พระกรรมฐานพุทโธ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระเกจิสายป่า พระบ้านเก่าๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย wasan112, 7 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,409
    ค่าพลัง:
    +162
    ปิดแล้ว

    มีดหมอวัดโขงขาว พระสมเด็จองค์ปฐมวัดโขงขาว พระพิมพ์หลวงพ่อปาน

    มีดหมอวัดโขงขาว จังหวัดเชียงใหม่ ปลุกเสกโดย ล.พ.ฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน) วัดท่าซุง เสกถึง 3 ปี คือปี 2532 2533และ 2534 และใน ปี 2533 หลวงพ่อฤาษีลิงดำ กับ ครูบาชัยวงศาพัฒนา ได้ อธิฐานจิต พุทธาภิเษกร่วมกัน ครั้งที่ 1 ปี 2532 ปลุกเสกปีเดียวกับ เหรียญทำน้ำมนต์ ของวัดท่าซุง (รักษาโรค) ครั้งที่ 2 ปี 2533 ปลุกเสกปีเดียวกับพระคำข้าว และ พระหางหมาก (โชคลาภ) ครั้งที่ 3 ปี 2534 ปลุกเสกปีเดียวกับพระคำข้าวรุ่นปืนแตก ชานหมาก ชาตรี ป้องกันอาวุธวิทยาศาสตร์ทุกชนิดเช่น นิวเคลียร์,เคมี,แก็สพิษ,ชีวะภาพและโรคระบาดทุกชนิดป้องกันก็ได้ ขับไล่ภูตผีปีศาจ ปกติหลวงพ่อฤาษีลิงดำ จะนำกฐินไปทอดที่วัดโขงขาว เป็นประจำ เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการคือ 1. หลวงพ่อบุญรัตน์ เจ้าอาวาสวัดโขงขาว เคยเกิดเป็นลูกของท่านมาหลายชาติ (ท่านกล่าวเรื่องนี้เสมอๆ) 2. ท่านมีความผูกพันธ์ กับสถานที่นี้ในอดีต (มีอัฐธาตุในอดีตชาติฝังอยู่สมัยท่านเป็นพระเจ้ารามราช พระสวามีพระแม่จามเทวี) หลวงพ่อบุญรัตน์เอง ท่านก็เป็นพระอริยะเจ้าขั้นสูง มีดความยาว ประมาณ 6.5 เซนติเมตร พุทธคุณเหมือน มีดหมอวัดท่าซุง และ มีดหมอวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม มีดหมอวัดโขงขาวมีรุ่นเดียว ทันหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และครูบาชัยวงศาพัฒนาครับ ดูง่ายครับ รับประกันแท้และความพอใจตามกฎเว็บ


    เปิดให้บูชา 4999 บาท ได้ครบสูตรหายากมากๆครับ

    DSCF8457.JPG DSCF8456.JPG DSCF7285.JPG DSCF7286.JPG DSCF7602.JPG DSCF7603.JPG DSCF7605.JPG

    ชื่อบัญชี นาย วสันต์ ปิงสอน
    เลขทีบัญชี 5130066332 ธนาคาร กรุงไทย สาขาลอง โทร.0819517866
    รับประกันแท้ทุกองค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2016
  2. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,409
    ค่าพลัง:
    +162
    เหรียญพระอาจารย์จวนรุ่นทูลเกล้าถวายฯ

    เป็นเหรียญประสบการณ์สร้างปี22
    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ มีชาติกำเนิดในสกุล “นรมาส” เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ณ บ้านเหล่ามันแกว บ้านเลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี
    บิดาท่านชื่อ ลา มารดาชื่อ แหวะ สกุลเดิม วงศ์จันทร์ บรรพบุรุษของท่านอพยพมาจากเวียงจันทน์ เป็นอุปฮาดของเมืองเวียงจันทน์ เมื่อมีภัยสงครามเกิดขึ้น เวียงจันทน์แตก อุปฮาดผู้เป็นต้นตระกูลก็พาครอบครัวอพยพมา ครั้งแรกตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหนองวัวลำภู ต่อมาย้ายถิ่นฐานบ้านช่อง กระทั่งท้ายที่สุดมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
    บิดามีอาชีพทำนา และมีความรู้ทางด้านสมุนไพรมาก เพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงได้อาศัยเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย คือเป็นหมอประจำหมู่บ้าน เป็นที่รักใคร่นับถือ และได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งบิดาของท่านก็ดำรงตำแหน่งนี้มาตลอดจนถึงแก่กรรม ขณะนั้นท่านอายุได้ 16 ปี
    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คนด้วยกัน มีชื่อตามลำดับดังนี้
    ๑. นายเหีย นรมาส ถึงแก่กรรม
    ๒. นายแดง นรมาส
    ๓. นายโลน นรมาส ถึงแก่กรรม
    ๔. นางน้อยแสง หมายสิน
    ๕. นายอ่อนจันทร์ นรมาส.
    ๖. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    ๗. นายนวล นรมาส
    ตามชนบทในสมัยนั้นโรงเรียนมีน้อยมาก ตั้งอยู่ห่างไกลกัน ในตำบลหนึ่ง ๆ มิได้มีโรงเรียนครบทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านใดไม่มีโรงเรียน เด็กก็ต้องมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนในหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งต้องเดินนับเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร ผู้ปกครองจะยอมให้บุตรหลานไปเรียนหนังสือจึงต้องให้โตพอประมาณ คือ อายุ ๙-๑๐ ปี
    ท่านอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน เริ่มเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุครบ ๙ ขวบเต็ม ต้องเดินไปโรงเรียนที่อีกหมู่บ้าน คือที่บ้านดงมะยาง จนขึ้นชั้นประถมปีที่ ๓ โรงเรียนจึงย้ายมาอยู่ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ติดกับบ้านเหล่ามันแกว อันเป็นบ้านเกิด ท่านได้เรียนรู้ที่โรงเรียนนี้ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของตำบลชนบทละแวกนั้น ระหว่างเรียน เป็นผู้เรียนดี ฉลาดและขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่ง สอบไล่ได้ที่ ๑ โดยตลอด ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ จนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับคำชมเชยยกย่องจากครูบาอาจารย์ ทั้งในด้านการเรียน และในด้านความประพฤติ จนครูเชื่อถือรักใคร่ ให้ช่วยสอนเพื่อนนักเรียนแทนครูตลอด เป็นประจำทุกชั้นเรียน
    หลังจากจบการศึกษาแล้ว อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดิน อยู่เป็นเวลา ๔ ปี จึงได้ลาออกเพื่อเตรียมอุปสมบท
