "วิชชามรรคผลพิสดาร" (สำหรับผู้ถึงธรรมกายที่สามารถเจริญวิชชาขั้นละเอียดด้วยเจโตสมาธิแล้ว) เป็นการทำวิชชาสะสางธาตุธรรม โดยเข้าให้ถึงต้นๆ ธาตุ ต้นๆ ธรรม เพื่อเก็บอวิชชาธรรมฝ่ายดำ หรือดับอวิชชา อันเป็นมูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งมวล ให้เหลือเป็นแต่เฉพาะบุญกุศล และแก้ธาตุธรรมสายกลางให้กลับเป็นฝ่ายขาวด้วย จึงเป็นวิชชาที่คมกล้ายิ่งนัก ที่ให้ผลเป็นความบริสุทธิ์แก่ ทั้งฝ่ายผู้เจริญ กับทั้ง ผู้ที่ถูกแก้ไข ตามส่วน เพราะเหตุนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงได้เคยกล่าวไว้ว่า "ธรรมกายคนหนึ่ง [ที่สามารถเจริญวิชชาขั้นละเอียดได้] ช่วยคนได้ครึ่งเมือง"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 มกราคม 2015
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    [​IMG]



    "ไฟจุ่มน้ำ "

    บัดนี้ ที่วัดปากน้ำนี่นะมีธรรมกาย สูงกว่าฌานนั่นอีก โดยนั่นสู้ไม่ได้ ไกลกว่าฌานนั่นอีก เขามีธรรมกายกัน ถ้ามีความกำหนัดยินดีเท่าใด แพร็บเข้าธรรมกายไป ความกำหนัดยินดีทำอะไรไม่ได้เลย ล้อมันเล่นเสียก็ได้ มันทำอะไรไม่ได้
    ที่เราเป็นผู้ครองเรือนน่ะ ความกำหนัดยินดีมันบังคับ เหมือนเด็กๆ ตามใจชอบมัน จะทำอะไรก็ตามใจชอบของมัน มันบังคับเช่นนี้แล้ว เราเข้าธรรมกายเสีย ไม่ออกจากธรรมกาย ความกำหนัดยินดีที่มันบังคับนั่นหายแว๊บไปแล้ว เหมือนไฟจุ่มน้ำ


    พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)
    จากหนังสือ : วิสุทธิวาจา 2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มกราคม 2015
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    เรียนเชิญ เพื่อนสมาชิก ที่ปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย แลกเปลี่ยนประสพการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติ



    ไม่ว่าท่านจะเรียนจากกลุ่มหรือ สำนักไหน วัดไหน







    ........ขอเป็นผู้มีประสพการณ์ตามแนววิชชาฯนะครับ



    เพื่อเนื้อหา ที่เหมาะกับจริต นิสัย



    และ ไม่ก่อเกิดนิวรณ์ธรรม หรือ อกุศลธรรมอันใดเพิ่มเติม
    จากการเสวนาแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่นอกประเด็น ออกไปไกล
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    อริยทรัพย์

    [​IMG]


    25 พฤศจิกายน 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา
    สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ
    สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ
    อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ
    ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ
    อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ.





    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงในอริยทรัพย์ ซึ่งมีมาตามวาระพระบาลีในอริยธนคาถา จะคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย กว่าจะยุติกาลลงโดยสมควรแก่เวลา จึงได้เริ่มต้นแห่งอริยธนคาถานี้ว่า ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา ความเชื่อของ บุคคลใดไม่กลับกลอก ตั้งมั่นในพระตถาคตเจ้า สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลของบุคคลใดดีงาม อันเป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า อันพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเชื่อในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นของ บุคคลใดเป็นธรรมชาติตรง อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่าหาใช่คน จนไม่ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้นไม่เปล่าปราศจากประโยชน์ ได้ประโยชน์ ทีเดียว เพราะเหตุนั้น เมื่อบุคคลผู้มีปัญญามาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ควรประกอบความเชื่อ ประกอบศีล ประกอบความเลื่อมใส ประกอบความเห็นธรรมไว้ เนืองๆ นี่เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามได้ความเพียงเท่านี้

    ต่อจากนี้จะได้อรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป ว่าความเชื่อของบุคคลใด ไม่หวั่นไหวตั้งมั่นอยู่แล้วในพระตถาคตเจ้า ข้อนี้ สทฺธา แปลว่าความเชื่อ ยสฺส ของบุคคลใด อจลา ไม่กลับกลอก สุปติฏฺฐิตา ตั้งมั่นอยู่แล้ว ตถาคเต ในพระตถาคตเจ้า แกะเอาเนื้อ ความของพระบาลีถูกถ้วน ทุกอักขระทุกอักษรไม่คลาดเคลื่อน ว่าความเชื่อของบุคคลใด ไม่กลับกลอก ตั้งอยู่ดีแล้ว ตั้งอยู่แล้ว เอาดีออกเสีย ตั้งอยู่แล้วในพระตถาคตเจ้า หรือตั้งมั่น แล้วในพระตถาคตเจ้านี้ ให้ดีหนักขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็เพลาไป ตั้งมั่นแล้ว ความเชื่อของบุคคลใด ไม่กลับกลอก ตั้งมั่นแล้วในพระตถาคตเจ้า นี่แน่นหนาดี แปลอย่างนี้ แน่นหนาดี เชื่ออย่างไร ในพระตถาคตเจ้า ไม่กลับกลอกและตั้งมั่นในพระตถาคตเจ้า จะเป็นคนเช่นไร

