เรื่องเด่น ตามรอยหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ (กลุ่มหลวงพ่อเงิน)

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย เจ๊ตุ้ม, 16 มกราคม 2013.

  1. akkhawee

    akkhawee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,908
    ค่าพลัง:
    +5,260
    แวะมาให้กำลังใจครับ ติดตามแบบไม่ออกนอกหน้าครับ แหะๆๆ
     
  2. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    ขอเวลารวมข้อมูลนะครับและจะทะยอยลงรายละเอียดเพิ่มเติมให้ หรือท่านใดมีข้อมูลก็ลงได้เลยครับ จริงๆ ก็ใจหายเหมือนกันเรียกได้ว่าผมอยู่กับกระทู้เก่าจนนาทีสุดท้ายเลย สายตายังจับจ้องไปที่โพสต่างๆ มองชื่อผู้ที่เข้ามาอ่านมองโน่นมองนี่ไปเรื่อย แล้วก็แว๊บไป แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่โตอะไร เป็นเรื่องธรรมดา พอความรู้สึกว่ามันธรรมดาเข้ามาอยู่ในความรู้สึก หลังจากตรวจสอบจากฐานข้อมูลการโพสต่างของตัวเองแล้วก็มั่นใจได้ว่าไม่กลับมา จึงเปิดกระทู้นี้ไว้ เหตุผลที่เปิดก็เพราะเมื่อวาน ตรงกับวันครูครับ จับรูปหล่อที่ใช้พึ่งบารมีอยู่ทุกวันยกมือท่วมหัวสักการะ ขออนุญาติสร้างกลุ่มของผู้ที่ศัทราของหลวงปู่ขึ้น โดยการขอพึ่งบารมีของหลวงปู่และเวฟพลังจิตในการศึกษา และเป็นที่รวมพี่รวมเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผมเองก็เป็นเพียงผู้ที่เพียนอยากจะเรียนรู้เท่านั้นไม่ได้ทราบทั้งหมดไม่ได้เก่งอะไร ก็ต้องอาศัยพี่น้องนี่แหละครับช่วยกันแชร์ความรู้ต่างๆ การที่เปิดโพสขึ้นมาเป็นเพียงในนามเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงเป็นของทุกท่านก็คงต้องช่วยกันดูแลรักษาไว้ ที่ไม่ได้ใช้ชื่อว่ากลุ่มสายกลางเพราะว่า การเดินทางมาจากรุ่นก่อนๆ ผ่านพ้นจากสายกลางมาแล้ว เป็นการก้าวข้ามขั้นนั้นมาแล้ว เพราะหลายท่านก็ทราบดีว่าหลวงปู่นั้นสร้างวัตถุมงคลขึ้นหลายครั้งหลายรุ่น ไม่ได้สร้างเฉพาะเท่าที่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าเซียนพระเล่นหา
    หรือท่านใดมองว่ากระทู้ที่ตั้งมายังไม่ดีพอ ก็สามารถที่จะตั้งกระทู้ใหม่ขึ้นมาได้ครับ และการอัฟข้อมูลต่างๆ ก็ต้องอาศัยเวลาเช่นกันครับเพื่อให้สมบูรณ์ที่สุด แถมยังมีภาระกิจในการดำเนินชีวิตเป็นตัวแปรด้วย ท่านใดอยากลงรูปหรือข้อมูลต่างก็เรียนเชิญได้เลยครับ เดินกันอย่างช้าๆ เดินกันให้สง่างาม ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2013
  3. คิงคอง99

    คิงคอง99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    3,277
    ค่าพลัง:
    +23,769
    ขอแสดงความยินดี ด้วยนะครับเจ๊ตุ้ม ที่เปิดกระทู้ องค์หลวงพ่อเงิน ใหม่ ผมก็บูชาองค์หลวงพ่อเงิน อยู่เหมือนกันครับ เป็นกำลังใจ เจ๊ตุ้มและทุกคนนะครับ เด๋วมีพระจะร่วมแจม ด้วยครับ:cool::cool:
     
  4. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    ขอบพระคุณทุกท่านครับ ในระหว่างจัดเตรียมห้องรับแขก ชากาแฟอยู่เพื่อรองรับกลุ่มเพื่อนๆ ก็สามารถแชร์รูปหรือประวัติต่างๆ ได้นะครับ
     
  5. udornp

    udornp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +436
    ขอบคุณมากครับ คุณโอ๋
     
  6. psom

    psom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,903
    ค่าพลัง:
    +8,391
    เริ่ม/ หลวงปู่ สององค์ครับ

    1. ได้มาจากวัดบางเบน เนื้อรัก ใหม่ แต่เนื้อในค่อนข้างสวย เหมือนขันลงหิน เก่าแต่... ฮา
    เดี๋ยวนี้ เนื้อขั้นลงหินมีปลอมเกื่ลนตลาดนัดครับ****ฐานสวย
    2. สี่ชาย มีปื้นทอง ในเนื้อ พิมพ์ทรงสึก ดูแปลกตา/หยิบมาศึกษาเพราะปื้นทอง และใต้ ฐาน ดูน่าจับต้อง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. THEKOP1988

    THEKOP1988 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    612
    ค่าพลัง:
    +3,037
    เริ่มใหม่ครับ

    ได้มาจากความรุ้ที่สั่งสมมาจาก สายกลาง เฟสบุ๊ค:cool::cool::cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PC060070.JPG
      PC060070.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      16,602
  8. tumcry

    tumcry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +180
    เป็นกำลังใจให้น้าตุ้ม" ครับผม
     
  9. SkyMoon

    SkyMoon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2012
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +36
    สวัสดีครับพี่เจ้ตุ้ม ผมเอาภาพพระหลวงพ่อเงินองค์ที่เคยลงไปถามว่ามีเนื้อผุดขึ้นที่องค์พระมาถามนะครับ พอดีได้กล้องมาแล้วแต่ว่าเลนส์มาโครยังไม่ได้นะครับ ^^ เลยถ่ายภาพมาให้พิจารณาตามที่เจ๊ตุ้มได้บอกไว้ลองพิจารณาดูครับที่ผมวงไว้สีขาวคือเนื้อที่เกิดขึ้นมาแล้วที่วงไว้สีเขียวเมื่อเวลาผ่านไปจะเปลี่ยนจากสีขาวมาเป็นแบบที่วงสีเขียวนี่แหละครับ ^^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_4358.jpg
      DSC_4358.jpg
      ขนาดไฟล์:
      210.2 KB
      เปิดดู:
      4,593
    • DSC_4359.jpg
      DSC_4359.jpg
      ขนาดไฟล์:
      208.4 KB
      เปิดดู:
      2,349
    • DSC_4361.jpg
      DSC_4361.jpg
      ขนาดไฟล์:
      172.9 KB
      เปิดดู:
      4,850
    • DSC_4363.jpg
      DSC_4363.jpg
      ขนาดไฟล์:
      211.6 KB
      เปิดดู:
      7,881
  10. ครูชายแดน

