.oO เรื่องสั้น ปั้นแต่ง Oo.

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 22 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ที่ต่อไป จะไปดูและไปช็อปปิ้ง คือ การเก็บรังนก, การเลี้ยงไข่มุกและเครื่องประดับ แต่ที่นี่เขาห้ามถ่ายภาพ เพราะกลัวความลับรั่วไหลไปสู่คู่แข่งทางการค้า(คิดเอง หุ หุ) จึงไม่มีภาพมาให้ชมกัน... อดเห็นภาพไปอีกหนึ่งที่


    [​IMG]
     
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    งั้นไปที่ต่อไปดีกว่า แถวๆ ตำบลเชิงทะเล ที่นี่ไปดูการทำผ้าบาติก ผ้าพื้นเมือง

    ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียนแต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ
    คำว่าบาติก (Batik) หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ติก” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ


    [​IMG]

    วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน (wax- writing) ดังนั้นผ้าบาติกจึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก
    แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อนแล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซียอีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย แม้ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่นแต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็มาจากพืชที่มีในอินโดนีเซียแท่งขี้ผึ้งชนิดที่ใช้เขียนลายก็เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นักประวัติศาสตร์ชาวดัตช์ก็สรุปไว้ว่า การทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย จากการศึกษาของบุคคลต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่นๆ นอกจากอินโดนีเซียแต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกันตามวิธีการทำผ้าของชาติต่างๆ ที่จะให้มีลวดลายสีสันผ้าบาติกของอินโดนีเซียเอง คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่น ในทางกลับกันในระยะต่อมาการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซียได้รับการเผยแพร่ไปยังชาติอื่นๆ ส่วนการทำผ้าโสร่งบาติกนั้น คงมีกำเนิดจากอินโดนีเซียค่อนข้างแน่นอน
     
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วิวัฒนาการการทำผ้าบาติกในอินโดนีเซีย การทำผ้าบาติกในระยะแรกคงทำกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงหรือทำเฉพาะในวัง แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นขัดแย้งว่า น่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ ผู้ที่ทำบาติกมักจะเป็นผู้หญิงและทำหลังจากว่างจากการทำนา ใน คริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ประชาชนชวาได้ปรับปรุงวิธีการทำผ้าบาติก แก้ไขวิธีการผสมสี แต่ทั้งนี้ วิวัฒนาการมาจากความรู้ดั้งเดิม ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ การทำผ้าบาติกผูกขาดโดยสุลต่าน และถือว่าการทำผ้าบาติกเป็นศิลปะในราชสำนัก โดยมีสตรีในราชสำนักเป็นผู้ผลิต ผ้าบาติกในยุคนี้เรียกว่า “คราทอน” (kraton) เป็นผ้าบาติกที่นิยมเขียนด้วยมือ (batik tulis) แต่เมื่อผ้าบาติกได้รับความนิยมมากขึ้นและมีลูกค้ามากมาย การทำผ้าบาติกก็ได้ขยายวงกว้างขึ้น การผูกขาดโดยครอบครัวสุลต่านก็สิ้นสุดลง ศิลปะการทำผ้าบาติกได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนโดยทั่วไป ผ้าบาติกในระยะแรกมีเพียงสีครามและสีขาว ในศตวรรษที่ ๑๗ ได้มีการค้นพบสีอื่นๆ อีก เช่น สีแดง สีน้ำตาล สีเหลือง สีต่างๆ เหล่านี้ได้มาจากพืชทั้งสิ้น ต่อมาก็รู้จักผสมสีเหล่านี้ทำให้ออกเป็นสีต่างๆ ภายหลังจึงมีการค้นพบสีม่วง สีเขียว และสีอื่นๆ อีกในระยะต่อมาปลายศตวรรษที่ ๑๗ ได้มีการสั่งผ้าลินินสีขาวจากต่างประเทศเข้ามา นับเป็นการก้าวหน้าในการทำผ้าบาติกอีกก้าวหนึ่ง โดยเฉพาะเทคนิคการระบายสีผ้าบาติก เพราะเริ่มมีการใช้สีเคมีในการย้อม การระบายสีซึ่งสามารถทำให้ผลิตผ้าบาติกได้จำนวนมากขึ้น และได้พัฒนาระบบธุรกิจผ้าบาติกจนกลายเป็นสินค้าส่งออก ใน ปี ค.ศ.๑๘๓๐ ชาวยุโรปได้เลียนแบบผ้าบาติกของชวา และได้ส่งมาจำหน่ายทีเกาะชวาและในปี ค.ศ.๑๙๔๐ ชาวอังกฤษได้พยายามเลียนแบบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมาจำหน่ายในเกาะชวาเช่นเดียวกัน

    [​IMG]


    ตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ได้มีการทำเครื่องมือในการพิมพ์ผ้าบาติก โดยทำเป็นแม่พิมพ์โลหะทองแดงซึ่งเรียกว่า “จั๊บ”(cap) ทำไห้สามารถผลิตผ้าบาติกได้รวดเร็วขึ้น ต้นทุนก็ถูกลง ทดแทนผ้าบาติกลายเขียนแบบดั้งเดิม การทำผ้าบาติกด้วยแม่พิมพ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในลักษณะของ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ประชาชนก็เริ่มทำผ้าบาติกเป็นอาชีพมากขึ้น การผลิตผ้าบาติกจากเดิมที่เคยใช้ฝีมือสตรีแต่เพียงฝ่ายเดียว เริ่มมีผู้ชายเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะการพิมพ์เทียนและการย้อมสี สำหรับการแต้มสีลวดลายยังใช้ฝีมือสตรีเช่นเดิม ความนิยมในการใช้ผ้าบาติกโดยเฉพา ะ ในเกาะชวา เมื่อก่อนใช้กันเฉพาะสตรีและเด็กเท่านั้น ต่อมาได้ใช้เป็น
    เครื่องแต่งกายของหนุ่มสาวมี ๓ ชนิด คือ
    ๑. โสร่ง(Sarung) เป็นผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ขนาดของผ้าโสร่ง โดยทั่วไปนิยมผ้า หน้ากว้าง ๔๒ นิ้ว ยาว ๒ หลาครึ่งถึง ๓ หลาครึ่ง ผ้าโสร่งมีลักษณะพิเศษ ส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” หมายถึง ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกัน
    ๒. สลินดัง(salindang) หมายถึง ผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า “ผ้าทับ” เป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับเป็นกรอบหรือชาย ผ้าสลินดัง มีความยาวประมาณ ๓ หลา กว้างประมาณ ๘ นิ้ว สตรีนิยมนำเอาผ้าสลินดังคลุมศีรษะ
    ๓. อุเด็ง(udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพ - บุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า “ซุรบาน” สำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศรีษะและปิดหน้าอกเรียกว่า “คิมเบ็น ” (kemben) ผ้าอุเด็งนิยมลวดลายที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ผ้าคลุมไม่ปิดบ่าและไหล่ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำงานหนัก เพื่อจะได้เคลื่อนไหวได้สะดวก
     
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    สำหรับผ้าสลินดัง ภายหลังได้ทำขนาดให้ยาวขึ้นนั้น โดยใช้ผ้าหน้ากว้าง ๔๒ นิ้ว ยาว ๔ – ๕ หลา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นเครื่องแต่งกายอื่นๆได้ การใช้ผ้าบาติกได้นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งบุรุษ สตรี เด็ก จนกลายเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติ แม้กระทั่งเครื่องแบบนักเรียน นับเป็นความ พยายามของคนรุ่นต่อมา ที่ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการทำผ้าบาติกให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านอื่นๆ จนกลายเป็นสินค้าที่ถูกใจชาวต่างชาติ ได้จัดจำหน่ายเป็นสินค้าออก ซึ่งทำให้ผ้าบาติกและเทคนิคการทำผ้าบาติกแพร่หลายออกไปสู่ประเทศอื่น ปัจจุบันอินโดอินเซียได้มีการส่งเสริมให้ผลิตผ้าบาติกในระบบอุตสาหกรรม โดยผนวกเอาเทคนิคการทำผ้าบาติกแบบดั้งเดิมซึ่งเขียนเทียนด้วยเครื่องมือที่ เรียกว่า “จันติ้ง” (Canting) ผสมกับกระบวนการพิมพ์เทียนด้วยแม่พิมพ์ที่ทำด้วยโลหะทองแดง (Cap , Print , Block) รัฐบาลอินโดนีเซียได้วางนโยบายในการค้นคว้า ปรับปรุงผ้าบาติก โดยตั้งเป็นหน่วยงานที่
    เรียกว่า “ศูนย์พัฒนาบา - ติกแห่งรัฐยอกยาการ์ตา ( Balai Pene ltian Batik Kerajian –Yogyakarta) การพัฒนาด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคนิคในการผลิตผ้าซึ่งมีลวดลายผ้า แบบใหม่มองคล้ายผ้าบาติก แต่ความจริงเป็นเทคนิคการพิมพ์แบบซิลค์สกรีน (silk screen) ซึ่งมีลักษณะลวดลายคล้ายผ้าบาติก งานเลียนแบบชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมชาวอินโดนีเซียนิยมผ้าบาติกชนิดเขียนด้วยมือ และจัดว่าเป็นบาติกชั้นสูง (classical- batik) แต่ก็มีราคาแพงกว่าบาติกที่ใช้ระบบการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ทองแดง การทำผ้าบาติกนอกจากจะเน้นด้านประโยชน์ใช้สอยแล้ว ปัจจุบันศิลปินชาวอินโดนีเซีย มาเลเซีย ได้ทำผ้าบาติกในลักษณะของงานจิตรกรรม (painting) และแพร่หลายไปยังศิลปินชาวยุโรปและอเมริกา

    ก็เป็นเรื่องราวความเป็นมาของผ้าบาติกให้ได้ทราบกัน....




    [​IMG]
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ที่ตำบลเชิงทะเลนี้ท่านนายก อบต.ได้ชวนให้ไปดูพระอาทิตย์ตกที่แหลมพรหมเทพ ซึ่งแต่เดิมกำหนดการไม่มีในตาราง ท่านนายกฯ บอกว่าถ้าไม่ดูเท่ากับมาไม่ถึงภูเก็ตนะเออ... งานนี้เข้าทางเรา จากที่รู้สึกผิดหวังเล็กน้อยถึงเกือบมากที่กำหนดการนี้ไม่มีในแผนการเดินทาง แต่ด้วยคำพูดของท่านนายก อบต.จึงทำให้เกิดแรงผลักดันให้ได้ไปดูดวงอาทิตย์ตกน้ำป๋อมแป๋มที่แหลมพรหมเทพ...


