*** สัจจะ กับ ภัยพิบัติและการเตรียมการ ****

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย หนุมาน ผู้นำสาร, 2 พฤษภาคม 2009.

  1. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ความสำคัญ ****

    แก่นสารชีวิต...อยู่ที่สัจจะ สิ่งที่ตัวเราทำได้จริง
    เท่านั้นเอง....เหมือนเส้นผมบังภูเขา
    คือ มองเห็นแตภูเขาไกลๆ แต่ไม่เห็นเส้นผมเส้นหนึ่งของตัวเองที่มันบังภูเขา อยู่ติดกับตัวเอง

    อยู่ใกล้ที่สุด กลับมองไม่เห็น

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2009
  2. Sittirat

    Sittirat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +821
    ก็พูดแต่ สัจจะๆๆๆๆๆๆ แล้วตอบคำถามผมรึยังครับท่าน "หนุมาน ผู้นำสาร"

    คือผมสนใจเรื่อง "สัจจะเป็นคำสอนของพุทธ ที่ถูกบดบังหลังปรินิพพานไปสองร้อยกว่าปี"

    ท่าน "หนุมาน ผู้นำสาร" พอจะมีข้อมูลทางด้านนี้บ้างมั้ยครับ
    ช่วยตอบให้ด้วยครับ ไม่ใช่อะไรๆก็ สัจจะๆๆๆๆๆๆ ผมรออ่านอยู่ครับ
     
  3. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    กำลังรอเหมือนกัน...ว่ามีใครบ้างที่รู้เรื่องจริง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  4. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** นิทาน ณ ใต้ต้นโพธิ์ ****

    เพราะ สัจจะ ที่กล่าวไว้
    เพราะ กายวาจาใจ ทำได้ตามสัจจะ
    ปัญญาเกิดเพราะนั่งพิจารณา
    ความรู้แจ้งปรากฏขึ้น จึงเข้าถึงสัจจะธรรม
    เพราะการกระทำสร้างตัวตนที่มีผลตอบแทน
    เป็นตัวกระทำที่ไม่ตาย ติดตัวไปตลอดนานแสนนาน

    ใบโพธิ์เต็มต้น แต่ก็มีวันร่วงหล่นจนหมดไปได้
    นิสัยสันดานเต็มจิตวิญญาณ ก็ต้องมีวันหมดไปได้
    ใบไม้ร่วงหล่นเต็มลาน ถ้าเราไม่เก็บกวาด แล้วใครที่ไหนในป่าจะมาเก็บกวาดให้เรา
    นิสัยสันดานตัวเรา ถ้าเราไม่ตัดไม่ลดเอง แล้วใครจะมาตัดมาลดละนิสัยให้เราได้
    ใบไม้ที่เกลื่อนเต็มลาน ค่อยๆหยิบออกทีละใบ ลานก็ย่อมโล่งสะอาดได้
    นิสัยสันดานที่มีอยู่ในตัวเรา ถ้าตั้งใจตัดลด ทุกๆวัน สักวันนิสัยสันดานก็ย่อมหมดไปได้

    ความตั้งใจจริงที่สุดของมนุษย์นั้น คืออะไร
    ความตั้งใจที่ทำให้เราพบสัจจะธรรม คือสัจจะ
    เพราะสัจจะทำ คือ ความตั้งใจจริงด้วยกายวาจาใจ
    ความสำเร็จบรรลุได้ ด้วยสัจจะนี่เอง

    ต่อไปนี้ เราจะต้องตัดลดนิสัยที่ยังหลงเหลือด้วย สัจจะ
    สัจจะนั้นไม่มีข้อตายตัว เราต้องพิจารณาคลี่คลายนิสัยของตนเอง
    แล้วนำสัจจะมากำหนดเป็นข้อปฏิบัติตัดลดนิสัยในแต่ละวัน
    ใบโพธิ์หนึ่งใบ เสมือนสัจจะทำหนึ่งข้อ
    สัจจะที่เราทำได้หนึ่งข้อ ก็สามารถนำไปโปรดสอนเป็นตัวอย่าง ให้ผู้คนได้นำไปปฏิบัติตาม
    นิสัยสันดานมนุษย์มีเป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่น หลากหลายไม่เหมือนกัน
    เสมือนใบไม้ในป่าที่นับไม่ถ้วน
    แต่ต้นไม้แต่ละต้น ย่อมรู้จักใบของตัวเองได้ดี
    ถ้ามนุษย์เรารู้จักพิจารณาการกระทำของตัวเอง ก็จะรู้จักนิสัยสันดานของตัวเองได้เช่นกัน
    แต่เพราะสัจจะหนึ่งข้อ ทำให้เราได้พิจารณาตัวเอง จึงพบนิสัยอื่นได้อีก
    ถ้าเรานำสัจจะไปตัดลดนิสัยที่พบอีก สักวันนิสัยสันดานของเรา ก็ย่อมหมดลงได้จริง