    กล่าวได้ว่า ท่านเป็นผู้มีนิสัยฝักใฝ่ในทางธรรมะมาแต่เด็ก นอกจากการวิ่งเล่นซุกซน สนุกสนานตามวิสัยเด็กน้อยแล้ว สำหรับนิสัยทางสร้างบาปสร้างกรรมไม่มีเลย ท่านเล่าเสมอว่า ท่านไม่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ส่วนการหยิบฉวยลักขโมยนั้น แม้แต่เข็มสักเล่มเดียว ก็ไม่เคยหยิบฉวยของใครเลย
    เมื่อท่านอายุได้ ๑๔-๑๕ ปี ได้พบพระธุดงค์ มาปักกลดอยู่ใกล้บ้านก็บังเกิดความเลื่อมใสตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่างท่านบ้าง พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ “ไตรสรณาคมน์” ของ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม แห่งวัดป่าสาลวัน นครราชสีมา มาให้ หนังสือนี้นอกจากสอนให้พุทธศาสนิกชน รู้จักการเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริงแล้ว ได้สอนวิธีปฏิบัติภาวนาด้วย
    ท่านบังเกิดความคิดเลื่อมใสศรัทธา จึงจะลองปฏิบัติตามหนังสือนั้น เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรต่อ แล้วนั่งสมาธิหัดบริกรรม “พุทโธ ...พุทโธ...พุทโธ” จนกระทั่งปรากฏว่าจิตรวม จิตกับกายแยกกัน ไม่เหมือนกัน จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฏเลย
    ท่านเล่าว่า เวลานั้นก็ไม่รู้จักอะไรลึกซึ้ง ด้วยหัดเอง ทำเอง ทำตามลำพังคนเดียว ไม่มีผู้รู้มาสอนให้ก้าวหน้าขึ้น ได้แต่รู้สึกว่า นั่งสมาธิแล้วก็สบายดี กายเบา จิตขาวนิ่มนวลผ่องใส เหมือนนั่งนอนอยู่อากาศอันนิ่มนวล ทำให้จิตใจดูดดื่มมาก นึกอยากจะภาวนาเสมอ ๆ ถ้าวันไหนใจไม่สบาย ก็ต้องเข้าที่นั่งภาวนา สงบใจเสมอ
    ภายหลังระหว่างทำงานได้รับหนังสือ “จตุราลักษณ์” ของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล มาอ่านเพิ่มเติมสติปัญญาอีก เมื่อท่านอ่านไปถึง มรณานุสติ จิตก็สลดสังเวชว่า เราก็ต้องมีตายอยู่นั่นเอง และในหนังสือนั้น ท่านพระอาจารย์เสาร์ฯ ก็ได้ย้ำถึงเรื่องกรรมว่า
    คนเราต่างมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เมื่อยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นจักเป็นทายาทให้เราได้รับผลกรรมนั้นต่อ ๆ ไป คือ หมายความว่า กรรมต่างจำแนกสัตว์ให้เป็นไปต่างๆ นานา ให้เลว ให้ดี ให้ชั่ว ให้ประเสริฐ
    เมื่ออ่านกันถึงตอนนี้ ท่านก็บังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่ง นึกว่า คนเราที่เกิดมา ถ้าไม่ประกอบคุณงามความดี ก็ไม่มีประโยชน์แก่ชีวิตของตน และไม่มีโอกาส ที่จะได้รับความสุขต่อไปในชาติหน้าอีก ศรัทธาในพระศาสนาก็เพิ่มพูนขึ้น
    เมื่ออายุเพียง ๒๐ ปีถึงกับสละเงินที่เก็บหอมรอมริบระหว่างทำงานอยู่กรมทางหลวงทั้งหมด เป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินคนเดียว สร้างพระประธาน สร้างส้วม ในวัดจนหมดเงิน
    เมื่อท่านอาจารย์อายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายมหานิกาย ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌายะชื่อ บุ พระกรรมวาจาจารย์ชื่อ พระมหาแจ้ง ได้ฉายาว่า “จวน กลฺยาณธมฺโม” ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรม และสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานั้น
    ระหว่างที่บวชเป็นพระบ้านอยู่นั้น ท่านปรารถนาจะออกธุดงค์ เจริญรอยตามพระธุดงคกัมมัฏฐาน ที่เคยกราบคารวะเมื่อยังเด็ก จึงคิดจะญัตติเป็นธรรมยุตเพื่อออกธุดงค์ เมื่อไปขอลาอุปัชฌาย์ ท่านไม่ให้ญัตติ ให้สึกเสียก่อน ท่านจึงตัดสินใจลาสิกขาบทออกมาเป็นฆราวาสก่อนชั่วคราว
    พรรษาที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๘๖
    วัดบ้านพอก อำเภออำนาจเจริญ
    หลังจากสึกมาเป็นฆราวาสแล้ว ท่านได้เดินทางไปแสวงหาอาจารย์ฝ่ายธรรมยุตกัมมัฏฐาน ได้มาพบที่สำนักวัดป่าสำราญนิเวศน์ อำเภออำนาจเจริญ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี ท่านพระครูทัศนวิสุทธิ (มหาดุสิต เทวิโร) เป็นพระอุปัชฌายะ ท่านพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อุปัชฌาย์เพิ่งได้รับแต่งตั้งและมาบวชท่านเป็นองค์แรก จึงตั้งฉายาให้ท่านว่า “กุลเชฏโฐ” แปลว่า พี่ชายใหญ่ที่สุดของวงศ์ตระกูลนี้ องค์ที่สองที่อุปัชฌาย์บวชต่อมา คือ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมมวโร แห่งวัดป่าแก้ว บ้านชุมพล ซึ่งท่านอาจารย์จวนได้มานั่งหัตถบาถอยู่ด้วย
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้รับคำสั่งให้ท่องปาฏิโมกข์ และเจ็ดตำนานให้ได้หมดภายในหนึ่งเดือน ท่านก็พยายามท่องจำทั้งกลางวันกลางคืน จนสามารถท่องได้ตามที่อาจารย์ของท่านกำหนดไว้ จึงได้รับคำชมเชยจากอาจารย์เป็นอันมาก
    ท่านได้เร่งทำความเพียรอย่างขะมักเขม้น เดินมาก นั่งมาก ฉันน้อย บางวันก็ไม่ฉันสลับกันไป ท่านพระอาจารย์เกิ่ง เห็นว่าท่านรู้สึกจะซูบผอมลงไปมาก จึงตักเตือนให้ฉันอาหารเสียบ้าง
    เมื่อจะเริ่มเข้าพรรษา ปรากฏว่าที่วัดป่าบ้านพอก หนองคอน ทั้ง อำเภอเลิงนกทา ไม่มีพระสวดปาฏิโมกข์ได้ พระอาจารย์บัง จึงได้ขอตัวท่านอาจารย์ไปอยู่ที่วัด ในพรรษานั้นโยมมารดาได้มาบวชเป็นชีอยู่ด้วย ท่านได้อธิษฐานฉันเจ ไม่ฉันเนื้อสัตว์ อดอาหาร ๔ วันสลับกับอดนอน ๔ คืนบ้าง อดอาหาร ๘ วัน สลับกับอดนอน ๘ คืนบ้าง และได้ออกบิณฑบาตมาเลี้ยงโยมมารดาเพื่อสนองคุณ
    ในระหว่างพรรษาขณะนั่งฟังเทศน์ จิตของท่านสงบลง เกิดภาพนิมิตขึ้นในจิต ปรากฏร่างของท่านเน่าเปื่อยเป็นอสุภ เห็นขาของตัวเองเน่าเปื่อย มีน้ำเหลืองไหล เหมือนมองดูด้วยตาเนื้อ ท่านอาจารย์จึงได้พิจารณาอสุภะต่อไปเป็นประจำ
    ในพรรษานี้เกิดภาพนิมิตแปลก ๆ ขณะกำลังทำความเพียรเสมอ วันหนึ่งก่อนจิตจะรวม ได้เกิดภาพนิมิตขึ้นว่า มีแม่ไก่ลายมาจิกกินอุจจาระอยู่ตรงหน้า
