เรื่องเด่น สุดอันซีน! อุโมงค์ลึกลับใต้ “พระธาตุเจดีย์หลวง” ที่เคยมีข่าวว่าเป็นทางลอดไปออกถ้ำเชียงดาว

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 18 มกราคม 2022.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b88be0b8b5e0b899-e0b8ade0b8b8e0b982e0b8a1e0b887e0b884e0b98ce0b8a5e0b8b6e0b881e0b8a5e0b8b1e0b89a.jpg
    วัดเจดีย์หลวง เผยภาพหาชมยาก อุโมงค์เก่าแก่ลึกลับใต้องค์เจดีย์หลวง พระธาตุโบราณสูงที่สุดในเชียงใหม่ ซึ่งเคยมีข่าวลือว่าสามารถเดินทะลุไปไกลถึงถ้ำหลวงเชียงดาว

    วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่ เผยภาพหาชมยาก อุโมงค์เก่าแก่ลึกลับใต้องค์เจดีย์หลวง โดยทางวัดระบุว่า คนโบราณสร้างไว้ 8 จุด ปัจจุบันเหลืออยู่จุดเดียวที่เข้า-ออกได้ ซึ่งอุโมงค์แห่งนี้เคยมีข่าวลือว่าสามารถเดินทะลุไปไกลได้ถึงถ้ำหลวงเชียงดาว แต่ข้อมูลทางวิชาการระบุ เป็นอุโมงค์ทางเดินภายในเจดีย์ตามแบบแผนโบราณ

    88be0b8b5e0b899-e0b8ade0b8b8e0b982e0b8a1e0b887e0b884e0b98ce0b8a5e0b8b6e0b881e0b8a5e0b8b1e0b89a-1.jpg
    สำหรับอุโมงค์ใต้องค์พระธาตุเจดีย์หลวง ในช่วงปี 2561 เคยมีคนโพสต์ตั้งข้อสงสัย ถามในกระทู้พันทิปว่าอุโมงค์นี้ เป็นทางลอดถ้ำไปออกยังถ้ำหลวงเชียงดาว???

    เรื่องนี้ทำให้สื่อเจ้าของพื้นที่อย่างเชียงใหม่นิวส์ ได้ไปสืบเสาะหาคำตอบ โดยได้ยกบทความและภาพของ อาจารย์สุรพล ดำริห์กุล, Eunjai Prasert จากหนังสือ “แผ่นดินล้านนา” มาอธิบายถึงอุโมงค์ดังกล่าว ซึ่งเราได้คัดสรรบางส่วนของบทความมานำเสนอดังนี้

    …จากการขุดค้นทางโบราณคดี ได้พบว่า “พระเจดีย์หลวง มีอุโมงค์ทางเข้าที่ด้านหลังของบันไดทั้ง 4 ทิศ” และอุโมงค์ดังกล่าวนี้ เป็นช่องทางที่สามารถเดินทะลุเข้าไปภายในองค์เจดีย์ได้ โดยเป็นช่องกว้างขวาง ภายในก่อสลับซับซ้อน” แต่ในการขุดค้นภายในอุโมงค์ครั้งนี้ สามารถดำเนินการได้เพียงด้านทิศเหนือเท่านั้น เนื่องว่าสภาพอุโมงค์เดิมนั้น มีร่องรอยของการก่ออิฐปิดและค้ำยันไว้ โดยมีเจตนาเพื่อจะรับน้ำหนักในส่วนบนไว้มิให้พังทลายลงมา ซึ่งในการดำเนินการขุดค้นอุโมงค์จึงเป็นเรื่องอันตราย จึงสามารถทำได้เพียงด้านเดียว

    88be0b8b5e0b899-e0b8ade0b8b8e0b982e0b8a1e0b887e0b884e0b98ce0b8a5e0b8b6e0b881e0b8a5e0b8b1e0b89a-2.jpg
    จากการขุดค้นพบว่า “พระเจดีย์หลวงแต่เดิมนั้น มีอุโมงค์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นทางขึ้นอยู่ 4 ด้าน เพื่อที่จะใช้ให้เป็นทางเดินขึ้นไปสู่ลานประทักษิณบนระเบียงด้านบน ซึ่งก็สอดคล้องกับลักษณะของบันไดองค์พระเจดีย์ทั้งสี่ด้านที่จะก่ออิฐฉาบปูนเรียบ ไม่มีขั้นบันได มีเจตนาทำเป็นบันไดนาคประดับเท่านั้น ยกเว้นทางด้านทิศตะวันออกมีร่องรอย ได้รับการแก้ไขทำเป็นขั้นบันได ให้ขึ้นไปสู่ระเบียงชั้นบนได้ในภายหลัง”

