เรื่องเด่น มรรค 8 ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 15 ตุลาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ย้อนกับไปที่ # 71 อีกที งูๆปลาๆ ธรรมไม่ใช่เกิดจากการตีความ เที่ยวพูดทิ้งๆไว้ แล้วจะให้เขาตีความเอาเอง
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เห็นงูๆปลาๆพูดอ้างอิงบ่อย เพื่อไม่ให้มโนตีความเลยเถิดไป นำมาลงไว้ด้วย คิกๆๆ:):D


    สุจริต ประพฤติดี, ประพฤติชอบ, ประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม มี ๓ คือ ๑. กายสุจริต ประพฤติดีด้วยกาย ๒. วจีสุจริต ประพฤติดีด้วยวาจา ๓. มโนสุจริต ประพฤติดีด้วยใจ


    ทุจริต ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติไม่ดี มี ๓ คือ ๑. กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย ๒.ประพฤติชั่วด้วยวาจา ๓. ประพฤติชั่วด้วยใจ


    อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ

    ก. กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑. ปาณาติบาต การทำลายชีวิต ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม

    ข. วจีกรรม ๔. ได้แก่ ๔. มุสาวาท พูดเท็จ ๕. ปิสุณวาจา พูดส่อเสียด ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ

    ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘. อภิชฌา ละโมบ คอยจ้องอยากได้ของเขา ๙. พยาบาท คิดร้ายเขา ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม


    กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ

    ก. กายกรรม ๓. ได้แก่ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม

    ข. วิจีกรรม ๔. ได้แก่ ๔ มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ

    ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม


    กุศล
    “สภาวะที่เกี่ยวตัดสลัดทิ้งสิ่งเลวร้ายอันน่ารังเกียจ” “ความรู้ที่ทำความชั่วร้ายให้เบาบาง” “ธรรมที่ตัดความชั่วอันเป็นดุจหญ้าคา” สภาวะหรือการกระทำที่ฉลาด กอปรด้วยปัญญา หรือเกิดจากปัญญา เกื้อกูล เอื้อต่อสุขภาพ ไม่เสียหาย ไร้โทษ ดีงาม เป็นบุญ มีผลเป็นสุข, ความดี (กุศลธรรม) กรรมดี (กุศลกรรม)

    กุศลกรรม กรรมดี, กรรมที่เป็นกุศล, การกระทำที่ดีคือเกิดจากกุศลมูล

    อกุศล “ไม่ฉลาด” สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์หรือตรงข้ามกับกุศล, บาป, ชั่ว, ความชั่ว (อกุศลธรรม) กรรมชั่ว (อกุศลกรรม)

    อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, บาป, การกระทำที่ไม่ดี คือ เกิดจากอกุศลมูล

    กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์, กิเลส ๑๐ (ในบาลี เดิม เรียกว่ากิเลสวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ๑๐) ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ


    ปัญญา แปลกันว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2017
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อจาก # 74

    อริยบุคคล ๘ ว่าโดยระดับ หรือขั้นใหญ่แล้ว ก็มีเพียง ๔ และสัมพันธ์กับการละสังโยชน์ ดังนี้

    ก. พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) หรือ สอุปาทิเสสบุคคล (ผู้ยังมีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่) คือ
    ๑. พระโสดาบัน ผู้ถึงกระแสคือเข้าสู่มรรค เดินทางถูกต้องอย่างแท้จริง หรือปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคอย่างแท้จริง เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

    ๒. พระสกทาคามี ผู้กลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวก็จะกำจัดทุกได้สิ้น เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ ต้นได้แล้ว ยังทำราคะ โทสะ และโมหะ ให้เบาบางลงไปอีก ต่อจากขั้นของพระโสดาบัน

    ๓. พระอนาคามี ผู้จะปรินิพพานในที่ผุดเกิดขึ้น ไม่เวียนกลับมาอีก เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้อีก ๒ ข้อ คือ กามราคะและปฏิฆะ (รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ครบ ๕ ข้อ)

    ข. พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) หรือ อนุปาทิเสสบุคคล (ผู้ไม่มีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่) คือ

    ๔. พระอรหันต์ ผู้ควร (แก่ทักขิณาหรือการบูชาพิเศษ) หรือผู้หักกรรมแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในสิกขาทั้งสาม คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ละสังโยชน์เบื้องสูงได้อีกทั้ง ๕ ข้อ (รวมเป็นละสังโยชน์หมดทั้ง ๑๐)


    พระเสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษา คือยังมีกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนที่จะต้องทำต่อไปอีก จึงได้แก่ ทักขิไณยบุคคล ๓ ระดับต้น ซึ่งจะต้องปฏิบัติในสิกขา เพื่อละสังโยชน์ และบรรลุธรรมสูงขึ้นต่อไป จนถึงเป็นพระอรหันต์

    ส่วนพระอเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษา คือทำกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนเสร็จสิ้นแล้ว บรรลุประโยชน์แล้ว ไม่ต้องปฏิบัติในสิกขาต่อไป ไม่มีกิเลสที่ต้องพยายามละต่อไป และไม่มีภูมิธรรมสูงกว่านั้นที่จะต้องขวนขวายบรรลุอีก จึงได้แก่พระอรหันต์

    สอุปาทิเสสบุคคล
    คือผู้ยังมีอุปาทิเหลืออยู่ คือยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ซึ่งก็หมายถึงยังมีกิเลสเหลืออยู่บ้างนั่นเอง จึงได้แก่ทักขิไณยบุคคล ๓ ระดับต้น

    ส่วนอนุปาทิเสสบุคคล คือผู้ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ คือไม่มีอุปาทานเหลือ ซึ่งก็หมายถึงว่าไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลยนั่นเอง จึงได้แก่พระอรหันต์
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
  5. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    อ่านที่ตอบไว้ด้วย ไม่ใช่ทิ้งไว้ให้เค้าตีความเอาเอง แต่ธรรมเป็นสิ่งหนึ่งที่จะเห็นผลได้จากการเรียนรู้ ไตร่ตรองและปติบัติเท่านั้น การตอบผลไปเช่นทำไห้เป้นสุขทำไห้สงบทำให้นิพพาน นั้นมันไม่ใช่คำตอบ การให้คำตอบเพื่อไปค้นหาคำตอบ จึงเป็นการบอกทางกัน เค้าจะมีกำลังในการหาคำตอบหรือไม่นั้นเกิดจากการปติบัติ มจด หากคำตอบของ มจด ต่อให้ดีเท่าไหร่ หากเค้าไม่ ปติบัติ จะได้อะไรกลับไปเล่า ทำดีก้ทำได้ไปอทิบายเค้าอย่างดีแล้วนี่ ทำไมชอบแกล้งทำตัวเป็นคนบ้า
     
  6. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ยกสังโยชให้พิจารณา เป็นกิเลศที่ตัดได้เช่นพระอรหันต์เท่านั้น แต่การ ทรงคุณธรรม การทำแต่สุจริตธรรม และการทำให้กิเลศเบาบางลง ถึงยังตัดไม่ได้ก้ทำให้ ผู้เห็นธรรมได้ว่ายน้ำเข้าฝั่งจะเสียเวลาอีกกี่ภพกี่ชาติกัน

    ประโยชของสุจริตธรรมนั้นก้ปิดนรกไปแล้ว การทรงคุณธรรมก้เป็นกรรมที่นำไปเกิดของภพที่ท่านเองก้เป็นผู้กำหนด หากท่านยังทำทุจริตประกอปสุจริตไป ท่านก้เป็นผู้สร้างภพนั้นเอง
     
  7. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    งูๆปลาๆมีกิจที่ต้องทำแน่นอนครับและคงต้องเป็นประทานแน่ๆ วันหนึ่งท่าน มจด จะได้รับรู้มันอย่างแน่นอนครับแม้ตัวงูๆปลาๆไม่ต้องมาเอ่ยบอก เพราะทุกๆท่านจะรับรุ้มันเอง
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    งูๆปลาๆบอกด้วยสิครับ ถ้าไม่บอกแล้ว มจด.จะรู้ได้ยังไงกันล่ะ เออพูดแปลกพูดให้ตีความเองเรื่อยเลย
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ตีความธรรมะไปไกลเลยนะขอรับ
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อ้อ มันเป็นยังงี้นี่เอง คิกๆๆ
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ฮูๆปลาๆหายไหนสองวันแว้ว (แล้ว)
     