    ท่านจึงได้กำหนดจิตถามว่า จิกกินอะไร
    แม่ไก่ตอบว่า จิกกินอุจจาระ
    แล้วถามว่า แม่ไก่เป็นใคร
    ก็ตอบว่า เป็นเทวดา
    ท่านจึงกำหนดจิตถามต่อไปว่า เทวดาทำไมกินอุจจาระ
    แม่ไก่ตอบว่า มนุษย์เราทุกชาติทุกภาษาต้องกินอุจจาระกันทั้งนั้น
    ท่านจึงน้อมเอานิมิตนั้นมาพิจารณา ก็เห็นว่า มนุษย์เรานี้ก็ต้องกินขี้กันทั้งสิ้น จึงทำให้เกิดความสลดสังเวชอย่างยิ่งในพรรษานั้น
    อยู่มาวันหนึ่งหลังจากฉันอาหารเช้าแล้ว ก่อนจะขึ้นไปบนกุฏิเพื่อเก็บเครื่องบริขาร ท่านมองไปบนหน้าจั่ว ได้เห็นหญิงสาวคนหนึ่งนุ่งห่มแต่งกายด้วยเสื้อผ้าลาย ๆ เหมือนแม่ไก่ที่เคยปรากฏในนิมิต ยืนถือตะกร้าหมากอยู่บนหน้าจั่ว มองดูเป็นหญิงที่มีรูปร่างสวยงามมาก ใจหนึ่งก็บอกว่าเป็นเทวดา ท่านก็ไม่สนใจเก็บเครื่องบริขารต่อไปเรื่อย ๆ
    ครั้งที่สองหันไปมอง ก็ยังเห็นยืนอยู่ที่เก่า ท่านก็เก็บเครื่องบริขารของตนให้เรียบร้อย
    ครั้งที่สามมองดูใหม่รูปที่ปรากฏนั้นหายไปแล้ว ขณะนั้นจิตของท่านก็นึกขึ้นมาได้ว่า นี่ละหนอ...พวกที่ภาวนาแล้วเห็นภาพนิมิตต่าง ๆ มาปรากฏก็เข้าใจว่าตนได้ญาณ บรรลุมรรคผลทำให้เกิดหลงงมงาย ผลที่สุดก็เสื่อมไปไม่ได้ประโยชน์อะไรจากธรรมะ
    ออกพรรษาแล้ว โยมมารดาซึ่งบวชเป็นชีได้ลาสิกขา กลับไปอยู่บ้านกับลูกหลาน เสร็จกิจแล้วท่านปรารถนาจะออกเดินธุดงค์ จึงหาเพื่อนไปด้วย เป็นสามเณรองค์หนึ่ง ออกเดินจากวัด จากอำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี จะเดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม เดินทางผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ใช้เวลาธุดงค์ถึง ๗ วัน ๗ คืน จึงถึงพระธาตุพนม หลังจากนมัสการพระธาตุพนมแล้ว ได้เดินทางต่อไปเมืองเว หรือเมืองเรณูนคร พักอยู่ประมาณ ๒ เดือน จึงเดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี
    ขณะเดินทางกลับ ท่านกลับองค์เดียว เณรไม่ได้กลับด้วย ได้เดินจากเรณูนคร ผ่านพ้นดงมะอี่ เขตอำเภอเลิงนกทา ระหว่างบ้านไร่กับบ้านหนองยางต่อกัน ก็ได้กลิ่นเหม็นที่กลางดง ท่านจึงได้เดินสำรวจดู ได้พบซากศพคนตายอยู่ข้างทาง ท่านมีความยินดีเป็นอันมาก และคิดว่าควรจะเพ่งอสุภะให้ได้ ร่างนั้นเน่าเปื่อย ตับไต ไส้พุง มีหนอนชอนไช
    ท่านยืนเพ่งแล้วน้อมเข้ามาดูตัวว่า อีกหน่อยตัวเราก็ต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ต่อมาก็เกิดความคิดขึ้นว่า ควรจะเผาซากศพนี้เสียให้หายอุจาดตา จึงได้ไปหากิ่งไม้เล็ก ๆ มาเตรียมจะเผา แล้วท่านจึงเกิดคิดขึ้นมาได้ว่า ตัวท่านเป็นพระ จะเผาศพนี้ได้อย่างไร เพราะดินและหญ้ายังเขียวสด และในศพก็ยังมีสัตว์มีชีวิตอยู่มากมาย ถ้าเผาก็จะต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทำบุญจะได้บาป คิดแล้วก็ตกลงไม่เผา
    ท่านได้กลับมายืนพิจารณาศพ โดยถือเป็นอสุภะต่อไป นับเวลาตั้งแต่เดินทางมาถึงเป็นเวลาเที่ยง จนกระทั่งเวลาบ่าย ๓ โมง ไม่มีความกลัวเลย และตั้งใจจะค้างคืนพิจารณาอสุภะนั้นอีกด้วย แต่ได้มีชาวบ้าน ๒ คนเดินมา ท่านจึงได้สอบถามดูได้ความว่า เจ้านายใช้ให้ชายทั้ง ๒ มาดูแลศพไว้ เพราะเจ้าหน้าที่บ้านเมืองยังไม่ได้มาชันสูตรศพ ท่านจึงขอค้างคืนเพื่อพิจารณาศพ และขอชักบังสุกุลสิ่งของที่อยู่กับศพ ชายทั้งสองก็ไม่เห็นด้วย กลับนิมนต์ให้ท่านหลีกไป มิจะนั้นอาจสงสัยว่าท่านฆ่าคนตาย เมื่อชาวบ้านยืนยันปฏิเสธเช่นนั้น ท่านจึงได้ออกเดินทางต่อไป
    ตกเย็น ท่านได้เดินทางถึงบ้านโพนหนามแท่ง อำเภออำนาจเจริญ ได้หยุดพักปักกลดอาบน้ำชำระร่างกาย เวลาพลบค่ำ ไหว้พระสวดมนต์ พิจารณาซากอสุภะที่เห็นเมื่อกลางวันแล้วน้อมเข้าหาตัว ปรากฏว่าจิตใจสงบ สบาย เยือกเย็นมีความสุขมาก นั่งภาวนาอยู่ตั้งแต่ปฐมยามจนถึงตี ๒ ต่อจากนั้นได้เกิดลมพายุฝนตกหนัก ท่านจึงปลดมุ้งออกพับเก็บพร้อมทั้งสังฆาฏิไว้ในบาตรปิดฝา และนั่งภาวนาต่อไปเรื่อย ๆ รู้สึกว่าฝนเย็น ลมเย็น จิตใจก็เย็นสบายดี ฝนตกประมาณ ๑ ชั่วโมงก็หายไป
    พรรษาที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๗
    วัดทุ่ง บ้านชาติหนองอีนิน อำเภอเลิงนกทา
    ในพรรษาที่ ๒ ท่านอาจารย์จำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่ง บ้านชาติหนองอีนิน ซึ่งท่านพระอาจารย์เกิ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ท่านได้ทำความเพียรพอสมควร ในพรรษานี้ได้มีเหตุการณ์แปลกเกิดขึ้นคือ มีหญิงคนหนึ่ง ซึ่งในสมัยที่ท่านยังทำราชการอยู่กรมทางหลวง ได้เคยเห็นหญิงคนนี้เดินทางไปมาระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี กับอำเภออำนาจเจริญอยู่บ่อย แต่ไม่ทราบว่าเป็นคนบ้านไหน
    เมื่อท่านมาจำพรรษาที่วัดนี้ ได้เห็นหญิงผู้นี้อีก แต่ตอนนี้มีร่างกายทรุดโทรมผอมลงมาก ถือหม้อยามาอาศัยต้มยาและนอนที่ลานวัด ใต้ร่มไม้ฉำฉา อยู่มาไม่นานหญิงคนนี้ก็นอนตายใต้ร่มไม้นั้นเอง
    ตอนเช้า ท่านมองเห็นศพ ก็จะเข้าไปพิจารณาอสุภะใกล้ๆ แต่ญาติโยมมาเล่าให้ท่านฟังว่า ศพของหญิงนั้นมีหนอนมาเจาะไชเจาะกินทั่วทั้งตัวโดยเฉพาะที่ทวารเบา เป็นที่น่าสลดสังเวชมาก เพราะเป็นคนเจ้าชู้ เป็นโรคบุรุษ ประพฤติผิดมิจฉากาม เมื่อตายจึงถูกลงโทษทันตาเห็น มีหนอนขึ้นชอนไชเต็มไปหมด
    เมื่อท่านได้ยินเช่นนี้ ท่านจึงเกิดความสลดสังเวชเบื่อหน่ายมาก นับเป็นซากศพที่ ๒ ที่ท่านเคยเห็น
    พรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๘
    วัดบ้านนาจิก ดอนเมย บ้านหนองปลิง ต.นาจิก
    ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดป่าบ้านนาจิก ซึ่งเป็นสถานที่ท่านอาจารย์ได้เข้าไปบ่รับปรุงและสร้างเป็นวัด อันเป็นวัดแรกที่ท่านสร้างขึ้น ในพรรษานั้น ได้อธิษฐานทำความเพียรจะไม่นอนและฉันเลยตลอดพรรษา การอธิษฐานไม่นอนนี้ นอกจากจะไม่ยอมให้หลังแตะพื้นแล้ว จิตต้องทำความรู้ตัวตลอดเวลา ไม่ให้ตกภวังค์แม้แต่ขณะจิตเดียว ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถ เดิน ยืน หรือนั่ง ในระยะนั้นยังใช้คำบริกรรม “พุทโธ” เป็นพื้น มีการพิจารณาร่วมไปด้วย
    พอกลางพรรษาเกิดวิปริตทางธาตุ คือ มีน้ำมันสมองไหลออกทางจมูกเป็นน้ำเหลือง ท่านเจ้าอาวาสจึงขอร้อง ให้ท่านนอนพักผ่อนเสียบ้าง และต่อมาถึงกับบังคับให้ท่านนอนพัก มิจะนั้นต่อไปตาอาจจะบอดได้ ท่านอาจารย์จึงได้ยอมพักผ่อนหลับนอนบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังทำความเพียรอยู่
    [​IMG]ในระหว่างพรรษานี้ ท่านได้เกิดปฏิพัทธ์รักใคร่หญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งเคยเอาจังหันมาถวายปอย ๆ แต่ยังทำความเพียรตลอดไม่หยุด และไม่บอกให้ใครทราบ ต่อมาจึงคิดอุบายขึ้นมาได้ โดยตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้ายังมีบุญวาสนาอยู่ในพรหมจรรย์แล้ว ขอให้ได้นิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งท่านเคยได้ยินชื่อเสียงเกียรติคุณมานานแล้ว ขอให้ได้ไปกราบไหว้ท่าน สนทนาได้ฟังธรรมจากท่าน แต่ถ้าไม่มีบุญวาสนาแล้ว ขออย่าให้บรรลุธรรม หรืออย่าได้พบเห็นท่านพระอาจารย์มั่นเลย และให้เห็นนิมิตแต่สิ่งที่ลามกน่ารังเกียจเถิด
    หลังจากนั้น ๓ วัน ท่านได้นิมิตว่า ได้เดินทางไปสู่สำนักท่านพระอาจารย์มั่น เห็นท่านกำลังกวาดลานวัดอยู่ พอเห็นก็รู้ว่านี่คือท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเหลือบมาเห็นเข้าก็ทักท่านอาจารย์จวนอย่างดีใจว่า
    “อ้อ...ท่านจวนมาแล้ว ท่านจวนมาแล้ว”
    มีความรู้สึกคล้ายกับพ่อเห็นลูก ลูกเห็นพ่อ พอท่านตรงเข้าไปจะกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่นก็โก่งหลัง บอกให้ท่านขึ้นขี่หลังท่านอาจารย์มั่นเหมือนขี่ม้า แล้วท่านจึงพาเหาะขึ้นบนอากาศจนลิบเมฆ แล้วพามาลงที่กลางภูเขาลูกหนึ่งแล้วบอกว่า
    “เอาละ ลงนี่แหละ พอดีพอควรแล้ว”
    เมื่อตื่นจากนิมิต ท่านมาพิจารณาดูก็เกิดปีติยินดีว่า คงจะมีวาสนาบารมีอยู่ในพรหมจรรย์ จึงเร่งทำความเพียรต่อไป
    หลังออกพรรษาได้ ๕ วัน ท่านเจ้าคุณ พระอริยคุณาธาร (มหาเส็ง ปุสโส) ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะภาค มาตรวจงานคณะสงฆ์ทางภาคอีสาน ได้มาแวะเยี่ยมที่วัดป่าบ้านนาจิก นัยว่าท่านพระครูทัศนวิสุทธิ (มหาดุสิต เทวิโร) อุปัชฌาย์ของท่าน ได้ฝากท่านไว้กับท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร ขอให้ช่วยนำไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นด้วย ท่านอาจารย์จึงได้ติดตามท่านเจ้าคุณอริยคุณาธารไป เมื่อได้กราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านก็ประหลาดใจอย่างยิ่งที่เมื่อได้เห็นตัวจริงของท่าน ลักษณะรูปร่าง กิริยาท่าทางต่าง ๆ มิได้แตกต่างจากในนิมิตเลย
    พรรษาที่ ๔
    อยู่ด้วยท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ
    ท่านอาจารย์จวนได้มีโอกาสศึกษาอบรมอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ตั้งแต่ออกพรรษาที่ ๓ ได้เพียง ๓ วัน และอยู่ตลอดมาจนตลอดฤดูแล้ง และได้อธิษฐานพรรษาอยู่กับท่านจนตลอดพรรษาที่ ๔
    โอวาทของท่าน จะแนะนำให้ประพฤติปฏิบัติทางพระวินัยให้เคร่งครัด รวมทั้งการธุดงค์
    <table style="border-collapse: collapse" id="table1" bgcolor="#E9E2D8" border="2" width="100%"> <tbody><tr> <td> การภาวนา ให้พิจารณากายเป็นส่วนมาก พิจารณากายส่วนใดส่วนหนึ่งให้ถูกกับจริตนิสัยของตัวเอง ถ้าจิตไม่สงบ มีความฟุ้งซ่าน ให้น้อมนึกเข้ามาด้วยความมีสติ นึกภาวนาแต่ พุทโธ เมื่อจิตสงบแล้วให้พักพุทโธไว้ ให้อยู่ในความสงบ แต่มีสติ ฝึกให้ชำนิชำนาญ แล้วให้นึกน้อมเข้ามาพิจารณากายของตนเองด้วยความมีสติ มิให้พลั้งเผลอ เมื่อจิตรวมก็ให้มีสติ รู้ว่าจิตรวม อย่าบังคับให้จิตรวม ให้มีสติอยู่ว่าจิตรวม อย่าถอนจิตที่รวมอยู่ ให้จิตถอนออกเอง พอจิตถอน ให้น้อมเข้ามาพิจารณากายที่เคยพิจารณาอยู่ ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา ส่วนนิมิตที่เกิดขึ้น แสดงเป็นภาพภายนอก หรือนิมิตภายใน ก็ให้น้อมเข้ามาพิจารณาให้เห็นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งใดมีเกิดก็ต้องมีดับ อย่าพลั้งเผลอลุ่มหลงไปตามนิมิตที่เกิดขึ้น แล้วน้อมเข้ามาพิจารณากายให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ว่ามิใช่ของตน ให้พิจารณาอย่างมีสติ เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้วก็ให้พักอย่างสงบเมื่อสงบพอสมควรแล้วก็ให้พิจารณาต่อ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านเล่าให้ฟังว่า คำสอนของท่านพระอาจารย์มั่นจะเป็นในหลักนี้เสมอ
    ท่านอาจารย์ได้เล่าถึงความน่าขายหน้าของตัวท่านเอาไว้ ในเรื่องเกี่ยวกับท่านพระอาจารย์มั่นดังนี้
    เวลานั้นท่านยังเป็นพระผู้น้อยไปอยู่วัดป่าบ้านหนองผือใหม่ ๆ ใจก็อดคิดตามประสาปุถุชนไม่ได้ว่า
    “เขาเล่าลือกันว่า ท่านพระอาจารย์ใหญ่เป็นพระอรหันต์ เราก็ไม่ทราบว่าจริงไม่หรือ ถ้าเป็นอรหันต์จริง คืนนี้ก็ให้มีปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฏด้วย”
    ในคืนวันนั้นเอง พอท่านภาวนา ก็ปรากฏนิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่นเดินจงกรมอยู่บนอากาศ และแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา และเวลานอนหลับก็ยังฝันเห็นท่านเดินอยู่บนอากาศเช่นเดียวกัน
    ท่านจึงยกมือไหว้ และว่าเชื่อแล้ว.....