    ครูชายแดน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,053
    ค่าพลัง:
    +2,793
    ข้อมูลรวบรวมจากพี่เวปพลังจิตสายกลางหลวงพ่อเงิน
    ความเกี่ยวพันธ์กันระหว่างหลวงปู่เงิน หลวงปู่ศุข ช่างหล่อพระบ้านช่างหล่อ และวัดชนะสงคราม
    ตอนเป็นพระหนุ่ม หลวงปู่เงิน และหลวงปู่ศุข ท่านเข้ามาเรียนที่วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม
    คุณย่าวัณ ท่านเป็นคหบดีของบ้านช่างหล่อ และเป็นช่างหล่อพระ ซึ่งอยุ่ฝั่งโรงพยาบาลศิริราชหรือวัดระฆัง ท่านเป็นโยมอุปถัมย์ ของวัดชนะสงคราม
    ตอนหลวงปู่ท่านสร้างรุปหล่อพิมพ์ขี้ตา เทที่วัดวังตะโก โดยช่างทองจากตลาดตะพานหิน
    พอสร้างพิมพ์นิยม เพราะมีคนต้องการมาก ในสมัยนั้น ฝากกันไปบูชาถึงที่วัด พอคุณย่าวัณท่านทราบ จึงปั้นหุ่นเทียนให้และ เทหล่อที่วัดชนะสงคราม เพราะตอนนั้นเทสร้าง รูปหล่อเท่าองค์จริงด้วย
    เขาเรียกกันว่า " พระโรงงาน " เพราะตอนทำหุ่นขี้ผึ้ง ตัดช่อ ทำกันที่โรงงานบ้านช่างหล่อ แต่ตอนเทน้ำทอง หาฤกษ์ หายาม และทำพิธีกันที่วัดชนะสงคราม ซึ่งอาจจะรวมถึงเหรียญจอบใหญ่ จอบเล็ก หรือแม้นแต่พระวาระที่๓ พอเทแล้วก็ลงเรือไปพิจิตร ให้หลวงปู่ปลุกเศก
    วาระที่๒ ทันคุณย่าวัณ เพราะท่านตอนนั้นอายุมากแล้ว จึงเชื่อว่า หลวงปุ่ท่านอาจจะเดินทางมาทำพิธีที่วัดชนะสงครามก็น่าเป้นไปได้
    ส่วนพิมพ์อื่นๆทั้งของฝ่ายวังบูรพา และศิษย์สายอื่นๆ ก็น่าจะมาสร้างทำกันที่วัดชนะสงครามแล้ว นำไปพิจิตรอีกครั้งหนึ่ง ที่เจ้าของว่าออกวัดชนะสงครามก็เข้าเค้าด้วยประการนี้ครับ
    การศึกษารูปหล่อของท่านพยายามทำความเข้าใจเรื่องวาระดีๆ