    แต่ แต่ แต่ว่า...ตอนนี้เวลาบ่ายสามโมงครึ่ง จากที่ทางไกด์ได้เช็คเวลาดวงอาทิตย์ตกกับกรมอุตุนิยมวิทยาว่าประมาณหกโมงสามสิบแปดนาที มีเวลาเหลืออีกมาก ช่วงนี้จึงได้ไปดูการทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่นี่ไม่ได้ห้ามถ่ายรูปแต่เกิดอาการไม่อยากถ่ายเพราะหมดแรง อากาศร้อนมากๆๆๆๆ....



    [​IMG]

    การแกะเม็ดมะม่วงหิมพานต์
     
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    เมื่อชิมมะม่วงหิมพานต์กันแล้ว(แต่สร้อยฟ้าฯ ไม่ได้ชิมนะ) และต่างคนต่างซื้อกลับบ้านกันเป็นที่พอใจ สถานที่ต่อไปก็จะไปไหว้พระกัน เมื่อมาภูเก็ตก็ต้องนึกถึงหลวงพ่อแช่มวัดฉลอง

    [​IMG]


    วัดฉลองหรือวัดไชยธาราราม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของภูเก็ต ใครมาภูเก็ตก็ต้องแวะนมัสการหลวงพ่อแช่มเพื่อเป็นสิริมงคล

    ประวัติวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง)
    ใครเป็นผู้สร้างวัดฉลองและวัดฉลองมีประวัติสืบเนื่องมานานเพียงใด ไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่แน่นอน แต่ตามทางสันนิษฐานนั้นเข้าใจกันว่าหลังจากเมืองถลางต้องพ่ายแพ้ศึกพม่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒ ต้นสมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นเหตุให้ชาวถลางต้องหลบหนีภัยสงครามอันโหดร้าย กระจัดพลัดพรากกันไปหลายทิศทาง เช่น ตระกูลขุนนางผู้ครองเมืองถลาง ซึ่งเป็นลูกหลานของพระยาเพชรคีรีพิชัยสงครามรามคำแหง เจ้าพระยาถลาง(เทียน ประทีป ณ ถลาง) พากันหลบหนีไปทางด่านพระยาพิพิธโภคัย เข้าไปหลบซ่อนตัวที่เมืองพังงา และเลยเข้าไปในเมืองกระบี่ในภายหลัง(ซึ่งตระกูล "ประทีป ณ ถลาง" ได้ตั้งรกรากและสืบทอดทายาทอยู่ในเมืองกระบี่มาจนถึงทุกวันนี้) สายหนึ่ง ราษฎรส่วนใหญ่หนีไปตามลำน้ำกระโสม แขวงเมืองตะกั่วทุ่งเข้าสู่เมืองทางพังงาตอนเหนือแถบลุ่มแม่น้ำพังงาตั้งสายหนึ่งและอีกสายหนึ่งหนี กระเจิงมาทาง "เมืองมานิก" (มานิคคาม) ทะลุออกเมืองภูเก็ต(ที่บ้านกระทู้) แล้วหนีเรื่อยลงมาจนพบที่ราบกว้างริมลำน้ำใหญ่ (คลองบางใหญ่ตำบลฉลอง) เป็นชัยภูมิที่เหมาะที่จะตั้งรากสร้างชีวิตและชุมชนใหม่ จึงได้ยับยั้งอยู่ที่ทุ่งราบกว้างแห่งนี้ ขนานชุมชนของตนเองว่า "ชาวถลาง" (แล้วเพี้ยนผันไปเป็น "ชาวฉลอง" ในภายหลังตามความเปลี่ยนแปลงของภาษา) ชุมชนชาวถลางที่บ้านใหม่แห่งนี้ เป็นเพียงชุมชนย่อย มีผู้นำชุมชนที่สืบเชื้อสายเจ้าพญาถลาง (เทียน) เป็นแกนนำอยู่ (ซึ่งสืบทอดทายาทมาเป็น "ประทีป ณ ถลาง"อยู่ที่ฉลองจนถึงปัจจุบัน)



    ..............................................................

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2684782/[/MUSIC]

