เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 22 พฤษภาคม 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,582
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,543
    ค่าพลัง:
    +26,383
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,582
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,543
    ค่าพลัง:
    +26,383
    วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ กระผม/อาตมภาพยังคงวนเวียนอยู่กับงานอบรมเจ้าอาวาสใหม่ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ ที่กระผม/อาตมภาพได้ปรารภกับเจ้าอาวาสใหม่ส่วนหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่ใช่พรรคพวกเพื่อนฝูงก็กลายเป็นลูกศิษย์ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วก็เรียนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี หรือว่าวิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ แม้กระทั่งวิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรีศรีไพบูลย์

    ที่ปรารภก็คือว่า กระผม/อาตมภาพเป็นคนที่ชอบงานอบรมต่าง ๆ เพราะว่าไปเมื่อไรก็ได้ความรู้ใหม่เมื่อนั้น ซึ่งก็มีเจ้าอาวาสใหม่หลายท่านที่มีความคิดความเห็นไปในแนวเดียวกัน

    สำหรับวันนี้ที่จะนำมาบอกกล่าวแก่พวกเราก็คือ ความเห็นของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระเทพมหาเจติยาจารย์ (ชัยวัฒน์ ปญฺญาสิริ ป.ธ.๙) เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม หรือที่กระผม/อาตมภาพเรียกด้วยความเคารพนับถือคุ้นเคยว่า หลวงพ่อเจ้าคุณชัยวัฒน์ ท่านบอกว่า "การเป็นเจ้าอาวาส ต้องรักษาระยะห่างเอาไว้บ้าง อย่าใกล้ชิดกับญาติโยมจนเกินไป อย่าห่างเหินกับญาติโยมจนเกินไป และท้ายที่สุดก็คือ อย่าขอเขามากจนเกินไป"


    ความใกล้ชิดจนเกินไปนั้น อาจจะทำให้ท่านทั้งหลายต้องอาบัติโดยไม่รู้ตัว ก็คือกลายเป็นบุคคลผู้ประทุษร้ายตระกูลของพระพุทธเจ้าด้วยการประจบคฤหัสถ์ ซึ่งตรงนี้กระผม/อาตมภาพมองเห็นมามากต่อมากด้วยกันแล้ว


    บรรดาเจ้าอาวาสที่รู้จัก ท่านจะใช้คำว่า "รักษาลูกศิษย์รวย ๆ เอาไว้ให้อยู่กับเรา" ด้วยการที่จะชักชวนให้ทำบุญอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วมีการประกาศยกย่องถึงระดับ "มหาอุบาสก มหาอุบาสิกา ผู้ค้ำจุนพระพุทธศาสนา" ถ้าในลักษณะอย่างนั้นโปรดระมัดระวังไว้ด้วยว่า ท่านทั้งหลายจะต้องอาบัติศีลขาด เพราะประทุษร้ายตระกูลของพระพุทธเจ้า..!

    ส่วนคำว่า "อย่าห่างเหินจนเกินไป" ก็คือ ญาติโยมเป็นผู้ที่มีบุญคุณแก่เรา ไม่ว่าจะช่วยทำบุญใส่บาตร หรือว่าอุปถัมภ์ค้ำจุนวัดวาอารามในลักษณะไหนก็ตาม ถ้าหากว่าเขาเจ็บ เขาป่วย มีเรื่องเดือดร้อนอะไร ก็ไปเยี่ยมไปยามบ้าง แต่ว่าไปในลักษณะนาน ๆ ครั้ง ไม่ใช่ว่าไปทุกวัน เพราะว่าจะกลายเป็นลักษณะของการคลุกคลีไป