    การสร้าง พระเนื้อโลหะนี้ จะประกอบด้วยการสร้าง 3 ประเภท คือ พระหล่อ พระปั๊ม และ พระฉีด โดยก่อนอื่นผู้เขียนขอทำความเข้าใจแก่ผู้สนใจศึกษา ระหว่างพระเครื่องเนื้อชิน และพระเครื่องโลหะประเภทอื่นๆ ก่อนว่าเหตุใดจึงแยกพระทั้งสองประเภทนี้ออกจากหมวดเดียวกัน
    พระเครื่องเนื้อชิน ถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่ง แต่สาเหตุที่บูรพาจารย์ที่เป็นนักสะสมยุคแรกๆ ไม่นำมารวมอยู่ในพระเนื้อโลหะอื่นๆ เพราะเนื่องจากเหตุผลสำคัญดังนี้
    1.) พระเครื่องเนื้อชิน ล้วนเป็นพระกรุ พระเก่า ที่มีอายุการสร้างนานเป็นร้อยๆปีขึ้นไปอันถือเป็นพระเครื่องยุคโบราณ ปัจจุบันไม่นิยมสร้างพระเครื่องเนื้อนี้อีกแล้ว
    2.) ส่วนผสมหลักของพระเครื่องเนื้อชินคือ ดีบุกและตะกั่ว มากน้อยตามแต่ผู้สร้างมีความประสงค์ ซึ่งปัจจุบันผู้สร้างได้ค้นพบโลหะอื่นๆที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า สะดวกกว่า และคงทนกว่า มาใช้ในการสร้างพระเครื่องแทนพระเครื่องเนื้อชิน
    3.) ผู้ที่นิยมมีความคิดว่าพระเครื่องประเภทเนื้อชินจะต้องเป็นพระยุคเก่า เท่านั้น จึงได้รับความนิยมในการสะสม หากเป็นพระยุคหลังที่สร้างขึ้นใหม่ จะแลดูขาดธรรมชาติ ไม่เป็นที่สนใจของประชาชน เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นพระเครื่องเนื้อชินต้องแลดูเก่ามีธรรมชาติคราบไข ถ้าดูใหม่จะคาดคะเนให้เป็นพระปลอมก่อนเลยเป็นอันดับแรก
    พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆที่ปรากฎอยู่ในวงการพระ ประกอบด้วย
    1. พระเนื้อทองคำ
    2. พระเนื้อเงิน
    3. พระเนื้อทองแดง
    4. พระโลหะผสม
    สำหรับ พระ 3 ประเภทแรกนั้น ผู้สนใจศึกษาคงทราบและเข้าใจอย่างชัดเจนถึงส่วนผสมหลัก หรือส่วนผสมนำ ในพระเครื่องนั้นๆ คือทองคำ เงิน และทองแดง ส่วนพระโลหะผสมนั้น มีมากมายหลายเนื้อมวลสาร ซึ่งบางประเภทมีสูตรจากตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม และบางประเภทก็ไม่ชี้ชัดเพียงใส่มวลแร่ธาตุเดิมให้ครบตามจำนวนธาตุที่ต้อง การผสมเท่านั้น จึบเป็นที่มาของความไม่แน่นอน ในโลหะผสมของแต่ละเบ้า แต่ละครั้งในการหลอมละลาย โลหะผสมที่ได้รับความนิยมในการสร้างพระเครื่องได้แก่
    1) นวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่างๆ 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน นวโลหะที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสมได้แก่ พระในกลุ่ม พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศน์ ประกอบไปด้วย
    ชิน น้ำหนัก 1 บาท (1บาท = 15.2 กรัม)
    จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)
    เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท
    บริสุทธิ์ น้ำหนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)
    ปรอท น้ำหนัก 5 บาท
    สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท
    ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท
    เงิน น้ำหนัก 8 บาท
    ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท
    นำโลหะทั้ง 9 นี้ มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง
    2) สัตตะโลหะ หมายถึง โลหะผสม 7 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงิน, บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตะโลหะก็จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่นๆ เป็นต้น
    3) เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม 5 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, และทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากก็จะเป็นเหล็ก
    4) ทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆซึ่งเนโลหะผสมระหว่างทองแดงกับ สังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น
    5) บรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น โดยยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่บรอนซ์
    6) เมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน
    7) เมษสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท
    8) สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ
    9) ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น
    โลหะผสม ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และพระเครื่อง อาจจะมีนอกเหนือจากนี้บ้างตามความสะดวกและความเชื่อในการสร้าง แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา
    นอก จากนี้ก็จะมีพระที่สร้างจากเนื้อโลหะ หลักที่มีส่วนผสมอื่นเจือปนอยู่บบ้างแต่เป็นส่วนน้อย เพื่อความสะดวกในการขึ้นรูป ทำให้สวยงาม และคงทนยิ่งขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว เป็นต้น
    วิธีการสร้างพระ
    เมื่อ ทราบถึงส่วนผสมของโลหะเจือ (โลหะผสม) ต่างๆ พอสังเขปแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการสร้างพระหล่อ-พระปั๊ม-และพระฉีด การสร้างพระที่กล่าวมานี้ นับเป็นการสร้างตั้งแต่ยุคกลางๆคือประมาณร้อยกว่าปี แล้ววิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน โดยเราจะแบ่งวิธีการสร้างออกเป็น การหล่อแบบโบราณและการหล่อแบบสมัยใหม่ ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
    การหล่อแบบโบราณ
    เป็น วิธีการที่ใช้ในการสร้างรูปหล่อ และเหรียญหล่อโบราณ มากมายในพระเครื่องต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศ เช่น รูปหล่อ-เหรียญหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตา รุ่นแรก, รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เป็นต้น
    ขั้นตอนการหล่อแบบโบราณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้
    1) การขึ้นดินหุ่น คือการแกะหุ่นดินตามรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาหล่อเป็นองค์พระต้องการ พระที่ได้ครั้งแรกนี้เรียกว่า “แกนหุ่นดิน”
    2) เข้ารูปขี้ผึ้ง เมื่อได้แกนหุ่นที่หล่อเรียบร้อยแล้ว จะนำขี้ผึ้งมาพอกองค์พระ แกะตกแต่งรายละเอียดด้วยเสนียด (ไม้ทองเหลืองปลายแบน) จนเป็นที่พอใจก็จะได้รูปขี้ผึ้งองค์พระที่ต้องการจะให้เป็นในลักษณะอากัป กิริยาต่างๆ ตลอดจนลวดลายตามความประสงค์ของผู้แกะแบบ
    3) พอกดินขี้วัว เมื่อได้รูปขี้ผึ้งแล้วก็นำดินขี้วัว (นำขี้วัวมาคั้นน้ำผสมกับดินเหนียวและทรายให้ข้นจับตัวกันเหนี่ยวแน่น) พอกให้ทั่วองค์พระหุ่นขี้ผึ้ง แล้วเจาะรูตรงปลายเพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกมาเมื่อถูกความร้อนสูง
    4) เทสารละลาย นำโลหะผสมที่หลอมละลายรวมกันเข้าที่แล้ว เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ความร้อนจะทำให้ขี้ผึ้งละลายออกมาจากรูที่เจาะไว้เรียกว่า “การสำรอกขี้ผึ้ง” โลหะผสมจะเข้าแทนที่ขี้ผึ้งได้รูปองค์พระที่ต้องการ
    5) การทุบเบ้าทิ้ง เมื่อกระบวนการต่างๆที่ผ่านมาสำเร็จด้วยดีแล้ว พอโลหะจับกันแข็งตัวและเย็นดีแล้ว ก็จะมีการทุบเบ้าดินที่หุ้มองค์พระไว้ออกให้หมด ดังนั้น จึงมีการเรียกพระหล่อโบราณว่า “พระพิมพ์เบ้าทุบ”
    พระ หล่อโบราณที่ได้ ส่วนมากจะขาดความละเอียดของเส้นรูปพรรณเค้าหน้า และร่างกายเนื่องด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโบราณ ขาดศักยภาพกระทำการ อีกทั้งโลหะผสมขาดการชั่งตวงวัด และควบคุม รวมถึงความร้อนที่สม่ำเสมอทั่วถึง ทำให้องค์พระขาดความคมชัด หากแต่ธรรมชาติของดินพอกหุ่นและความไม่พอดีของอัตราส่วนโลหะผสม ก็นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระหล่อโบราณ ที่ยากแก่การปลอมแปลง ดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า ให้ต่างจากพระใหม่ได้อีกประการหนึ่ง
    การหล่อแบบสมัยใหม่
    นับ เป็นวิวัฒนาการต่อเนื่อง โดยมีเครื่องอำนวยความสะดวก และสามารถสร้างพระได้ปริมาณมากๆในเวลาเดียว ซึ่งหักการของขั้นตอนก็จะคล้ายคลึงกับการหล่อโบราณคือ
    1) แกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ใช้ปูนปาสเตอร์พอกหุ่นแทนดินขี้วัว แล้วจึงสำรอกขี้ผึ้งออกต่อจากขั้นตอนนี้ เดิมทีจะต้องกระทำต่อเนื่องกันในขณะที่แม่พิมพ์ยังร้อนอยู่ แต่ในสมัยใหม่จะเป็นการ “เทพิมพ์เย็น” หมายถึงให้พิมพ์ที่ผ่านการหลอมและสำรอกขี้ผึ้งออกแล้วปล่อยให้เย็นตัวก่อน แล้วจึงเทโลหะผสมลงไป ซึ่งวิธีการนี้สามารถสร้างพระได้เป็นช่อทีละหลายองค์ในครั้งเดียว
    2) การฉีดพระ นับเป็นเทคนิคใหม่ที่ทำให้พระออกมาสวยมีรายละเอียดคมชัดทุกสัดส่วน ตามความปรารถนา อันเกิดจากการเหวี่ยงโลหะอย่างเร็วและแรงหลายรอบ ให้กินรายละเอียดของแม่พิมพ์ได้ทุกอณู สำหรับขั้นตอนการฉีดพระประกอบด้วย การแกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ถอดพิมพ์ด้วยยางทำฟัน ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีมากในการเก็บรายละเอียดต่างๆได้อย่างครบถ้วน จากนั้นจึงใช้ปูนทำฟันฉีดเข้าพิมพ์ยาง แล้วนำใส่เข้ากระบอกเหวี่ยงเพื่อไล่โลหะให้เข้าไปตามกระบอกโดยผ่านท่อ แรงเหวี่ยงจะอัดมวลสารไปยังทุกส่วนของแม่พิมพ์ จะได้พระที่งดงามตามปรารถนาเป็นช่อๆละหลายองค์
    3) การปั๊มพระ นับเป็นกรรมวิธีแบบใหม่ในการสร้างพระที่มีขั้นตอนคล้ายการฉีด หากแต่ในขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ จะมี 2 ด้านประกบกัน เรียกว่า “แม่พิมพ์ตัวผู้ และแม่พิมพ์ตัวเมีย” นอกจากนี้ จะต้องทำตัวตัดขึ้นอีกตัว (ในกรณีทำเหรียญ) ซึ่งจะมีขนาดพอเหมาะกับแม่พิมพ์
    การ สร้างแม่พิมพ์ในพระปั๊มนี้สามารถ “ถอดพิมพ์ใหม่” เกิดเป็นบล็อคแม่พิมพ์ได้จำนวนมากมายตามความต้องการ ด้วยยางทำฟัน ซึ่งทำให้แม่พิมพ์ที่ถอดขึ้นมา ไม่ผิดเพี้ยนจากแม่พิมพ์ตัวแรกเลย จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากกับการสร้างพระในปัจจุบันที่มีปริมาณการสร้าง คราวละมากๆ
    ส่วน โลหะผสม ก่อนที่จะมาทำการปั๊มพระ จะเป็นโลหะผสมที่เย็นตัวแล้ว นำเข้าเครื่องปั๊มพระ ออกมาได้เหรียญ หรือรูปหล่อปั๊ม ตามความต้องการ และมีความเหมือนกันทุกองค์