    อย่างไรก็ดี หลังจากวันนั้น ท่านก็เกิดคิดขึ้นมาอีกว่า
    “เอ...เขาว่าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของลูกศิษย์ทุกคน จริงไหมหนอ ? เราน่าจะทดลองดู ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของเรา ขอให้ท่านอาจารย์ใหญ่มาหาเราที่กุฏิคืนวันนี้เถอะ”
    พอท่านคิดได้ประเดี๋ยวเดียว ก็ได้ยินเสียงไม้เท้าเคาะใกล้เข้ามา และกระแทกเปรี้ยงเข้าที่ฝากุฏิของท่าน พร้อมกับเสียงของท่านพระอาจารย์มั่นเอ็ดลั่นว่า
    “ท่านจวน...ทำไม่จึงไปคิดอย่างนั้น นั่นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ รำคาญเรานี่”
    ท่านเล่าว่าคืนนั้น แม้จะตัวสั่น กลัวแสนกลัว แต่ต่อมา ก็ยังดื้อไม่หาย คืนหลังเกิดความคิดขึ้นอีก
    “ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่ เป็นผู้รู้วาระจิตของเรา เราบิณฑบาตได้อาหารมา ขอให้ท่านรอเราทุกวัน ๆ ขออย่าเพิ่งฉัน จนกว่าเราจะหย่อนบาตรท่านก่อน”
    เป็นธรรมดาที่พระทั้งหลาย พอบิณฑบาตได้ ก็จะเลือกสรรอาหารอย่างเลิศอย่างดีที่สุดที่บิณฑบาตได้มา สำหรับไปใส่บาตรพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่เคารพ วันนั้นท่านอาจารย์จวนก็พยายามประวิงเวลา กว่าจะนำอาหารไปใส่บาตรก่อน ก็ออกจะล่าช้ากว่าเคย จนกระทั่งหมู่เพื่อนใส่บาตรกันหมดแล้ว จึงค่อย ๆ ไปใส่บาตรต่อภายหลังท่าน
    พระอาจารย์มั่นก็มักจะมีเหตุช้าไปด้วย จนท่านอาจารย์จวนหย่อนบาตรแล้ว ท่านจึงเริ่มฉัน เป็นเช่นนี้อยู่หลายวัน
    ท่านอาจารย์จวนเล่าว่า ท่านยิ่งได้ใจ มักอ้อยอิ่งอยู่ทุกวัน จนเช้าวันหนึ่งท่านพระอาจารย์มั่นคงเหลืออดเหลือทนเต็มที จึงออกปาก
    “ท่านจวน อย่าทำอย่างนั้น ผมรำคาญ ให้ผมรอทุกวัน ๆ ทีนี้ผมไม่รออีกแล้วนะ”
    คืนหนึ่งขณะที่ท่านอาจารย์จวนตั้งใจภาวนาทำความเพียรอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ปฐมยาม อธิษฐานนั่งในกลด ตั้งใจภาวนา ไม่นอนตลอดคืน พอจิตค่อยสงบลง ก็เกิดนิมิตผุดขึ้นว่า “ปททฺทา ปททฺโท”
    ท่านได้กำหนดจิตแปลอยู่ ๓ ครั้ง จึงแปลได้ความว่า “อย่าท้อถอยไปในทางอื่น” แล้วปรากฏว่ากายของท่านไหวไปเลย จากนั้นจิตก็เริ่มรวมลงสู่ภวังค์ คือจิตเดิมทีเดียว ขณะนั้นยังไม่รู้ว่าจิตสู่ภวังค์ และจิตเดิมเป็นอย่างไร รู้แต่ว่า ขณะจิตรวมนั้น จิตใสบริสุทธิ์ หมดจด หาที่เปรียบได้ยาก แสนที่จะสบายมากที่สุด เป็นจิตปราศจากอารมณ์ใด ๆ จิตรวมอยู่อย่างนั้นตลอดคืน จนรุ่งเช้า จิตจึงถอนออก และได้รับความเบิกบานทั้งกายและใจ มีความปีติเหมือนลอยอยู่ในอากาศ กายและใจเบาที่สุด
    วันต่อมาขณะที่พระเณรได้ไปฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น เมื่อมีโอกาสท่านอาจารย์จวนจึงได้กราบเรียน เล่าเรื่องที่เป็นมาให้ท่านฟัง ท่านพระอาจารย์มั่นได้พิจารณาดูจิตของท่านว่าเป็นจริงหรือไม่แล้วจึงบอกว่า
    “อ้อ...จิตท่านจวนนี่รวมทีเดียวถึงฐีติจิต คือจิตเดิมเลยทีเดียว”
    ท่านพระอาจารย์มั่นชมเชยว่า ดีนัก จะได้กำลังใหญ่ แต่ถ้าสติอ่อน กำลังจะไม่มี
    ท่านจึงกราบเรียนถามต่อว่า ก่อนจิตรวมได้เกิดนิมิตว่า “ปททฺทา ปททฺโท” ขอกราบเรียนให้ท่านอาจารย์มั่นแปลให้ฟัง
    ซึ่งท่านตอบว่า แปลให้กันไม่ได้หรอก สมบัติใคร สมบัติมัน คนอื่นแปลให้ไม่ได้ ต้องแปลเอาเอง นับว่าท่านอาจารย์มั่นได้ใช้อุบายฉลาดหลักแหลมมากนัก ต้องการให้ศิษย์ฝึกหัดใช้สติปัญญาแปลให้ได้เอง ต่อไปจะได้เป็น สันทิฏฐิโก คือเป็น ผู้รู้เอง เห็นเอง
    เมื่อท่านได้รับโอวาทจากท่านพระอาจารย์มั่นเช่นนั้น ก็ได้เร่งทำความเพียรตามสติปัญญา เข้าใจว่าท่านพระอาจารย์มั่นคงเฝ้าดูการปฏิบัติและจิตของท่านอาจารย์จวนอยู่ตลอด อยู่มาวันหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นจึงกล่าวว่า
    ได้กำหนดจิตดูท่านจวนแล้ว ได้ความเป็นธรรมว่า “กาเยนะ วาจายะ วะเจตวิสุทธิยา” ท่านจวนเป็นผู้มีกายและจิตสมควรแก่ข้อปฏิบัติธรรม
    เมื่อออกพรรษา เสร็จกิจทุกอย่าง ก็กราบลาท่านพระอาจารย์มั่น ออกวิเวกธุดงค์ ท่านพระอาจารย์มั่นแนะนำให้ท่านไปอยู่ถ้ำยาง บ้านลาดกะเฌอ จังหวัดสกลนคร บ้านลาดกะเฌอเป็นหมู่บ้านชาวป่าชาวเขา ตัวถ้ำยางซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านราว ๒ กิโลเมตร
    [​IMG]ท่านได้ทำความเพียรอยู่ที่นี้ ๗ วัน ๗ คืน ไม่ได้หลับนอนเลย จิตรวมโดยง่าย เกิดภาพนิมิตต่าง ๆ ทั้งนิมิตภายในและนิมิตภายนอก เกิดขึ้นเสมอ พิจารณาดูก็รู้ว่า นิมิตนี้เกิดจากจิตที่สอดส่ายไป ผู้ไม่มีสติก็จะทำให้ลุ่มหลงไปตามสภาพนิมิต สำคัญผิดว่าตัวเองได้ญาณ เกิดทิฏฐิมานะว่าได้หูทิพย์ ตาทิพย์ ซึ่งอาจจะทำให้ธรรมะแตกได้
    ต่อจากนั้นท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปแถวภูพาน จังหวัดสกลนคร ได้พบท่านพระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตโต เจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส สมัยนั้น ได้ชวนกันไปฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ซึ่งกำลังอยู่ที่บ้านห้วยหีบ
    เมื่อได้ฟังเทศน์ท่านอาจารย์กงมาแล้ว ท่านได้แยกทางกับท่านมหาทองสุก เดินทางผ่านภูพานไปจังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาท่านตั้งใจจะเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ โดยขึ้นรถไฟที่สถานีอำเภอวารินชำราบ มาต่อรถที่บ้านภาชี ไปถึงจังหวัดเชียงใหม่
    พรรษาที่ ๕-๖ พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๑
    วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงโหม่
    ท่านมาถึงเชียงใหม่ ได้เข้าพักที่วัดเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านพระอาจารย์มั่นเคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ พักผ่อนวิเวกที่วัดนี้ประมาณ ๓ เดือน คืนหนึ่งขณะนั่งภาวนาในโบสถ์มีนิมิตเกิดขึ้นว่ามีพระเถระรูปหนึ่งได้มาให้โอวาทตักเตือนว่า
    “ท่านจวน ถ้าท่านจะเป็นผู้ใหญ่เขานั้น ท่านอย่าวางแผ่นดิน เพราะความประพฤติของท่านยังไม่สม่ำเสมอ”
    ท่านได้มาพิจารณาดู แผ่นดิน แปลว่า ให้มีความหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน เมื่อถูกกระทบกระเทือนจากอารมณ์ก็อย่างวอกแวก ตั้งใจให้เป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่าน
    ท่านจึงได้กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นว่า