    ...ใบโพธิ์ เสมือนสัจจะที่ทำได้....

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  5. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** เรื่องราวที่ขาดหายไป ****

    พราหมณ์ เกิดมาก่อนพระพุทธเจ้า
    ศีล เป็นของพราหมณ์ มีมานานแล้ว
    สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบคือ หลักสัจจะธรรม
    พระพุทธเจ้าจึงค้นคว้าหาคำสอน
    ทรงพิจารณาว่า สัจจะ คือผู้นำให้หลุดพ้นจากกิเลสนิสัย หลุดพ้นทุกข์ได้จริง
    พระพุทธเจ้าจึงโปรดสอนด้วย สัจจะ ตั้งแต่นั้นมา
    ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน พระเริ่มมีจำนวนมาก
    มีพระองค์หนึ่งเป็นห่วงสถานการณ์ ถามพระพุทธเจ้าว่าจะนำศีล ๕ มาเป็นวินัยควบคุมพระจำนวนมากได้หรือไม่
    พระพุทธเจ้าไม่ได้ปฏิเสธ จึงเริ่มมีศีลเข้ามา แต่ศีลสมัยนั้นแปลว่า การทำได้เป็นปกติ
    สมัยนั้น ผู้ที่มีศีล๕ ทำได้เป็นปกติ ก็คือ ผู้บรรลุอรหันต์แล้ว
    เพราะ ความหมายของศีลแต่ละข้อมีความละเอียดอ่อน กว่าความหมายในสมัยนี้อย่างมาก
    สมัยพุทธกาล พระและชาวพุทธไม่ได้เป็นผู้บันทึกเรื่องราวทุกย่างก้าวของพระพุทธเจ้า
    ผู้บันทึกคือพราหมณ์ แต่บันทึกแล้วเก็บไว้เฉยๆ
    เรื่องราวในพระไตรปิฎกที่ส่งต่อถึงปัจจุบัน จึงไม่ได้บันทึกไว้ทันทีในสมัยพุทธกาล
    ศีล ของพราหมณ์จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในพุทธศาสนา
    เรื่องราวที่ส่งทอดต่อกันมานาน จึงถูกดัดแปลงไปมาก
    พระพุทธเจ้า มุ่งสอนให้หลุดพ้น จึงไม่มีพิธีกรรม ไม่ใช้วัตถุ เป็นเรื่องของจิตใจ จิตวิญญาณ
    จึงไม่มีพิธีกรรมต่างๆ ไม่มีอุปกรณ์พิศษใดๆ
    มีเพียงสัจจะที่มอบให้กับบุคคล
    เป็นหัวข้อสัจจะ สำหรับบุคคลเพื่อให้หลุดพ้นจากนิสัยและความเชื่อผิดๆ
    เช่น องค์คุลีมาลย์ รับสัจจะว่า ไม่ทำตัวเป็นพรานล่าชีวิตคน
    สิ่งสำคัญหนึ่งคือ พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้ซื้อขายพระ
    เพราะจะทำให้นำไปสู่ความเสื่อม เป็นการทำลายศาสนา เป็นได้ทั้งรู้ตัว และไม่รู้ตัว
    คือ มีเจตนาที่ดี แต่กลับส่งผลเสียต่อศาสนาในระยะยาว

    ขอให้พิจารณา
    หากสิ่งที่กล่าวเป็นจริง เราควรที่จะทำอะไรต่อไปให้กับชีวิต
    รับศีล ๑ ข้อ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
    แล้วเดินออกมาเหยียบมดโดยไม่ตั้งใจ
    มดก็มีจิตวิญญาณ มีความคิด
    วิญญาณมดจึงทวงถามว่า ท่านบอกจะไม่ฆ่าสัตว์ แล้วท่านมาเหยียบมดอย่างฉันทำไม

