จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    .jpg
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    คำว่า “ฌาน” และ “ญาณ”
    คำที่นักปฏิบัติธรรมและผู้เรียนรู้พุทธศาสนาจำเป็นต้องรู้และทำความเข้าใจ เพราะเกี่ยวเนื่องไปถึง“ความหลุดพ้น”
    “ฌาน” คือ สภาพจิตที่มีสมาธิเป็นแกน ประกอบด้วยคุณสมบัติอื่นๆที่ดีงามอีก ๒-๓-๔-๕ อย่าง แล้วแต่ฌานขั้นไหน “ฌาน”เป็นผลที่ประสงค์สำคัญของ “สมถะ” หรือ จิตตภาวนา
    ฝ่าย“วิปัสสนา” ที่ว่ามีหลักการคือ รู้ เห็นตามความเป็นจริงนั้น ผลที่เกิดขึ้นของมันคือ “ญาณ” ชื่อใกล้กันมาก ระวังสับสน ผลที่มุ่งหมายของวิปัสสนา คือ “ญาณ”
    ผลที่ประสงค์ของสมถะ คือ “ฌาน”
    พอถึงผลสำเร็จของวิปัสสนา เป็น “ญาณ”
    “ฌาน” ของสมถะนั้น แปลว่า การเพ่งพินิจ แน่วแน่อยู่ จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้
    แต่..วิปัสสนา ทำให้เกิด “ญาณ” คือ ตัวความรู้ หรือ ความหยั่งรู้ “ญาณ”จึงเป็นผลที่มุ่งหมายของวิปัสสนา
    ที่พูดมาแล้วนี้ เป็นผลสำเร็จทั่วไป ต่อไปเป็น #ผลสำเร็จขั้นสุดท้าย
    ผลสำเร็จขั้นสุดท้ายของ “สมถะ”
    เมื่อทำให้จิตแน่วแน่เป็นอารมณ์เดียว เกิด“ฌาน” พอได้ฌานแล้ว จะเกิดความสำเร็จขั้นสุดท้ายขึ้น คือ จิตจะปลอดพ้นหลุดไป หมายถึง หลุดพ้นไปจากสิ่งที่ไม่ดีที่ไม่ต้องการทั้งหมด

    จิตใจของคนเรานี้มีความขุ่นมัว มีความเศร้าหมอง มีกิเลส มีเรื่องทุกข์ร้อนต่างๆมากมาย พอเราทำสมาธิได้“ฌาน”แล้ว จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ สงบ มันก็พ้นไปจากสิ่งที่ไม่ต้องการ สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นความขุ่นมัวเดือดร้อนวุ่นวาย สิ่งที่เป็นกิเลสทั้งหมด ก็เรียกว่าเป็น ความหลุดพ้น

    แต่ความหลุดพ้นนั้นเป็นไปได้ชั่วคราว ตลอดเวลาที่เราอยู่ในสภาพจิตนั้น เมื่อไรเราออกจากสิ่งที่กำหนด ออกจากสมาธิ จิตของเราก็เข้าสภาพเดิม เราก็มีปัญหาได้อีก เราก็มีความทุกข์ได้อีก จิตใจของเราก็มีความขุ่นมัวเศร้าหมองได้อีก อันนี้ จึงถือว่าเป็นความหลุดพ้นชั่วคราว ตอนนี้จะมีความยุ่งเรื่องศัพท์นิดหน่อย ศัพท์ไม่จำเป็นต้องจำ แต่ถือว่าฟังไว้ประดับความรู้ เรียกว่า “วิกขัมภนวิมุตติ”
    วิกขัมภนวิมุตติ บางทีท่านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สมยวิมุตติ แปลว่า หลุดพ้นชั่วสมัย สมย หรือ สมัย แปลว่า เวลา, วิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น พ้นจากกิเลสและความทุกข์ สมย ชั่วสมัย คือชั่วเวลา ได้แก่ ชั่วเวลาที่เราอยู่ในสมาธิ แต่สมัยหลังมักเรียกกันว่า วิกขัมภนวิมุตติ แปลว่า #หลุดพ้นด้วยกดทับไว้ เหมือนอย่างเอาหินไปทับหญ้า ทำให้หยุดงอกงามไป พอเอาหินออกแล้วหญ้าก็กลับเจริญงอกงามต่อไปอีก เหมือนกับกิเลสและความทุกข์ พอได้สมาธิ กิเลสและความทุกข์ก็สงบเงียบ เหมือนกับหายไปหมดไป แต่พอออกจากสมาธิ กิเลสและความทุกข์นั้นก็เฟื่องฟูขยายตัวขึ้นมาได้อีก นี่คือ ผลสำเร็จสุดท้ายของสมาธิหรือของสมถะ คือ สมยวิมุตติ หลุดพ้นชั่วคราว หรือ วิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยกดทับหรือข่มไว้
    ส่วน“วิปัสสนา” ทำให้เกิด“ญาณ” มีความรู้แจ่มแจ้ง รู้ตามที่เป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามที่เป็นจริงแล้ว จิตจะเป็นอิสระหลุดพ้นจากสิ่งนั้นๆ #เด็ดขาดไปเลย

    เมื่อเรารู้เข้าใจสิ่งใดตามความเป็นจริงแล้ว จิตของเราก็จะหลุดพ้นจากความยึดติดในสิ่งนั้น แล้วเราก็ไม่ขุ่นมัวไม่ขัดข้องเพราะสิ่งนั้น เมื่อยังไม่รู้ว่าอะไรเราก็ขัดข้องอยู่กับสิ่งนั้น เมื่อเรารู้ เราก็หลุด เราก็พ้นได้ รู้เมื่อไรก็หลุดเมื่อนั้น
    ทีนี้ ความรู้เห็นตามเป็นจริงก็นำไปสู่ความหลุดพ้น เป็นอิสระอย่างชนิดเด็ดขาดสิ้นเชิง เรียกว่า อสมยวิมุตติ คือ หลุดพ้นไม่จำกัดสมัย เรียกอีกอย่างว่า สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด”

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
    ที่มา : หนังสือ “ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง”
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ความกลัว
    ghost.jpg
    ความกลัว เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากสิ่งหนึ่ง
    ในบรรดา สิ่งที่ทำลาย ความสุข สำราญ
    หรือ รบกวนประสาท ของมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยกัน

    ความกลัวนี้ ย่อมมีลักษณะ และพิษสง มากน้อยกว่ากัน เป็นขั้นๆ
    ตามความรู้สึก อันสูงต่ำ ของจิต

    เด็กๆ สร้างภาพ ของสิ่งที่น่ากลัว ขึ้นในใจ ตามที่ผู้ใหญ่ นำมาขู่
    หรือได้ยิน เขาเล่า เรื่อง อันน่ากลัว เกี่ยวกับผี เป็นต้น สืบๆ กันมา
    แล้วก็กลัว เอาจริงๆ จนเป็นผู้ใหญ่ ความกลัวนั้น ก็ไม่หมดสิ้นไป

    ความกลัว เป็นสัญชาตญาณ อันหนึ่งของมนุษย์ เหมือนกันหมด
    แต่ว่า วัตถุที่กลัว นั่นแหละต่างกัน ตามแต่เรื่องราวที่ตนรับ
    เข้าไว้ในสมอง


    วัตถุอันเป็น ที่ตั้งของความกลัว ที่กลัวกันเป็นส่วนมากนั้น
    โดยมากหาใช่วัตถุ ที่มีตัวตน จริงจัง อะไรไม่ มันเป็นเพียงสิ่งที่ใจสร้างขึ้น
    สำหรับกลัวเท่านั้น ส่วนที่เป็น ตัวตน จริงๆ นั้น ไม่ได้ ทำให้เรากลัวนาน
    หรือ มากเท่าสิ่งที่ใจสร้างขึ้นเอง มันมักเป็น เรื่องเป็นราวลุล่วงไปเสียในไม่ช้านัก

    บางที เราไม่ทันนึก กลัว ด้วยซ้ำไป
    เรื่องนั้นก็ได้มาถึงเรา เป็นไปตามเรื่องของมัน
    และผ่านพ้นไปแล้ว มันจึงมิได้ทรมานจิตของมนุษย์
    มากเท่าเรื่องหลอกๆ ที่ใจสร้างขึ้นเอง

    เด็กๆ หรือคนธรรมดา เดินผ่านร้านขายโลง ซึ่งยังไม่เคย ใส่ศพเลย
    ก็รู้สึกว่า เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นที่ อวมงคล เสียจริงๆ
    เศษกระดาษ ชนิดที่เขา ใช้ปิดโลง ขาดตก อยู่ในที่ใด
    ที่นั้น ก็มี ผี สำหรับเด็กๆ