    ..............................................................
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ยานมุนี (หลวงพ่อแช่ม) สังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต ท่านเกิดที่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เมื่อปีกุน พ.ศ.๒๓๗๐ มรณภาพ พ.ศ.๒๔๕๑ หลวงพ่อแช่มได้สร้างบารมีไว้มาจนถึงปัจจุบันประวัติของหลวงพ่อแช่มในตอนหนึ่งเล่าว่า ในปี พ.ศ.๒๔๑๙ ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ กรรมกรเหมืองแร่เป็นจำนวนหมื่นในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียงได้ซ่องสุมผู้คน ก่อตั้งเป็นคณะขึ้นเรียกว่า อั้งยี่ โดยเฉพาะพวกอั้งยี่ในจังหวัดภูเก็ตก่อเหตุวุ่นวายถึงขนาดจะเข้ายึดการปกครองของจังหวัดเป็นของพวกตน ทางราชการในสมัยนั้นไม่อาจปราบให้สงบราบคาบได้ พวกอั้งยี่ถืออาวุธรุกไล่ยิงฟันชาวบ้านล้มตายลงเป็นจำนวนมากชาวบ้านไม่อาจต่อสู้ป้องกันตนเองและทรัพย์สิน ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป เฉพาะในตำบลฉลองชาวบ้านได้หลบหนีเข้าป่าเข้าวัด ทิ้งบ้านเรือนปล่อยให้พวกอั้งยี่เผาบ้านเรือน หมู่บ้านซึ่งพวกอั้งยี่เผาได้ชื่อว่า บ้านไฟไหม้ จนกระทั่งบัดนี้ ชาวบ้านที่หลบหนีเข้ามาในวัดฉลอง เมื่อพวกอั้งยี่รุกไล่ใกล้วัดเข้ามา ต่างก็เข้าไปแจ้งให้หลวงพ่อแช่มทราบและนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่มหลบหนีออกจากวัดฉลองไปด้วย หลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนี ท่านว่า ท่านอยู่ที่วัดนี้ตั้งแต่เด็กจนบวชเป็นพระและเป็นเจ้าวัดอยู่ขณะนี้ จะให้หนีทิ้งวัดไปได้อย่างไร เมื่อหลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนีทิ้งวัด ชาวบ้านต่างก็แจ้งหลวงพ่อแช่มว่าเมื่อท่านไม่หนีพวกเขาก็ไม่หนี จะขอสู้มันละ พ่อท่านมีอะไรเป็นเครื่องคุ้มกันตัวขอให้ทำให้ด้วย หลวงพ่อแช่มจึงทำผ้าประเจียดแจกโพกศีรษะคนละผืนเมื่อได้ของคุ้มกันคนไทยชาวบ้านฉลองก็ออกไปชักชวนคนอื่นๆ ที่หลบหนีไปอยู่ตามป่า กลับมารวมพวกกันอยู่ในวัด หาอาวุธ ปืน มีด เตรียมต่อสู้กับพวกอั้งยี่ พวกอั้งยี่เที่ยวรุกไล่ฆ่าฟันชาวบ้านไม่มีใครต่อสู้ก็จะชะล่าใจ ประมาทรุกไล่ฆ่าชาวบ้านมาถึงวัดฉลอง ชาวบ้านซึ่งได้รับผ้าประเจียดจากหลวงพ่อแช่มโพกศีรษะไว้ก็ออกต่อต้านพวกอั้งยี่ พวกอั้งยี่ไม่สามารถทำร้ายชาวบ้านก็ถูกชาวบ้านไล่ฆ่าฟันแตกหนีไป ครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งแรกของไทยชาวบ้านฉลอง ข่าวชนะศึกครั้งแรก ของชาวบ้านฉลอง รู้ถึงชาวบ้านที่หลบหนีไปอยู่ที่อื่น ต่างพากลับมายังวัดฉลอง รับอาสาว่าถ้าพวกอั้งยี่มารบอีก ก็จะต่อสู้ ขอให้หลวงพ่อแช่มจัดเครื่องคุ้มครองตัวให้ หลวงพ่อแช่มก็ทำผ้าประเจียดแจกจ่ายให้คนละผืน พร้อมกับแจ้งแก่ชาวบ้านว่า "ข้าเป็นพระสงฆ์จะรบราฆ่าฟันกับใครไม่ได้ พวกสูจะรบก็คิดอ่านกันเอาเอง ข้าจะทำเครื่องคุณพระให้ไว้สำหรับป้องกันตัวเท่านั้น" ชาวบ้านเอาผ้าประเจียดซึ่งหลวงพ่อแช่มทำให้โพกศีรษะเป็นเครื่องหมาย บอกต่อต้านพวกอั้งยี่ พวกอั้งยี่ให้ฉายาคนไทยชาวบ้านฉลองว่า พวกหัวขาว ยกพวกมาโจมตีคนไทยชาวบ้านฉลองหลายครั้ง ชาวบ้านถือเอากำแพงพระอุโบสถเป็นแนวป้องกัน อั้งยี่ไม่สามารถตีฝ่าเข้ามาได้ ภายหลังจัดเป็นกองทัพเป็น จำนวนพัน ตั้งแม่ทัพ นายกอง มีธงรบ ม้าล่อ เป็นเครื่องประโคมขณะรบกัน ยกทัพเข้าล้อมรอบกำแพงพระอุโบสถ ยิงปืน พุ่งแหลน พุ่งอีโต้ เข้ามาที่กำแพง เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่บรรดาชาวบ้านซึ่งได้เครื่องคุ้มกันตัวจากหลวงพ่อแช่มต่างก็แคล้วคลาดไม่ถูกอาวุธของพวกอั้งยี่เลย คณะกรรมการเมืองภูเก็ตได้ทำรายงานกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะกรรมการเมืองนิมนต์หลวงพ่อแช่ม ให้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร มีพระราชประสงค์ทรงปฏิสันฐานกับหลวงพ่อแช่มด้วยพระองค์เอง หลวงพ่อแช่มและคณะเดินทางถึงกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสมฌศักดิ์หลวงพ่อแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญานมุนี ให้มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสูงสุดซึ่งบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้นในโอกาสเดียวกัน ทรงพระราชทานนามวัดฉลองเป็นวัดไชยาธาราราม