  12. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    จะคุยกันไปถึงไหนท่าน ให้คนอื่นเค้าโพสธรรมบ้าง
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    งูๆปลาๆพูดแบบนี้ รู้สึกผิดหวังเล็กๆ แสดงว่าที่ผ่านๆมา ฮูๆปลาๆไม่ได้โพสต์ธรรมกับมจด. เสียเวลาโดยไม่รู้ตัวหนอเรา
     
  14. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    มีอีกอย่างหนึ่งค่ะ การเห็นจิต รู้วิญญาณ เข้าใจสติก็เป็นประโยชน์แก่มรรคได้เช่นเดียวกันค่ะ

    จิต สติ วิญญาณ. คำสามคำนี้มีความหมายในทางปฏิบัติ

    วิญญาณ เป็นตัวเคลื่อนไปรับรู้ผัสสะภายนอก เป็นตัวไปรับอารมณ์ เป็นตัวสื่ออารมณ์ เป็นตัวรู้อารมณ์ภายนอก เป็นตัวสื่อหรือดึงอารมณ์ภายนอกเข้าสู่ใจ การควบคุมอารมณ์ที่รับมาได้หรือไม่ได้ อยู่ที่สติ

    สติ เป็นตัวคัดกรองอารมณ์ ว่าจะรับหรือไม่รับ ที่จะเกิดหรือไม่เกิดเป็นอารมณ์

    ตัวสัมปชัญญะ หรือ ตัวรู้ ก็คือ ตัวจิตเห็น เห็นอารมณ์

    ยิ่งสติมีกำลังระลึกรู้มากเท่าไหร่ พลังของจิตยิ่งบริบูรณ์มากเท่านั้น เพราะสติ 100 % หรือสติบริสุทธิ์ ก็คือ การเข้าถึงสภาวะจิตหรือสภาวะรู้มากเท่านั้น จิตกำลังที่มีพลังต้านทานกิเลส

    จิตและสติเปรียบเหมือนเป็นสิ่งเดียวกัน

    ตัวจิต แยกออกมาเป็นสติ

    ตัวสติเพื่อระลึกให้รู้

    ตัวระลึกรู้ 100 % คือ ตัวจิตบริบูรณ์

    จิตบริบูรณ์ คือ ตัวจิตมัชฌิมา จิตอุเบกขา

    การฝึกสติ คือ การฝึกเข้าถึงจิต

    สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ หรือ สติบริสุทธิ์ ก็คือ สภาวะจิตนิ่งเฉย เห็นอยู่รู้อยู่ นั่นเอง

    การฝึกสติ คือ การฝึกเข้าถึงจิตสภาวะรู้ เพราะสติที่จิตแยกออกมาจากจิต มาเป็นสติ แยกออกมาเพื่อเป็นด่านคัดกรองอารมณ์ เปรียบประดุจเขื่อนกั้นทำนบ การฝึกสติ คือการเข้าถึงจิต สติที่มีกำลัง ก็คือจิตที่มีพลัง การมีสติมากเท่าไร ก็เข้าถึงสภาวะจิตมากเท่านั้น

    จิตที่รู้อยู่ เฉยอยู่ ก็คือ สภาวะสติ+สัมปชัญญะ 100% หรือ สภาวะสติบริบูรณ์ หรือ สภาวะรู้ ตัวรู้บริบูรณ์

    เข้าถึงสติมากเท่าไหร่ ก็เข้าถึงจิตมากเท่านั้น

    อย่าให้จิตหลงไปในวิญญาณ แต่ให้มีสติระลึกรู้อยู่เสมอ จิตไม่หลง จิตไม่ก่อกรรม
     
  15. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ เกี่ยวกับเรื่องสติสัมปชัญญะ พ้นทุกข์ด้วยมรรควิธีอานาปานสติ

    มหาวาร. ส° ๑๙/๔๑๓/๑๓๖๖-๖๗

    อานาปานสติ เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

    ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเหล่าใดยังเป็นเสขะ
    ยังไม่ลุถึงธรรมที่ต้องประสงค์แห่งใจ
    ปราถนาอยู่ซึ่งโยคเขมธรรมอันไม่มีอะไรยิ่งกว่า;
    ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งอาปานสติสมาธิ
    ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย.

    ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว
    มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ
    ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปานาสติสมาธิ
    ย่อมเป็นสุขวิหารในปัจจุบันด้วย
    เพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะด้วย....
     

แชร์หน้านี้

Loading...