    นี่คือข้อมูลที่ผมมี......ผมอยู่ สป. ครับ ปากน้ำ ราชนาวีไทยหัวใจลูก ๕๕๕๕
    วาระโบราณ คือพวกตระกรุดไม้รวก ตระกรุดคู่ชีวิต
    วาระที่๑ พิมพ์ขี้ตาเทที่วัดวังตะโก มีเอกลักษณ์ เนื้อขันลงหิน แก่ทองคำ แก่เงิน เนื้อนาค โลหะจะเป็นเกล็ดๆเพราะอุณหภถุมิต่ำ แบบเตาโบราณ
    วาระที่๒ ฝีมือการปั้นหุ่น แต่งหุ่นเทียน ติดช่อ ฝีมือการแต่ง หรือการคุมงานของท่าน เทที่วัดชนะสงคราม
    กระแสแบบทองดอกบวบ เพราะเป็นทองเหลืองใหม่จากเมืองจีน การตกแต่งการควบคุมเตา ระดับช่างชั้นครูหล่อพระประธาน พระองค์เล็กๆจึงไม่มีปัญหา ชัดเจน และแต่งตั้งแต่หุ่นขี้ผึ้ง งามแทบทุกองค์แต่งจนแทบไม่เห็นหรือไม่มีรอยตะเข็บให้เห็นในบางองค์
    มีการตะใบที่ใต้ฐานเพื่อเก็บสายชนวน ฐานส่วนมากจะบาง และเรียบ
    ไม่เป็นหลุมเหมือนวาระที่๓ ซึ่งเป็นช่วงที่สิ้นบุญคุณย่าวัณไปแล้ว
    วาระที่๓ คือผู้คนเริ่มนิยม มีผู้ขออนุญาติสร้าง และนำไปให้ท่านปลุกเสก ทุกปีๆ ในงานประจำปีของวัด (ในช่วงแข่งเรือออกพรรษา)
    เทหล่อจากกรุงเทพ ที่วัดชนะสงคราม หรือโรงหล่ออื่นๆ
    เทหล่อที่พิจิตร
    เนื้อดิน เนื้อผง ขออนุญาติสร้างกัน
    มีทุกแบบทุกพิมพ์ แต่ฝีมือการตกแต่งหรือควบคุมจะไม่ปรานีตเท่าวาระที่๒ของคุณย่าวัณ
    ทั้งหมดสร้างก่อนปีที่หลวงปู่ท่านละสังขารคือปี ๒๔๖๐ หรือ ๒๔๖๒
    ถือว่าเป็นวาระที่๓ หลังจากนั้นก็ถือว่าไม่ทันท่านครับ
    - ท่านมีหลวงพ่อแจ๊ะและหลวงพ่อชุ่มที่เป็นลูกศิษย์ตามลำดับ
    - ส่วนหลวงพ่อพิธท่านเป็นหลานของหลวงปู่เงิน
    -น่าจะเป็นหลวงพ่อเปรื่องสร้างครับ
    -ผมมีภาพตัวอย่างพระในยุคหลวงพ่อพิธมาฝากครับ
    -ผมมีข้อมูลการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อเงินมาฝากครับ
    พระอาจารย์และวัดที่จัดสร้างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่าง ๆ มีด้วยกัน 7 วัดคือ
    1. วัดวังตะโก หลวงพ่อเงินสร้างมีทุกพิมพ์ อาจารย์แจ๊ะ พิมพ์ พระผงแบบจอบเล็ก
    2. วัดท้ายนํ้า หลวงพ่อเงินสร้างมีทุกพิมพ์ พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) สร้าง มีครบทุกพิมพ์ พระปลัดชุ่มสร้างเฉพาะพิมพ์นิยมกับตัว ช. เพียงพิมพ์ เดียวเท่านั้น
    3.วัดหลวง พระธรรมทัศสีมุนี (สุ่น) สร้างมีพิมพ์ต่าง ๆ ประเภทเนื้อดินล้วน มีพิมพ์สมเด็จพระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยม, พิมพ์ซุ้มกอ, พิมพ์สังกัจจายน์
    4. วัดขวาง หลวงปู่ไข่ มีพิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยม, พิมพ์สังกัจายน์
    5. วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้างพิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยม, ไข่ปลา, จอบเล็กและเนื้อดินมีทั้งนั่ง นอน ยืน
    6. วัดบางมูลนาค พระครูพิทักษ์ศิลคุณ (น้อย) กัลหลวงพ่อพิธ สร้างพิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยม, จอบใหญ่, ไข่ปลา, จอบเล็ก
    7. วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด) สร้างพิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยม โดย จ้างเจ๊กชัยหล่อ แล้วพิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยมเนื้อดินด้วย หลวงพ่อเงินที่ชาวบ้านสร้างเอง
    รูปขนาดเล็ก




    ข้อมูลหลวงพ่อเงิน
    พระครูวัตตสัมบัน(หลวงพ่อฟุ้งเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำองค์ที่ 3 )
    -เมื่อหลวงพ่อเงินได้กลับไปจำพรรษาอยู่วัดวังตะโก ท่านได้แต่งตั้งและมอบหมายให้พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อองค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและ ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอโพทะเล ที่อำเภอบางคลานได้ยกเลิกมาตั้งที่ใหม่
    ต่อมาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินทุกๆ พิมพ์ ที่จัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำได้หมดไป แต่ยังมีผู้ที่ต้องการอีกเป็นจำนวนมาก ท่านพระครูวัฏะสัมบัญจึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อขึ้นอีกทุกๆ พิมพ์คือ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์จอบใหญ่ไข่ปลา และพิมพ์จอบเล็ก แล้วท่านก็ได้นำไปให้หลวงพ่อเงินแผ่เมตตาปลุกเสกให้แล้วนำมาแจกจ่ายที่วัด ท้ายน้ำ
    -หลวงพ่อเงินที่พระครูวัตฏะสัมบัญจัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำจะเป็นพิมพ์ใดก็ ตาม มีอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันทุกประการข้อสำคัญขอให้เป็นของแท้ เพราะหลวงพ่อเงินท่านเป็นพระเถระที่บริบูรณ์ไปด้วยศีลจารวัตรและมีสมาธิจิต อันมั่นคง โดยเฉพาะเวทมนต์คาถาและวิปัสสนาธุระ ท่านมีความเชี่ยวชาญและแก่กล้าเรื่องวิทยาคมรูปหนึ่งของจังหวัดพิจิตร
    -และก็มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนพากันมาหาหลวงพ่อเงินเป็นประจำเหมือนกับกับที่ท่านอยู่ที่วัดวังตะโก แล้วคณะกรรมการก็ได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปหลวงพ่อเงินขึ้นที่วัดท้ายน้ำ เหมือนกับที่วัดวังตะโกทุกๆ พิมพ์ เพื่อแจกจ่ายจำหน่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์หลวงพ่อ
    -ลำดับเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำ
    1. หลวงพ่อเขียว เจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำองค์แรกซึ่งมีวิทยาคมสูงมากท่านหนึ่งมีชีวิต
    ร่วมสมัยกับหลวงพ่อเงิน
    2. หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ เจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำ
    3. พระครูวัตตสัมบัน (ฟุ้ง)
    4. พระปลัดชุ่ม
    5. พระครูวิจิตรวุฒิกร (น้อย ฐานุตฺตโร) เจ้าคณะอำเภอโพทะเล สัญญาบัตรชั้นเอก
    รูปขนาดเล็ก