    พระพุทธเจ้า จึงสอนให้เดินสายกลาง
    ตั้งใจในสิ่งที่ทำได้จริง พอหยิบพอเอื้อมได้
    เช่น สัจจะไม่ฆ่ามนุษย์ตลอดชีวิต สัจจะไม่ทำลายบิดามารดาด้วยกายวาจาใจตลอดชีวิต
    แต่เมื่ออยู่ในเวลาของสัจจะ สติจะเกิดขึ้น เกิดสมาธิพิจารณา เกิดปัญญาขึ้นมาเอง
    และผลการกระทำที่ไม่สูญสลาย ติดตัวเราไปตลอด พระพุทธเจ้าเรียกว่า ตัวกระทำ

    หลักสัจจะธรรม ที่พระพุทธเจ้าค้นพบ
    คือ ตัวกระทำมีจริง ตัวกระทำไม่ตาย ตัวกระทำมีผลตอบแทน
    เป็นบารมี ติดตัวเราไป
    เมื่อกรรมปรากฏ จะมีตัวกระทำจากสัจจะ เบี่ยงเบนกรรมไปได้ จึงเกิดเป็นปฏิหาริย์ แคล้วคลาด
    พระพุทธเจ้า จึงสอนให้พึ่งตนเอง
    คือ พึ่งตัวกระทำ จากการกระทำที่ได้ทำไปแล้ว
    จึงเป็นที่มาของ หลักตนพึ่งตน คือตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  6. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** เรื่องศาสนาโลก ****

    ทีปังกร เกี่ยวหญ้ามาทำสะพานให้ สุบะพุทธะ
    มาโดยบารมี แล้วมาเป็น ทีปังกร ขึ้นศตวรรษใหม่
    พระพุทธเจ้าทีปังกรนี้ ไม่ได้อยู่ในอินเดีย อยู่แถวแอฟริกา
    เดิมศาสนาพุทธ มีไปทั่ว โดนอิสลามบุก นครเมกกะ ก็เป็นพุทธ
    พุทธไม่มีปัญหา เหมือนไม่มีอะไร
    แต่ อิสลามกับคริสต์ เป็นกระแสเดียวกัน บัญญัติ ๑๐ ประการ

    พระเจ้าของเขาไม่มี เป็นศาสนาจากความเห็น เห็นไปเรื่อย
    พวกนี้เขาใช้ความคิดทำ ความคิดนำการกระทำ
    แต่ ศาสนาพุทธ ใช้ “สัจจะ” นำ ทุกพระองค์

    ที่รองรับศาสนาพุทธ ก็เป็นพราหมณ์
    ทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าทำ ทุกย่างก้าว เขาเก็บไว้หมด
    แต่เก็บไว้เฉยๆ ไม่ทำลาย แต่คริสต์ทำลาย

    หลักพุทธ มี ๓ ประการ
    ๑. วัตถุ...มันเป็นสมบัติทางกาย พระพุทธเจ้าไม่ใช้
    ๒. ความเห็น....พระพุทธเจ้าไม่ใช้
    ๓. วิญญาณ...สูงสุดก็ สัจจะ พระพุทธเจ้าใช้กระทำกับวิญญาณ

    สัจจะ เป็นหลักแน่ มั่นคง ไม่กระดุกกระดิก
    พวกนับถือพิธีกรรมต่างๆ มีมากมาย เป็นลัทธิ
    พอใหญ่เข้า สูงสุดเข้า ก็เป็นลัทธิ จนกระทั่งเป็นประเพณี ที่ไม่มีใครกล้าไปคัดค้าน
    มีการฆ่าวัว ฆ่าแพะ เป็นอิสลาม คิดว่าได้บุญ ให้หมดกรรมไวๆ
    เลยเกิดเป็นธุรกิจพาณิชย์ ค้าขายเงินทอง
    เอาแพะ เอาแกะ เอาวัว เอาชีวิต พวกนี้เป็นลัทธิ ลัทธิจัดอยู่เป็นวัตถุ

    ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่รู้ว่าปัญญาแบบไหน สมาธิแบบไหน
    มันละเอียดตรงที่ “หลักพุทธต้องพิจารณา”
    ใครจะช่วยเราได้ สุดท้ายต้องมาจบที่ตัวเอง
    เราไม่ช่วยตัวเอง แล้วใครจะมาช่วย

    กรรม อยู่ที่เราได้ทำแล้ว
    คือ ตัวกระทำไม่ตาย
    ดีกระทำ ชั่วกระทำ มันไม่ตาย
    จะต้องยืนอยู่คู่ชีวิตไป ชั่วกัปชั่วกัลป์

    ก่อน ที่กรรมจะมาถึง
    เป็นโอกาส ที่กรรมยังมาไม่ถึง
    เราจะหนีกรรมได้ ด้วย “การสร้างบารมีหนี สร้างบารมีชดใช้”
    เขาจะเข้าไม่ถึงเรา เพราะเรามีบารมีใช้

    พอถึงชั่วโมงที่เราทำ
    กรรมก็มาแล้ว เคยฆ่าเขา เอาชีวิตเขา มันมาแล้ว
    ถ้าเราไม่มีบารมี มันก็จะเข้ามาถึงตัวเราเสียก่อน

    สิ่งที่เราหนีไม่พ้น คือ “ประเพณี”
    เป็นกิจวัตรประเพณี เพราะอะไร
    เพื่อผลประโยชน์ เพื่อการค้า ก็เหมือนกับว่า “มันตกหล่มจมปรัก ถอนตัวไม่ขึ้น”

    เราจะต้อง แยกตัวเองออกมา
    ไม่ใช่เราไม่รู้ เราทำเราก็รู้
    ต้องเข้าใจว่า ทำอย่างนี้เป็นบุญ
    บางครั้งเราเข้าใจผิดไป เข้าใจว่าเป็นบุญ แต่กลับได้บาป !!!

    - “ หนุมาน ผู้นำสาร ”
     
  7. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ผู้ทำได้คงต้องมา ****

    สมัยก่อน...ผู้ที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้า ต้องใช้ความพยายามค้นหาธรรม ค้นหาสัจจะธรรม ค้นหาคำสอนเอง
    โลกุตตระธรรม....ปรากฏเป็นอะไรก็ได้ เป็นคนแก่ ซากศพ เป็นเสียงนกร้อง หรือจะเป็นอะไรก็ได้
    เพื่อนำพาให้ผู้นั้นบรรลุ...สัจจะธรรม แก่นสารความจริง
    แต่ทุกวันนี้....สัจจะธรรม สัจจะคำสอนพระพุทธเจ้าได้หมดไป
    พระธรรม ... จึงต้องมาปรากฏ เพื่อตามหาผู้ทำได้ ให้มาทำต่อ
    จึงส่งมอบหลักสัจจะธรรม... ปักเป็นหลักโลกุตตระ ทิ้งไว้ให้
    สัจจะ คำสอนพระพุทธเจ้า...หมดไปหลังพระพุทธเจ้านิพพานไปกี่ร้อยปี
    เป็นเพราะ รักความสุขสบายของเหล่าผู้นำ...ทำให้ไม่พยายาม ลด ตัดกิเลสนิสัยของตนเอง
    จากที่พระพุทธเจ้า....เคยเสด็จหนีจากวังไปอยู่ป่า
    เพื่อให้หลุดพ้น...จากความคิดอารมณ์ที่ติดหลงในวัตถุที่ให้ความสบายทางกาย
    โบสถ์...สมัยพระพุทธเจ้าก็ไม่มี พระพุทธเจ้าอาศัยป่า อาศัยถ้ำ
    เพราะมุ่งหลุดพ้น จึงต้องตัดทุกอย่าง หันมาพึ่งตนเอง
    แต่พอหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน....พราหมณ์ได้นำโบสถ์จากพราหมณ์ มาสร้างในศาสนาพุทธ
    พระสงฆ์ หลังจากนั้น...จึงเริ่มอยู่สบายในโบสถ์ในวัด ไม่หวนกลับไปป่าแบบที่พระพุทธเจ้าทำ
    สุดท้าย...สัจจะปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนมาก็หมดไปในที่สุด
    แล้ว....ศีลของพราหมณ์จึงเข้ามาแทน เหมือนสมัยปู่ย่าตายายของพระโคดม