    บารมีหลวงพ่อแช่ม
    จากคำบอกเล่าของคณะผู้ติดตามหลวงพ่อแช่มไปในครั้งนั้นแจ้งว่ามีพระสนมองค์หนึ่งในรัชกาลที่ ๕ ป่วยเป็นอัมพาต หลวงพ่อแช่มได้ทำน้ำพระพุทธมนต์ให้รดตัวรักษา ปรากฏว่าอาการป่วยหายลงโดยเร็ว สามารถลุกนั่งได้ อนึ่ง การเดินทางไปและกลับจากจังหวัดภูเก็ตกับกรุงเทพมหานคร ผ่านวัดๆ หนึ่งในจังหวัดชุมพร หลวงพ่อแช่มและคณะได้เข้าพักระหว่างทาง ณ ศาลาหน้าวัด เจ้าอาวาสวัดนั้น นิมนต์ให้หลวงพ่อแช่มเข้าไปพักในวัด แต่หลวงพ่อเกรงใจและแจ้งว่าตั้งใจจะพักที่ศาลาหน้าวัดแล้วก็ขอพักที่เดิมเถิด เจ้าอาวาสและชาวบ้านในละแวกนั้นบอกว่า การพักที่ศาลาหน้าวัดอันตรายอาจเกิดพวกโจร จะมาลักเอาสิ่งของของหลวงพ่อแช่มและ คณะไปหมด หลวงพ่อแช่มตอบว่าเมื่อมันเอาไปได้ มันก็คงเอามาคืนได้ เจ้าอาวาสวัดและชาวบ้านอ้อนวอน หลวงพ่อแช่มก็คงยืนยันขอพักที่เดิม เล่าว่าตกตอนดึกคืนนั้น โจรป่ารวม ๖ คน เข้ามาล้อมศาลาไว้ ขณะคนอื่นๆ หลับหมดแล้ว คงเหลือแต่หลวงพ่อแช่มองค์เดียว พวกโจรเอื้อมเอาของไม่ถึง หลวงพ่อแช่มก็ช่วยผลักของให้ สิ่งของส่วนมากบรรจุปี๊บใส่สาแหรก พวกโจรพอได้ของก็พากันขนเอาไป รุ่งเช้าเจ้าอาวาสและชาวบ้านมาเยี่ยม ทราบเหตุที่เกิดขึ้นก็พากันไปตามกำนันนายบ้านมาเพื่อจะไปตามพวกโจร หลวงพ่อแช่มก็ห้ามมิให้ตามไป ต่อมาครู่หนึ่ง พวกโจรก็กลับมา แต่การกลับมาคราวนี้หัวหน้าโจรถูกหามกลับมาพร้อมกับสิ่งของซึ่งลักไปด้วย กำนัน นายบ้านก็เข้าคุมตัวหัวหน้าโจรปวดท้องจุดเสียดร้องครางโอดโอย ทราบว่าระหว่างที่ขนของซึ่งพวกตนขโมยไปนั้น คล้ายมีเสียงบอกว่าให้ส่งของกลับไปเสีย มิฉะนั้น จะเกิดอาเพศ พวกโจรไม่เชื่อขนของต่อไปอีก หัวหน้าโจรจึงเกิดมีอาการจุกเสียดขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เลยปรึกษากันตกลงขนสิ่งของกลับมาคืน หลวงพ่อแช่มสั่งสอนว่าต่อไปขอให้เลิกเป็นโจรอาการปวดก็หาย กำนันนายบ้านจะจับพวกโจรส่งกรมการเมืองชุมพร แต่หลวงพ่อแช่มได้ขอร้องมิให้จับกุมขอให้ปล่อยตัวไป ไม่เพียงแต่ชนชาวไทยในภูเก็ตเท่านั้นที่มีความเคารพเลื่อมใสในองค์หลวงพ่อแช่ม ชาวจังหวัดใกล้เคียงตลอดจนชาวจังหวัดต่างๆ ในมาเลเซีย เช่น ชาวจังหวัดปีนัง เป็นต้นต่างให้ความคารพนับถือในองค์หลวงพ่อแช่มเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะชาวพุทธในจังหวัดปีนัง ยกย่องหลวงพ่อแช่มเป็นเสมือนสังฆปาโมกข์เมืองปีนังด้วย
    ชาวเรือพวกหนึ่งลงเรือพายออกไปหาปลาในทะเลถูกคลื่นและพายุกระหน่ำจนเรือจวนล่มต่างก็บนบานสิ่งศักดิ์ต่างๆ ให้คลื่นลมสงบ แต่คลื่นลมกลับรุนแรงขึ้น ชาวบ้านคนหนึ่งนึกถึงหลวงพ่อแช่มได้ก็บนหลวงพ่อแช่ม ว่าขอให้หลวงพ่อแช่มบันดาลให้คลื่นลมสงบเถิด รอดตายกลับถึงบ้านจะติดทองที่ตัวหลวงพ่อแช่ม คลื่นลมก็สงบ มาถึงบ้านก็นำทองคำเปลวไปหาหลวงพ่อแช่ม เล่าให้หลวงพ่อแช่มทราบและขอปิดทองที่ตัวท่าน หลวงพ่อแช่มบอกว่าท่านยังมีชีวิตอยู่จะปิดทองยังไง ให้ไปปิดทองที่พระพุทธรูป ชาวบ้านกลุ่มนั้นก็บอกว่าถ้าหาก หลวงพ่อไม่ให้ปิดหากแรงบนทำให้เกิดอาเพศอีกจะแก้อย่างไร ในที่สุดหลวงพ่อแช่มก็จำต้องยอมให้ชาวบ้านปิดทองที่ตัวท่านโดยให้ปิดที่แขนและเท้า ชาวบ้านอื่นๆ ก็บนตามอย่างด้วยเป็นอันมาก พอหลวงพ่อแช่มออกจากวัดไปทำธุระในเมือง ชาวบ้านต่างก็นำทองคำเปลวรอคอยปิดที่หน้าแขนของหลวงพ่อแทบทุกบ้านเรือนจนถือเป็นธรรมเนียม