    อันนี้ไม่ใช่อื่นไกลละ นั่นคือพระพุทธ ในอรรถกถาธรรมบทปรากฏอยู่ สุปปพุทธกุฏฐิ เชื่อในพระพุทธ เชื่อในพระธรรม เชื่อในพระสงฆ์ เชื่อเสียจริง ไม่ได้กลับกลอกละ ไม่ได้ ง่อนแง่นคลอนแคลนล่ะ เรื่องนี้ทราบไปถึงพระอินทร์ พระอินทร์ เออ! เราจะไปทดลองดูทีว่า แกจะเชื่อแค่ไหน มั่นในพระตถาคตเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์เช่นไร พระอินทร์ก็เปลี่ยน แปลงเพศ จำแลงแปลงกายทีเดียว เหมือนคนธรรมดาเดินสวนทางกันมา เดินสวนทางก็ได้ พูดจากับท่านสุปปพุทธะ คนโรคเรื้อนเทียวนะ ขอทานเขานะมาเลี้ยงชีพได้ มีหรือจนนะ ขอทานเขา คนโรคเรื้อน เออ! ท่านสุปปพุทธะ เขาว่าท่านมั่นคงแน่นอนนัก ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ท่านบัดนี้ก็เป็นคนไม่สมบูรณ์บริบูรณ์อยู่ ท่านจะพูดได้ไหมว่า นั่นไม่ใช่ พระพุทธ นั่นไม่ใช่พระธรรม นั่นไม่ใช่พระสงฆ์ เราจะให้สมบัติท่านพอเลี้ยงชีพตลอดชาติ ไม่ต้องทุกข์ยากลำบากต่อไปนะ ท่านสุปปพุทธะก็ถามว่าท่านนะเป็นใครล่ะ พระอินทร์แปลง ก็บอกว่าเราเป็นพระอินทร์ ไหนเป็นพระอินทร์ลองเหาะขึ้นไปในอากาศดูซิ เปลี่ยนเพศเป็น พระอินทร์ทันที เหาะไปในอากาศต่อหน้านั่นแหละ เอาจริงกันอย่างนี้ สุปปพุทธะบอกว่า ถึง ท่านเป็นพระอินทร์อย่าเข้าใกล้เราเลย พระอินทร์พาลๆ อย่างนี้ เราไม่อยากคบค้าสมาคม ด้วยแล้ว ไปเสียเถอะ อย่าให้เรากลับถ้อยคำว่า นั่นไม่ใช่พระพุทธ นั่นไม่ใช่พระธรรม นั่น ไม่ใช่พระสงฆ์ ว่าไม่ได้ ว่าได้แต่ว่า นั่นพระพุทธเจ้า นั่นพระธรรม นั่นพระสงฆ์ นั่นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ คลาดเคลื่อนไปไม่ได้ทีเดียว ท่านมั่นคงอย่างนี้ บัดนี้พวกเราที่รู้จักแล้ว ว่านั่นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ยังรู้จักแต่เนมิตตกนามว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เท่านั้น ไม่แน่นอนหรอกตรงนั้น ถ้าจะให้กลับกล่าวเสียใหม่เถอะว่า นั่นไม่ใช่พระพุทธ นั่นไม่ใช่พระ ธรรม นั่นไม่ใช่พระสงฆ์ ถ้าไม่รู้จริงรู้แท้ พระพุทธเจ้ารูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร พระธรรม รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร พระสงฆ์รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร พอให้กล่าวอย่างนี้เถอะ จะให้เงินเลี้ยงชาติหนึ่ง ก็จะรับเงินเท่านั้น เพราะไม่รู้จักเห็นจริง ผู้มีธรรมกายละก้อ เห็นได้ แม้จะให้เงินเลี้ยงชีพตลอดชาติ ก็เห็นจะไม่รับล่ะ ว่านั่นไม่ใช่พระพุทธรัตนะ นั่นไม่ใช่ ธรรมรัตนะ นั่นไม่ใช่สังฆรัตนะ ไม่ใช่ที่พึ่งของท่านหรอก ผู้ไม่รู้ไม่เห็นก็อาจจะเหลวไหลไปได้ เหลวไหลเช่นนั้นเรียกว่าไม่แน่ ผู้มีธรรมกายมั่นคงแล้ว ไม่กลับกลอก ไม่เหลวไหล เหมือน สุปปพุทธะทีเดียว แน่นอนหละดังนี้ ให้รู้จักหลักดังนี้นะ