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  8. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** เยี่ยงอย่าง คือพระโคดม ***

    เมื่อปรารถนา หลุดพ้นทุกข์ จึงต้องพึ่งตนเอง
    มีผ้าพันกาย ฉันข้าวที่เขาให้ในอ่าง อยู่ข้างถนน
    ประชาชนผ่านไปมา ก็พูดวิจารณ์ต่างๆนาๆ กินข้าวในอ่างเหมือนสุนัข
    คำพูดเหล่านั้น มันเสียดแทงใจเหลือเกิน เราก็ต้องข้ามความรู้สึกนั้นให้ได้
    เราจะต้องหยุดความรู้สึกไม่พอใจ ความโกรธโมโหให้ได้
    ถ้าหยุดได้ เราก็ข้ามได้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  9. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ข้ามกามอารมณ์ ****

    พระโคดม ท่านเป็นมนุษย์ ก็มีกามอารมณ์เช่นกัน
    ท่านจึงต้องพึ่งบางสิ่ง เพื่อใช้หยุดยั้งกามอารมณ์และการกระทำจากกามอารมณ์
    สิ่งนั้น คือ สัจจะ
    ท่านอยู่ในป่าคนเดียว ก็เกิดความคิดระลึกถึงเรื่องราวเก่า เกิดเป็นกามอารมณ์ขึ้นมา
    ท่านก็ใช้ปัญญา กำหนดสัจจะว่าจะผลักเอาก้อนหินไปทิ้งเหว
    ความคิดก็มุ่งมั่นที่จะผลักก้อนหินไปข้างหน้า ไม่ได้กลับไปคิดเรื่องหญิงงาม
    เมื่อออกกำลังมาก เหงื่อก็ไหลเปียกชุ่ม
    สุดท้าย กามอารมณ์ก็สลายหายไป
    เกิดเป็นปัญญา ที่จะทำตนเองให้หลุดพ้นจากกามคุณได้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  10. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    ***สมณะ สมัยพุทธกาล ****

    พระพุทธเจ้า ปฏิบัติตนด้วย สัจจะปฏิบัติ...เพื่อมุ่งตัดกิเลสนิสันตนเอง อย่างจริงจัง
    ผู้ที่บวชเป็น สมณะ สมัยพุทธกาล.... เพราะ มุ่งหลุดพ้นกันจริง
    สมณะสมัยพุทธกาล จึงปฏิบัติตนด้วยสัจจะ เป็นประจำ...เพื่อให้กิเลสนิสัยหมดสิ้น

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  11. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ลองย้อนไปดูคำสอนสมัยพุทธกาล ****

    หาก ท่านมีความสามารถระลึกย้อนดูอดีตได้...
    ขอให้ท่าน ลองย้อนกลับไปดู...สิ่งที่พระพุทธเจ้าสั่งสอน
    ไปดูว่า... "สัจจะ" ที่ข้าพเจ้านำมาเป็นเรื่องจริงหรือไม่
    ท่านพิสูจน์ได้ !!!

    หาก ท่านไม่มีความสามารถใดๆ
    ก็ให้ลองนำสัจจะ ไปปฏิบัติในชีวิต วันละชั่วโมง ทุกวัน
    ท่านก็จะพบว่า เรื่องสัจจะทำของพระพุทธเจ้านั้นเป็นเรื่องจริง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  12. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** พุทธศาสนา ****

    เป็นเรื่องของ... การกระทำต่อวิญญาณ เพื่อหลุดพ้นทุกข์
    ถ้า ศาสนาอยู่ในจิตใจ....ก็ไม่มีใครทำลายศาสนาได้

    ข้อเสียอย่างหนึ่งของคนไทยด้วยกัน
    คือ การไม่ยอมรับความจริงเพื่อแก้ไขปรับปรุง แต่กลัวการเสียหน้ามากกว่า