    จากอุโมงค์ชั้นล่าง จะมีช่องบันไดขึ้นไปสู่อุโมงค์ชั้นที่สอง อุโมงค์ชั้นที่สองนี้จะมีความสูงใกล้เคียงกับชั้นแรก แต่มีความแคบเพียงหนึ่งเมตรเศษเท่านั้น ที่ส่วนปลายช่องอุโมงค์ชั้นบน เฉพาะด้านทิศเหนือที่ได้มีการขุดสำรวจ มีลักษณะเป็นบันไดทอดขึ้นไปสู่ข้างบนได้ แต่ในส่วนปลายถูกก่ออิฐปิดตัน ทำให้ไม่มีช่องทางออกไปสู่ระเบียงชั้นบนขององค์พระธาตุเจดีย์ได้

    88be0b8b5e0b899-e0b8ade0b8b8e0b982e0b8a1e0b887e0b884e0b98ce0b8a5e0b8b6e0b881e0b8a5e0b8b1e0b89a-3.jpg
    จากหลักฐานนี้ทำให้เชื่อว่า วัตถุประสงค์แรกของการก่อสร้างพระเจดีย์หลวง ในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราชนั้น คงมีการสร้างอุโมงค์เพื่อให้เป็นทางขึ้นสู่ระเบียงหรือลานประทักษิณด้านบน ตามแบบแผนการก่อนสร้างโบราณสถานขนาดใหญ่ใน”อาณาจักรพุกาม”

    แต่ความรู้ในทางเทคนิคการก่ออิฐวงโค้ง ที่ทำอุโมงค์ภายใต้ฐานเจดีย์ ยังเป็นของใหม่ของช่างชาวล้านนา อีกทั้งรูปทรงของพระเจดีย์มีความแตกต่างไปจากโบราณสถานของพุกาม จึงปรากฏว่าอุโมงค์ที่จะสร้างสำหรับเป็นทางขึันไปสู่ระเบียงนั้น จะมีตำแหน่งอยู่ภายใต้เรือนธาตุขององค์เจดีย์ที่จะก่อสูงขึ้นไป จึงทำให้น้ำหนักอันมหาศาลที่อยู่ด้านบน ในระหว่างการก่อสร้างกดทับลงมา จนทำให้อุโมงค์ดังกล่าวรับน้ำหนักไม่ไหว เกิดปัญหาการทรุดตัวและแตกร้าว การที่จะใช้อุโมงค์เป็นทางขึ้นคงทำไม่ได้ เนื่องจากอาจเป็นอันตราย จึงได้มีการก่ออิฐค้ำยันภายในอุโมงค์ไว้เป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการทรุดตัว ด้วยเหตุนี้ปลายอุโมงค์ทางขึ้นไปสู่ชั้นบน จึงถูกก่ออิฐปิดตัน รวมทั้งมีการก่ออิฐปิดปากอุโมงค์ที่เชิงบันได

    88be0b8b5e0b899-e0b8ade0b8b8e0b982e0b8a1e0b887e0b884e0b98ce0b8a5e0b8b6e0b881e0b8a5e0b8b1e0b89a-4.jpg
    เมื่อทางขึ้นคืออุโมงค์ใช้ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมีการก่ออิฐทำขั้นบันไดทางขึ้นทางบันไดนาคเฉพาะด้านทิศตะวันออกด้านเดียว ส่วนด้านอื่นๆยังคงอยู่ในสภาพเดิมคือก่ออิฐเรียบ ไม่มีขั้นและฉาบปูน ด้วยเหตุนี้เราจึงได้หลักฐานว่า “ที่บันไดนาคด้านตะวันออก อิฐที่ก่อเป็นขั้นบันไดจะก่อทับอยู่บนแนวอิฐที่ก่อเรียบแบบเดิมดั้งด้านอื่นๆ”