    เมื่อเอาสีดำ กับกระดาษ เขียนกันเข้า เป็น รูปหัวกระโหลก ตากลวง
    ความรู้สึกว่าผี ก็มาสิง อยู่ใน กระดาษ นั้นทันที

    เอากระดาษฟาง กับกาวและสี มาประกอบกัน เข้าเป็น หัวคนป่า ที่น่ากลัว
    มีสายยนต์ ชักให้แลบลิ้น เหลือกตา ได้ มันก็พอที่ทำให้ใคร ตกใจเป็นไข้ได้
    ในเมื่อนำไปแอบ คอยที่ชักหลอกอยู่ในป่า หรือที่ขมุกขมัว
    และแม้ที่สุด แต่ผู้ที่เป็นนายช่าง ทำมันขึ้นนั่นเอง ก็รู้สึกไปว่า
    มันมิใช่กระดาษฟาง กับกาวและสี เหมือนเมื่อก่อน เสียแล้ว
    ถ้าปรากฏว่า มันทำให้ใคร เป็นไข้ ได้สักคนหนึ่ง

    เราจะเห็นได้ ในอุทาหรณ์ เหล่านี้ ว่า
    ความกลัวนั้น ถูกสร้างขึ้น ด้วยสัญญาในอดีตของเราเอง ทั้งนั้น
    เพราะปรากฏว่า สิ่งนั้นๆ ยังมิได้เนื่องกับผีที่แท้จริง แม้แต่นิดเดียว และ

    สิ่งที่เรียกว่า ผี ผี , มันก็ เกิดมาจากกระแส ที่เต็มไปด้วย อานุภาพอันหนึ่ง
    อันเกิดมาจาก กำลังความเชื่อแห่งจิต
    ของคนเกือบทั้งประเทศ หรือ ทั้งโลก เชื่อกันเช่นนั้น
    อำนาจนั้นๆ มัน แผ่ซ่าน ไปครอบงำจิตของคนทุกคน
    ให้สร้าง ผีในมโนคติ ตรงกันหมด
    และทำให้เชื่อ ในเรื่องผี ยิ่งขึ้น และผีก็มีชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้

    จนกว่าเมื่อใด เราจะหยุดเชื่อเรื่องผี หรือ เรื่องหลอก นี้กันเสียที ให้หมดทุกๆ คน
    ผีก็จะตายหมดสิ้นไปจากโลกเอง จึงกล่าวได้ว่า
    ความกลัวที่เรากลัวกันนั้น เป็นเรื่องหลอก ที่ใจสร้างขึ้นเอง
    ด้วยเหตุผล อันผิดๆ เสียหลายสิบเปอร์เซ็นต์

    ความกลัว เป็นภัยต่อความสำราญ เท่ากับความรัก โกรธ เกลียด หลงใหล และอื่นๆ
    หรือบางที จะมากกว่าด้วยซ้ำ ดูเหมือนว่า
    ธรรมชาติ ได้สร้างสัญชาตญาณ อันนี้ให้แก่สัตว์ ตั้งแต่ เริ่มออกจากครรภ์ ทีเดียว,
    ลูกนก หรือ ลูกแมว พอลืมตา ก็กลัวเป็นแล้ว แสดงอาการหนี
    หรือป้องกันภัย ในเมื่อเราเข้าไปใกล้

    เด็กๆ จะกลัวที่มืด หรือการถูกทิ้ง ไว้ผู้เดียว
    ทั้งที่ เขายังไม่เคย มีเรื่องผูกเวร กับใครไว้
    อันจะนำให้กลัวไปว่า จะมีผู้ลอบทำร้าย
    เพียงแต่ผู้ใหญ่ ชี้ไปตรงที่มืด แล้วทำท่ากลัว ให้ดูสักครั้งเท่านั้น
    เด็กก็จะกลัว ติดอยู่ในใจไปได้นาน
    คนโตแล้วบางคน นั่งฟังเพื่อนกันเล่าเรื่องผีเวลากลางคืน
    มักจะค่อยๆ ขยับๆ จนเข้าไป นั่งอยู่กลางวง โดยไม่รู้สึกตัว
    และยังไปนอนกลัว ในที่นอนอีกมาก กว่าจะหลับไปได้

    เดินผ่านป่าช้าโดยไม่รู้ เพิ่งมารู้และกลัวเอาที่บ้านก็มี
    สำหรับบางคน ทั้งหมดนี้ เป็น เครื่องแสดงว่า
    ความกลัว เป็นเรื่องของจิต มากกว่า วัตถุ
    ผู้ใด ไม่มี ความรู้ ในการควบคุม จิตของตน ในเรื่องนี้
    เขาจะถูกความกลัวกลุ้มรุมทำลายกำลังประสาท
    และความสดชื่นของใจเสียอย่างน่าสงสาร

    ในทำนอง ตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่มีอุบายข่มขี่ความกลัว
    ย่อม จะได้รับ ความผาสุก มากกว่า มีกำลังใจ เข้มแข็งกว่า
    เหมาะที่จะเป็น หัวหน้าหมู่ หรือ ครอบครัว

    เมื่อปรากฏว่า ความกลัว เป็นภัย แก่ความผาสุก เช่นนี้แล้ว
    บัดนี้ เราก็มาถึง ข้อปัญหาว่า เราจะเอา ชนะความกลัว ได้อย่างไร สืบไป
    เพราะเหตุว่า การที่ทราบแต่เพียงว่า
    ความกลัว เป็นภัย ของความผาสุกนั้น
    เรายังได้รับผลดีจากความรู้นั้น น้อยเกินไป
    เราอาจปัดเป่า ความกลัวออกไปเสียจากจิต โดยววิธีต่างๆ กัน

    แต่เมื่อจะสรุปความ ขึ้นเป็นหลักสำคัญๆ แล้ว อย่างน้อย เราจะได้สามประการ คือ

    ๑. สร้างความเชื่ออย่างเต็มที่ ในสิ่งที่ยึดเอาเป็นที่พึ่ง
    ๒. ส่งใจไปเสียในที่อื่น ผูกมัดไว้กับสิ่งอื่น
    ๓. ตัดต้นเหตุ ของความกลัวนั้นๆ เสีย

    ในประการต้น อันเราอาจเห็นได้ทั่วไป คือ วิธีของ เด็กๆ ที่เชื่อตะกรุด หรือ
    เครื่องราง ฯลฯ ตลอดจน พระเครื่ององค์เล็ก ที่แขวนคอ
    และเป็นวิธีของผู้ใหญ่บางคน ที่มีความรู้สึกอยู่ในระดับเดียวกับเด็กด้วย

    คนในสมัยอนารยะ ถือภูเขาไฟ ต้นไม้ ฟ้า หรือ สิ่งที่ตนเห็นว่า มีอำนาจน่ากลัว
    ควรถือเอา เป็นที่มอบกายถวายตัว ได้อย่างหนึ่ง นี่ก็อยู่ในประเภทเดียวกัน
    ที่ยังเหลือมาจนทุกวันนี้ เช่น พวกที่บนบานต้นโพธิ์ พระเจดีย์ เป็นต้น
    เพื่อความเบาใจของตน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
    วิธีนี้ เป็นผลดีที่สุด ได้ตลอดเวลา ที่ตน ยังมีความเชื่อมั่นคงอยู่
    ความเชื่อที่เป็นไปแรงกล้า อาจหลอกตัวเอง
    ให้เห็นสิ่งที่ควรกลัวกลายเป็นสิ่งที่ไม่ควรกลัวไปก็ได้
    ถ้าหากจะมีอุบายสร้างความเชื่อชนิดนั้น ให้เกิดขึ้นได้มากๆ

    เมื่อใดความเชื่อหมดไป หรือมีน้อย ไม่มีกำลังพอที่จะหลอกตัวเองให้กล้าหาญแล้ว
    วิธีนี้ ก็ไม่มีประโยชน์ กลายเป็นของน่าหัวเราะเท่านั้น

    เล่ากันมาว่า เคยมีคนๆ หนึ่ง อมพระเครื่อง เข้าตะลุมบอน ฆ่าฟันกัน
    เชื่อว่า ทำให้อยู่คง ฟันไม่เข้า เป็นต้น ดูเหมือนได้ผล เป็นที่น่าพอใจ เขาจริงๆ
    ขณะหนึ่ง พระตกจากปากลงพื้นดิน ในท้องนา
    ตะลีตะลานคว้าใส่ปากทั้งที่เห็นไม่ถนัด
    แทนที่ จะได้พระ กลับเป็นเขียดตัวหนึ่ง เข้าไปดิ้นอยู่ในปาก
    ก็รบ เรื่อยไป โดยยิ่งเชื่อมั่นขึ้นอีกว่า พระในปาก แสดงปาฏิหาริย์
    ดิ้นไปดิ้นมา เมื่อเลิกรบ รีบคายออกดู เห็นเป็นเขียดตาย
    ก็เลยหมดความเชื่อ ตั้งแต่นั้นมา
    ไม่ปรากฏว่า พระเครื่ององค์ใด ทำความพอใจ ให้เขาได้อีก