    *** ขอเตือนหลังกึ่งพุทธกาล ****

    เราชาวพุทธ ผู้ปรารถนาพ้นทุกข์ เรากำลังเดินหลงทางไปมาก
    เพราะ พระพุทธเจ้าสอนในหนทางพ้นทุกข์ พยายามตัดพันธะตัดสิ่งสะสม ทั้งวัตถุและกิเลสนิสัย
    แต่เราชาวพุทธทุกวันนี้ ยังคงสะสมวัตถุ นำพิธีกรรมนอกศาสนาเข้ามาในชีวิต เหมือนเดินสวนทางพระพุทธเจ้า
    เราชาวพุทธ จึงควรที่จะเดินตามเยี่ยงอย่างพระพุทธเจ้า คือ พยายามตัดลดกิเลสนิสัยให้ได้จริงวันละข้อ ทุกวัน

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  13. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** คำเตือน ****

    เราไม่ควรกีดกัน สัจจะ
    เพราะ...สัจจะ คือคำสอนเพื่อหลุดพ้นทุกข์ ของพระพุทธเจ้า
    การกีดกั้น สัจจะ .... จะส่งผลให้เราเป็นผู้กีดกั้นศาสนา
    จะเกิดเป็น "ตัวกระทำไม่ดี"... ติดตัวดวงวิญญาณเราไปนานแสนนาน
    และ มีผลตอบแทนที่ไม่ดีแน่นอน !!!!
    ทุกอย่างเป็นไปตาม หลักสัจจะธรรม...ตัวกระทำ มีผลตอบแทน
    หลักสัจจะธรรมปรากฏแล้ว....เราควรที่จะช่วยกันค้นคว้า ศึกษาหาความจริงที่ถูกบดบังมานาน

    ด้วยความปรารถนาดี
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
    วันจันทร์ที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑
     
  14. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    สัจจะธรรมในพุทธศาสนา

    บารมีี แปลว่า กำลังใจเต็ม บารมี 10 ทัศ มีดังนี้
    1. ทานบารมีี จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ
    2. ศีลบารมี จิตของเราพร้อมในการทรงศีล
    3. เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช แต่ไม่ใช่ว่าต้องโกนหัวไม่จำเป็น
    4. ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป
    5. วิริยบารมี วิิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
    6. ขันติบารมี ขันติ มีทั้งอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
    7. สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลา ว่าเราจะจริงทุกอย่าง ในด้านของการทำความดี
    8. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
    9. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
    10. อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ เมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว ใช้คำว่า "ช่างมัน" ไว้ในใจ
    บารมี ที่องค์สมเด็จทรงให้เราสร้างให้เต็ม ก็คือ สร้างกำลังใจปลูกฝังกำลังใจให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์
    บารมีในขั้นต้นกระทำด้วยจิตอย่างอ่อนเป็นขั้นพระบารมี เมื่อจิตดำรงบารมีขั้นกลางได้ เรียกว่า พระอุปบารมี และเมื่อจิตดำรงบารมีขึ้นไปถึงที่สุดเลย เรียกว่า พระปรมัตถบารมี หรือบารมี 30 ทัศ หรือมีศัพท์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระสมติงสบารมี หมายถึง พระบารมีสามสิบถ้วน ซึ่งเป็นธรรมพิเศษหมวดหนึ่ง มีชื่อว่า พุทธกรณธรรม เป็นธรรมพิเศษที่กระทำให้ได้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้่า พระโพธิสัตว์ที่ต้องการจะเป็นพระพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญธรรมหมวดนี้ หรือมีชื่อหนึ่งเรียกว่า โพธิปริปาจนธรรม คือธรรมสำหรับพระพุทธภูมิ หรือชาวพุทธเราทั่วไปเรียกว่า พระบารมี หมายถึง ธรรมที่นำไปให้ถึงฝั่งโน้น คือ พระนิพพาน

    • ทาน การให้ เป็นการตัดความโลภ
    • ศีล เรามีก็ตัดความโกรธ
    • เนกขัมมะ เป็นการตัดอารมณ์ของกามคุณ
    • ปัญญา ตัดความโง่
    • วิริยะ ตัดความขี้เกียจ
    • ขันติ ตัดความไม่รู้จักอดทน
    • สัจจะ ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก
    • อธิษฐาน ทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์
    • เมตตา สร้างความเยือกเย็นของใจ
    • อุเบกขา วางเฉยเข้าไว้ในเรื่องของกายเรา
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    การเทียบบารมี