    พระอาจารย์ชุ่มสร้างหลวงพ่อเงินที่วัดท้ายน้ำ
    ต่อมาพระอาจารย์ชุ่ม หรือพระปลัดชุ่มที่เป็นลูกศิษย์อุปสมบทกับพรครูวัฏะสัมบัญ(ฟุ้ง)ได้จัดสร้าง รูปหล่อหลวงพ่อเงินขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็นรูปหล่อลอยองค์แบบพิมพ์นิยม โดยนำพระพิมพ์นิยมของพระครูวัฏะสัมบัญมาถอดพิมพ์ ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมและเสาะแสวงหากันมากพอสมควร ข้อระวังพระหลวงพ่อเงินของพระอาจารย์ชุ่ม เวลานี้บรรดาพวกเซียนพระสมองใสทั้งหลายได้ลบตัว ช. ออก แล้วก็ยืนยันว่าเป็นพระหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมของวัดวังตะโกและวัดท้ายน้ำ ผู้ที่ดูพิมพ์ไม่ออกหลงเชื่อ
    เรื่องหลวงพ่อเงินที่มีผู้เข้าใจกันว่าวัดบางคลานนั้นความจริงแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน วัดบางคลานไม่มี คำว่าบางคลานหมายถึงตำบลอำเภอที่อยู่ของวัด ปัจจุบันนี้มีวัดวังตะโกได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหิรัญญาราม และอำเภอบางคลานก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอำเภอโพทะเลแล้ว สำหรับหลวงพ่อเงินวัดวังตะโก กับ หลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำบางพิมพ์ก็เหมือนกัน แต่บางพิมพ์อาจจะไม่เหมือนกัน เพราะมิได้สร้างในคราวเดียวกัน และไม่ใช้พิมพ์บล็อกเดียวกันด้วยเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน
    รูปหล่อหลวงพ่อเงิน ที่สร้างโดยหลวงพ่อชุ่ม ทางออกของคนฉลาดเก็บ ก้นตอก ช ช้าง พระดีราคาไม่แรง แถมมีประวัติชัดเจน ปัจจุบันหาไม่ค่อยเจอแล้วครับ พระชุดนี้มีทั้งตอกโค๊ด และไม่ตอกโค๊ด แต่แบบมีโค๊ด จะได้รับความนิยม มากกว่า
    รูปขนาดเล็ก



    หลวงพ่อเงิน อ.ชุ่มตอนนี้ราคาเช่าหากันในองค์งามๆ60000บาทถ้าสภาพสึกหรือกลางๆราวๆ40000บาท


    ขอลงข้อมูลหลวงพ่อเงินวัดห้วยเขนด้วยคนครับ
    หลวงพ่อเงินวัดห้วยเขน แบ่งออกได้4พิมพ์ตามสากลของวงการพระเครื่อง
    1 พิมพ์ใหญ่ นิยม เนื้อทองเหลือง และเนื้อสำริดเงิน
    2 พิมพ์ใหญ่ฐานสูง
    3 พิมพ์ใหญ่ หรือเล็ก หน้าหนู
    4 พิมพ์เล็ก หรือพิมพ์เล็กก้นอุ

    หลวงพ่อเงินท่านได้รับนิมนต์ให้ไปช่วยสร้างและซ่อมแซมวัดห้วยเขนโดยขี่ช้าง ไปที่วัดห้วยเขนจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยเขนเป็นเวลา3ปีโดยออกวัตถุเป็นพิมพ์ ต่างๆโดยให้บูชาองค์ละบาท หลวงพ่อเงินท่านเสกสร้างพระชุดนี้ในปี2456 ท่านจำวัดที่วัดห้วยเขนเป็นเวลา3ปีจึงกลับวัดบางคลานโดยพระที่เหลือจากการ ให้บูชาได้นำไปลงกรุ ณ วัดห้วยเขน

    ลักษณะทั่วไปของหลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน
    เนื้อพระจัด แห้งและมีการยุบย่น ตามกาลเวลา
    พิมพ์ของวัดห้วยเขนจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้ง่ายต่อการสังเกตุ และต้องจำพิมพ์กับรอยตะใบให้แม่น
    พระหลวงพ่อเงินชุดนี้เป็นพระหล่อโบราณแบบประกบและจึงทำการหล่อแล้วนำพระมา แต่งตะใบในภายหลังถ้าองค์ไหนหล่อดีก็จะไม่แทงตะใบแต่ง ใต้ฐานพระต้องตรึงเรียบ ไม่มีรูพรุน อาจมีร่องได้ พระมีขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย นํ้าหนัก1บาท โดยส่วนมากพระจะสึกโดยเฉพาะตรงจมูกและหน้า ตอนนี้พวกเซียนกว้านเก็บกันยกใหญ่ เพราะทางสมาคมพระเครื่องได้บรรจุไว้ในการประกวดทุกสนามแล้วและได้รับการยอม รับว่าทันหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน ผมได้ยินจากสายตรงบาคลานท่านหนึ่งว่าห้วยเขนสวยๆตอนนี้ทะลุ3แสนไปแล้ว คนมีก็ไม่ค่อยปล่อยกันครับ ส่วนเนื้อสำริดเงินสร้างน้อยและหายากมากๆ ดวง้องดีและเงิน้องถึงเพราะสร้างจำนวนน้อยครับ ถูกผิดประการใดขออภัยด้วยครับ

    โดยส่วนตัวผมมี 3 องค์ ครับ องค์นี้เป็นห้วยเขน พิมพ์ใหญ่นิยม มีสนิมแดงขึ้นโดยรอบ มาตราฐานสากล แต่ที่ต้องเก็บก็คือแกะตัวอุ มาแต่ดั้งเดิม ซึ่งหายากมาก ที่พอพบเห็นได้จะเป็นการจารที่ก้น ถ้าพิมพ์เล็กจะตอกตัวอุครับ
    รูปขนาดเล็ก


    องค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่ หน้าหนู องค์นี้จะดูง่ายมากๆ เนื้อจัดและมันส์ การหดตัวของทองเหลืองมีให้เห็นทั่วทั้งองค์ตรงบริเวณตาและปาก คากว่าตอนหล่อคงไม่ติด ผู้หล่อเลยทำการตอกแต่ที่บริเวณตาและปากคล้านหลวงพ่อเงิน อ.ชุ่มบล็อคตาตอก และที่เห็นชัดเจนที่สุดคือรอยประกบของเม่าพิมพ์เวลาหล่อจะเห็นได้อย่าง ชัดเจนว่าพระองค์นี้มีเนื้อเกินบริเวณเศียร์ แ่่ต่ช่างไม่ได้ะใบทิ้งเพราะถ้าจะใบส่วนเศียร์พระจะแหว่งทำให้ง่ายต่อการ พิจารณา
    รูปขนาดเล็ก