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า วิธีนี้ ไม่ใช่ ที่พึ่ง อันเกษม คือ
    ทำความปลอดภัยให้ได้อย่างแท้จริง
    ไม่ใช่ วิธีสูงสุด, เนตํ สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ

    ประการที่สอง สูงขึ้นมาสักหน่อย พอที่จะเรียกได้ว่า
    อยู่ในชั้นที่จัดว่า เป็นกุศโลบาย
    หลักสำคัญอยู่ที่ส่งความคิดนึก ของใจไปเสียที่อื่น

    ซึ่งจะเป็นความรักใครที่ไหน โกรธใครที่ไหน เกลียดใครที่ไหน ก็ตาม
    หรือหยุดใจเสียจากความคิดนึก ทุกอย่าง (สมาธิ) ก็ตาม เรียกว่า
    ส่งใจไปเสียในที่อื่น คือจากสิ่งที่เรากลัวนั้นก็แล้วกัน
    ที่เราเห็นกันได้ทั่วไป เช่น กำลังเมารัก บ้าเลือด เหล่านี้เป็นต้น
    จะไม่มีความกลัวผี กลัวเสือ กลัวเจ็บ
    แม้เรื่องราวในหนังสือข่าวรายวัน ก็เป็นพยาน ในเรื่องนี้ได้มาก
    แต่เรื่องชนิดนี้ เป็นได้โดย ไม่ต้องเจตนา ทำความรู้สึก เพื่อส่งใจไปที่อื่น
    เพราะมันส่งไปเองแล้ว ถึงกระนั้น
    ทุกๆ เรื่อง เราอาจปลูกอาการเช่นนี้ขึ้นได้ในเมื่อต้องการ
    และมันไม่เป็นขึ้นมาเอง การคิดนึกถึงผลดีที่จะได้รับ คิดถึงสิ่งที่เรารักมาก
    จนใฝ่ฝัน คิดถึง ชาติประเทศ คิดถึงหัวหน้าที่กล้าหาญ ดูสิ่งที่ยั่วใจให้กล้า เช่น
    ระเบียบให้มองดู ธงของผู้นำทัพ ในเมื่อตนรู้สึกขลาด
    อันปรากฏอยู่ในนิยาย เทวาสุรสงคราม ในพระคัมภีร์ เป็นต้น
    เหล่านี้ ล้วน แต่ช่วยให้ใจแล่นไปในที่อื่น จนลืมความกลัว ได้ทั้งนั้น ในชั้นนี้
    พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ระลึกถึงพระองค์
    หรือพระธรรม หรือพระสงฆ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ในเมื่อภิกษุใดเกิดความกลัวขึ้นมา ในขณะที่ตนอยู่ในที่เงียบสงัด
    เช่นในป่าหรือถ้ำ เป็นต้น
    อาการเช่นนี้ทำนองค่อนไปข้างสมาธิ แต่ยังมิใช่สมาธิแท้ทีเดียว
    แต่ถ้าหากว่า ผู้ใดแม้ระลึกถึง พระพุทธองค์ก็จริง แต่ระลึกไปในทำนองเชื่อมั่น
    มันก็ไปตรงกันเข้ากับประการต้น คือความเชื่อ เช่น
    เชื่อพระเครื่อง หรือคนป่าเชื่อปู่เจ้าเขาเขียว
    ต่อเมื่อระลึก ในอาการเลื่อมใสปิติในพระพุทธคุณ เป็นต้น
    จึงจะเข้ากับประการที่สองนี้

    ส่วนอาการที่สงบใจไว้ด้วยสมาธินั้น เป็นอุบายข่มความกลัว ได้สนิทแท้
    เพราะว่า ในขณะแห่งสมาธิ ใจไม่มีการคิดนึก อันใดเลย
    นอกจากจับอยู่ที่สิ่งซึ่งผู้นั้น ถือเอาเป็นอารมณ์ หรือนิมิต
    ที่เกาะของจิตอยู่ในภายในเท่านั้น

    แต่ว่าใจที่ เต็มไป ด้วยความกลัว ยากที่จะเป็นสมาธิ
    เพราะฉะนั้น ต้องเป็นสมาธิ ที่ชำนาญ อย่างยิ่งจริงๆ
    จนเกือบกลายเป็นความจำอันหนึ่งไป พอระลึกเมื่อใด
    นิมิตนั้นมาปรากฏเด่นอยู่ที่ "ดวงตาภายใน" ได้ทันที
    นั่นแหละ จึงจะเป็นผล แม้ข้อที่ พระองค์สอนให้ระลึกถึงพระองค์
    หรือพระธรรม พระสงฆ์ ตามนัยแห่งบาลี ธชัคคสูตรนั้น ก็หมายถึง
    พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อยู่แล้ว
    แม้ว่าจะเป็นเพียง อุปจารสมาธิ ยังไม่ถึงขึดฌาณก็ตาม
    ล้วนแต่ต้องการความชำนาญ
    จึงอาจเปลี่ยนอารมณ์ที่กลัวให้เป็นพุทธานุสสติ เป็นต้นได้

    ส่วนสมาธิ ที่เป็นได้ถึงฌาณ เช่น พรหมวิหาร เป็นต้น
    เมื่อชำนาญแล้ว สามารถที่จะข่มความกลัว ได้เด็ดขาดจริงๆ
    ยิ่งโดยเฉพาะ เมตตา พรหมวิหาร ยิ่งเป็นไปได้ง่ายที่สุด


    แต่พึงทราบว่า ทั้งนี้เป็นเพียงข่มไว้เท่านั้น เชื้อของความกลัว ยังไม่ถูกรื้อถอนออก
    เมื่อใดหยุดข่ม มันก็เกิดขึ้นตามเดิม อีกประการหนึ่ง ไม่ใช่วิธีที่ง่ายสำหรับคนทั่วไป
    สำหรับการข่มด้วยสมาธิ
    คนธรรมดาเหมาะสำหรับเพียงแต่เปลี่ยนเรื่องคิดนึกของใจเท่านั้น
    หาอาจทำ การหยุด พฤติการของจิต ให้ชะงักลงได้ง่ายๆ เหมือน นักสมาธิไม่
    และค่อนข้าง จะเป็นการแนะให้เอา ลูกพรวน เข้าไปแขวนผูกคอแมวไป
    ในเมื่อสอนให้ คนธรรมดาใช้วิธ๊นี้

    และน่าประหลาดใจอีกอย่างหนึ่งว่า วิธีที่สาม ที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้า
    ฃึ่งเป็นวิธีที่สูงนั้น กลับจะเหมาะสำหรับคนทั่วไป และได้ผลดีกว่าเสียอีก
    วิธีนั้น คือ ตัดต้นเหตุ แห่งความกลัวเสีย ตามแต่ที่กำลังปัญญาความรู้ของผู้นั้น
    จะตัดได้มากน้อยเพียงไร ดังจะได้พิจารณากันอย่างละเอียด กว่าวิธีอื่น ดังต่อไปนี้