    บารมีจัดเป็น 3 ชั้น คือ
    1. บารมีต้น
    2. อุปบารมี
    3. ปรมัตถบารมี
    • บารมีต้นในขั้นเต็ม ท่านผู้นี้จะเก่งเฉพาะทาน กับ ศีล แต่การรักษาศีลของบารมีขั้นต้นจะไม่ถึงศีล 8 และจะยังไม่พร้อมในการเจริญพระกรรมฐาน กำลังใจไม่พอ อาจจะไม่ว่างพอหรือเวลาไม่มี
    • อุปบารมี เป็นบารมีขั้นกลาง พร้อมที่ทรงฌานโลกีย์ ท่านพวกนี้จะพอใจการเจริญพระกรรมฐาน และทรงฌาน แต่ยังไม่ถึงขั้นวิปัสสนา ยังไม่พร้อมที่จะไปและไม่พร้อมที่จะยินดีเรื่องพระนิพพาน พร้อมอยู่แค่ฌานสมาบัติ
    • ปรมัตถบารมี ในอันดับแรกอาจจะยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องนิพพาน พอสัมผัสวิปัสสนาญาณขั้นเล็กน้อย อาศัยบารมีเก่า ก็มีความต้องการพระนิพพาน จะไปได้หรือไม่ได้ในชาตินี้นั้นไม่สำคัญ เพราะการหวังนิพพานจริง ๆ ต้องหวังกันหลายชาติจนกว่าบารมีที่เป็นปรมัตถบารมีจะสมบูรณ์แบบ
    [​IMG]

    อริยสัจ

    อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
    1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
    2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
    3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
    4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ
    1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ
    2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ
    3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ
    4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ
    5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ
    6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ
    7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ
    8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
    มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้
    1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
    2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ และ
    3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

    อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

    กิจในอริยสัจ 4

    กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
    1. ปริญญา - ทุกข์ ควรกำหนดรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
    2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
    3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
    4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
    กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
    กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
    1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
      1. นี่คือทุกข์
      2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
      3. นี่คือความดับทุกข์
      4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
    2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
      1. ทุกข์ควรรู้
      2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
      3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
      4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
    3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
      1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
      2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
      3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
      4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว
     
  15. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** บารมี ***

    บารมี คือ ผลตนทำได้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  16. namo_to

    namo_to Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +33
    บารมี 10 ,อริยสัจ 4 เป็นธรรมไม่ใช่สัจจะ

    บทเรียนศาสนา มี ศีล จิต ปัญญา
    แต่การเรียนจะสำเร็จได้ต้องมี สัจจะ

    สัจจะคือความจริง ที่ประกอบด้วย ความเชื่อ สัทธา มั่นคง จริงจัง ทุมเท เพียรพยายาม
    สัจจะที่แท้ไม่สามารถเขียนด้วยอักษร ให้เข้าใจได้ จะรู้ด้วยการทุมเทปฏิบัติเท่านั้น

    คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ก็อาศัยคิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2009
  17. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    ธรรม...คือ ทำ
    ทำได้จริง....เป็น สัจจะธรรม
    เป็นตัวกระทำที่ติดตัวเราไปตลอด

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  18. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจจ์ ๔ ประการนี้... คือ
    ทุกขอริยสัจจ์ ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ อริยสัจจ์ ๔ ประการนี้แล เป็นของจริง เป็นของแท้ ไม่ผันแปร ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อริยสัจจ์....เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริง...”
    ตถสูตร มหา. สํ. (๑๗๐๗ )
    ตบ. ๑๙ : ๕๔๕ ตท. ๑๙ : ๔๙๐
    ตอ. K.S. ๕ : ๓๖๘
     
  19. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    ทุกข์...คืออะไร
    อะไรกันแน่....ที่ทำให้เกิดทุกข์
    แก่นสารของทุกข์...คืออะไร
    เหตุใด....มันจึงมีผลติดตามข้ามชาติได้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  20. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,698
    ค่าพลัง:
    +51,933
    เด็กเกิดมา....ก็ต้องพบทุกข์ แต่เริ่มต้นชีวิตแล้ว
    ทุกข์...มันมากับอะไร
    พระพุทธเจ้า....ทำอย่างไรจึงพ้นทุกข์ได้จริง
    อะไรเป็นผู้นำ...ให้พระพุทธเจ้าพ้นทุกข์

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...