    เมื่อกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาจังหวัดภูเก็ตนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่มไปหา ก็ยังทรงเห็นทองคำเปลวปิดอยู่ที่หน้าแข้งของหลวงพ่อแช่ม นับเป็นพระภิกษุองค์แรกของเมืองไทยที่ได้รับการปิดทองแก้บนทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้แต่ไม้เท้าของหลวงพ่อแช่ม ซึ่งท่านถือประจำกายก็มีความขลัง ประวัติความขลังของไม้เท้ามี ดังนี้ เด็กหญิงรุ่นสาวคนหนึ่งเป็นคนชอบพูดอะไรแผลงๆ ครั้งหนึ่งเด็กหญิงคนนั้นเกิดปวดท้องจุดเสียดอย่างแรง กินยาอะไรก็ไม่ทุเลาจึงบนหลวงพ่อแช่มว่า ขอให้อาการปวดท้องหายเถิดถ้าหายแล้วจะนำทองไปปิดที่ของลับ ของหลวงพ่อแช่ม อาการปวดท้องก็หายไปเด็กหญิงคนนั้นเมื่อหายแล้วก็ไม่สนใจ ถือว่าพูดเล่นสนุกๆ ต่อมา อาการปวดท้องเกิดขึ้นมาอีก พ่อแม่สงสัยจะถูกแรงสินบนจึงปลอบถามเด็ก เด็กก็เล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่จึงนำเด็กไปหาหลวงพ่อแช่มหลวงพ่อแช่มกล่าวว่าลูกมึงบนสัปดนอย่างนี้ใครจะให้ปิดทองอย่างนั้นได้ พ่อแม่เด็กต่างก็อ้อนวอนกลัวลูกจะตายเพราะไม่ได้แก้บน ในที่สุดหลวงพ่อแช่มคิดแก้ไข สถานการณ์เฉพาะหน้าได้โดยเอาไม้เท้านั่งทับสอดเข้าให้เด็กหญิงคนนั้นปิดทองที่ปลายไม้เท้า กลับบ้านอาการปวดท้องจุดเสียดก็หายไป ไม้เท้านั่งทับของหลวงพ่อแช่มอันนี้ยังคงมีอยู่และใช้เป็นไม้สำหรับจี้เด็กๆ ที่เป็นไส้เลื่อน เป็นฝี เป็นปาน อาการเหล่านั้นก็หายไปหรือชงักการลุกลามต่อไป เป็นที่น่าประหลาด

    เมื่อมรณภาพ บรรดาศิษย์ได้ตรวจหาทรัพย์สินของหลวงพ่อแช่มปรากฏว่าหลวงพ่อแช่มมีเงินเหลือเพียง ๕๐ เหรียญเท่านั้น ความทราบถึงบรรดาชาวบ้านปีนังและจังหวัดอื่นในมาเลเซีย ต่างก็นำเงินเอาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น มีข้าวสาร มีคนมาช่วยเหลือหลายเรือสำเภา งานศพของหลวงพ่อแช่มจัดได้ใหญ่โตมโหฬารที่สุดในจังหวัดภูเก็ต หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามโหฬารที่สุดในภาคใต้ แม้ว่าหลวงพ่อแช่มจะมรณภาพเป็นเวลานับกว่าหนึ่งร้อยปีมาแล้วก็ตาม ชื่อเสียงเกียรติคุณและบารมีของท่านก็อยู่ในความทรงจำของผู้คนสืบมาจนกระทั่ง ปัจจุบันนี้
     
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    นอกจากหลวงพ่อแช่มแล้ว ยังมีหลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก ซึ่งท่านทั้งสองมีชื่อเสียงการปรุงสมุนไพรและรักษาโรค ถึงแม้ว่าปัจจุบันท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังมีชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อน ก็จะไปกราบไหว้ บนบานไม่ขาดสาย ปัจจุบันนี้ได้ ประดิษฐานองค์ท่านทั้งสามที่วิหารมณฑปที่สร้างอย่างสวยงาม ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติต่างมา กราบไหว้เป็นจำนวนมาก


    [​IMG]

    พระครูครุกิจจานุการ (หลวงพ่อช่วง) ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๘ มรณภาพ พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านมีความเชียวชาญทางการเชื่อมกระดูกเป็นพิเศษ หลวงพ่อช่วง ชาวบ้านส่วนใหญ่มักให้ฉายาท่านว่า "เป็นหลวงพ่อซึ่งประกอบด้วยพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาท่านมรณะเมื่ออายุ ๗๐ พรรษา