    ส่วนการ "อย่าขอมากจนเกินไป" ตรงจุดนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ตรัสเอาไว้แล้วว่า ภิกษุควรทำตัวเหมือนผึ้ง เมื่อนำเอาน้ำหวานไป ก็ไม่ได้ทำให้กลีบดอกไม้นั้นชอกช้ำ ก็แปลว่า ต้องมีเวลาที่พอเหมาะ พอดี พอควร จึงจะเอ่ยปากขอจากญาติโยมเขาได้
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,582
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,543
    ค่าพลัง:
    +26,383
    แต่ว่าตรงนี้กระผม/อาตมภาพรอดตัวแน่นอน เพราะว่าในปีแรกที่ออกจากวัดท่าซุงไปอยู่ที่เกาะพระฤๅษี เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านมาบอกว่า "แกช่วยสร้างศาลาสักหลังหนึ่ง เผื่อมีคนมาหา แกจะได้มีที่ให้เขาหลบแดดหลบฝน" กระผม/อาตมภาพกราบเรียนหลวงพ่อท่านไปว่า "ถ้าหากว่ามีคนมา ส้วมสำคัญกว่าศาลาอีกครับ" พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านบอกว่า "ข้าก็กำลังจะสั่งให้แกสร้างส้วมด้วย"

    กระผม/อาตมภาพรู้ท่า ถึงได้กราบเรียนพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านไปว่า "หลวงพ่อจะให้ทำอะไรบ้าง โปรดบอกมาทีเดียวเลยครับ กระผมไม่ชอบฟังหลาย ๆ ครั้ง เพิ่มขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อย ในลักษณะแบบเดียวกับหลวงพ่อ"

    ก็คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เริ่มการสร้างวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร ด้วยการให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านทำเป็นเพิงหมาแหงนเท่านั้น แล้วไป ๆ มา ๆ เพิงหมาแหงนก็กลายเป็นมหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตรอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านทราบดีว่า กระผม/อาตมภาพเป็นคนพูดน้อย ดังนั้น..จึงได้บอกว่าจะต้องสร้างอะไรบ้าง ปรากฏว่ามีทั้งศาลา มีทั้งห้องน้ำ มีทั้งกุฏิพระ โรงครัว ห้องเก็บพัสดุและอาคารแทนโบสถ์ กระผม/อาตมภาพคิดจะหาทางเบี้ยว จึงได้กราบเรียนหลวงพ่อไปว่า "จะให้กระผมสร้างก็ได้ แต่ต้องไม่ให้กระผมขอใครแม้แต่บาทเดียว..!"

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อมองหน้าแล้วถามว่า "แกต้องการแบบนั้นแน่นะ ?" กระผม/อาตมภาพกราบเรียนว่า "ครับ" ในเมื่อเป็นเช่นนั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านจึงได้บอกว่า "ถ้าแกจะเอาอย่างนั้นก็ได้" ตั้งแต่บัดนั้นมาจนบัดนี้ กระผมซึ่งไม่ได้ขอใครแม้แต่บาทเดียว ก็ต้องทำสารพัดงานมา เป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ ๓๐ ปีแล้ว..!

    ดังนั้น...ตรงจุดนี้ที่พระเดชพระคุณพระเทพมหาเจติยาจารย์ หรือหลวงพ่อเจ้าคุณอาจารย์ชัยวัฒน์ท่านบอกกล่าวเอาไว้ว่า การเป็นเจ้าอาวาสนั้น อย่าคลุกคลีกับญาติโยมใกล้ชิดจนเกินไป อย่าห่างเหินจนเกินไป และขณะเดียวกัน ก็อย่าขอเขามากจนเกินไป จึงเป็นเรื่องที่เจ้าอาวาสใหม่ควรที่จะตระหนักเป็นอย่างยิ่ง
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,582
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,543
    ค่าพลัง:
    +26,383
    ส่วนพระเดชพระคุณพระพรหมกวี (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ. ๙, Ph.D.) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๓ เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ท่านได้ให้ข้อคิดเอาไว้ว่า "การเป็นเจ้าอาวาสนั้นต้องมีเวลา มีเสนา มีวิสัยทัศน์ และมีความยุติธรรม"

    คำว่า มีเวลา ก็คือ ไม่ว่าเราจะเหน็ดเหนื่อยมาขนาดไหนก็ตาม แต่ว่าเรื่องของพระภิกษุสามเณรภายในวัดนั้น เป็นเรื่องที่ต้องจัดแจงให้เป็นระเบียบเรียบร้อย กิจการงานคณะสงฆ์ทั้ง ๖ ด้านก็ต้องกระทำให้สมกับที่ได้รับมอบหมาย

