กรดกัดแก้ว หน้าล่าสุด

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 1 พฤศจิกายน 2018.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    DPH...………………...TEMP...……………..HOLD
    100 F...………………. 200 F...……………..10 min.
    37.77 C...……………….93.33 C...………...10 min.

    600 F...………………1,600 F...…………….150 min.
    315.55 C...…………….871.11 C...………...150 min.

    999 F...………………1,500 F...……………...60 min.
    537.22 C...…………….815.55 C...…………..60 min.

    999 F...………………….960 F...……………180 min.
    537.22 C...………………515.55 C...……….180 min.

    600 F...………………….100 F...…………...Complet
    315.55 C...………………..37.77 C...……….Complet
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    0000.jpg 0001.jpg IMGP7171.JPG
    IMGP7115.JPG
    ครั้งที่น้อมถวายพระแก้วคริสตัลหลอมตันๆหน้าตัก 9 นิ้ว 2 องค์ 2 ปาง ได้น้อมถวายแด่สงฆ์โดยมีหลวงปู่สรวง สิริปุญโญเป็นผู้แทนสงฆ์รับไว้ในพระพุทธศาสนา

    ภาพล่างสุดคือการที่ผมดีดพระแก้วคริสตัลให้เกิดเสียงดังกังวาล ดัง กิ๊ง ๆ ๆ ๆ แต่ละกิ๊งดังกังวาลนานมาก และเสียงเป็นเสียงระฆังเนื่องจากเนื้อแก้วเป็นคริสตัลที่มนุษย์หลอม
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    4833656945_3d81f37f2e_b.jpg
    4829843667_c4ee285219_b.jpg
    4830455454_ccff78a6ba_b.jpg
    ครั้งที่น้อมถวายพระแก้วคริสตัลหน้าตัก 9 นิ้วเนื้อแก้วตันจำนวนหนึ่ง และเนื้อแก้วกลวงสร้างด้วยเทคนิคการเป่าแก้วด้วยปอดจำนวนประมาณ 60 องค์+ -

    พระแก้วทุกชนิดทุกขนาดผมได้น้อมถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ( นอกจากที่แจก ) แล้วทั้งหมด
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี้ เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจจะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวิธีการสร้างพระแก้ว ( ในกระทู้นี้จำกัดไว้ที่การสร้างด้วยเทคนิค Lost Wax Glass ) ดังนั้น หากท่านมีข้อสงสัยข้องใจ โปรดเขียนขึ้นบนกระทู้ ผมจะได้ตอบได้ถูกต้องว่า ท่านสนใจสิ่งใด และสิ่งใดน่าจะเน้นครับ
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    มาทดสอบความเข้าใจของทุกท่านนะครับ เผื่อว่า เราอาจนึกว่า เข้าใจแล้ว หากแต่ที่แท้จริงยังอาจเข้าใจไม่ตรงกับความจริงครับ

    DPH...………………...TEMP...……………..HOLD
    100 F...………………. 200 F...……………..10 min.
    37.77 C...……………….93.33 C...………...10 min.


    600 F...………………1,600 F...…………….150 min.
    315.55 C...…………….871.11 C...………...150 min.

    999 F...………………1,500 F...……………...60 min.
    537.22 C...…………….815.55 C...…………..60 min.

    999 F...………………….960 F...……………180 min.
    537.22 C...………………515.55 C...……….180 min.

    600 F...………………….100 F...…………...Complet
    315.55 C...………………..37.77 C...……….Complet


    ………………………………………………..
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สมมุติว่า ขณะนี้เรากำลังจะหลอมแก้วในเตาอบชนิดทั้งหลอมและอบในตัว สมมุติว่า เราอยู่ประเทศที่อุณหภูมิห้องประมาณ 35C แม้แต่ในฝรั่งเศสก็มีช่วงที่อุณหภูมิห้องอยู่ที่ 35C เหมือนกัน ( หมายเหตุ*** ) เราเตรียมทุกอย่างในเตาอบแล้ว และเริ่มอบที่อุณหภูมิห้องประมาณ 35C เราต้องค่อยๆเพิ่มความร้อนให้เตาในอัตราไม่เกิน 100F หรือ 38C ต่อชั่วโมง เนื่องจากก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อที่เรานำเข้าเตาอบในครั้งนี้ มีอัตราประมาณนี้ เราต้องค่อยๆเพิ่มให้อุณหภูมิในเตาที่ปิดฝาแล้ว ให้ร้อนขึ้นถึง 200F หรือ 93.33C โดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง แล้วคงที่ไว้ประมาณ 10 นาที


    หมายเหตุ*** ในประเทศที่มีอุณหภูมิห้องต่ำมาก เช่น 0C หรือ -20C สูตรการหลอมแก้วส่วนมากจะเคร่งครัดและกดให้อุณหภูมิเริ่มต้นที่ 20C ครับ
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    หลังจากที่อุณหภูมิในเตาขึ้นมาเป็น 200F หรือ 93.33C แล้ว และคงที่ไว้ไม่น้อยกว่า 10 นาทีแล้ว จึงเริ่มต้นอันดับต่อไป