    ให้ดูกันหลายแบบครับ หลวงพ่อเงินห้วยเขน สร้างโดยการหล่อแบบโบราณและสร้างต่างวาระกัน ผู้ปั้นพิมพ์ก็มีหลายคน ทำให้พุทธศิลป์ ขององค์พระต่างกันไป อย่างที่บอกครับว่ามีหลายพิมพ์ หน้าตาก็ต่างกันไป แต่คนที่ศึกษามาบ้างก็จะแยกพิมพ์ออก เช่นองค์นี้ เป็นพิมพ์ใหญ่ แต่ต่างจากองค์แรกที่ผมลงด้วยสรีระขององค์พระที่เศียรเล็กและความชัดลึกของ พิพม์ ทำให้พระองค์นี้ดูพิมพ์แล้วคมสวย แต่คนสมัยก่อน ใช้พระโดยการใส่กระเช้านาคบ้าง ถักลวดบ้าง ใส่กะเป๋าเสื้อบ้าง ทำให้บริเวณหน้าตาของพระ สึกหรอไปตามกาลเวลา ถ้าใช้น้อยก็จะสึกแค่จมูก เช่นองค์นี้เนื้อจัด สีของหลวงพ่อเงินห้วยเขนทองเหลือจะเป็นสีเหลืองอมเขียว ซะส่วนใหญ่ ทำให้ง่ายต่อการพิจารณา มีส่วนน้อยที่จะขึ้นสนิมแดง องค์นี้ติดรางวัลที่พะเยา และออกใบเซอร์กับทางสมาคมพระเครื่อง เรียบร้อยแล้ว พิพม์นี้เป็นพิมพ์ที่หาดูยาก บางคนไม่เคยเห็นก็จะตีเก๊ ด้วยหน้าตาไม่เหมือน พิมพ์ใหญ่นิยมทั่วไป เอาไปเช็คมาหลายที่บางที่ว่าแท้ บางที่ตีเก๊ แต่ผมเล่นตามหลักสากลครับผมคิดว่าไม่มีใครดูพระทุกสายขาดหรอก เราก็เล่นตามสากลชนนิยมเค้าเล่นกันเพราะเวลาเราเดือดร้อนเรื่องเงิน พระท่านช่วยเราได้ ลองพิจรณาดูครับ
    รูปขนาดเล็ก



    ขอต่อกับหลวงพ่อเงินห้วยเขนพิมพ์ที่3 คือหลวงพ่อเงิน ห้วยเขนพิมพ์กลางหรือใหญ่ฐานสูง
    ขอบอกว่าองค์นี้พี่ที่ผมเคราพ เค้าได้ปล่อยไปแล้วและขออนุญาติยืมรูปมาเป็นกรณีศึกษาครับ
    พิมพ์นี้ จะมีรูปทรงที่ดูสูง เพราะช่วงฐานที่สูง ทำให้องค์พระดูเด่น หน้าตาจะผิดเพี้ยนไปจากพิมพ์ใหญ่นิยมนิดหน่อย แต่บริเวณขาที่ถูกทับส่วนใหญ่จะหล่อไม่ติด เป็นอีกพิมพ์ที่นิยมเล่นหากันขนาดก็จะพอๆกับพิมพ์อื่น ด้วยลักษณะที่ฐานมีความสูงทำให้พิมพ์นี้ดู มีความสวยงามแลดูองค์พระสง่างาม
    รูปขนาดเล็ก


    หลวงพ่อเงินห้วยเขนพิมพ์ที่4 คือหลวงพ่อเงิน ห้วยเขนพิมพ์เล็ก หรือพิมพ์เล็กก้นอุ
    ขออนุญาติเจ้าของพระเพื่อนำรูปมาเป็นกรณีศึกษาครับ
    โดยพิมพ์เล็กก้นอุเป็นพิมพ์ที่หายากที่สุดใน4พิมพ์ พิมพ์ก้นอุนี้มีเซียนบางกลุ่มไม่ซื้อขายโดยอ้างว่าไม่ทันหลวงพ่อเงิน แต่ในสนามกลางจะมีการซื้อขายกันทั่วไป โดยลักษณะส่วนใหญ่ของพิมพ์นี้ หน้าตาพระจะแตกต่างจาก3พิมพ์แรกโดยสิ้นเชิง ใบหูพระจะใหญ่ ขนาดจะย่อมกว่าเล็กน้อย พิมพ์นี้ที่พบเห็นหน้าตาจะยังคมชัดอยู่พอสมควรในส่วนใหญ่ ส่วนก้นอุนั้นจะมีลักษณะเหมือนกันเพียงแต่ใต้ฐานพระมีการตอกโค๊ช ตัว อุ ลงไปที่ใต้ฐาน
    รูปขนาดเล็ก


    หลวงพ่อแจ๊ะเป็นเจ้าอาวาสวัดบางคลาน เหนือ(วังตะโก)ที่หลวงพ่อเงินแยกตัวจากวัดบางคลานใต้(ท้ายน้ำ)มาสร้างไว้ ซึ่งก่อนหน้านั้นหลวงพ่อแจ๊ะก็อยู่ที่วัดบางคลาน(ท้ายน้ำ)ตามหลวงพ่อเงินมา อยู่ที่วัดใหม่(วังตะโก)ภายหลัง หลวงพ่อแจ๊ะเป็นยอดเกจิอาจารย์ของบางคลานด้านการสร้างพระเครื่องและหามวลสาร สรรพคุณทางอาคมมาผสมประสานเนื้อพระ เป็นผู้สร้างรูปจำลององค์พระทั้งเนื้อโลหะ,เนื้อดิน,เนื้อผง แล้วให้หลวงพ่อเงิน ปลุกเสกเพราะมีความเชี่ยวชาญด้านอาคมมากกว่า หลวงพ่อเงินอาวุโสสูงกว่าหลวงพ่อแจ๊ะ 3 ปี เป็นชาวบางคลานด้วยกันทั้งคู่ รูปหล่อลพ.เงินวัดบางคลานและอ.แจ๊ะ พิมพ์กลางหน้านกฮูก เนื้อแดง ซึ่งจะหายากกว่าเนื้อเหลืองอยู่ในช่วงเดียวกันกับอ.ชุ่ม วัดท้ายน้ำ มีประสพการณ์แบบเหนียวสุดๆ แมลงวันไม่ได้เลียเลือดเหมือนกับรูปหล่อพระหลวงพ่อเงินวัดบางคลานผู้เป็น อาจารย์ไม่แพ้กัน สำหรับอาจารย์แจ๊ะเป็นเจ้าอาวาสที่ทันลพ.เงิน บางคลาน ตอนยังมีชีวิต และเป็นเจ้าอาวาสวัดบางคลาน(วังตะโก)ต่อจากลพ.เงิน
    หลวงพ่อเชื้อ..สม ณศํกดิ์ของท่านคือ พระครูวิสุทธิหิรัญพงษ์ หรือ เชื้อ ฉันทโก สถานะเดิมชื่อ เชื้อ เอี่ยมอินทร์ เกิดวันอังคาร ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2472 ตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
    หลวงพ่อเชื้อมีโอกาสได้เห็นหน้า หลวงพ่อแจ๊ะ แต่หลวงพ่อเชื้อยังเล็กอยู่พอรู้ความ หลวงพ่อแจ๊ะเป็นเจ้าอาวาสวัดบางคลานเหนือที่หลวงพ่อเงินแยกตัวจากวัดบางคลาน ใต้มาสร้างไว้ ซึ่งก่อนหน้านั้นหลวงพ่อแจ๊ะก็อยู่ที่วัดบางคลานตามหลวงพ่อเงินมาอยู่ที่วัด ใหม่ภายหลัง