    “กราบเรียนพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง เกล้ากระผมได้นั่งภาวนาแล้วเกิดนิมิต ปรากฏพระเถระผู้ใหญ่มาตักเตือนว่า – ท่านจวน ถ้าท่านจะเป็นผู้ใหญ่เขานั้น ท่านอย่าวางแผ่นดิน เพราะความประพฤติของท่านยังไม่สม่ำเสมอ... ดังนี้ เกล้ากระผมเป็นผู้มีสติปัญญาน้อย ไม่สามารถจะรู้ว่าอะไรเป็นแผ่นดิน ขอนิมนต์พ่อแม่ครูอาจารย์โปรดประทานให้โอวามตักเตือนด้วย”
    ท่านพระอาจารย์มั่นได้ตอบจดหมายมาว่า
    “ถึงท่านจวนที่อาลัยยิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้แนะนำให้ท่านนั้น ขอให้ท่านจงตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติดำเนินไปตามคำที่ผมแนะนำ อย่าได้ประมาทเพื่อจะได้เป็นเกียรติยศแก่พระพุทธศาสนาต่อไป”
    หลังจากนั้นท่านได้ออกวิเวกนอกเมืองเชียงใหม่ ท่านได้ธุดงค์ไปอยู่ที่วัดอุโมงค์ ใกล้สนามบินเชียงใหม่ ท่านและพรรคพวกพากันไปพักวิเวกที่นั้น ตกกลางคืนนิมิตว่า ท่านและท่านพระอาจารย์มั่นได้กำลังทำหีบศพอยู่บนเจดีย์ ขณะนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ท่านเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ได้เหาะลอยมาในอากาศ แล้วมาหยุดที่ข้างหน้าท่าน และได้ให้โอวาทว่า “ท่านจวน อุเปกฺขินทริยํ”
    ท่านจึงกำหนดจิตแปลดูได้ความว่า ให้วางตัวเป็นอุเบกขาต่ออินทรีย์ทั้ง ๖ คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ อย่าเอาใจใส่ลุ่มหลงในอารมณ์ที่มากระทบ ท่านกำหนดจิตคิดตามนิมิตก็รู้ว่า พรุ่งนี้อาจมีอันตรายหรือเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นแน่
    พอรุ่งขึ้น หลังจากฉันเพลเสร็จแล้ว หมู่พวกได้ออกไปชมสถานที่ต่าง ๆ กันหมด เหลือท่านอาจารย์อยู่ในถ้ำองค์เดียว ขณะนั้นมีสีกาสาว ๆ มาเที่ยวเล่นค้นหาพระบริเวณนั้น เพื่อหลบพวกหญิงเหล่านั้น ท่านก็ปลดมุ้งกลดลงเสีย แต่ก็ยังมีหญิงใจกล้าคนหนึ่งมาเปิดมุ้งกลดออก ยิ้มให้ท่าน แล้วร้องเรียกเพื่อน “ตุ๊เจ้าอยู่นี่...ตุ๊เจ้าอยู่นี่” แล้วเข้ามายืนเพ่งดูท่าน ท่านจึงเห็นว่าหญิงผู้นี้นุ่งผ้านุ่งบาง ๆ เป็นซิ่น สเกิร์ต เห็นหน้าอกของเขาเต็มอก เกิดความรู้สึกวูบขึ้น ท่านจึงคิดถึงโอวาทของท่านเจ้าคุณอุบาลี “อุเปกฺขินทริยํ” พิจารณาอุบายนี้ จิตก็คลายความกำหนัดลง ต่อมาภายหลัง ได้มีพวกหญิงสาวมารบกวนท่านมาก ท่านเห็นว่าไม่สงบ จึงได้หนีออกจากที่นั้นไป
    ท่านอาจารย์ได้อยู่จำพรรษาที่จังหวัดเชียงใหม่ ๒ พรรษา โดยวิเวกอยู่ตามดอย ป่าเขาที่สงัดห่างจากหมู่ชุมชนโดยตลอด ออกพรรษาแล้วธุดงค์ไปจังหวัดเชียงราย ตั้งใจจะไปให้ถึงเชียงตุง ได้เดินทางออกทางอำเภอแม่สาย เดินด้วยเท้า ๗ วัน ๗ คืน จึงถึงเชียงตุง ท่านเดินธุดงค์เป็นทางเดินไปตามยอดดอยล้วน ๆ มีเณรและโยมคนหนึ่งเดินทางไปด้วย ได้พักวิเวกบนดอยแห่งหนึ่ง เรียกว่าดอยแตง ซึ่งสงบสงัดดีมาก ท่านพักที่ดอยแตงนี้ ๓ เดือนจึงธุดงค์ต่อไป
    ระหว่างธุดงค์อยู่ในจังหวัดภาคเหนือและเชียงตุงนี้ ท่านมักจะประสบภัยร้ายจากมาตุคามเสมอ แต่ท่านก็ได้ใช้ขันติและอุบายหลบหลีกมาได้ทุกระยะ จึงสามารถครองเพศพรหมจรรย์ได้ตลอดมา
    ขณะที่อยู่เชียงตุงนั้น ท่านตั้งใจจะธุดงค์ไปให้ถึงอินเดีย ระหว่างเตรียมตัวเดินทาง ท่านได้อธิษฐานจิตดูว่า ถ้าสมควรจะได้ไปอินเดีย ขอให้ได้นิมิตที่ดี ถ้าไม่ควรไป ขอให้ได้นิมิตที่ร้าย
    อยู่ต่อมาท่านจึงได้นิมิตว่า
    ปรากฏเห็นพระพุทธเจ้า พระอานนท์ พระมหากัสสปะ และช้าง เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จไป พระอานนท์เสด็จตามห่างประมาณ ๑๐ เมตร องค์สุดท้ายคือพระมหากัสสปะ ตามหลังมาเป็นช้างตัวใหญ่ ช้างนั้นพอเดินมาถึงท่านอาจารย์ ก็วิ่งตรงเข้ามาจะทำร้าย ท่านได้วิ่งหนีขึ้นต้นโพธิ์ ช้างจึงทำอะไรไม่ได้ เมื่อช้างไปแล้ว ท่านจึงลงมาจากต้นโพธิ์ ที่ใต้ต้นโพธิ์มีอาสนะพร้อมทั้งหมอนและหนังสือวางอยู่ ท่านจึงลงมานั่งที่อาสนะและอ่านหนังสือ
    เมื่อตื่นจากนิมิต ท่านจึงมาพิจารณาเห็นว่า แม้นิมิตตอนต้นที่เห็นพระพุทธเจ้าจะเป็นมงคล แต่ตอนกลางนั้น แสดงถึงอุปสรรค จึงไม่ควรไปอินเดีย จึงตัดสินใจเดินทางกลับจากเชียงตุง นั่งรถไฟกลับจังหวัดอุบลราชธานี
    เมื่อกลับมาถึง ได้ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดบ้านหนองผือ จังหวัดสกลนคร ท่านอาจารย์มั่นได้ถามว่า การภาวนาเป็นอย่างไรบ้าง
    ท่านอาจารย์ได้กราบเรียนท่านว่า “ไม่ดีเหมือนอยู่กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์”
    ท่านอาจารย์มั่นจึงบอกว่า ต่อไปให้ภาวนาอยู่ทางภาคอีสานนี้แหละ อย่าไปที่อื่นอีกเลย
    พรรษาที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๙๒
    วัดป่าบ้านเหล่ามันแกว สงเคราะห์โยมมารดา
    เมื่อกลับมาอุบลราชธานีแล้ว ได้ไปรับมารดามาบวชเป็นชีที่วัดป่าบ้านเหล่ามันแกว ท่านพระอาจารย์มั่นได้จัดให้ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่บ้านเดิมเพื่อสงเคราะห์โยมมารดา และท่านยังได้สั่งกำชับว่า “เมื่อออกพรรษาแล้ว ให้รีบกลับมาหาผมนะ เดี๋ยวจะไม่ทันผม” เพราะท่านอาจารย์มั่นกำหนดอายุของท่านไว้ ๘๐ ปีเท่านั้น และปีนั้นท่านอาจารย์มั่นมีอายุได้ ๘๐ ปีพอดี
    ในระหว่างพรรษานั้น โยมน้าซึ่งเป็นน้องสาวโยมมารดา พวกญาติและลูกหลานได้ไปนิมนต์ขอให้ท่านลาสิกขาบท เพราะเกิดความสงสาร เห็นท่านลำบากต้องอยู่ในป่าดงทุกข์ยาก ไม่มีเงินทองใช้สอย ไม่มีลูกมีเมีย ท่านจึงขอความเห็นญาติและลูกหลานที่มาว่า ผู้ใดที่มานี้ฝ่ายไหนอยากให้สึก ฝ่ายไหนอยากให้อยู่ ปรากฏว่าฝ่ายอยากให้สึกมีมากกว่า ท่านจึงว่า เมื่อครั้งบวช ท่านหาเครื่องบวชมาเอง ถ้าอยากให้สึก ต้องหาเครื่องสึกมาให้พร้อมดังนี้
    ๑. เครื่องแต่งตัวครบชุด เขาก็ว่า ได้
    ๒. การซักรีดเสื้อผ้า เขาก็ว่า ได้
    ๓. รถจักรยานยนต์ ๑ คัน เขาก็ว่า ได้
    ๔. รถยนต์ฟอร์ด ๑ คัน ราคาขณะนั้น ๖๐,๐๐๐ – ๑๐๐,๐๐๐ บาท เขาก็ชักพูดไม่ออก
    ๕. เมื่อสึกแล้วต้องมีลูกเมีย น้าคนหนึ่งรับจะยกลูกสาวให้
    ๖. ให้ปลูกบ้านเป็นปราสาทลอยอยู่ในอากาศ อยากไปไหนก็ลอยไปได้ เขาก็ตอบว่า ไม่ได้หรอก
    ๗. หายาป้องกันการเจ็บ แก่และตาย ให้ร่างกายเป็นหนุ่มอยู่เสมอ เขาก็ตอบว่า ไม่ได้
    เมื่อหาเครื่องสึกได้ไม่ครบ เนื่องจากท่านไม่เต็มใจสึก จึงแกล้งแต่งกองสึกให้พิสดาร ทำให้การนิมนต์ลาสิกขาบทเป็นอันยุติลงโดยปริยาย เพราะไม่มีใครสามารถหาเครื่องสึกได้
