เรื่องเด่น วิจิตร “วัดสุทัศน์” โฉมใหม่ “พระศรีศากยมุนี” งามสง่า อันซีนแผ่นศิลาล้ำค่ายุคทวารวดี

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 21 พฤศจิกายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    b8a3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab.jpg
    หลังจากงดให้ประชาชนเข้าชมและประกอบกรรมทางศาสนาต่างๆ มานานเนื่องจากสภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 วันนี้ “วัดสุทัศนเทพวราราม” ก็ได้เปิดให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าเยี่ยมชมภายในวัดอีกครั้ง และยิ่งงดงามไปกว่าเดิมเพราะในช่วงที่ผ่านมาทางวัดได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ภายในวัด แม้ในขณะนี้จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์เต็มที่ แต่ก็พร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยวและชาวพุทธผู้ศรัทธาอีกครั้ง

    วัดสุทัศนเทพวรารามถือเป็นวัดสำคัญของพระนคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ มีพระราชประสงค์สร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิงให้เป็นศรีสง่าแก่พระนคร เมื่อแรกพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” แต่สร้างยังมิทันสำเร็จได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน

    จวบจนต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสุทัศนเทพวราราม” ซึ่งหมายถึง สุทัสสนนครบนเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อันเป็นที่ประทับของพระอินทร์

    a3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-1.jpg

    a3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-2.jpg
    เมื่อเข้ามาภายในวัด บริเวณวิหารคดโดยรอบยังคงอยู่ระหว่างการบูรณะ แต่เมื่อได้เข้าไปในพระวิหารหลวงจะได้พบกับ “พระศรีศากยมุนี”พระประธานสำริดขนาดใหญ่ในพระวิหารหลวง องค์พระและภายในวิหารดูสุกสว่าง เนื่องจากเพิ่งได้รับการบูรณะเสร็จสิ้น โดยทางวัดได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร บูรณปฏิสังขรณ์ปิดทองพระพุทธศรีศากยมุนี ฐานพุทธบัลลังก์และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมโดยรอบ รวมทั้งยังบูรณะปิดทองลายฉลุฝ้าเพดานและติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่างภายในพระวิหารหลวงอีกด้วย

    สำหรับองค์พระศรีศากยมุนี เป็นพระพุทธรูปหล่อทองสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัย สร้างในสมัยพระยาลิไท เคยประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุกรุงสุโขทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในใจกลางกรุงรัตนโกสินทร์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามแห่งนี้

    a3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-3.jpg

    a3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-4.jpg
    หลังจากกราบองค์พระศรีศากยมุนีแล้ว ขอให้เดินอ้อมมาด้านหลังองค์พระ เพื่อมาชม “แผ่นศิลาจำหลักสมัยทวารวดี” ที่งดงามล้ำค่า บนแผ่นหินนั้นมีภาพสลักพระพุทธเจ้าขณะทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์อยู่ในตอนล่าง ส่วนตอนบนเป็นภาพขณะทรงแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    นอกจากจะกราบพระและเดินชมภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้ว ภายในวิหารหลวงก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจที่ไม่ควรพลาดชม อาทิ พระพุทธรูปปางต่างๆ ภายในพระวิหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พระสุนทรีวาณี” เทพธิดาตามคติในศาสนาพุทธ มีหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาพระธรรมและพระไตรปิฎก พระสุนทรีวาณีมีต้นกำเนิดจากวัดสุทัศน์ โดยเกิดจากภาพนิมิตของสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒนมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ รูปที่3 และเป็นที่เคารพศรัทธาของรัชกาลที่ ๕ เป็นอย่างยิ่ง ผู้คนมักมากราบขอพร

    a3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-5.jpg

    a3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-6.jpg

    a3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-7.jpg
    เมื่อออกจากด้านหลังพระวิหารหลวงมา ก็จะเข้าสู่เขตของพระอุโบสถที่ได้ชื่อว่าเป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุด คือมีความยาวถึง 72.25 เมตร และกว้าง 22.60 เมตร ภายในเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” พระพุทธรูปปางมารวิชัยซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถที่หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีสูงเด่น เบื้องหน้ามีพระอสีติมหาสาวก 80 องค์ นั่งพนมมือเหมือนกำลังฟังพระบรมโอวาทจากพระพุทธองค์ ส่วนผนังรอบๆพระอุโบสถเต็มไปด้วยจิตรกรรมฝาผนังซึ่งมีทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธเจ้า วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องสุทัศนนคร

    a3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-8.jpg

    a3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-9.jpg
    บริเวณโดยรอบพระวิหารและพระอุโบสถนั้นมีเครื่องศิลาจีนอันเป็นลักษณะของศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ อยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเก๋งจีน ถะ (เจดีย์แบบจีน) หรือแม้แต่ตุ๊กตาจีนที่เคยใช้เป็นอับเฉาเรือในสมัยนั้นก็มีให้เห็นหลายแบบทั้งรูปบุคคล ไทย จีน ฝรั่ง เทพเทวดา ทวารบาล สัตว์ตามธรรมชาติ สัตว์ในหิมพานต์และสัตว์ในเทพนิยายจีน ฯลฯ

    3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-10.jpg

    3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-11.jpg
    นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่งของวัดสุทัศน์ฯ ที่ไม่อยากให้พลาดชม โดยเป็นพระพุทธรูปที่มีความเป็นมาแปลกไม่เหมือนใคร โดยเราเดินออกจากเขตพุทธาวาสเข้าสู่เขตสังฆาวาสมาที่ศาลาการเปรียญ อันเป็นที่ประดิษฐาน“พระพุทธเสฎฐมุนี” ที่นี่มีพระพุทธรูปสำคัญที่มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นในเมืองไทย เพราะเป็นพระพุทธรูปที่หล่อมาจากกลักฝิ่นทองเหลือง

    เหตุที่หล่อพระพุทธรูปมาจากกลักฝิ่นนั้นก็เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 3 พระองค์ไม่โปรดให้ประชาชนสูบฝิ่น ในปี 2382 ตอนนั้นมีการปราบการค้าฝิ่นครั้งใหญ่ ได้ทั้งฝิ่นดิบฝิ่นสุกเกือบๆ 2 แสนกิโลกรัม มีการนำฝิ่นเหล่านี้มาเผาทิ้งที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ส่วนกลักฝิ่นและกล้องสูบฝิ่นที่เป็นทองเหลืองเหล่านั้นได้นำมาหล่อเป็นพระพุทธรูปนามว่า “พระพุทธเสฎฐมุนี” นี้นั่นเอง

    3-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8aae0b8b8e0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98c-e0b982e0b889e0b8a1e0b983e0b8ab-12.jpg

    #################

    สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline

    ขอขอบคุณที่มา

    https://mgronline.com/travel/detail/9640000114213
     
  2. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,101
    FB_IMG_1498308741822.jpg
     
  3. pernod

    pernod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +1,356
    สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...