    ในปี พ.ศ. 2528 หลวงพ่อเชื้อ วัดบางคลานใต้ จึงลงมือดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นที่วัดคงคาราม ก็พอดีกับที่มีวัดอยู่วัดหนึ่ง วัดประสาท ซึ่งอยุ่ห่างจากวัดคงคาราม ประมาณ 300 เมตร พบพระพุทธรูปโบราณเก่า เทวรูปเก่าแก่ยุคสมัยต่างๆสภาพดีและชำรุดจำนวนหนึ่ง ฝังจมอยู่ในดิน มีคราบดินเกาะติดแน่น ส่วนผิวพระบูชาในส่วนลึกมี สนิมเขียว อยู่ทั่วไป สำหรับ พระบูชาสมัยรัตนโกสินทร์ มีบางส่วนสันนิษฐานกันว่า เป็นพระแก้บนในสมัย หลวงพ่อเงิน และบางส่วนเป็นพระบูชาที่มีศิลปะ รัตนโกสินทร์ยุคต้นและยุคกลาง ปะปนกัน นอกจากนี้ยังพบ พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา และเหรียญจอบใหญ๋ จอบเล็ก อีกด้วย แต่สภาพชำรุดทุกองค์ จึงนำมาเก็บรักษาไว้ที่วัดคงคาราม

    เมื่อทางวัดจะสร้างพระจึงได้นำเศษพระพุทธรูปที่ชำรุดเสียหายไม่เป็นองค์และ ชนวนพระรูปหล่อ “พิมพ์ขี้ตา”กับเหรียญหล่อจอบใหญ่ รุ่นแรก นำมาผสมประสานเนื้อสร้างใหม่ขึ้น หลอมหล่อเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่างๆ ในฐานะที่หลวงพ่อเงินเป็นพระคณาจารย์เก่าของวัด และเป็นที่เคารพของคนบางคลานทั่วไป
    ขณะขนย้ายโลหะทองสำริดอถรรพเวทกายสิทธิ์ พระพุทธรูปโบราณ เทวรูปเก่าแก่ยุคสมัยต่างๆ และชนวนพระรูปหล่อ “พิมพ์ขี้ตา” จอบใหญ่ รุ่นแรก เข้าสู่เตาหล่อหลอม..อัศจรรย์ ยกไม่ขึ้น เคลื่อนย้ายไม่ได้ หนักอึ๊งเหมือนถูกตดกหมุด.. หลวงพ่อเชื้อ จุดธูปบวงสรวงหลวงพ่อเงิน จึงยกเคลื่อนย้ายสู่เตาหลอมได้สำเร็จ
    อัศจรรย์ เผาไฟแรงสูง 1,000 องศา ..ไม่ละลาย หลวงพ่อเชื้อ จุดธูปบอกกล่าว หลวงพ่อเงิน จึงเผาละลาย
    พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน เนื้อโลหะพระบูชาและเทวรูปเก่า ปี 28 (ปืนแตก) นั้นไม่มีเนื้อใหม่อื่นใดเจือปนอยู่เลย มีแต่ เนื้อเก่า ทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้พระทุกองค์จึงแล ดูเก่ามีคราบเบ้าและคราบสนิมเขียว ของพระบูชา และเทวรูปปรากฎเกาะติดแน่นทุกองค์

    หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นปืนแตก พิมพ์นิยม ปี 2528 หล่อด้วยเนื้อระฆังเก่า และ พระบูชาเทวรูป สมัยต่างๆ ที่ขุดพบใต้ฐานชุกชีพระประธานใน โบสถ์เก่า สมัยหลวงพ่อเงิน

    การขุดกรุพระที่ใต้ฐานชุกชีพระประธานโบสถ์เก่าสมัยหลวงพ่อเงิน พบพระบูชา เทวรูปเก่าสมัยต่างๆรวมทั้ง รูปหล่อพิมพ์ขี้ตา เหรียญจอบใหญ่-เล็ก ของหลวงพ่อเงิน รุ่นแรก ที่ชำรุดผุพังจำนวนหนึ่ง ซึ่งหลวงพ่อเชื้อได้นำเนื้อเก่าเหล่านี้ มาหล่อหลอมสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปืนแตก ปี 28 และฟ้าคำรณปี 34

    หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่น ปืนแตก เป็นพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่เทหล่อแบบมีก้านชนวนเหมือนพระกริ่งหลังจากช่าง ตกแต่งหุ่นพิมพ์และพอกดินเข้าเรียบร้อยแล้ว การเทเนื้อทองจะเทเข้าทางก้านชนวนที่ก้น

    หลังจากทุบเบ้าได้พระออกมาแล้วก็จะตัดก้านทิ้ง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่น ปืนแตก ทุกองค์จึงปรากฏร่องรอยของก้านชนวนเล็กบ้างใหญ่บ้างและมีรอยตะไบแต่งที่ก้น ข้างองค์พระต้องไม่มีรอยตะไบ

    พิมพ์พระอาจมีผิดเพี้ยนกันไปบ้าง เนื่องจากเป็นพระหล่อ หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่น ปืนแตก เป็นรูปหลวงพ่อเงิน นั่งสมาธิ เส้นริ้วจีวรด้านซ้ายมือเรามี 4 เส้น สังฆาฏิพาดบ่าซ้ายปลายด้านล่างชนฝ่ามือซ้ายพอดี ลักษณะอาการนั่งมองแล้วแบบสบายๆ แต่ก็ดูเคร่งขรึมและน่ายำเกรงเนื่องจาก หลวงพ่อเงิน รุ่น ปืนแตก สร้างจากโลหะพระบูชาเทวรูปสมัยต่างๆ ที่ขุดพบใต้ฐานชุกชีพระประธานโบสถ์เก่าสมัยหลวงพ่อเงิน เนื้อระฆังเก่า อายุหลายร้อยปี เนื้อพระต้องมี เนื้อหาความเก่าแก่ ตามอายุของมวลสาร มีคราบขี้เบ้าจับเกาะตามผิวเป็นชั้นๆ

    หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่น ปืนแตก ปี 28 นั้นพุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันมหาอุด หยุดปืน คุ้มเนื้อคุ้มหนัง เป็นพระเครื่องของชายชาตรีหรือผู้ที่ต้องการของดีไว้คุ้มตัวได้ชะงัดสมชื่อ ปืนแตกพุทธคุณเด็ดขาดเร้าใจครับ เป็นของดีทีดังเงียบ ดังลึก ที่คนรู้ ซุ่มเก็บกัน

    ประสบการณ์ หลวงพ่อเงินรุ่นปืนแตก เด่นเรื่องแคล้วคลาด และ คงกระพัน

    จำนวนพระพิมพ์ที่สร้างในครั้งนี้ชื่อ รุ่นปืนแตก เพราะมีประสบการณ์จากการทดสอบ ปืนแตก ทันที มีพิมพ์ต่างๆ คือ

    1. พิมพ์นิยมเศียรโต

    2. พิมพ์เศียรเล็ก

    3. พิมพ์ตอกเสาเข็ม(แจกคณะกรรมการที่มาช่วยงานตอกเสาเข็ม)

    4. พิมพ์ขี้ตา

    5. พิมพ์แจกแม่ครัว(หนักสองสลึง)