    หลังจากออกพรรษาแล้ว นึกถึงคำที่ท่านอาจารย์มั่นได้เคยกำชับ เตือนให้ท่านรีบกลับไปหา เดี๋ยวจะไม่ทัน ท่านจึงได้รีบเดินทางมานมัสการท่านอาจารย์มั่น พอมาถึงบ้านดงมะอี่ มีญาติมาส่งข่าวว่าโยมมารดาและพี่ชายเจ็บหนัก จึงต้องเดินทางกลับ อยู่พยาบาลได้ ๑ เดือน พี่ชายได้ถึงแก่กรรม ต่อมาโยมมารดาก็ได้เสียชีวิตลงอีก จึงได้จัดการฌาปนกิจท่านทั้งสอง
    สำหรับประวัติโยมมารดาของท่านนี้ ท่านเล่าว่าเดิมเป็นหญิงชาวบ้านธรรมดาไม่ได้รับการศึกษา ไม่ได้เข้าโรงเรียนและเป็นคนถือผีไท้ผีฟ้า ตั้งศาลบูชาไว้ในบ้าน ต่อมา ท่านตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็กนักเรียน ได้หาอุบายให้มารดาเลิกนับถือผี โดยทำลายศาลบูชาผีในบ้านเสียและไม่ยอมให้ตั้งศาลในบ้านอีก และท่านได้หาอุบายหาหนังสือ “หลานสอนปู่” ซึ่งสอนให้คนเลิกถือผี เข้าวัดทำบุญ รู้จักบาปบุญคุณโทษ มาอ่านให้มารดาฟัง ท่านอาจารย์ในสมัยยังเป็นเด็กชาย ได้แกล้งอ่านให้ฟังทุกวัน ๆ มารดาจะไม่ฟัง ก็แกล้งอ่านเรื่อยไป จนกระทั่งมารดาเกิดความเลื่อมใส เลิกนับถือผี กลับเข้าวัดฟังเทศน์ถือศีล

    เมื่อครั้งโยมมารดาบวชเป็นชีแล้ว ท่านได้อยู่สงเคราะห์อบรมสั่งสอนโยมมารดา ตามแนวคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งโยมมารดาก็ได้ตั้งอกตั้งใจนำไปปฏิบัติภาวนา จนกระทั่งสามารถพิจารณากายจนเห็นชัดว่ามันเน่าเปื่อยผุพังลงไป จนในที่สุดโยมมารดาก็อุทานว่า
    “คุณลูก โยมรู้แล้ว รู้จักทางแล้ว คุณลูกจะไปไหนก็ไปเถอะ อย่าเป็นห่วงโยมเลย.....มันบ่มีผู้ตายหรอก จิตมันก็ตายไม่เป็นหรอก มันละใสบริสุทธิ์ มีแต่ผู้รู้ ไม่มีผู้ตาย ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ของเรานะ เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ นะคุณลูก”
    หลังจากโยมมารดาเจ็บหนัก และท่านได้กลับมาพยาบาลแล้วไม่นาน โยมมารดาได้สิ้นลมด้วยอาการอันสงบที่สุด โดยสามารถบอกกำหนดวันและเวลาที่จะสิ้นลมได้ล่วงหน้าอย่างถูกต้อง
    ในภายหลังเมื่อมีโอกาสจำพรรษากับหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้กราบเรียนเรื่องการภาวนาของโยมมารดาถวายให้หลวงปู่ฟัง หลวงปู่ได้พิจารณาอยู่ ๓ วัน แล้วได้เล่าให้ท่านฟังว่า โยมมารดาของท่านไปอยู่สูงแล้ว ไปถึงสุทธาวาสพรหมโลก ได้สำเร็จอนาคามี
    เมื่อเสร็จงานฌาปนกิจศพโยมมารดาและพี่ชายแล้ว ท่านได้รีบเดินทางไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น แต่ไม่ทันเห็นใจ เพราะได้มรณภาพเสียก่อนแล้ว ได้แต่ไปช่วยงานฌาปนกิจศพของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่เป็นเวลาเดือนเศษ
    หลังเสร็จงานศพท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านได้ปรึกษากับ ท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม (ท่านเจ้าคุณอุดมสังวรวิสุทธิเถระ-ในภายหลัง) แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ปรึกษากันว่าจะไปเที่ยวภาคใต้ที่ภูเก็ตด้วยกัน เพราะขณะนั้นท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี หรือ พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ แห่งวัดหินหมากเป้งในปัจจุบัน จะไปประกาศศาสนาที่นั่น
    ปรากฏว่าหลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งไม่เคยได้พบกับท่านมาก่อน ได้เรียกท่านไปพบ และสนทนาไต่ถามว่า เสร็จงานศพแล้วจะไปไหน ท่านได้กราบเรียนว่า จะไปภาคใต้กับท่านอาจารย์วัน เพื่อติดตามท่านพระอาจารย์เทสก์ไป
    หลวงปู่ขาวจึงว่า อย่าไปเลย ให้อยู่กับท่านที่ถ้ำเป็ด ท่านอาจารย์ยืนกรานว่า จะไปปักษ์ใต้กับท่านอาจารย์วัน ผลที่สุด หลวงปู่ขาวจึงเล่าให้ฟังว่า ท่านพระอาจารย์มั่นได้ฝากฝังท่านไว้กับหลวงปู่ขาว ให้ช่วยดูแลรักษาด้วย
    เมื่อได้ฟังเช่นนั้น ท่านจึงได้รับคำด้วยความเคารพ และได้ติดตามไปอยู่กับหลวงปู่ขาวที่ถ้ำเป็ด อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
    พรรษาที่ ๘ พ.ศ. ๒๔๙๓
    จำพรรษาที่ถ้ำพวง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
    พอถึงเวลาเข้าพรรษา หลวงปู่ขาวได้ให้ท่านอาจารย์ไปอยู่ที่ถ้ำพวง ซึ่งปัจจุบันคือวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมตอนบน ส่วนหลวงปู่ขาวจำพรรษาอยู่ที่เชิงเขา บริเวณที่เรียกว่าหวายสะนอย ใกล้กับภูเหล็กปัจจุบัน ท่านอาจารย์อยู่บนถ้ำพวงแต่ลำพังองค์เดียว ตั้งแต่เดือน ๑ ถึงเดือน ๗ ตอนเช้าไปบิณฑบาตที่บ้านหนองบัว ห่างจากถ้ำ ๑๓๐ เส้น บางวันก็ฉันอาหารที่ตีนเขาแล้วถึงขึ้นไปถ้ำพวง
    ที่ถ้ำพวงนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นเคยเล่าให้ฟังว่า เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยมีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อ พระนรสีห์ มานิพพานที่นี่ ใครเข้ามาใกล้ที่นี่ต้องถอดรองเท้า และแต่ก่อนมีช่องลึกลงไปใต้เขา ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้ไปวิเวกและไปพบว่า ข้างล่างนั้นเป็นถ้ำพญานาคอาศัยอยู่ ท่านจึงเอาก้อนหินมาปิดทางช่องนั้นไว้ ขณะนี้เรียบไปหมดไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหนแล้ว ขณะอยู่ที่ถ้ำพวงนี้ จิตสงบ เวลาภาวนาจิตก็รวมดี บางทีจิตรวมถึงคืนละ ๓ ครั้งก็มี
    การภาวนาที่ถ้ำพวงนี้มีปรากฏการแปลกคือ ทุกวันเวลาบ่ายสามโมงท่านอาจารย์ออกเดินจงกรม จะมีกระต่ายน้อยตัวหนึ่งมานั่งนิ่งหลับตาอยู่ข้างทางจงกรม กระต่ายน้อยนี้จะนั่งเช่นนี้ทุกวันน่ารักมาก ทำกิริยาเหมือนมานั่งภาวนาไปด้วย พอท่านเลิกเดินจงกรมเข้าไปนั่งพักในร้านยกแคร่ กระต่ายน้อยก็จะเข้าไปนั่งพักอยู่ใต้ร้านแคร่นี้ด้วย แต่พอได้ยินเสียงคนเดินมาก็จะวิ่งหนีเข้าป่าไปทันที
    ต่อมามีญาติโยมของสามเณรที่มาอยู่กับท่านได้ขึ้นมาส่งอาหารถวายพระทุกวัน ญาติคนหนึ่งเป็นหญิงสาว นอกจากส่งอาหารได้ส่งสายตาให้ท่านด้วยทุกวัน เวลาภาวนาจิตของท่านก็ไม่สงบ เห็นแต่ภาพสายตาหวานของหญิงสาว พอดีมีโยมผู้ชายขึ้นมาคุยว่ามีช้างถูกฆ่าตายอยู่ข้างบนนี้ กำลังเผาศพช้าง ท่านจึงขอเอากระดูกช้างมาท่อนหนึ่ง ร้อยเชือกแขวนคอไว้ตลอดเวลา ทั้งเวลาเดินจงกรม นั่งภาวนาเพราะเกิดอุบายว่า ถ้าควายตัวไหนมันดื้อด้าน ไม่เชื่อฟังเจ้าของ เขาก็จะแขวนไม้ไว้ทรมานมัน บางทีท่านก็บ้วนน้ำหมากไปถูกกระดูกช้างนั้นเป็นสีแดงเหมือนสีเลือด ใครเห็นเข้า ก็คิดว่าท่านคงมีสติวิปลาสไปแล้ว แต่หลวงปู่ขาวทราบเรื่องก็ค้านว่า คงไม่ใช่คนบ้าหรือวิปริตหรอก คงมีเหตุจำเป็นจึงต้องใช้อุบายนี้ ให้คอยดูกันไปก่อน.