    ส่วนสาเหตุที่องค์พระเจดีย์หลวงพังทลายลงมา นอกจากจะเกิดแผ่นดินไหวในปี 2088/ ค.ศ.1512 ครั้งแผ่นดินพระนางเจ้ามหาเทวีจิรประภาแล้ว อีกสาเหตุหลักคือโครงสร้างภายในขององค์พระเจดีย์หลวงไม่แข็งแรง เนื่องจากมีโพรงหรืออุโมงค์ ซึงมีปัญหาการทรุดร้าวอยู่แล้วมาตั้งแต่แรกสร้าง อีกทั้งดูเหมือนว่าการพังทลายขององค์พระธาตุเจดีย์หลวง มิได้พังทลายมาแค่ครั้งเดียว แต่ได้พบว่ามีการพังทลายลงมาหลายครั้ง เนื่องจากโครงสร้างภายในไม่มั่นคง…

    88be0b8b5e0b899-e0b8ade0b8b8e0b982e0b8a1e0b887e0b884e0b98ce0b8a5e0b8b6e0b881e0b8a5e0b8b1e0b89a-5.jpg
    สำหรับ วัดเจดีย์หลวงวรวิหารตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ระหว่างปี พ.ศ.1928 – 1945 ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการบูรณะมาหลายยุคหลายสมัย

    วัดเจดีย์หลวง มี “พระธาตุเจดีย์หลวง” หรือ “เจดีย์หลวง” เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญของวัด ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพระธาตุโบราณที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร

    88be0b8b5e0b899-e0b8ade0b8b8e0b982e0b8a1e0b887e0b884e0b98ce0b8a5e0b8b6e0b881e0b8a5e0b8b1e0b89a-6.jpg
    เจดีย์หลวงแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 โดยในสมัยพญาติโลกราช โปรดให้ปรับรูปทรงเป็น แบบโลหะปราสาทของลังการูปลักษณ์ทรงเจดีย์แบบพุกาม ดัดแปลงซุ้ม ตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี 28 เชือก

    นอกจากนี้ที่ซุ้มพระธาตุเจดีย์หลวงด้านทิศตะวันออก ในอดีตยังเคยเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย เป็นเวลายาวนาน
    ถึง 80 กว่าปี ส่วนที่ซุ้มด้านทิศเหนือเป็นที่ประดิษฐาน “พระคง
    หลวง” อีกหนึ่งพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่เริ่มสร้างองค์พระธาตุเจดีย์หลวงมาจนถึงปัจจุบัน

    88be0b8b5e0b899-e0b8ade0b8b8e0b982e0b8a1e0b887e0b884e0b98ce0b8a5e0b8b6e0b881e0b8a5e0b8b1e0b89a-7.jpg
    วันนี้รูปร่างของเจดีย์หลวง ได้ถูกรื้อฟื้นรูปร่างในอดีตให้คนรุ่นหลังได้เห็นผ่านเทคโนโลยีปรากฏการณ์แสง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความคืบหน้าของการเชื่อมปัจจุบันกับอดีตที่น่าสนใจยิ่ง

    นอกจากองค์พระธาตุเจดีย์หลวงแล้ว วัดพระธาตุเจดีย์หลวงยังมีสิ่งน่าสนใจอื่น ๆ นำโดย พระวิหารหลวง ภายในประดิษฐาน “พระอัฎฐารส” (พระประธาน) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสง่างามที่สุดในล้านนา

    88be0b8b5e0b899-e0b8ade0b8b8e0b982e0b8a1e0b887e0b884e0b98ce0b8a5e0b8b6e0b881e0b8a5e0b8b1e0b89a-8.jpg
    นอกจากนี้ก็ยังมีโบสถ์โบราณ ที่เคยเป็นสถานปฏิบัติธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบันประดิษฐาน “พระเจ้าสมปรารถนา” อายุเก่าแก่กว่า 500 ปี, รูปเคารพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, พระมหากัจจายนะ, ศาลหลักเมือง หรือ เสาอินทขิล

    และที่มาแรงมากในขณะนี้ก็คือ “ท้าวเวสสุวรรณ” ที่อยู่ติดกับศาลหลักเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในท้าวเวสสุวรรณเลื่องชื่อของภาคเหนือที่มีคนเดินทางไปกราบสักการะขอพรกันเป็นจำนวนมาก

    88be0b8b5e0b899-e0b8ade0b8b8e0b982e0b8a1e0b887e0b884e0b98ce0b8a5e0b8b6e0b881e0b8a5e0b8b1e0b89a-9.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/travel/detail/9650000005669
     

แชร์หน้านี้

Loading...