    อันดับต่อไปคือ เราต้องเพิ่มความร้อนในอัตราไม่เกิน 600F หรือ 315.55C ต่อชั่วโมง ให้ขึ้นไปถึง 1,600F หรือ 871.11C ( การไต่ขึ้นมีทั้งแบบไม่มีขั้น คือขึ้นไปเรื่อยๆ หรือไต่ระดับแบบเป็นขั้น ) เมื่ออุณหภูมิถึงที่แก้วเพื่อการหลอมต่อเขาต้องการแล้ว ให้คงที่อยู่อีก 150 นาที

    หมายเหตุ
    การค่อยๆขึ้นอุณหภูมิแบบนี้เป็นวิธีที่นิ่มนวลและหลบหลีกความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากการปรับตัวไม่ทันของของที่อยู่ในเตา เช่น ปูนปลาสเตอร์และกระถางดินเผา
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    หลังจากที่อุณหภูมิในเตาขึ้นมาเป็น 1,600F หรือ 871.11C แล้ว และคงที่ไว้ไม่น้อยกว่า 150 นาทีแล้ว จึงเริ่มต้นอันดับต่อไป

    อันดับต่อไปคือ เราต้องลดความร้อนในอัตราไม่เกิน 999F หรือ 537.22C ต่อชั่วโมง ให้ลงไปถึง 1,500F หรือ 815.55C แล้วให้คงที่อยู่อีก 60 นาที

    หมายเหตุ
    การลดอุณหภูมิในขณะนี้นับว่าเป็นการให้แก้วเริ่มค่อยๆลดแล้ว หลังจากที่เขาคงที่อยู่ที่ 1,600F หรือ 871.11C นานถึง 150 นาทีแล้ว ซึ่งการคงที่อยู่นานถึง 150 นาที หากทดสอบทดลองแล้ว ยังมีฟองอากาศอยู่ อาจขยายช่วง 150 นาทีออกไปได้อีก เพราะช่วงเปิดให้ฟองอากาศหากน้อยไป และฟองอากาศยังไม่หมดไป ( ต้องเหตุจากแค่เปิดช่วงสั้นเท่านั้น ) [ หากเกิดจากสูตรหรือเคมีไม่ดีพอ ต้องไปแก้ไขที่อื่นไม่ใช่ช่วงเวลา ] อาจขยายได้อีกครึ่งชั่วโมงหรือนานที่สุดก็อาจได้ถึง 1 ชั่วโมง ในชิ้นงานเล็กขนาดตัวอย่างในกระทู้นี้ด้านบน
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    หลังจากที่อุณหภูมิในเตาลดลงมาเป็น 1,500F หรือ 815.55C แล้ว และคงที่ไว้ไม่น้อยกว่า 60 นาทีแล้ว จึงเริ่มต้นอันดับต่อไป

    อันดับต่อไปคือ เราต้องลดความร้อนในอัตราไม่เกิน 999F หรือ 537.22C ต่อชั่วโมง ให้ลดไปถึง 960F หรือ 515.55C ( การค่อยๆลดมีทั้งแบบไม่มีขั้น คือลดไปเรื่อยๆ หรือลดระดับแบบเป็นขั้น ) เมื่ออุณหภูมิถึงที่แก้วเพื่อการหลอมต่อเขาต้องการแล้ว ในที่นี้คืออยู่ที่ 960F หรือ 515.55C ให้คงที่อยู่อีก 180 นาที
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ช่วงสุดท้ายของการลดอุณหภูมิ เขาต้องลดในอัตราไม่เกิน 600F หรือ 315.55C ต่อชั่วโมง เมื่อลดลงไปถึง 100F หรือ 37.77C ก็สามารถเปิดฝาเตาอบได้เลยครับ
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ผมขอให้ทุกท่านที่สนใจได้ใส่ใจในรายละเอียดของสิ่งที่อยู่ในเตาอบครับ อย่างในเตาอบที่อาจารย์ฝรั่งในคลิปนี้ เขาหลอมคือ แก้วที่มีความหนาไม่มากเลย เขาจึงเลือกใช้สูตรการเพิ่มและการลดนี้ เพราะจะสังเกตุได้จากช่วงสุดท้าย ถ้าเป็นช่างอบแก้วในเมืองไทยก็จะบอกว่า มันมีอะไรบกพร่องครับ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ผมกลับมองเห็นว่า ต่อให้กระจกนั้นจะมีความหนาเพียงเล็กน้อย เช่นไม่ถึงเซ็นติเมตรก็ตาม สูตรตรงช่วงท้ายสุดนี้ ควรใช้สูตรประมาณว่าดังนี้นะครับ เอาเป็นสูตรที่ผมถ่ายทอดจากความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ก็แล้วกันครับ