    ดังนั้น...ไม่ว่าเราจะมีเวลามาก หรือว่ามีเวลาน้อย ก็ต้องสละหาเวลามาให้ได้ ในการที่จะปฏิบัติภารกิจผูกพันให้สมกับตำแหน่งสมภาร ซึ่งถ้าหากว่าแปลก็คือ เสมอด้วยภาระ แปลว่า ทันทีที่ทำหน้าที่เจ้าอาวาสก็ต้องแบกภาระแล้ว

    ส่วนคำว่า มีเสนา ก็คือ ต้องมีพระเณรบริวารที่เป็นทีมงาน ช่วยทำหน้าที่ต่าง ๆ ให้ ไม่ว่าท่านจะเก่งกาจขนาดไหนก็ตาม ถ้าภาระหน้าที่มากจนเกินกำลัง ก็ต้องอาศัยผู้อื่นอยู่ดี

    ในส่วนของคำว่า มีวิสัยทัศน์ นั้น ก็คือจะต้องรู้ว่าสิ่งหนึ่งประการใดที่จะเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา และเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป แล้วเราเองก็จะได้เตรียมการรับมือแก้ไขเอาไว้เสียก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าหากว่าปุบปับ สิ่งที่เกิดขึ้นโดยฉุกเฉิน อาจจะทำให้เราเองตั้งหลักไม่ทัน ก็อาจจะเสียทีเสียท่าแก่เขาได้

    ส่วนข้อสุดท้ายที่ว่า มีความยุติธรรมนั้น ก็คือจะต้องไม่เป็นคนหลายมาตรฐาน ไม่ว่าจะคนจน จะคนรวย จะมีอำนาจวาสนา หรือว่าจะไร้อำนาจวาสนาก็ตาม ถ้าหากว่าเราเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ต้องให้การสงเคราะห์เสมอหน้ากัน

    แบบเดียวกับที่กระผม/อาตมภาพได้เจอมา ก็คือออกกิจนิมนต์ไปยังบ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นงานสวดมนต์ฉันเพลเนื่องจากการฉลองขึ้นบ้านใหม่ เจ้าของบ้านพอเห็นหน้ากระผม/อาตมภาพก็ดีอกดีใจเป็นนักหนา วิ่งมากราบ ออกปากเองเลยว่า "ดีใจมากที่หลวงพ่อมาด้วยตนเอง ไม่นึกเลยว่าบ้านคนจน ๆ อย่างผม หลวงพ่อก็มาด้วย..!"
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,582
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,543
    ค่าพลัง:
    +26,383
    กระผม/อาตมภาพได้บอกให้ทราบว่า ทางวัดท่าขนุนนั้น มอบหมายหน้าที่การจัดกิจนิมนต์แก่พระภัตตุเทศก์อย่างเป็นทางการ ดังนั้น...จึงต้องหมุนเวียนกันไปตามลำดับ จนกว่าที่จะตรงกับตนเองถึงจะได้ไป

    กระผม/อาตมภาพในฐานะเจ้าอาวาส ก็ไม่ได้สิทธิพิเศษแม้แต่ประการใด เมื่อถึงเวลา ถ้าหากว่าไม่ถึงคิวก็ไม่ได้ไปเช่นกัน ดังนั้น...ไม่ใช่ว่าบ้านไหนจนแล้วไม่ไป บ้านไหนรวยแล้วไป หากแต่ว่าไปตามที่พระเจ้าหน้าที่จัดการมอบหมายให้ต่างหาก

    เมื่อเรามีความยุติธรรมเช่นนี้ ทางด้านญาติโยมก็ตำหนิไม่ได้ ขณะเดียวกันทางด้านพระภิกษุสามเณรก็ตำหนิไม่ได้ว่า "ให้แต่คนนี้ไป คนนั้นไม่ได้ไป" ในเมื่อเป็นเช่นนี้ ความยุติธรรมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งเจ้าอาวาสทั้งหลายจะต้องตระหนัก

    แล้วท่านยังบอกว่า "การเป็นเจ้าอาวาสนั้น ต้องเป็นหลัก ต้องเป็นแรง ต้องเป็นแบบ แก่พระภิกษุสามเณร"

    คำว่า เป็นหลัก ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษาเล่าเรียน ในเรื่องของการสวดมนต์ ทำวัตร บิณฑบาต ถ้าหากว่าเราไม่ได้ทำด้วยตนเอง พระภิกษุสามเณรก็ไม่มีอารมณ์ที่จะทำ

    มีญาติโยมหลายท่านที่เคยมาใส่บาตร แล้วถามกระผม/อาตมภาพว่า "หลวงพ่อ..เป็นใหญ่เป็นโตขนาดนี้แล้ว ยังต้องบิณฑบาตเองอีกหรือ ? วัดโน้นแค่เป็นเจ้าอาวาส ก็ให้เณรบิณฑบาตให้ฉันแล้ว" ถ้าหากว่าคิดแบบนี้ก็เป็นอันว่าจบกัน..!