    เมื่อมาถึงประการ ที่สามนี้ ขอให้เราเริ่มต้นด้วย อุทาหรณ์ง่ายๆ
    ของท่านภิกขุ อานันท เกาศัลยายนะ
    [เขียนไว้ในเรื่อง คนเราเอาชนะความกลัวได้อย่างไร ในหนังสือพิมพ์มหาโพธิ
    และบริติชพุทธิสต์ แต่เขียนสั้นๆ เพียงสองหน้ากระดาษเท่านั้น และกล่าวเฉพาะ
    การประพฤติ กายวาจาใจ ให้สุจริตอย่างเดียว ว่า เป็นการตัดต้นเหตุแห่งความกลัว]
    เขียนไว้เรื่องหนึ่งเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายในข้อที่ว่า
    การสะสางที่มูลเหตุ นั้นสำคัญเพียงไร
    อุทาหรณ์ นั้น เป็นเพียงเรื่องที่ผูกขึ้นให้เหมาะสมกับความรู้สึกของคนเราทั่วไป
    เรื่องมีว่า เด็กคนหนึ่งมีความกลัวเป็นอันมาก ในการที่จะเข้าไปใน ห้องมืดห้องหนึ่ง
    ในเรือนของบิดาของเขาเอง เขาเชื่อว่า มีผีดุตัวหนึ่งในห้องนั้น และจะกินเขา
    ในเมื่อเขาเพียงแต่เข้าไป บิดาได้พยายามเป็นอย่างดีที่สุด ที่จะทำได้ ทุกๆ ทาง
    เพื่อให้บุตรของตน เข้าใจถูกว่า ไม่มีอะไร ในห้องนั้น เขากลัวไปเอง
    อย่างไม่มีเหตุผล แต่เด็กคนนั้น ได้เคยนึกเห็นตัวผีมาแล้ว เขาเชื่อว่า
    ไม่มีทางใดที่จะช่วยบุตรของตน ให้หลุดพ้นจากการกลัวผี
    ซึ่งเขาสร้างขี้นเป็นภาพใส่ใจของเขาเองด้วยมโนคติได้จริงแล้ว
    ก็คิดวางอุบาย มีคนใช้คนหนึ่ง เป็นผู้ร่วมใจด้วย ฤกษ์งามยามดีวันหนึ่ง
    เขาเรียกบุตร คนนั้นมา แล้วกล่าวว่า "ฟังซิ ลูกของพ่อ ตั้งนานมาแล้ว
    ที่พ่อเข้าใจว่า พ่อเป็นฝ่ายถูก เจ้าเป็นฝ่ายผิด ก่อนหน้านี้ พ่อคิดว่า
    ไม่มีผีดุ ในห้องนั้น บัดนี้ พ่อพบด้วยตนเองว่า มันมีอยู่ตัวหนึ่ง
    และเป็นชนิดที่น่าอันตรายมาก เสียด้วย พวกเราทุกคน จักต้องระวังให้ดี"

    ต่อมาอีกไม่กี่วัน บิดาได้เรียกบุตรมาอีก ด้วยท่าทาง เอาจริงเอาจัง กล่าวว่า
    "หลายวันมาแล้ว ผีพึ่งปรากฏตัววันนี้เอง พ่อคิดจะจับและฆ่ามันเสีย
    ถ้าเจ้าจะร่วมมือกับพ่อด้วย ไปเอาไม้ถือ ของเจ้า มาเร็วๆ เข้าเถิด
    ไม่มีเวลาที่จะรอ แม้นาทีเดียว เพราะมันอาจหนีไปเสีย" เด็กน้อยตื่นมาก
    แต่ไม่มีเวลาคิด ไปเอาไม้ถือมาทันที พากันไปสู่ห้องนั้น เมื่อเข้าไปก็ได้พบผี
    (ซึ่งเรารู้ดีว่า เป็นฝีมือของคนใช้ทำขึ้น และคอยเชิดมันในห้องมืดนั้น)
    สองคนพ่อลูกช่วยกันระดมตีผี ด้วยไม้ถือ และไม้พลอง จนมันล้มลง
    มีอาการของคนตาย พ่อลูกดีใจ คนในครอบครัวทั้งหลาย มีการรื่นเริง
    กินเลี้ยงกันในการปราบผี ได้สำเร็จ ฉลองวันชัย และเป็นวันแรก ที่เด็กนั้น
    กล้าเข้าไปในห้องนั้น โดยปราศจากความกลัวสืบไป
    นี่เราจะเห็นได้ว่า เพียงทำลายล้างผี ที่เด็กสร้างขึ้น ด้วยมันสมองของเขาเอง
    บิดาต้องสร้างผี ขึ้นตัวหนึ่งจริงๆ จึงทำลายได้สำเร็จ โดยอาศัยความฉลาด
    รู้เท่าทันการ รู้จักตัดต้นเหตุ คนโง่ กับคนฉลาด นั้น ผิดกันในส่วนที่
    ระงับเหตุร้าย ลงไปจากทางปลาย หรือตัดรากเหง้า ขึ้นมาจากภายใต้

    เสือย่อมกระโดด สวนทาง เสียงปืน เข้าไปหาผู้ยิง ในเมื่อรู้สึกว่า ตนถูกยิง
    แต่สุนัข ย่อมมัว ขบกัด ตรงปลายไม้ ที่มีผู้แหย่ ตนนั่นเอง
    หาคิดว่าต้นเหตุสำคัญ อยู่ที่ผู้แหย่ไม่

    เมื่อเราพบจุดสำคัญว่า การตัดต้นเหตุเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดังนี้แล้ว
    เราก็ประจัญกันเข้ากับปัญหาว่า อะไรเล่า ที่เป็นต้นเหตุแห่งความกลัว ?

    เมื่อเราคิดดูให้ดีแล้ว อาจตอบได้ว่า เท่าที่คนเราส่วนมาก จะคิดเห็นนั้น
    ความกลัวผี มีต้นเหตุมากมาย คือ ความไม่เข้าใจในสิ่งนั้นบ้าง
    การมีความกลัวติดตัวอยู่บ้าง ใจอ่อนเพราะเป็นโรคประสาทบ้าง
    อาฆาตจองเวรไว้กับคนไม่ชอบพอกันบ้าง รักตัวเองไม่อยากตายบ้าง
    เหล่านี้ ล้วนเป็น เหตุแห่งความกลัว

    มูลเหตุอันแท้จริง เป็นรวบยอด แห่งมูลเหตุทั้งหลาย คืออะไรนั้น
    ค่อนข้างยากที่จะตอบได้ เพราะเท่าที่เห็นกันนั้น เห็นว่า มันมีมูลมากมายเสียจริงๆ
    แต่แท้ที่จริงนั้น ความกลัวก็เป็นสิ่งที่ เกิดมาจากมูลเหตุอันสำคัญอันเดียว
    เช่นเดียวกับ ความรัก ความโกรธ ความเกลียด และ ความหลง
    เพราะว่า ความกลัว ก็เป็นพวกเดียวกันกับ ความหลง (โมหะ หรือเข้าใจผิด)
    มูลเหตุอันเดียวที่ว่านั้น ก็คือ อุปาทาน
    ความยึดถือต่อตัวเองว่า ฉันมี ฉันเป็น นั่นของฉัน นี่ของฉัน เป็นต้น
    อันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัสมิมานะ (เรื่องนี้ ข้าพเจ้าเคย อธิบายไว้บ้างแล้ว
    ในเรื่อง "สุขกถา" ที่คณะธรรมทาน เคยพิมพ์โฆษณาแล้ว)

    ความรู้สึก หรือ ยึดถืออยู่เอง ในภายในใจ ตามสัญชาตญาณนั้น
    มันคลอดสิ่งที่เราเรียกกันว่า "ฉัน" ขึ้นมา และความรู้สึกนั้น ขยายตัวออกสืบไปว่า
    ฉันเป็นผู้ทำเช่นนั้น เช่นนี้ ฉันจะได้รับนั่น รับนี่ หรือเสียนั่น เสียนี่ไป
    นั่นจะส่งเสริมฉัน เป็นมิตรของฉัน นี่จะตัดรอนฉัน ทำลายฉัน เป็นศัตรูของฉัน
    "ฉัน" สิ่งเดียวนี้ เป็นรากเหง้า ของความรัก โกรธ เกลียด กลัว หลงใหล
    อันจักทำลาย ความผาสุก และอิสรภาพ ของคนเรา
    ยิ่งไปกว่าที่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันทำแก่เรา มากกว่ามากหลายเท่า หลายส่วนนัก

    อุปาทาน ผูกมัดเรา ทำเข็ญให้เรา
    ยิ่งกว่าที่หากเราจะถูกแกล้งหาเรื่องจับจองจำในคุกในตะรางเสียอีก
    เพราะปรากฏว่ามันไม่เคยผ่อนผันให้เราเป็นอิสระ หรือพักผ่อน แม้ชั่วครู่ชั่วยาม