    มาวัดตัวของเราว่าเชื่อในพระตถาคตเจ้าจริงไหม ตถาคตเจ้านั่นคือธรรมกาย บาลีได้ สำทับไว้ว่า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราตถาคต คือ ธรรมกาย ธรรมกายคือตัวพระตถาคตเจ้า ทีเดียว ให้เชื่อมั่นคงลงไปดังนี้ อย่าให้กลับกลอกออกไป ให้แน่นอนทีเดียว สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลของผู้ใดอันเป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า อันพระอริยเจ้าสรรเสริญ แล้ว ศีลอันดีงามเป็นอย่างไร ศีลอะไรที่ดีงาม ศีล 5 ก็ดีงาม บริสุทธิ์จริง ศีล 8 ก็ดีงาม ให้บริสุทธิ์จริงๆ อย่าเอาเท็จเข้ามาแทรก อย่าเอาความเศร้าหมองขุ่นมัว เข้ามาแทรก ศีล 10 ถ้าดีจริง บริสุทธิ์ตามศีลที่จริง ศีล 227 ก็ดีจริง บริสุทธิ์ตามศีลที่จริง ศีลในพระ วินัยปิฎกเป็น อปริยันตสีล มีมากน้อยเท่าใด ศีลนั่นแหละเป็นศีลดีจริงทั้งนั้น ศีลดีจริงก็จักได้ ชื่อว่าเป็นศีลตามปริยัติ ยังหาใช่ศีลตามปฏิบัติไม่ ศีลจริงๆ เป็นศีลอะไร ศีลในทางปริยัติ ไม่ใช่ศีลทางปฏิบัติ ศีลในทางปริยัติก็ดีจริงตามศีลปริยัติ ศีลในทางปฏิบัติก็ดีจริงในทางศีล ปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นปกติธรรมดากาย วาจา ตลอดถึงใจ เป็นอัพโพหาริก เป็นเนื้อหนังเดียวกัน ไปที่เดียวกัน จนกระทั่งถึงเจตนา ใจก็เป็นเนื้อหนังเดียวกันกับศีลทีเดียว นี่เป็นศีลตามปริยัติ

    ก็ศีลตามปฏิบัติ ให้เห็นศีล ศีลอยู่ไหน ศีลที่เห็นต้องทำสมาธิให้เป็นขึ้น ให้เข้าถึง ธรรมกาย ถึงจะเห็น ศีลตามส่วนศีลโลกีย์ กายมนุษย์ที่เป็นโลกีย์นี่ก็เห็น พอเป็นเข้าแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเห็น กายทิพย์ก็เห็น กายทิพย์ละเอียดก็เห็น กายรูปพรหมเห็น กายรูปพรหมละเอียดเห็น กายอรูปพรหมเห็น กายอรูปพรหมละเอียดเห็น หากว่าเห็นศีล เป็นโคตรภู แปดกายไม่เห็น กายธรรมเห็น กายธรรมละเอียดเห็น นี้ศีลเป็นโคตรภู เห็น เป็นดวงใสขนาดดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่ในกลางดวงนั้น เห็นจริงๆ จังๆ ชัดๆ นั้น ศีลเห็นนั้นเรียกว่าอธิศีล เมื่อเข้าถึงอธิศีล ในกลางดวงอธิศีลนั้นมีดวงอธิจิต เมื่อเข้าถึงอธิจิต ในกลางดวงอธิจิต มี ดวงอธิปัญญา เท่ากัน มีศีล สมาธิ ปัญญาอย่างนี้ มีศีล ศีลอย่างนี้ได้ชื่อว่าศีลเห็น ปรากฏ อย่างนี้ เอาตัวรอดได้ พ้นจากทุกข์ได้ เพราะว่าเห็นศีลเข้าเท่านั้น ศีลนั่นแหละเป็นทางมรรค ผล ทีเดียว พระอริยเจ้าเดินไปตามศีลที่เห็นนั้น ไม่ใช่ไปทางศีลที่รู้ แต่ว่าทางเดียวกันนั่นแหละ ศีลที่รู้หยาบกว่า ศีลที่เห็นละเอียดกว่า ล้ำกว่ามาก เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ นั่นแหละที่เห็น เป็นปรากฏ ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า

    สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ ศีลของบุคคลใดดีงาม เป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า เป็นที่พระ อริยเจ้าสรรเสริญแล้ว นี่ศีลดีงามอย่างนี้ เมื่อเชื่อในพระตถาคตเจ้าดังนี้แล้ว ศีลอันดีงามนี้ เป็นศีลไม่ใช่ธรรม แต่ว่าท่านจัดเข้าในพวกธรรมด้วยเหมือนกัน อยู่ในหมวดธรรม แต่ว่าเกิด ในธรรมดวงนั้น ดวงธรรมนั่นเป็นธรรมจริงๆ ศีลเป็นศีลเป็นทางดำเนินไปของพระอริยเจ้า ในข้อ 3 สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด ความเลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้น เลื่อมใสอย่างไร เหมือนเห็นพระสงฆ์ทุกวันนี้ เห็น หมู่มากๆ ก็เลื่อมใส กลับอิ่มเอิบตื้นเต็ม เหมือนมาเลี้ยงพระที่ศาลาการเปรียญ พระเณร ก็มาก เจ้าของทานได้เห็นพระสงฆ์มาก ก็เอิบอิ่มปลาบปลื้มตื้นเต็มว่าทานของเรานี้ได้เป็น อายุของศาสนามากมายอย่างที่กำลังของเราได้สั่งสมอบรมมา ต้องรักษาทรัพย์ไว้เป็น ประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรมากอย่างนี้ เราก็ได้บุญกุศลยิ่งใหญ่ คิดแล้วก็เลื่อมใสอย่างนี้ ก็เป็น สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกับเลื่อมใสในสงฆ์ การบวชเป็นพระสงฆ์นี้ มีอานุภาพล้นพ้น ทำประโยชน์ให้แก่ตัวฝ่ายเดียว ไม่ต้องประกอบกิจการงานด้วยประการทั้งปวง ชาวบ้าน ร้านตลาดทั้งหลาย ที่จะเป็นอยู่คืนหนึ่งวันหนึ่ง ต้องประกอบกิจการงานส่วนตัวทั้งนั้น ไม่ ประกอบกิจการงานส่วนตัว ก็ไม่มีอาหารเลี้ยงท้องได้ด้วยกำลังปลีแข้ง ได้ด้วยกำลังอวัยวะ ของตนทั้งนั้น ส่วนพระสงฆ์ไม่ได้ประกอบกิจการงานในการแสวงหาข้าวปลาอาหารเลย เล่าเรียนศึกษาคันถธุระ วิปัสสนาธุระ ไปตามหน้าที่ตามกาล ได้บริโภคอาหารเป็นอันดี อิ่ม หนำสำราญที่ดีงาม ร่างกายก็สดชื่นดี ถ้านึกว่าการเป็นพระสงฆ์นี่ดีจริง เข้าในหมู่สงฆ์นี่ดีจริง เมื่อเลื่อมใสจริงๆ หนักเข้า ก็ละครอบครัวลูกเมียได้ เหมือนพระวิลเลี่ยม กปิลวฑฺโฒ พระ กปิลวฑฺโฒนั้นก็เลื่อมใสในพระสงฆ์ แกเป็นฝรั่ง ลูกเมียแกก็มี แกทิ้งลูกทิ้งเมีย ละเพศฝรั่ง มาบวชเป็นพระไทย เข้าในหมู่สงฆ์นี้ ก็ สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกัน แกเลื่อมใสในพระสงฆ์เข้า แกถึงได้มาบวชในพระธรรมวินัยได้สมความปรารถนา พวกพระภิกษุสามเณรมาบวชนี้ก็ สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกัน ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกาที่มาจำศีลภาวนา ฟังเทศน์ฟังธรรมที่นี้ ก็ สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกัน แต่ว่าเลื่อมใสในสงฆ์อย่างนี้ เป็นสงฆ์ สมมตินะ เลื่อมใสในสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง ให้ตรงกัน ที่เลื่อมใสในพระตถาคตเจ้า ให้ตรงกันอย่างนั้น

    เชื่อในพระตถาคตเจ้า เชื่อในพระสงฆ์ก็เหมือนกัน พระสงฆ์เรียกว่า สังฆรัตนะ ไม่ใช่สงฆ์สมมติ สังฆรัตนะเป็นธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ธรรมกายหน้าตักโตเล็ก ตามส่วน ไม่ถึง 5 วา หย่อนกว่า 5 วา นั่นธรรมกายโคตรภู หย่อนกว่า 5 วา กลาง ธรรมกายมีดวงธรรมรัตนะ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว กลางดวงธรรมรัตนะนั้นมีธรรมกายละเอียด ธรรมกายละเอียดก็เหมือนธรรมกายหยาบ แบบเดียวกัน ละเอียดกว่า สะอาดกว่า งามกว่า ธรรมกายละเอียดนั้นเรียกว่า สังฆรัตนะ ธรรมกายหยาบเป็นพุทธรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นเป็นธรรมรัตนะ ธรรมกาย ละเอียดที่อยู่ตรงกลางดวงธรรมรัตนะนั้นแหละ เขาเรียกว่าสังฆรัตนะ สังฆรัตนะนั้นเป็นตัว ยืนของพระสงฆ์ พุทธรัตนะเป็นตัวยืนของ พุทฺโธ พุทธรัตนะนั้นรู้สัจธรรมทั้ง 4 รู้จักทุกข์ เหตุของทุกข์ ความดับทุกข์ เหตุของความดับทุกข์ พอรู้สัจธรรมทั้ง 4 โดย สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ญาณ 3 กลุ่มนี้ ก็เข้าหลักฐาน พอถูกหลักฐานเข้า ก็มีความรู้จัก สัจธรรม ทั้ง 4 นั้นเองเป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นว่า พุทฺโธ