    6. พิมพ์เลียนแบบรุ่นไตรมาส(แจกกรรมการ)

    7. พิมพ์นิยมเล็ก พรุน

    8. พิมพ์นิยมตะไบข้าง

    9. พิมพ์ขี้ตา ตะไบข้าง

    10.พิมพ์นิยมสนิมดำใหญ่

    11.พิมพ์นิยมสนิมดำเล็ก

    หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นปืนแตก เป็นพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่เทหล่อแบบมีก้านชนวนเหมือนพระกริ่งหลังจากช่าง ตกแต่งหุ่นพิมพ์ และพอกดินเข้าเรียบร้อยแล้ว การเทเนื้อทองจะเทเข้าทางก้านชนวนที่ก้น หลังจากทุบเบ้าได้พระออกมาแล้วก็จะตัดก้านทิ้ง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นปืนแตก ทุกองค์จึงปรากฏร่องรอยของก้านชนวนเล็กบ้างใหญ่บ้าง และมีรอยตะไบแต่งที่ก้น ข้างองค์พระต้องไม่มีรอยตะไบ พิมพ์พระอาจมีผิดเพี้ยนกันไปบ้าง เนื่องจากเป็นพระหล่อ หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นปืนแตก เป็นรูปหลวงพ่อเงิน นั่งสมาธิ เส้นริ้วจีวรด้านซ้ายมือเรามี 4 เส้น สังฆาฏิพาดบ่าซ้ายปลายด้านล่างชนฝ่ามือซ้ายพอดี ลักษณะอาการนั่งมองแล้วแบบสบายๆ แต่ก็ดูเคร่งขรึม และน่ายำเกรงเนื่องจากหลวงพ่อเงิน รุ่นปืนแตก สร้างจากโลหะพระบูชาเทวรูปสมัยต่างๆ ที่ขุดพบใต้ฐานชุกชีพระประธานโบสถ์เก่าสมัยหลวงพ่อเงิน เนื้อระฆังเก่าอายุหลายร้อยปี เนื้อพระต้องมีเนื้อหาความเก่าแก่ ตามอายุของมวลสาร มีคราบขี้เบ้าจับเกาะตามผิวเป็นชั้นๆ

    จุดตาย - ตาตุง ร่องระหว่างสังฆาฏิกับจีวรแขนซ้ายต้องลึก เนื้อทองเหลืองเก่าอมดำ รอยตะไบเก่าฟันจะใหญ่และไม่คมจนสากมือเวลาลูบ
     
  11. มะลิทอง

    มะลิทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +133
    ผมขอสอบถามหน่อยนะครับองค์นี้รุ่นปืนแตกพิมพ์อะไรอีกองค์พิมพ์อะไรวัดไหนทั้ง2องค์เก๊แท้อย่างไรครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. เก้

    เก้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +571
    สวัสดีครับพี่ๆทุกท่าน เป็นกำลังใจให้พี่เจ๊ตุ้มและพี่ๆทุกท่านทำกระทู้ ตามรอยหลวงพ่อเงินพุทธโชติ ให้อยู่ต่อไปนานๆๆ ให้พี่ๆน้อยๆที่พึ่งเริ่มศึกษาและสะสม หลวงพ่อเงิน มีที่พึ่งพา และเป็นที่แลเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ของทุกๆท่านที่ศรัทธาในหลวงพ่อเงินครับ
     
  13. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    เป็นปืนแตกพิมพ์นิยมครับ สร้างปี 22 พิมพ์ทรงจะสูงฉลูดกว่า และบริเวณช่วงผ้าสังฆาฎิบริเวณวงแขนจะมีเส้นขนาน ความนิยมจะสู้ปืนแตก ปี 28 ไม่ได้ครับซึ่งมีการสร้างถึง 11พิมพ์ อีกองค์เป็นทรงพิมพ์หลวงพ่อฟุ้งครับ แต่เนื้อหายังใหม่อยู่มาก สรุปก็คือยังไม่ทันหลวงพ่อฟุ้งสร้างครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1_2_~1.JPG
      1_2_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      88.8 KB
      เปิดดู:
      2,482
    • กดอก.jpg
      กดอก.jpg
      ขนาดไฟล์:
      143.5 KB
      เปิดดู:
      3,115
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2013
  14. มะลิทอง

    มะลิทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +133
    ขอบคุณมากครับที่กรุณาตอบให้จะได้หายสงสัยซะทีขอบคุณครับคุณเจ็ตุ้ม
     
  15. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    มองลำบากครับภายยังไม่ชัด ขนาดผมใชจอมอนิเตอร์ 50 นิ้วดูนะนี่ เนื้อสีขาวอาจเป็นคราบขี้เบ้าฝังตามซอกนะครับ และโดนล้างหรือความชื้น ก็ทำให้เกิดสนิมเขียว อาจนะครับ เพราะมองไม่ถนัดครับลองพิจรณาดูครับ เดี๋ยวว่างจะลงภาพที่เป็นลัษณะของแร่บนองค์หลวงปู่ให้ดูครับ
    ขอบคุณครูชายแดนครับที่ส่งข้อมูลให้ ขอบคุณจากใจครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2013
  16. ครูชายแดน

    ครูชายแดน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,053
    ค่าพลัง:
    +2,793
    พิมพ์อย่างนี้ปืนแตกไม๊ครับหรือเป็นรุ่นไหน ช่วยบอกผมทีครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9239.jpg
      IMG_9239.jpg
      ขนาดไฟล์:
      250.5 KB
      เปิดดู:
      1,073
    • IMG_9236.jpg
      IMG_9236.jpg
      ขนาดไฟล์:
      278 KB
      เปิดดู:
      941
  17. wasawas

    wasawas Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +54
    หาหลวงพ่อเงินเนื้อแนวนี้นะครับ....เหตผลที่ทำไมเซียนถึงนิยมห้วยเขนว่าทันยุคต้องเฉพาะเนื้อแนวนี้นะครับถึงจะนิยมเล่นหากันสากล องค์นี้เรียกพิมพ์เล็ก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2013
  18. bhothale

    bhothale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    806
    ค่าพลัง:
    +2,583
    การดูตำหนิ...ปืนแตกปี 2522 สังเกตพิมพ์ทรงจะผอมชลูดกว่ารุ่นปี 28
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. bhothale

    bhothale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    806
    ค่าพลัง:
    +2,583
    ภาพตัวอย่างพิมพ์ต่างๆของรุ่นปืนแตก เริ่มด้วย

    1. พิมพ์นิยมเศียรโต

    หัวข้อนี้ที่จริงอยากให้ท่านพี่โยช่วยหารูปประกอบจะได้ครบถ้วนกว่าผมทำแน่...(เพราะพี่ท่านมีเยอะ ฉายาโย ปืนแตกมิใช่ได้มาโดยบังเอิญ..อิอิ)
    ยังไงช่วยท้วงติงแก้ไขด้วยนะครับ...หางอึ่งผมสั้นเดี๋ยวภาพข้อมูลเพี้ยนไป..ชาวบ้านเขาจะเดือดร้อนนนน...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. พีร

    พีร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2012
    โพสต์:
    2,423
    ค่าพลัง:
    +7,409
    แอบมาดันให้ครับ มาศึกษาด้วยครับ หลวงพ่อเงินผมมีครับแต่ไม่กล้านำเสนอครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...