    เมื่อมี "ฉัน" ขึ้นมาในสันดานแล้ว "ฉัน" ก็อยากนั่น อยากนี่
    อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยากไม่ให้ เป็นอย่างนั้น อย่างนี้
    ซึ่งเมื่อพิจารณาดู ซ้ำอีกทีหนึ่งแล้ว จะเห็นว่า เต็มไปด้วย ความเห็นแก่ตนเอง
    หรือ "ฉัน" นั้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ "ฉัน" ไม่อยากเจ็บปวด ไม่อยากตาย
    หรือแหลก ละลายไปเสีย ฉัน จึงกลัวเจ็บกลัวตาย เป็นสัญชาตญาณ ของ "ฉัน"
    เมื่อกลัวตายอย่างเดียว อยู่ภายในใจแล้ว ก็กลัวง่าย ไปทุกสิ่งที่เชื่อกันว่า
    มันจะทำให้ตาย หรือทำให้เจ็บป่วย ซึ่งเป็นน้องของตาย ทำให้ฉันกลัว
    ผีจะหักคอฉัน กินฉันหลอกฉันขู่ฉัน กลัวเสือซึ่งไม่เคยปรากฏว่าเป็นเพื่อนกันได้
    และ
    กลัวสัตว์อื่นๆ แม้แต่งูตัวนิดๆ กลัวที่มืดซึ่งเป็นที่อาศัยของสิ่งน่ารังเกียจเหล่านั้น
    กลัวที่เปลี่ยว ซึ่งไม่มีโอกาส ที่ตนจะต่อสู้ป้องกันตัวได้
    กลัวคู่เวร จะลอบทำฉันให้แตกดับ
    กลัวฉันจะอับอายขายหน้าสักวันหนึ่ง เพราะฉัน มีความผิดปกปิดไว้
    บางอย่าง ฉันกลัว เพราะไม่เข้าใจว่า สิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ไม่รู้ เช่น
    ผลไม้ดีๆ บางอย่าง แต่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ถ้ารูปร่าง หรือ สีมันชอบกลแล้ว
    ฉันก็กลัว ไม่กล้ากิน หรือแม้แต่จะชิมก็ขนลุก และในที่สุดเมื่อ
    "ฉัน" ปั่นป่วน ในปัญหาการอาชีพ หรือ ชื่อเสียงเป็นต้นของฉัน
    กลัวว่า ฉันจะเสื่อมเสียอยู่เสมอ ฉันก็เป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท
    สะดุ้งง่าย ใจลอย ความยึดถือว่า ฉันเป็นฉัน เหล่านี้เป็น มูลเหตุของความกลัว
    ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็กวาดความสดใส ชุ่มชื่นเยือกเย็น ให้หมดเตียนไปจากดวงจิตนั้น

    เมื่อพบว่า ต้นเหตุ ของความกลัว คืออะไร ดังนี้แล้ว
    เราก็มาถึง ปัญหา ว่าจะตัดต้นเหตุนั้นได้อย่างไร เข้าอีกโดยลำดับ
    ในตอนนี้เป็นการจำเป็น ที่เราจะต้องแบ่งการกระทำ ออกเป็นสองชั้น
    ตามความสูงต่ำ แห่งปัญญา หรือความรู้ ของคนผู้เป็นเจ้าทุกข์
    คือถ้าเขามีต้นทุนสูงพอ ที่จะทำลายอุปาทาน ให้แหลกลงไปได้
    ก็จะได้ ตรงเข้าทำลาย อุปาทาน ซึ่งเมื่อทำลายได้แล้ว
    ความทุกข์ทุกชนิด จะพากันละลายสาบสูญไปอย่างหมดจดด้วย นี้ประเภทหนึ่ง
    และอีกประเภทหนึ่ง คือ พยายาม เพียงบรรเทาต้นเหตุให้เบาบางไปก่อน
    ได้แก่ การสะสางมูลเหตุนั้น ให้สะอาดหมดจด ยิ่งขึ้น

    ประเภทแรก สำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติธรรมทางใจ ให้ก้าวหน้าสูงขึ้นตามลำดับๆ
    จนกว่าจะหมดอุปาทาน ตามวิธีแห่งการปฏิบัติธรรม อันเป็นเรื่องยาวอีกเรื่องหนึ่ง
    ผู้สำเร็จ ในประเภทนี้ คือ พระอรหันต์ จึงเป็นอันว่า จักงดวิธีนี้ไว้ก่อน
    เพราะไม่เป็นเรื่องที่สาธารณะแก่บุคคลทั่วไป
    และเป็นเรื่องที่เคยอธิบายกันไว้อย่างมาก ต่างหากแล้ว

    ส่วนประเภทหลัง นั้นคือ การพยายาม ประพฤติ ความดี ทั้งทางโลก และทางธรรม
    ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ จนตนติเตียนตนเองไม่ได้ ใครที่เป็นผู้รู้ แม้จะมีทิพยโสต
    หรือทิพยจักษุ มาค้นหา ความผิด เพื่อติเตียนก็ไม่ได้
    เป็นผู้เชื่อถือ และเคารพตัวเองได้เต็มเปี่ยม ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนท่าน
    ไม่มีเวรภัยที่ผูกกันไว้กับใครรู้กฏความจริงของโลกศึกษาให้เข้าใจในหลักครองชีพ
    หาความ หนักแน่น มั่นใจให้แก่ตัวเอง ในหลักการครองชีพ และรักษา ชื่อเสียง
    หรือคุณความดี พยายามทำแต่สิ่งที่เป็นธรรมด้วย ความหนักแน่น เยือกเย็น
    ไม่เปิดโอกาสให้ใครเหยียดหยามได้ ก็จะไม่ต้องเป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท
    เพราะมีความ แน่ใจตัวเอง เป็นเครื่องป้องกัน และสำเหนียก อยู่ในใจ เสมอว่า
    สิ่งทั้งปวงเป็น อนัตตา เป็นไปตามเรื่อง คือ เหตุปัจจัยของมัน ไม่เป็นของแปลก
    หรือได้เปรียบ เสียเปรียบ อะไรแก่กัน ในเรื่องนี้

    เมื่อเป็นเช่นนี้ ความกลัว ก็หมดไป ใจได้ที่พึ่ง ที่เกษม ที่อุดม ยิ่งขึ้น
    สมตาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการเห็นแจ้ง อริยสัจ สี่ประการ ไว้ในรองลำดับ
    แห่งการถือ ที่พึ่งด้วยการถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
    อริยสัจ ก็คือการรู ้ เหตุผลของความทุกข์ และของความพ้นทุกข์
    ความกลัว ก็รวมอยู่ในพวกทุกข์ เห็นอริยสัจอย่างเพลา
    ก็คือ การเห็น และตัดต้นเหตุแห่งความกลัว
    ประเภททีหลังนี้ เห็นอริยสัจ เต็มที่ถึงที่สุด ก็คือ
    พระอรหันต์ หรือ การตัดต้นเหตุประเภทแรก ได้เด็ดขาด

    ข้าพเจ้าขอจบ เรื่องนี้ลง ด้วย พระพุทธภาษิต
    ที่เราควร สำเหนียก ไว้ในใจ อยู่เสมอ
    อันจะเป็นดุจ เกราะ ป้องกันภัย จาก ความกลัว ได้อย่างดี ดังต่อไปนี้

    "มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัว คุกคาม เอาแล้ว
    ย่อม ยึดถือเอา ภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง
    สวนที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง เป็นที่พึ่งของตนๆ
    นั่นไม่ใช่ ที่พึ่ง อันทำความ เกษม ให้ได้เลย
    นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว
    ก็ยังไม่อาจ หลุดพ้น ไปจากความทุกข์ ทั้งปวงได้


    ส่วนผู้ใดที่ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว
    เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุ
    เครื่องให้เกิดทุกข์ เห็นการก้าวล่วงไปเสียได้จากทุกข์ และ
    เห็นหนทาง อันประกอบด้วยองค์แปดประการ อันประเสริฐ
    อันเป็นเครื่องยังผู้นั้น ให้เข้าถึง ความรำงับแห่งทุกข์ นั่นแหละ
    คือ ที่พึ่งอันเกษม นั่นแหละ คือที่พึ่งอันสูงสุด
    ผู้ใด ถือเอา ที่พึ่ง นั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้
    (ธ. ขุ. ๔๐)

    ความโศก ย่อมเกิดแต่ความรัก
    ความกลัว ย่อมเกิดแต่ความรัก
    สำหรับผู้ที่พ้นแล้ว จากความรัก
    ย่อมไม่มีความโศก
    ความกลัว จักมีมาแต่ที่ไหนเล่า

    ความโศก ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (ความอยากอย่างนั้นอย่างนี้)
    ความกลัว ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (เพราะกลัวไม่สมอยาก)
    สำหรับผู้ที่พ้นแล้วจาก ตัณหา ย่อมไม่มีความโศก
    ความกลัว จักมีมา แต่ที่ไหนเล่า " (ธ. ขุ. ๔๓)

    ขอให้ความกลัว หมดไปจากจิต ความสุข จงมีแต่ สรรพสัตว์ เทอญ

    พุทธทาสภิกขุ
    :- http://www.buddhadasa.com/shortbook/fearghost.html
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    "เพชรน้ำเอก" (สมเด็จพระญาณสังวร)

    "เพชรน้ำเอก"

    " .. "วิปัสสนาภาวนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบารมีโดยแท้" และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก "ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุน หรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด" เมื่อเปรียบกับการให้ทานเหมือนกับการให้กรวดและทราย "ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก"

    "ซึ่งทานย่อมไม่มีทางเทียบศีล ศีลก็ไม่มีทางเทียบกับสมาธิและสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบวิปัสสนา" แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุก ๆ ทางเพื่อความไม่ประมาท "โดยทำทั้ง ทาน ศีลและภาวนา" สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ .. "