    ส่วน ธมฺโม เล่า ผู้ใดเข้าถึงพระธรรม บุคคลผู้นั้นละทุจริตกายวาจาจิตได้ ไม่ทำ ความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ทำแต่ความดีฝ่ายเดียว บังคับให้ทำดีฝ่ายเดียว จึงเป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นว่า ธมฺโม สังฆรัตนะนั้นเองรักษาธรรมที่ทำให้เป็นพุทธรัตนะเข้าไว้ ไม่หายไปอยู่ในกลางดวงนั้น รักษาดวงนั้นไว้ ปฏิบัติดวงนั้นไว้ ท่านจึงได้ยืนยันว่า ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้ ธรรมกายละเอียดนั้นทรงเอาดวงธรรมที่ทำให้เป็น ธรรมกายองค์หยาบนั้นไว้ไม่ให้หายไป ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต พระสงฆ์ทรงไว้ ธรรมกาย ละเอียดนั้นเองเรียกว่า สังฆรัตนะ สงฆ์ทีเดียวเป็นเนมิตตกนามว่าเป็นสงฆ์ เลื่อมใสใน ธรรมกายละเอียด นั้นแหละได้ชื่อว่า สงฺเฆ ปสาโท ความเลื่อมใสในธรรมกายละเอียดนั้น ชื่อว่าความเลื่อมใสในสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด บุคคลผู้นั้นไม่ใช่คนจน เชื่อในพระตถาคตเจ้า แล้วละก็ ไม่ใช่คนจน ศีลของบุคคลผู้ใดดีงาม เป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า อันพระอริยเจ้า สรรเสริญแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนไม่จนเหมือนกัน ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ก็เป็นคนไม่จนเหมือนกัน

    อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นธรรมหรือความเห็นตรง อุชุ แปลว่า ตรง ทสฺสนํ แปลว่า ความเห็น ยสฺส ปุคฺคลสฺส ความเห็นของบุคคลใด อุชุภูตญฺจ เป็นธรรมชาติตรง ความเห็น ของบุคคลโดยตรง เรียกว่า ความเห็นตรง นักปราชญ์ราชบัณฑิตกล่าวว่า บุคคลนั้นไม่จน เป็นคนมั่งมีอีกเหมือนกัน

    เชื่อในพระตถาคตเจ้า ข้อที่ 1 ศีลอันดีงาม ข้อที่ 2 เลื่อมใสในพระสงฆ์ ข้อที่ 3 เห็นตรง เป็นข้อที่ 4 สี่ข้อนี้แหละมีอยู่ในสันดานของบุคคลใด บุคคลผู้นั้นมีทรัพย์สิน เงินทองมากมายสักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็สู้บุคคลผู้มีธรรม 4 ข้อ ผู้มั่นใน 4 ข้อนี้ไม่ได้ วาง ตำราทีเดียว อริยธนกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภถึงอริยทรัพย์ ว่ามีอริยทรัพย์ ไม่ขัดสน ไม่ยากจน เป็นคนมั่งมีทีเดียว นี้แหละทรัพย์ของพระของเณร พระเณรมีทรัพย์อย่างนี้ ก็ สบาย สดชื่น เอิบอิ่ม ตื้นเต็ม อุบาสกอุบาสิกามีทรัพย์อย่างนี้ ก็เอิบอิ่มปลาบปลื้มตื้นเต็ม จะมีทรัพย์สักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็สะดุ้งหวาดเสียว ยิ่งมีเพชรราคาแสนไว้กับตัว ก็สะดุ้ง หวาดเสียว เห็นคนแปลกหน้ามา พาสะดุ้งหวาดเสียว กลัวจะมาหยิบเอาเพชรนั่นไปเสีย ถ้าว่าความเชื่อในพระตถาคตเจ้า มีศีลอันดีงาม เลื่อมใสในพระสงฆ์ เห็นตรง 4 อย่างนี้ มีในสันดานของบุคคลใด จะมาสักเท่าหนึ่งเท่าใดก็ไม่กลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้งเลย เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าของเหล่านี้อยู่กับใจ ธมฺโม นี้ โจรลักไม่ได้ ปล้นไม่ได้ แย่งชิง ไม่ได้ เอาไปไม่ได้ เป็นของจริงอยู่อย่างนี้