    เนื่องเพราะว่าญาติโยมทั้งหลายเห็นอยู่ว่า เจ้าอาวาสของตนเองเป็นอย่างไร ในเมื่อไม่ได้เป็นหลักให้แก่พระภิกษุสามเณร เอาแต่ตัวเองรอด เอาแต่ตัวเองสบาย แล้ววัดวาอารามจะอยู่ได้อย่างไร ?

    คำว่า เป็นแรง ท่านบอกว่าเป็นทั้งแรงกาย เป็นทั้งแรงใจ คำว่า เป็นแรงกายก็คือ ถ้าหากว่ามีเหตุ มีอันตรายใด ๆ เกิดขึ้นกับพระภิกษุสามเณรของเรา ก็ต้องเข้าไปป้องกันต้านทานให้ ในเรื่องของแรงใจก็คือ ต้องคอยกระตุ้น คอยให้กำลังใจอยู่เสมอ เพื่อให้พระภิกษุสามเณรของเรามีแก่ใจที่บวชปฏิบัติอยู่ในพระพุทธศาสนาสืบไป
     
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,582
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,543
    ค่าพลัง:
    +26,383
    ส่วนข้อสุดท้ายที่ว่า เป็นแบบนั้นก็คือ ส่วนใหญ่แล้วพระภิกษุสามเณรที่บวชอาศัยอยู่กับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ท่านใด ส่วนหนึ่งก็คือความชอบใจในปฏิปทาที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ท่านนั้น ๆ แสดงออกมา เราจึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับท่าน

    เรื่องนี้กระผม/อาตมภาพเห็นมาด้วยตัวเอง ก็คือว่ามีวัดวาอารามหนึ่ง ซึ่งมีญาติโยมเข้าไปให้การสนับสนุนในระดับเป็นล้านคน พระภิกษุสามเณรในวัดนั้นก็จะแต่งตัวในลักษณะที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย "เนี้ยบสุด ๆ" ใช้แต่ของดีของแพงเข้าว่า เลียนแบบตามเจ้าอาวาสที่ท่านทำอย่างนั้น

    ส่วนอีกสำนักหนึ่งก็ทำตัวปอน ๆ แม้กระทั่งรองเท้าก็ไม่ใส่ ถึงเวลาฉันภัตตาหารก็ต้องฉันมังสวิรัติ เป็นต้น บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายก็เลียนแบบทำตาม ถึงขนาดอาบน้ำก็ต้องไม่เกิน ๕ ขัน..! ก็แปลว่าสิ่งที่เจ้าอาวาสท่านได้กระทำนั้น เป็นแบบอย่างให้แก่พระภิกษุสามเณร และญาติโยมทั้งหลายได้เลียนแบบและกระทำตาม

    ท้ายสุดพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพรหมกวี ท่านสรุปให้เจ้าอาวาสทั้งหลายได้ฟังว่า โบราณกล่าวว่า "อยากเป็นเปรตให้เป็นทายก อยากตกนรกให้เป็นสมภาร"

    ตรงนี้เราท่านทั้งหลายต้องคิดให้ดีว่าทำไมทายกถึงต้องเป็นเปรต ? และทำไมสมภารถึงต้องตกนรก ? เราจะมีวิธีการใดที่จะกันตัวเองออกมา ไม่ให้เป็นเปรตหรือว่าไม่ให้ตกนรก ก็ฝากเป็นการบ้านให้แก่เจ้าอาวาสใหม่ทั้งหลายนำไปคิดไปตรองดู

    สำหรับวันนี้กระผม/อาตมภาพได้เก็บเอาความรู้จากในงานอบรมเจ้าอาวาส มาฝากแก่พระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...