    "วิธีสร้างบุญบารมี"
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    “ธรรมะของพระพุทธเจ้างดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ไพเราะจับอกจับใจ ยิ่งเราศึกษาปฏิบัติจะพบว่า ความทุกข์กระเด็นหายไปจากใจเราอย่างอัศจรรย์ที่สุดเลยท่านสอนให้เราช่วยตัวเอง ไม่ต้องร้องขอให้ใครมาช่วย ไม่ได้สอนให้พึ่งพาผู้อื่นสิ่งอื่น ท่านให้เรามีสรณะคือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แต่ที่พึ่งไม่ใช่แปลว่าท่านจะมาช่วย เราให้พ้นทุกข์ แต่ท่านเป็นแบบอย่างของผู้พ้นทุกข์
    ท่านสอนทางพ้นทุกข์ที่ท่านเดินมาแล้ว ท่านทําได้แค่นั้นเอง ที่เหลือเราต้องทํา ต้องปฏิบัติเอาเอง
    ทางที่ท่านสอนนั้นชัดเจน ไม่มีอะไรที่คลุมเครือ ไม่มีอะไรที่ จะต้องสงสัยเลย ขอให้ลงมือทําให้ถูกเท่านั้นเอง ซึ่งมีสองอย่าง อย่างแรกทําให้ถูกทาง อย่างที่สองทําให้สมควรกับธรรม ไม่ใช่ทํา นิดๆ หน่อยๆ หลายคนใจร้อน สะสมกิเลสมานับเวลาไม่ถ้วน พอมาภาวนา ๓ เดือน อยากบรรลุธรรมแล้ว
    ธรรมะนั้นต้องปฏิบัติให้ถูกทาง เมื่อถูกแล้วก็ต้องขยัน ทำบ้างเล่นบ้างมันก็ได้แต่ธรรมะถูๆ ไถๆ ไปวันหนึ่งๆ ถ้าอยากฝึกจนจิตใจเราเข้าถึงฝั่ง พ้นทุกข์ แล้วไม่ต้องตะเกียกตะกายต่อไป จะต้องสู้ตาย มันไม่เหลือวิสัยที่คนธรรมดาๆ อย่างพวกเราจะทําได้ มันเหลือวิสัยเฉพาะคนที่ไม่รู้ทาง ดิ้นรนแทบตายเหนื่อยแทบตายก็ ได้แค่นั้นแหละ”
    จากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    แผ่นที่ ๔๓ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๕ (550107)
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    หลวงตาประสงค์ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่า ชิคาโก สหรัฐ

    หลวงตาประสงค์ ปริปุณฺโณ ได้ให้พร 3 ประการ ดังนี้
    1. ขอให้ไม่มีอนาคต
    2. ขอให้หมดเนื้อหมดตัว
    3. ขอให้อย่าได้ผุดได้เกิด

    บางคนเมื่อได้ฟังเผินๆแล้วคิดไปตามความเคยชินว่าเป็นคำแช่งด่า
    แต่ถ้าลองพิจารณาความหมายให้ดีแล้วจะพบว่าเป็นคำอวยพรที่สุดแสนจะประเสริฐ
    ความหมายของพรแต่ละข้อมีดังนี้

    1. ขอให้ไม่มีอนาคต คือ ให้มีสติรู้อยู่กับปัจจุบันขณะ
    ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ไม่ไปวุ่นวายกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง และ อดีตที่ผ่านไปแล้ว
    การมีสติยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงธรรมอีกด้วย
    2. ขอให้หมดเนื้อหมดตัว คือสามารถละความยึดมั่นใน ความเป็นตัวกูของกู หรือความยึดติดในขันธ์ 5
    3. ขอให้อย่าได้ผุดได้เกิด คือ ขอให้ถึงพระนิพพาน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก

    หลวงตาประสงค์ ปริปุณฺโณ
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    เทคนิกการครองคู่ของสามีภรรยาที่ไม่ต้องทะเลาะกันเลย
    สามีภรรยาคู่หนึ่ง แต่งงานมาแล้วยี่สิบกว่าปี ไม่เคยทะเลาะกันเลย เป็นที่อิจฉาของผู้คนอย่างยิ่ง
    นักข่าวจึงได้มาสัมภาษณ์ผู้เป็นสามีเป็นกรณีพิเศษ :
    " พวกคุณสามารถทำได้อย่างไรกัน ?"
    ผู้เป็นสามี (เฉิน เซ่งจั๊ว) อัดบุหรี่เข้าปอดเต็มสูบ แล้วตอบอย่างสบายๆว่า
    " วันที่ผมแต่งภรรยาผมเข้าบ้าน สุนัขที่บ้าน เห่าใส่เธอ เธอพูดด้วยน้ำเสียงราบเรียบว่า...
    " นี่เป็นครั้งแรก "
    สักครู่ สุนัขเห่าใส่เธออีก เธอพูดว่า
    " นี่เป็นครั้งที่สอง "
    อีกสักครู่ สุนัขเห่าใส่เธออีก เธอเอาปังตอฟันสุนัขจนตาย
    ผมมองดูเธอฟันสุนัขจนตาย เลยตวาดใส่เธอว่า
    "อีบ้า! เธอเป็นโรคประสาทรึไง...ห๊ะ ?"
    ภรรยาค่อยๆมองมาดูผม แล้วพูดด้วยน้ำเสียงราบเรียบว่า
    " นี่เป็นครั้งแรก "
    ตั้งแต่นั้นมา การครองชีวิตคู่อย่างสงบสุขของเรา ก็เริ่มต้นขึ้น