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ในท้ายต่อไปนี้ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ความเป็นอยู่ของคน มีธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ไม่เปล่าประโยชน์ ความเป็นอยู่ของเขานั้นไม่เปล่าจากประโยชน์ ได้ประโยชน์ทีเดียว เป็นอยู่วันหนึ่งคืนหนึ่ง ก็ดีกว่าบุคคลที่ไม่มีธรรม 4 ประการนี้อยู่ ร้อยปี ไม่ประเสริฐกระไร คนมีธรรมเป็นอยู่ดังกล่าวมานี้ เป็นอยู่วิเศษนัก ไม่เสียทีที่มีชีวิต เป็นในท้ายวาระพระบาลีนี้รับรองว่า ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนํ เพราะเหตุนั้น เมื่อบัณฑิตมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ควรประกอบความเชื่อ ประกอบศีล ประกอบความเลื่อมใส ประกอบความเห็น ธรรมไว้เนืองๆ ประกอบความเชื่อ เชื่ออันนั้นอย่าให้หายไป รักษาเอาไว้ในพระตถาคตเจ้า เอาใจไปจรดเข้าไว้ อย่าให้เคลื่อนคลาด จรดอยู่ตรงนั้นคือ ธรรมกาย นั่นอย่าให้เคลื่อน คลาด เพราะนอกจากธรรมกายนี้ เราจะรักษาอย่างไร เราจะตรึกอย่างไร มันจึงจะรักษา เอาความเชื่อในพระตถาคตเจ้าไว้ได้ เราก็ชี้แจงให้กายมนุษย์มันฟังซิว่า เจ้าเป็นอยู่นี้ เจ้าเป็นอยู่ด้วยพระตถาคตเจ้า ถ้าพระตถาคตเจ้าไม่มี เจ้าเป็นอยู่ไม่ได้ เจ้าต้องตายทันที ทีเดียว พระตถาคตเจ้าทำอย่างไร

    ธรรมกายนั่นแหละรักษาชีวิตเจ้าไว้ เป็นอยู่ด้วยอะไร ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นั่นซิให้เป็นอยู่ ถ้าไม่มีดวงนั้นก็ดับไป ก็ส่วนมนุษย์ละเอียดละก้อ เป็นอยู่ด้วยดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ถ้าดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ วัดเส้นผ่าศูนย์ กลางเท่าฟองไข่แดงของไก่ ถ้าไม่มีดวงนั้นแล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็ดับไป กายทิพย์ดับไป อยู่ไม่ได้ กายมนุษย์ละเอียดดับไป กายทิพย์ดับไปอยู่ไม่ได้ กายทิพย์เล่า เป็นอยู่ด้วยดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ขนาด 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กายทิพย์ละเอียดเป็นอยู่ด้วย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กายรูปพรหมเป็นอยู่ด้วย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กายรูปพรหมละเอียดเป็นอยู่ได้ ด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว กายอรูปพรหมเล่า เป็นอยู่ได้ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว กายอรูปพรหมละเอียดเล่า เป็นอยู่ได้ด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ละเอียด แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่

    กายธรรมเล่า กายธรรมก็เป็นอยู่ได้ด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย วัดผ่าเส้น ศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว อยู่กลางองค์ธรรมกาย กายธรรมละเอียดเล่า กายธรรมละเอียด ก็เป็นอยู่ได้ด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์ กลาง 5 วา กลมรอบตัว โตไปเป็นลำดับดังนี้ เมื่อรู้จักหลักดังนี้ละก็ ตลอดไปทุกกาย ทุกๆ กาย คราวนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าเข้านิพพานมากน้อยเท่าใด ท่านก็มีธรรมกายอย่างนี้ แหละ ไม่ได้มีอย่างอื่นหรอก ท่านก็เป็นพระพุทธเจ้าเพราะมีธรรมกาย ท่านไปรักษาชีวิตมนุษย์ เป็นลำดับไป ช่วยกันรักษา รักษาอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นกายๆ ตลอดไปหมด ตลอดขึ้นไปนับอสงไขยไม่ถ้วน พระพุทธเจ้านับลำดับพรรษาเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ไม่มีใครรักษาเลย คนอื่นไม่ได้ ไม่ใช่ผู้ปกครอง ต้องผู้ปกครองที่เป็นอยู่ พระพุทธเจ้า เข้านิพพานไปแล้ว เหมือนกับพ่อบ้านแม่บ้านที่ดี บ้านนั้นจะรุ่งเรืองอยู่ได้ ก็เพราะอาศัย พ่อบ้านแม่บ้านรู้จักใช้ทรัพย์และเก็บทรัพย์ รู้จักสงวนทรัพย์ ไม่ให้เป็นอันตรายไปอย่างใด อย่างหนึ่ง เฉลียวฉลาดทุกสิ่งทุกประการในการรักษาทรัพย์ ในการควบคุมปกครองบ้าน เรือน วัดปากน้ำจะเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมภาร ถ้าไม่มีสมภาร ไม่ได้แตกสลาย ทีเดียว ถ้าว่าสมภารเซ่อๆ ซ่าๆ วัดนั้นทรุดเสื่อมสลายทีเดียว ถ้าว่าสมภารเทศนาว่าการ ปราดเปรื่องดี วัดนั้นเจริญ นี่สมภารวัดปากน้ำไม่ใช่แต่เทศน์อย่างเดียว สอนธรรมกายก็ได้ ไม่ใช่แต่เท่านั้น หาเงินสร้างโรงเรียนอีกก็ได้ ทำได้ทุกอย่าง นี่มีศักดิ์สิทธิ์หลายประการ

    เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้ละก็ วัดปากน้ำนี่เป็นอยู่ด้วยอะไร เป็นอยู่ด้วยสมภารเป็นตัว สำคัญ สมภารเป็นตัวยืนเท่านั้น ที่แท้จริงก็เป็นด้วยอุบาสกอุบาสิกาช่วยกัน กระท่อม ห้องหอรักษาไว้แลเอาใจใส่ บ้านเรือนก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าเมื่อได้ไปนิพพานแล้ว สาวกมีเท่าไร ถึงคราท่านจะปกครองมนุษย์รักษามนุษย์ ท่านก็เอาสาวกของท่านเข้าอยู่ในตัว ของท่านหมด ท่านก็ต้องรักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายเป็นลำดับไป ไปรักษาที่สุดโน้น

    ที่สุดอยู่ที่ไหนละ ผู้เทศน์ยังเรียนวิชชาไปไม่ถึง ยังไม่ถึงที่สุด 23 ปี 4 เดือนเศษ แล้ว ยังไม่ถึงที่สุดเลย ขยับไปทีๆ หนึ่งนั้นนับครั้งไม่ถ้วน นับชั้นไม่ถ้วน นับอสงไขยดวง ไม่ถ้วน นับอายุกี่ดวงยังไม่ถ้วน ไม่ไปสุดเลย ถ้าสุดเวลาไร ถึงที่สุดของการรักษาแล้วละก็ มนุษย์เลิกแก่ เลิกเจ็บ เลิกตายทีเดียว นี่กำลังพยายามทำไป ทำไปในทางนี้ไม่ใช่ทำไปใน ทางอื่น พระพุทธเจ้าไปรักษาอยู่ ต้นธาตุท่านรักษาอยู่ เราเป็นอยู่นี้ ถ้าท่านหยุดแก๊กเดียว เท่านั้น มนุษย์ดับทีเดียว หรือไม่ฉะนั้นมารมาตัดระหว่างกายเสีย ไม่ให้ติดต่อกันเสียเท่านั้นละ ก็ตายทันที ขาดผู้รักษาเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ที่เรานับถือนั่น ไหว้กราบท่านนะ จะไหว้กราบ ทำไม ก็ท่านรักษาชีวิตของเราอยู่ไม่ใช่หรือ ไม่ไหว้อย่างไร ท่านปล่อยเสีย มันก็ตายเท่านั้น ก็ท่านมีคุณต่อเราอย่างนี้ ล้ำเลิศประเสริฐอย่างนี้ คนอื่นไม่ใช่เช่นนั้น เราจะมั่งมีอย่างหนึ่ง อย่างใด ท่านส่งสมบัติมาให้ ยากจนอย่างหนึ่งอย่างใด ท่านส่งสมบัติมาไม่ทัน มารเข้าไป ขวางเสีย เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้ละก็ เราจึงได้ไหว้พระตถาคตเจ้านัก เราจึงได้เชื่อพระ ตถาคตเจ้านัก เราจึงได้เชื่อพระตถาคตเจ้า นับว่าชีวิตของเรา ถ้าเอาใจจรดอยู่ที่พระ ตถาคตเจ้านั้น นี่เรียกว่า เชื่อในพระตถาคตเจ้า

    ศีลอันดีงาม ศีลไม่ดีงามได้หรือ ถ้าไม่ดีงามก็กระเทือนถึงพระพุทธเจ้า ถ้าศีลไม่ดีงาม ธรรมกายก็เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส ถ้าศีลดีงาม ธรรมกายมันก็สว่างแจ่มใสสะอาดสะอ้าน นั่น อุดหนุนกันอย่างนี้

    ถ้าว่าเราไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ พระสงฆ์ สังฆรัตนะรักษาดวงธรรมรัตนะที่ทำให้ เป็นพุทธรัตนะไม่ให้หายไป ให้เจริญขึ้น ไม่เลื่อมใสได้หรือ เลื่อมใสเหมือนกับอะไร เหมือน กับพ่อบ้านแม่บ้าน งานการดีจริง พ่อบ้านแม่บ้านเบาอกเบาใจทุกสิ่งทุกอย่าง พ่อบ้านจะ ปกครองให้รุ่งเรือง ก็เพราะอาศัยคนงานที่ดีนั่นแหละ สังฆรัตนะ พระสงฆ์นี่ก็การงานดีนัก รักษาดวงธรรมรัตนะ รักษาพุทธรัตนะให้สะอาดดีงามทีเดียว ไม่เลื่อมใสได้หรือ ของดีวิเศษ อย่างนั้น นี่ 3 ข้อ