    เมื่ออุณหภูมิลดลงมาถึง 960F หรือ 515.55C และผ่านการคงที่อุณหภูมิมาไม่ต่ำกว่า 180 นาทีแล้ว จากตรงจุดนี้ จากประสบการณ์ผม ควรให้ลดลงถึง 100 F หรือ 37.77C โดยควรต้องให้ลดช้าที่สุด ควรไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมงครับ หรือ DPH แทนที่จะเป็น 600F หรือ 315.55C ต่อชั่วโมง อาจเป็นแค่ 150F ต่อชั่วโมง
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ถูกผิดประการใด ต้องลองพิสูจน์ครับ
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    หรือผมอาจเป็นผู้สร้างชิ้นงานแก้วที่ค่อนข้างมีคุณภาพสูงหรือไม่ ? เพราะในอดีตที่ผ่านมา ผมสร้างชิ้นงานแก้วที่ต้องทนร้อนทนเย็นในกระทันหัน คือต้องเอาก้อนแก้วนั้นมาผ่านร้อนที่นับร้อยๆองศาเซลเซียส แล้วก็นำน้ำเย็นๆมาสาดหรือมารด หรือแม้แต่แช่ลงไปในน้ำเลยตรงๆ ดังนั้น ผมอาจเป็นช่างสร้างชิ้นงานที่ต้องการคุณภาพสูงมากก็เป็นไปได้ครับ
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ช่วยๆกันนะครับ ช่วยกันแสดงความคิดเห็น หรือช่วยกันเขียนในกระทู้ได้เลยครับ เพื่อความเข้าใจและเพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทานครับ
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ภาพการขึ้นรูปพระแก้วด้วยเทคนิคการปั๊มแก้ว Pressed Glass
    127669.jpg
    วิธีการสร้างชิ้นงานพระแก้วบนโลกนี้ มีหลายหลากวิธีหลายเทคนิค แต่ผมลองคิด ลองไตร่ตรองแล้ว เทคนิคอื่นๆนั้นยาก ยากที่ต้องมีการหลอมแก้วชนิดที่ต้องอาศัยเบ้าหลอมขนาดค่อนข้างใหญ่ ต้องอาศัยช่างหลายแขนงสาขา แต่ผิดกับการสร้างชิ้นงานแก้วด้วยเทคนิค Lost Wax Glass ที่ปัจจุบันใช้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อ ไม่ต้องหลอมแก้วเองกันแล้ว ไม่ต้องมีอะไรเลย และทำงานคนสองคนก็ได้ แต่ถ้าให้ปลอดภัยตามกฏการทำงานต่อเนื่องเกินกว่า 12 ชั่วโมง ควรหรือต้อง ต้องมีคนผลัดอย่างน้อยอีก 1 คนนะครับ ดังนั้นการหลอมแก้วเนื้อแก้วคริสตัลตันๆหน้าตักประมาณ 9 นิ้ว ซึ่งต้องอบไม่น้อยกว่า 4 วัน 4 คืน คุณต้องมีช่างหรือเพื่อนผู้รู้ใจเพิ่มอีกอย่างน้อย 1 คน

    ถ้าเป็นโรงงานที่แท้จริง ย่อมต้องใช้คนมากกว่านี้มากมายนักครับ เพียงแต่เทคนิค Lost Wax Glass นี้ทุกอย่างเอื้ออำนวยมากครับ
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    Glass_Kiln.jpg
    ทั้งหมดที่การสร้างชิ้นงานแก้วด้วยเทคนิค Lost Wax Glass ต้องมีก็แค่เตาอบเล็กๆตัวเดียว ไม่ต้องมีเตาขนาดใหญ่หรือไม่ต้องมีทราย ไม่ต้องมีอะไรเลย มีแค่เตาอบเล็กๆแค่นี้กับก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อเท่านั้น
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,180
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ขอเชิญครับ ขอเชิญแสดงความคิดเห็นได้ทุกแง่มุมครับ

    ผมเฉลยเล็กๆว่า ผมยังบอกไม่หมด ยังเหลือสิ่งที่ท่านจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้อีกหลายแง่มุม หรือหลายปัจจัย ถ้าค้นๆในกระทู้ต่างๆที่ผมเคยเขียน ก็จะพบได้ไม่ยากครับ หากเราค้นสิ่งต่างๆเหล่านี้กระทั่งช่ำชองแล้ว และพลิกไปพลิกมาหลายๆแง่มุม มันจะทำให้เราแน่นในหลักวิชาการ และในที่สุด เวลาที่เกิดปัญหาขณะที่กำลังหลอม และเราอยู่ตามลำพังเพียงคนเดียว หรือแม้แต่จะอยู่กันหลายคน ก็จะยึดมั่นได้ในหลักที่ถูกต้อง ไม่หลงเชื่อคำแนะนำที่ผิดพลาดได้ง่ายๆครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...