    พระครูกิจจานุการ (หลวงพ่อเกลื้อม) ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ มรณภาพ พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดฉลองได้ ๓๓ ปี ได้บูรณะซ่อมแซม พระอุโบสถมณฑป อนุสาวรีย์หลวงพ่อช่วง หลวงพ่อเกลื้อมได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูครุกิจจานุการเดียวกับหลวงพ่อช่วง เป็นพระครูชั้นเอก หลวงพ่อเกลื้อมมรณภาพด้วยสาเหตุหัวใจวายด้วยความสงบเมื่อ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๑

    พระศรีปริยัติสุธี (เฟื่อง รักรอด ป.ธ.๙) อดีตเจ้าอาวาสวัดฉลองเป็นชาวจังหวัดพัทลุง เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ได้รับมอบหมายให้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดไชยธาราราม (ฉลอง) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ – ๒๕๒๒ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปกครองดูแลพระภิกษุสามเณรและทนุบำรุงวัดไชยธาราม สืบมาท่านมีความรู้ด้านภาษาขอม วิชาสถาปัตยกรรมและวิชาการเกี่ยวกับแผนผังแบบแปลนทั่วไปและท่านเจ้าคุณศรีฯ มีความรู้ในวิชาต่อกระดูกอันเป็นกิจกรรมหลักอย่างหนึ่งสำหรับบริการประชาชนของวัดไชยธารารามแต่เดิมมา

    [​IMG]

    การปิดทองรูปหล่อจำลองหลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง หลวงพ่อเกลื้อม มีความเชื่อกันว่าบารมีของหลวงพ่อแช่มจะช่วยส่งเสริมชีวิตให้มีความเจริญด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ และถ้าปิดทองที่มือของท่านก็จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ทำมาค้าขึ้นจับสิ่งใดก็เป็นเงินเป็นทอง
    คาถาบูชา(ท่องนะโม ๓ จบ) อะหังวันทามิทูระโต อะหังวันทามิทาตุโย อะหังวันทามิสัพพะโส
     
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สะดุดตามากที่สุดเมื่อเข้ามาในวัดฉลองคือ พระมหาเจดีย์พระจอมไท เป็นเจดีย์ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อไม่นาน ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านหลังของวัด บริเวณชั้นแรกจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปรางค์ต่างๆ มากมาย และบริเวณด้านข้างผนังจะเป็นภาพวาดพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตอนประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน ที่งดงามมาก เมื่อขึ้นไปด้านบนสุดจะเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ และด้านนอกของเจดีย์ สามารถที่จะชมทิวทัศน์ของบริเวณในวัดทั้งหมดได้อย่างสวยงาม แต่พวกเรามาไม่ทัน พระมหาเจดีย์ปิดไปเสียก่อนจึงอดเข้าไป...
     
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ถัดจากพระมหาเจดีย์ขึ้นมา จะเห็นวิหารท่านเจ้าวัด(ที่จริงมาถึงวัดฉลอง เขาให้มาไหว้ท่านเจ้าวัดก่อน) คือพระประธานในวิหารเก่าแก่อันเป็นที่ตั้งของวัดฉลองแต่โบราณ ก่อนย้ายออกมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน ซึ่งด้านซ้ายจะมีรูปหล่อของชายชรานั่งถือตะบันหมาก ชาวบ้านเรียกว่า "ตาขี้เหล็ก" ส่วนด้านขวามีรูปหล่อเป็นยักษ์ เรียกว่า "ท้าวนนทรี"
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    หลวงพ่อท่านนอกหรือหลวงพ่อเจ้าวัดหรือท่านเจ้าวัด
    ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถเก่าทางด้านทิศตะวันออก อุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่พ่อท่านนอกมีประวัติวัดฉลองแต่เดิมมานั้น ได้สร้างอยู่ทางทิศเหนือของวัดฉลองในปัจจุบันและได้สร้างพระประธานขึ้นไว้องค์หนึ่งทางทิศตะวันออกของบริเวณวัด แล้วสร้างวิหารด้วยวัสดุที่หาได้จากป่าและทุ่งนาแบบง่ายๆ ไม่พิถีพิถันแต่อย่างใด ส่วนอุโบสถสำหรับพระสงฆ์จะปฏิบัติสังฆกรรม ชาวบ้านได้ช่วยกันขุดสระขึ้นสระหนึ่ง กว้างยาวประมาณ ๑๐ วา สี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้วสร้างอาคารเป็นอุโบสถขึ้นกลางสระน้ำแห่งนั้น ถือว่าเป็น "อุโบสถน้ำ" ให้สงฆ์ลงไปปฏิบัติสังฆกรรมได้เสมือนหนึ่งอุโบสถทั่วไปที่ได้ผูกพันธสีมาไว้แล้ว (ตามพุทธบัญญัตินั้น สถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์จะร่วมปฏิบัติสังฆกรรมได้จะต้องมีอาณาเขต จำกัด เรียกว่า "พัทธสีมา" โดยจะต้องมีหลักฐานสมมติขึ้นเป็น "นิมิต" ที่แน่นอน เช่นมีก้อนหินวางไว้ให้ปรากฏแก่สายตา ผู้คนรู้เห็นว่าเป็นเขตสงฆ์ หรือจะปฏิบัติสังฆกรรมในสถานที่อันล้อมรอบด้วยน้ำเป็นเขตจำเพาะไม่เชื่อมต่อกับแผ่นดินทั่วไปก็ด้วย พระภิกษุสงฆ์สูงพรรษาได้เล่าว่าสระน้ำหรือขุมบังหลวงเคยเป็น "โบสถ์น้ำ" ของวัดฉลองมาแต่สมัยก่อน ครั้นภายหลังได้สร้างโบสถ์ใหม่ผูกพัทธสีมาเสร็จแล้วก็เลิกใช้โบสถ์น้ำ (ในปัจจุบันสระน้ำ) หรือขุมบัวหลวง ที่กล่าวถึงได้รับการถมดินจนกลายเป็นที่ราบคือ บริเวณที่ปลูกสร้างศาลาบริการดอกไม้ธูปเทียนแก่ผู้ไปนมัสการหลวงพ่อ