    ความเห็นตรงละ เห็นตรงนั่นเป็นอย่างไร เห็นธรรมรัตนะ เห็นธรรมรัตนะ เห็น ธรรมน่ะ เห็นถูกเห็นตรงนั่นแหละ ถ้าไม่ถูกไม่ตรงต่อพระนิพพานละก้อ มันจะถูกหลักฐาน ของการรักษาอายุของเราได้อย่างไร ถูกตรงต่อมรรคผลนิพพาน ถูกตรงต่อทางไปของ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เป็นอยู่ต่อการรักษา เป็นอยู่ต่อการรุ่งโรจน์โชตนาการต่อไป ตรง อย่างนี้ไม่คลาดเคลื่อน ตรงต่อแบบแผนอย่างนี้ อย่างนี้ความเห็นตรง เขาจึงได้ประกอบไว้ เนืองๆ ทีเดียว เผลอไม่ได้ ความเห็นตรงอันนี้ ก็เป็นที่รุ่งโรจน์โชตนาการของตัวเองตลอด สาย เมื่อรู้หลักอันนี้ เข้าใจอย่างนี้ละก็ นี่แหละได้ชื่อว่าระลึกถึงศาสนาของพระตถาคตเจ้า ศาสนาของพระตถาคตเจ้าสอนอย่างไร นี่แหละสอนให้รู้จักหลักอย่างนี้แหละ

    นี่แหละเป็นหลักฐานของพระศาสนาแท้ๆ ของพระตถาคตเจ้าล่ะ ไม่ได้สอนอย่างอื่น สอนให้เห็นธรรมกายเท่านั้น ให้เดินทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็น ลำดับไป ให้เข้าถึงกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ ละเอียด, กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายโสดา-กายโสดา ละเอียด, กายสกทาคา-กายสกทาคาละเอียด, กายอนาคา-กายอนาคาละเอียด, กายอรหัต-อรหัตละเอียด ตามสายอย่างนี้เรียกว่าศาสนะ แปลว่าคำสอนของพระศาสดา รู้จักหลัก อันนี้แล้ว ก็พึงปฏิบัติให้มีให้เป็นขึ้นแล้ว ก็ให้มั่นอยู่ในสันดาน สำเร็จสุขพิเศษไพศาลใน ปัจจุบันนี้ และต่อไปในภายหน้า

    เท่าที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่มา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาก็พอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    กาย และ ใจ

    [​IMG]
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    เผยแผ่พุทธฯไทย สู่ เมืองจีน

    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]


    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช องค์ประธานสถาบันฯ
    ได้รับอาราธนาจากพุทธสมาคมแห่งมณฑลยูนาน ประเทศจีน
    ให้ไปแสดงสัมโมทนียกถาเปิดการประชุม และเข้าร่วมประชุม “International Buddhist Forum – TALI 2014” กับประเทศต่างๆ รวม ๙ ประเทศ
    และแสดงสัมโมทนียกถาปิดการประชุม ณ วัดฉงเซิ่ง – ต้าหลี่ มณฑลยูนาน ในระหว่างวันที่ ๑ – ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๗
    ในการนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้มีบัญชาให้ พระเทพญาณมงคล
    รองประธานสถาบันฯ ไปปฏิบัติหน้าที่เข้าร่วมประชุม เปิดและปิดการประชุม แทน ปรากฏผลจากการประชุมดีมาก
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวาระสุดท้ายก่อนพิธีปิดการประชุม ท่านพระฉงฮั่ว เจ้าอาวาสวัดฉงเซิ่ง (วัดเฉลิมพระเกียรติพระพุทธเจ้า) เมืองต้าหลี่ ของจีน ผู้เป็นเจ้าภาพในการประชุมได้ตกลง กับพระเทพญาณมงคล เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ของไทย ลงนามใน MOU ร่วมกัน ที่จะผูกความสัมพันธ์กัน ฉันวัดพี่ – วัดน้อง กับวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม และที่จะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เผยแผ่การศึกษาสัมมาปฏิบัติตามพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สายเถรวาท (หินยาน) ไปยังประเทศจีน และประเทศอื่นๆ ในภาคพื้นเอเชีย ที่มีชะตากรรมร่วมกัน อีกด้วย การประชุม International Buddhist Forum – TALI 2014 ครั้งนี้ สื่อมวลชนจีน ได้มีความสนใจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของไทยเป็นกรณีพิเศษ ได้มีเครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ปักกิ่ง ได้มาขอสัมภาษณ์พระเทพญาณมงคล จากประเทศไทย ขณะพักการประชุมวันแรก ต่อมาได้มีเครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกงได้มาขอสัมภาษณ์ภายหลังปิดการประชุม และเครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ยูนาน ได้ติดตามมาขอสัมภาษณ์ ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
    อีกทั้งนิตยสารแม่น้ำโขง ของจีน ก็ได้ลงข่าว และบทความการประชุมครั้งนี้ด้วย การไปร่วมประชุมครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือ อนุเคราะห์จากนายสุชาติ เลียงแสงทอง กงสุลใหญ่ประจำมณฑลยูนาน ทางราชการ และสมาคมพุทธศาสนาแห่งมณฑลยูนาน ของประเทศจีน เป็นอย่างดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มกราคม 2015
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    ธรรมกายคืออะไร นั่งสมาธิฟังดีมากๆ แม้จะมีศัพท์วิชาการบ้างแต่ไม่ได้ฟังยากอะไรเลย ลองฟังหลวงป๋าพูดกันดูครับ



    https://www.youtube.com/watch?v=u2wl2ch970k
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...