    :D:D:)
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    จิตรู้ กับ จิตคิด
    เรื่องตัวรู้นั้น มันไม่มีตัว มีตน หรือมีจุด มีดวง อะไรหรอกครับเอาเข้าจริงในการปฏิบัตินั้น ก็มีแต่เรื่อง จิต กับ อารมณ์"จิต" เป็นผู้รู้ ผู้คิด ผู้นึกส่วน "อารมณ์" เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ (สิ่งที่รู้ได้ทางใจ) เวลาที่คุณเกิด "ความสงสัย"ถ้ามีสติระลึกรู้เข้าไปที่ความรู้สึกสงสัยนั้น (ไม่ใช่รู้ "เรื่อง" ที่สงสัย นะครับ แต่รู้ที่ "ความรู้สึก" สงสัย) จะเห็นชัดว่า ความสงสัยเป็นสิ่งที่ถูกรู้ในร่างกายและจิตใจเรานั้น มีอีกสิ่งหนึ่ง ที่เป็นผู้ไปรู้ความสงสัยนั้นเข้า อันนี้แหละครับที่สมมุติเรียกไปก่อนว่าผู้รู้เอาเข้าจริง ผู้รู้ ก็คือจิตที่ประกอบด้วยสติ สัมปชัญญะ อุเบกขา เอกัคตาหรือจิตที่ประกอบด้วยสัมมาสมาธินั่นเอง คือเป็นจิตที่เป็นผู้รู้ ที่มีความเป็นกลางและตั้งมั่น ไม่หลง"ไหล" ไปตามอารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า (ผมจงใจใช้คำว่า หลง"ไหล" ไม่ได้ใช้คำว่า หลงใหล) ในขั้นแรก อย่าพยายามไปค้นหาจิตผู้รู้ เพราะหาอย่างไรก็หาไม่พบ เนื่องจากจิตกำลังหลงอยู่กับอาการเที่ยวค้นหาผู้รู้ แต่ให้พยายามรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏไปก่อนเช่น สงสัย ก็รู้ว่าสงสัย เห็นชัดว่าความสงสัยไม่เที่ยง คือมีระดับความรุนแรงของความสงสัย ที่ไม่คงที่เดี๋ยวก็สงสัยมาก เดี๋ยวก็สงสัยน้อย เดี๋ยวก็ดับหายไปจิตก็จะว่างๆ อยู่ ต่อมาความคิดเกิดขึ้นอันนี้อย่าไปเพ่งใส่ความคิดนะครับ มันจะดับไปเฉยๆ ควรปล่อยให้จิตมันคิดของมันไปเมื่อจิตทำงานอยู่อย่างนั้น ไม่นานก็จะเห็นกิเลสตัณหาต่างๆ เกิดขึ้นอีกหรืออาจเกิดเวทนา เช่น รู้สึกเป็นสุขสบาย หรืออึดอัดขัดข้องใจก็ให้รู้สภาวธรรมทั้งปวงที่ปรากฏขึ้นนั้น ในลักษณะเดียวกับที่รู้ความสงสัยนั่นเองคือให้รู้มัน ในฐานะที่มันถูกรู้ แล้วมีผู้รู้เป็นคนดูอยู่ต่างหากหัดทำอย่างนี้ไม่นาน ก็จะเข้าใจได้ว่า อะไรคือจิต (ผู้รู้) อะไรคืออารมณ์ (ที่ถูกรู้) และเห็นสิ่งที่ถูกรู้ แสดงไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลารวมทั้งเห็นด้วยว่า เมื่อใดจิตเกิดความยินดียินร้ายต่ออารมณ์จิตเข้าไปยึดอารมณ์ จิตจะเกิดทุกข์พอรู้ทันอย่างนั้น จิตจะกลับมาตั้งมั่น เป็นกลาง และรู้อารมณ์ต่อไปอีกจิตเพียง "รู้สักว่ารู้" จะเห็นอารมณ์เกิดดับไปเรื่อยๆ โดยจิตเป็นกลาง ไม่เข้าไปแทรกแซงอารมณ์ก็ให้เพียรปฏิบัติไปมากๆ ครับถ้าสติปัญญาทำงานทันผัสสะจริงๆจึงจะ "สักแต่ว่า" ได้ครับคือ จิตไม่ปรุงแต่งต่อไป รู้แล้ววางอยู่แค่นั้นเลย หรือแม้ว่า จิตจะปรุงแต่งต่อไปอีกถ้าจิตไม่หลงยึดถือไปตามความปรุงแต่งนั้น อันนี้ก็ยังถือว่า "สักแต่ว่า" ได้เหมือนกัน เมื่อวานซืน ยืมลูกคุณหมอท่านหนึ่งมาเป็นอุปกรณ์ทางการศึกษาคือชี้ให้ดูว่า สิ่งที่เห็นเป็นเด็กนั้น ที่จริงคือสีที่ตัดกันเท่านั้นแล้วตาก็ไม่รู้หรอกว่า นี่สีอะไร รวมกันแล้วเป็นรูปอะไรอาศัยสัญญา จึงรู้ว่า นี้เป็นรูปที่บัญญัติเรียกว่าอะไรเมื่อจิตรู้ว่า นี้คือลูกแล้วสังขารคือความคิดนึกปรุงแต่งก็ทำงานต่อ มีความรักเกิดขึ้นปกติจิตของเราทำงานเร็วมากในทางทฤษฎี ถ้าตาเห็นสีแล้วหยุดอยู่เพียงนั้น ก็เรียกว่า สักแต่ว่าเห็นแต่ในความเป็นจริง ช่วงต่อระหว่างที่ตาเห็นสี กับสัญญาแปลความหมายนั้นสั้นมากพอเห็นปุ๊บ ก็สรุปว่านี้คือ ลูกเรา เสียแล้วแล้วสังขารก็ทำงานต่ออย่างรวดเร็วปรุงเป็นความรักใคร่หวงแหนห่วงใยขึ้นมาแล้ว นักปฏิบัติที่ยึดตำรามากเกินไป ที่บอกว่าทำสติรู้ สี อย่างเดียวนั้นเอาเข้าจริงจึงเป็นการหลอกตัวเอง เพราะพอเกิดผัสสะทางตาแล้ว วับเดียวก็เกิดผัสสะทางใจตามมาแล้วถ้าเมื่ออารมณ์ทางใจเกิดขึ้น แล้วทำเป็นไม่รับรู้เพราะ "อยาก" รู้สีอย่างเดียว เพื่อให้เป็นปัจจุบันและต่อเนื่อง มันจึงไม่ใช่ปัจจุบัน เพราะ ปัจจุบันมันย้ายไปเป็นอารมณ์ทางใจเสียแล้ว เมื่ออารมณ์ทางใจปรากฏเด่นชัด ก็ควรรู้มัน ไม่ใช่ปฏิเสธมัน เพราะจะเอาแต่รู้อารมณ์ทางตาอย่างเดียว แต่การรู้อารมณ์ทางใจนั้น ก็ให้ "สักแต่ว่ารู้"คือรู้ตามที่มันเป็น ไม่ใช่หลงปล่อยให้เกิดตัณหาผลักดันจิต ให้ทะยานเข้าไปยึดอารมณ์แบบไม่รู้ทัน รวมความแล้ว สักแต่ว่า ก็ต้องอาศัย สติ รู้อารมณ์ตามที่มันเป็นตามที่คุณถามไว้นั่นเอง แม้ตอนแรกจะรู้อารมณ์ทางตา ขณะต่อมารู้อารมณ์ทางใจก็สามารถ สักแต่ว่ารู้ ได้ทั้งนั้น ทั้งที่ตาและที่ใจหากไม่สักแต่ว่ารู้ อะไรจะเกิดขึ้น?สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือปฏิจจสมุปบาทจาก ผัสสะ เวทนาตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ จนถึงทุกข์ นั่นเองหากสักแต่ว่ารู้ แม้มันจะก้าวกระโดดจากการรู้สีด้วยตา ไปรู้ธรรมารมณ์ทางใจก็ตาม จิตที่ไม่หลงยินดีไปกับธรรมารมณ์ ก็จะไม่ปรุงแต่งจนเกิดความทุกข์ขึ้นมา คำว่า "สักแต่ว่า" จึงเป็นสิ่งที่จะตัดวงจรของปฏิจจสมุปบาทให้ขาดตอนลงไม่เกิดตัณหา อุปาทาน ขึ้นหรือแม้เกิดตัณหา ก็ไม่ หลง "ไหล" ตามตัณหาไปจนเป็นอุปาทานท่านพระพาหิยะ ฟังธรรมแค่ สักแต่ว่า สักแต่ว่า เพียง ๑-๒ คำท่านเข้าใจ และตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทขาด และท่านก็เข้าใจปฏิจจสมุปบาท หรืออริยสัจจ์ตลอดสายคือ "รู้" ว่าทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่เกิดขึ้นได้อย่างไรอวิชชา ความ "ไม่รู้" ก็ขาดออกจากจิตของท่านในขณะนั้น

    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    พรุ่งนี้วันแม่
    .......... QueenMom.jpg
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    37520364_2091182584246677_8001479241579364352_n.jpg