    แต่เดิมนั้นวิหารหลวงพ่อนอกวัดประกอบด้วยพระพุทธปฏิมากรที่รู้จักว่า "หลวงพ่อนอกวัด" องค์หนึ่งเป็นประธาน แล้วยังมีปูนปั้นอสูรอยู่ ๒ ตน ชาวบ้านเรียกว่า "ท้าวนนทรี" ซึ่งความจริงเป็นรูปปั้นของ "นนทรีอสูร" หมายถึงเทพเจ้าผู้รับใช้พระศิวะ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าพวกเทพซึ่งเป็นบริวารพระศิวะมีตำแหน่งเป็นมณเฑียรบาล ชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็น "ท้าวนนทรี" ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๐ มีชาวบ้านคนหนึ่งป่วยสติไม่สมประกอบเข้าไปให้หลวงพ่อพระครูครุกิจจานุการ (ช่วง กิสลัย) ทำการรักษาด้วยการรดน้ำมนต์ ระหว่างที่ทำการรักษาอยู่นั้น ตกกลางคืนพวกญาติของคนไข้และศิษย์วัดก็จัดคนไข้ไว้ในกุฏิหลังหนึ่ง มาอยู่วันหนึ่งคนไข้หลุดออกไปได้ เข้าไปในวิหารหลวงพ่อท่านนอกวัด ใช้ไม้ทุบทำลายภาพปั้นนนทรีอสูรตนที่อยู่ด้านซ้ายมือขององค์หลวงพ่อนอกวัดชำรุดเสียหายไม่อาจซ่อมแซมได้ หลวงพ่อพระครูครุกิจจานุการ(ช่วง กิสลัย) จึงได้นำเอารูปปั้นคนแก่ที่เรียกกันว่า "ตาขี้เหล็ก" มาวางไว้แทนที่จนถึงทุกวันนี้
    ตาขี้เหล็กมีประวัติความเป็นมาในคราวที่ช่วงทำการปั้นพระประธานในอุโบสถ คงเห็นว่าเศษวัสดุเหลือใช้อยู่บางส่วน จึงปั้นคนแก่นั่งชันเข่าตะบันหมากขึ้นไว้เล่นๆ ตามอารมณ์ขันแล้วไม่รู้จะไปตั้งไว้ที่ใด เลยวางไว้ที่ส่วนหน้าพระประธานองค์กลางพอดี ชาวบ้านเข้าไปปิดทองพระพุทธรูปพระประธานแล้ว ก็เลยปิดทองให้ตาขี้เหล็กด้วย ตาขี้เหล็กจึงมีส่วนได้รับอานิสงส์กลายเป็นคนขลัง มีอานุภาพแปลกๆ ซึ่งมักกระเดียดไปทางขี้เล่นขี้หัว เช่น มีคนตั้งสินบนให้ตาขี้เหล็กว่า "ถ้ามีกระบืองานของชาวบ้านที่ล่ามผูกไว้ในนา หลุดจากหลักล่ามเข้าต่อสู้กันแล้วก็จะให้บุหรี่ฝรั่งตาขี้เหล็ก สูบเป็นรางวัล ๒ มวนบ้าง ๓ มวนบ้าง คือ กระบืองานของชาวบ้านมักหลุดออกมาชนกันตามที่บนไว้ จึงมาถึงในปัจจุบันจึงมักมีคน นำบุหรี่มาจุดแล้วนำแหย่เข้าไปในปากที่อ้าอยู่ บุหรี่ก็มีควันโขมง
    หลวงพ่อนอกวัดเป็นพระพุทธปฏิมากรที่สร้างขึ้นในสมัยเจ้าอาวาสวัดฉลององค์แรก ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า " พ่อท่านเฒ่า " ประดิษฐานอยู่ในวิหารดั้งเดิมไม่ได้ย้ายไปไหน เพียงแต่มีการปฏิสังขรณ์ให้แข็งแรงมั่นคงและสวยงามขึ้นตามลำดับ และตามกาลเวลาเท่านั้น
     
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ท่านเจ้าวัด
     
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ท่านเจ้าวัด
     
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ท่านเจ้าวัด
     
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ท่านเจ้าวัด
     
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ท้าวนนทรี
     

แชร์หน้านี้

Loading...