    วันนี้จะพูดเรื่องอาบัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ สักเล็กน้อย วันที่ไปซื้อทองคำไปหล่อยอดฉัตรเจดีย์องค์หลวงตา เราให้โยมหาเมล็ดข้าวเปลือก ๖๐ เมล็ด ไปด้วย พอไปถึงร้านทอง ซื้อทองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ขอให้ทางร้านช่วยชั่งเมล็ดข้าวเปลือกให้ที โดยแบ่งเป็น ๓ ชุด ๆ ละ ๒๐ เมล็ด ผลการชั่งน้ำหนัก เป็นดังรูป คือ ๐.๕๕ กรัม, ๐.๕๔ กรัม, ๐.๕๒ กรัม หาค่าเฉลี่ยออกมา ได้เท่ากับ ๐.๕๓๖ กรัม ปัดเศษได้เป็น ๐.๕๔ กรัม
    .
    บางคนอาจมีปัญหาถามว่า บ้าหรือเปล่า ที่เอาเมล็ดข้าวเปลือกไปชั่ง
    .
    คำตอบ คือ ไม่ได้บ้า แค่อยากรู้ว่า เมล็ดข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ด มีน้ำหนักเท่าไร ได้คำตอบออกมาแล้ว คือ น้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ ๐.๕๔ กรัม
    .
    นี่ คือ น้ำหนักทองคำ ที่เทียบเท่าเงิน ๕ มาสก อันเป็นมูลค่าทรัพย์ที่เป็นเหตุให้พระต้องอาบัติปาราชิก หากมีเจตนาหยิบฉวยเอาทรัพย์ของเขาด้วยอาการแห่งขโมย คือรู้อยู่ว่า ทรัพย์นั้นมีเจ้าของ และเจ้าของเขาไม่ได้ให้ มีไถยจิตคิดที่จะเอาของเขามาเป็นของตัวเอง ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ทันทีที่ทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่ ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิก หาสังวาสมิได้
    .
    พระวินัยกำหนดให้ ๕ มาสก เทียบเท่ากับมูลค่าทองคำน้ำหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก คือ ๐.๕๔ กรัม มาคิดเป็นตัวเงินดู
    .
    ทองคำหนัก ๑ กิโล = ๖๕.๙๖ บาท
    ทองคำหนัก ๑ บาท = ๑๕.๑๖ กรัม
    ทองคำหนัก ๑ บาท ราคาตอนนี้อยู่ที่ ๑๘,๕๕๐ บาท ก็เอา ๑๕.๑๖ กรัม ไปหาร ผลลัพธ์จะได้ ๑,๒๒๓.๖๑ บาท แล้วเอา ๐.๕๔ กรัม ไปคูณ ได้เท่ากับ ๖๖๐.๗๕ บาท เป็นมูลค่าแห่งอาบัติปาราชิก เท่าราคาทองคำ ณ เวลาปัจจุบันตอนนี้
    .
    คิดง่าย ๆ เผื่อราคาทองคำขึ้น ๆ ลง ๆ ในทางปลอดภัยไว้ก่อน คือเท่ากับเงิน ๖๐๐ บาท พระองค์ไหนขโมยเงิน หรือทรัพย์ของใคร ตั้งแต่ ๖๐๐ บาท ขึ้นไป ก็มีสิทธิ์เป็นอาบัติปาราชิกได้ทันที เรียกว่า ความเป็นพระถูกตัดขาดทำลายได้ด้วยเงินเพียง ๖๐๐ บาท เท่านั้นเอง
    .
    ดังนั้น ภิกษุทั้งหลาย พึงระวังสังวรให้ดี ๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งเถียงกันว่า ขโมยแค่ไหนจึงเข้าข่ายเป็นอาบัติปาราชิก
    ............................. RoseUnderline.gif
    :- http://www.doisaengdham.org/
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    พวกเราพยายามมาเรียนรู้ ไม่ต้องหาทางว่า จะปรุงยังไงที่จะไม่ปรุงชั่ว ไม่ต้องหาทางว่า ปรุงยังไงจะปรุงแต่ดีๆ หรือปรุงยังไงจะว่างๆ ไม่ยึดอะไรสักอย่าง ไม่ต้องดิ้นรนหาทางปรุงแต่งอย่างนั้น เรียนรู้มาที่รูป นาม กาย ใจนี้ ให้เห็นความจริงของรูป นาม กาย ใจ นี้ ถ้าเห็นแจ้ง แล้วก็รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากที่จะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็ไม่มี ความอยากที่จะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็ไม่มี จิตเข้าถึงความเป็นกลาง ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นกลาง มันจะไม่ปรุงต่อ ที่มันปรุงเพราะมันไม่เป็นกลาง อย่างมันอยากดี มันเกลียดชั่ว หรือมันรักสุข เกลียดทุกข์ จิตไม่เป็นกลาง ถึงปรุงต่อ ถ้าเมื่อไรจิตมีปัญญาแก่รอบ เป็นกลาง ต่อทุกสิ่งที่ปรากฏขึ้นมาเฉพาะหน้า จิตจะไม่ปรุงต่อ ไม่ว่าดี หรือชั่ว หรือว่าง จะไม่ปรุงอะไรเลย เมื่อจิตไม่ปรุงแต่งต่อ การหยั่งจิตลงไปเกิดในภพใหม่จะไม่มี เพราะตัวสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ให้จิตหยั่งลงไปสู่ภพต่างๆ เพราะอย่างนั้น การที่เรารู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ จิตก็พ้นจากความปรุงแต่งไป รู้ ว่ารูป นาม ขันธ์ ๕? เป็นทุกข์ จิตก็ไม่ปรุงต่อ พอจิตไม่ปรุงต่อ จิตจะไม่หยั่งลงสู่การเกิด ธรรมะตรงนี้ ภาวนากันนานนัก กว่าจะเห็น ปฏิจจสมุปบาทท่อนแรก ยากมาก ที่พวกเราภาวนากัน เราเห็นปฏิจสมุปบาทท่อนท้ายๆ
    -- พระธรรมเทศนาหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑
    ไฟล์ 610727C ซีดีแผ่นที่ ๗๗
    ติดตามข่าวสาร อ่านพระธรรมคำสอน และดาวน์โหลดไฟล์เสียง เว็บไซต์ทางการ: www.dhamma.com
    Facebook Page: fb.com/dhammateachings
    Instagram: instagram.com/dhammadotcom
    Line : @dhammadotcom
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    SadhuWithFlower.jpg กราบน้อมวันทาบูชาครูค่ะ
     
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    นารีขี่ม้าขาวถูกเบรคโดยราชองการจบไปแล้วฮับ
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    19 7 61คำทำนายที่ไม่อยากให้เกิด!ฝนจะตก7วัน7คืนน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ โดยหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก

    muter-official
    Published on Aug 2, 2018
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    อันตราย จากภัยธรรมชาติ ที่ต้องเฝ้าระวัง? /ข่าวดังข่าวใหญ่ล่าสุดวันนี้ 8/7/2562

    สัก ศิลา ข่าวอิสระ
    Published on Jul 8, 2019
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    นิทานชาดก เรื่องกระต่ายตื่นตูม

    as1.gif

    กาลครั้งหนึ่ง กระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ใต้ต้นตาล
    ขณะที่นอนหลับอยู่นั้น เกิดพายุใหญ่
    ทำให้ลูกตาลหล่นลงที่พื้นดิน เกือบถูกกระต่าย
    กระต่ายตกใจตื่นขึ้น คิดว่าฟ้าถล่ม ไม่ทันได้ไตร่ตรอง
    ลุกขึ้นได้ก็วิ่งไปอย่างสุดกำลัง เพราะกลัวความตาย
    สัตว์อื่น ๆ เห็นกระต่ายวิ่งมาจนเต็มกำลังดังนั้น
    จึงถามกระต่ายว่า “นี่ท่านวิ่งหนีอะไรมา”
    กระต่ายวิ่งพลางบอกพลางว่า “ฟ้าถล่ม”

    as2.gif สัตว์เหล่านั้นได้ฟังกระต่ายบอก ไม่ทันคิด
    สำคัญว่าฟ้าถล่มจริง ก็พากันวิ่งตามกระต่ายไป
    หกล้ม ขาหัก แข้งหัก โดนต้นไม้ ตกเหวตายบ้างก็มี
    ส่วนที่ยังเหลือก็พากันวิ่งหนีต่อไปอีก

    จนกระทั่ง มาพบพญาราชสีห์ตัวหนึ่ง เป็นสัตว์มีปัญญา
    เห็นสัตว์ทั้งหลายพากันวิ่งมาไม่หยุดไม่หย่อน จึงร้องถามว่า…
    “พวกท่านวิ่งหนีอะไรมา”
    กระต่ายจึงเล่าเรื่องให้ราชสีห์ฟัง ราชสีห์ก็เข้าใจทันที
    จึงถามต่อไปว่า “ฟ้าถล่มที่ตรงไหน จงพาเราไปดูสักที”

    as3.gif พอไปถึงใต้ต้นตาลที่กระต่ายนอน
    พญาราชสีห์พิเคราะห์ดู เห็นลูกตาลตกอยู่ที่โคนต้น
    ก็เข้าใจว่าที่แท้เป็นลูกมะตูมตกลงบนใบตาลแห้ง…จึงเกิดเสียงดัง
    จนเจ้ากระต่ายคิดว่าแผ่นดินถล่ม
    สัตว์ทั้งหลายเกือยต้องเสียชีวิต
    เพราะเชื่อตามเสียงผู้อื่นโดยไม่คิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน

    เมื่อรู้สาเหตุแล้ว…จึงประกาศให้สัตว์ทั้งหลายทราบตามคามเป็นจริง…
    ด้วยความสุขุมรอบคอบรู้จักใช้สติปัญญาไตร่ตรอง…
    พญาราชสีห์จึงสามารถรักษาชีวิตสัตว์ทั้งหลายไว้ได้
    และนำความสงบสุขมาสู่ป่าใหญ่อีกครั้งหนึ่ง


    นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
    1). “เมื่อต้องประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง…ควรมีสติ
    อย่าผลีผลามด่วนตัดสินใจ…เพราะอาจเกิดผลเสียได้”

    2). “อย่าตื่นตกใจโวยวายเชื่อข่าวลือจากผู้อื่น…โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน”

    3). “ผู้ที่รู้จักใช้สติปัญญาคิดพิจารณาอย่างรอบคอบจะสามารถค้นพบ…สาเหตุของปัญหาได้”

    จากนิทานเรื่องนี้ จึงทำให้เกิดเป็นสำนวนสุภาษิตไทยขึ้นว่า “กระต่ายตื่นตืม” ที่หมายถึง “ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่าย…โดยไม่ทันคิดพิจารณาให้ถ่องแท้รอบคอบเสียก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่…ถ้าเชื่อโดยไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้…อาจทำให้เกิดความเสียหายได้”

    เรียบเรียงข้อมูล : bkkseek.com , Photo Credit : หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำนวนไทยเรื่องกระต่ายตื่นตูม

     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ข่าวด่วน /ขั้วโลกเหนือ เกิดวิกฤตใหญ่ ภัยพิบัติรุนแรงหนัก/ข่าวดังล่าสุดวันนี้11/8/62

    สัก ศิลา ข่าวอิสระ
    Published on Aug 11, 2019
     

แชร์หน้านี้

Loading...