    ต่อมาเมื่อท่านจิตสงบเป็นปกติดี ไม่มีความรู้สึกในสีกาคนนั้นอีกแล้ว ท่านจึงได้เอากระดูกช้างออก ต่อมาเมื่อได้ไปกราบนมัสการท่านหลวงปู่ขาว หลวงปู่จึงถามว่า ทำไม่จึงเอากระดูกช้างไปแขวนคอ ท่านจึงเล่าเรื่องราวถวาย หลวงปู่ชมเชยมากว่า อุบายดีนัก
    ขณะจำพรรษาที่ถ้ำพวงนี้ ได้เกิดนิมิตว่า ท่านได้นั่งภาวนาในกุฏิหลังเล็ก ๆ หลังหนึ่ง และกำลังนั่งเพ่งพิจารณากระดูกอยู่ มีเด็กคนหนึ่ง ถือดาบวิ่งเข้ามาจะแทงทำร้ายท่านอาจารย์ แต่ไม่สามารถทำร้ายท่านได้ เด็กนั้นจึงไปบอกพี่ชายให้เข้ามาทำร้ายท่านแทน พี่ชายได้เข้ามาจะฆ่าท่านให้ตาย ท่านอาจารย์จึงถามว่า ท่านมีความผิดอะไร จึงจะมาฆ่าให้ตาย เขาก็ไม่ตอบ ตรงเข้ามาดึงผมท่าน (ในนิมิตอยู่ในเพศฆราวาส) เอาดาบมาเถือคอ หมายจะฟันให้ตาย แต่ทำอย่างไร ๆ ก็ฟันไม่เข้า ไม่มีแผลแม้แต่น้อย ท่านจึงบอกว่า ท่านไม่มีความผิด ฆ่าอย่างไรก็ไม่ตาย ท่านยึดถือพระรัตนตรัยฆ่าไม่ตาย เขาจึงวางดาบลง แล้วประกาศว่า ต่อไปนี้ ขอเป็นเพื่อน เป็นมิตรกัน จะไม่อิจฉาพยาบาทกันเลย
    ต่อมามานาน เช้าวันหนึ่ง ท่านออกไปบิณฑบาต มีสุนัขตัวหนึ่งอยู่หน้าถ้ำพวง ได้เข้ามากัดท่านแต่ไม่เข้า อีก ๓ วันต่อมา ชาวบ้านได้มาบอกว่า สุนัขตัวที่กัดท่านครูบาจวนนั้นตายเสียแล้ว
    หลังจากออกพรรษาแล้ว ได้กราบลาหลวงปู่ขาวออกวิเวกไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยท่านและพรรคพวกอีก ๒ องค์ เดินทางจากอำเภอสว่างแดนดิน ไปอำเภอหนองบัว อำเภอผือ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย แล้วย้อนมาพักวิเวกอยู่กับท่านพระอาจารย์หล้าฯ ซึ่งอยู่วิเวกองค์เดียวบนหลังภูพานหลายปีมาแล้ว โดยอาศัยชาวป่าชาวไร่ ๒ – ๓ ครอบครัว ท่านเล่าประวัติของท่านพระอาจารย์หล้าว่า เกิดที่เมืองจันทน์ ประเทศลาว มีครอบครัว ต่อมาบุตรภรรยาของท่านเสียชีวิต จึงข้ามมาบวชธรรมยุตในประเทศไทย ได้ติดตามไปอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโลอย่างใกล้ชิดถึง ๙ พรรษา จนท่านพระอาจารย์เสาร์มรณภาพ ขณะท่านพระอาจารย์เสาร์ยังมีชีวิต ได้ให้โอวาทท่านพระอาจารย์หล้าว่า นิสัยของท่านสมควรอยู่องค์เดียว ไม่ควรอยู่ปะปนกับหมู่นะ ต่อไปให้วิเวกภาวนาอยู่องค์เดียว
    ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านพระอาจารย์หล้าเล่าว่า ตัวท่านไม่เคยเรียนหนังสือไทย เพราะอยู่ประเทศลาว ที่อ่านเขียนภาษาไทยได้ เพราะเวลานั่งภาวนาจิตสงบ จะเห็นหนังสือไทยอยู่บนกระดานทุกวัน จึงได้เรียนภาษาไทยจากการภาวนา จนสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้คล่องไม่ติดขัด
    ท่านอาจารย์จวนได้อยู่ศึกษาธรรมะและฟังเทศน์ของท่านพระอาจารย์หล้าเป็นเวลา ๑ เดือน ก็กราบลาท่านพระอาจารย์หล้าออกธุดงค์ต่อไป โดยเดินทางผ่านอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ลงเรือล่องแม่น้ำโขงที่อำเภอโพนพิสัย มาขึ้นที่อำเภอบึงกาฬ มากับหมู่พระอีก ๓ องค์ มุ่งหน้าเดินทางมาภูสิงห์และภูวัว เดินทางผ่านไปทางอำเภอเซกา อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าบ่อ ศรีสงคราม ขึ้นรถผ่านนครพนม ไปหยุดพักที่อุบลราชธานี แล้วเดินทางต่อไปที่บ้านนาผือ อำเภออำนาจเจริญ เดินทางผ่านภูเขาไปพักวิเวกที่ถ้ำพู บ้านเชียงเครือ พักที่ถ้ำพู ๗ วัน ได้เกิดป่วยหนัก เมื่อหายป่วยแล้ว พากันออกเดินทาง มุ่งหน้าไปบ้านดงมะอี่ กิ่งอำเภอชานุมาน ใกล้จะเข้าพรรษาจึงไปถึงภูสะโกฏ บ้านหนองเม็กนามน
    พรรษาที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๔
    ภูสะโกฏ บ้านหนองเม็กนามน
    เมื่อไปถึงภูสะโกฏนี้ ท่านเห็นว่าชัยภูมิดี น้ำท่าบริบูรณ์ ร่มไม้สงบร่มเย็นดี จึงคิดจะจำพรรษาที่นี้ ได้ขอให้ญาติโยมช่วยปรับปรุงเสนาสนะ ญาติโยมได้ปลูกกุฏิให้ ๒ หลัง เพราะมีพระ ๒ องค์เท่านั้น ภูสะโกฏอยู่ห่างจากหมู่บ้านเพียง ๑ กิโลเมตร การบิณฑบาตจึงได้รับความสะดวกดี
    ระหว่างพรรษา ได้ทำความเพียรเต็มความสามารถ จิตรวมเป็นประจำ และมีนิมิตว่า เจ้าภูมิเจ้าฐานมาบอกให้ท่านไปเอาพระพุทธรูปทองคำที่อยู่ในถ้ำสะโกฏ ๗ องค์ คืนแรกที่มาบอก ท่านไม่เชื่อก็ไม่ไป คืนที่ ๒ มาบอกอีกก็ยังไม่ไป คืนที่ ๓ มาบอกซ้ำอีก ท่านจึงถามญาติโยมและพระเณรในวัดบ้านดูว่า แถวนี้มีถ้ำจริงไหม เณรวัดบ้านบอกว่ามีจริง ท่านจึงขอให้เณรพาไป แต่เณรบอกว่า
    “ได้ครับ แต่ท่านอาจารย์ไปเอาเองนะ ผมไม่เข้าไปด้วย ผมกลัวผี”
    เมื่อไปถึงถ้ำ เห็นหินก้อนใหญ่ปิดปากถ้ำอยู่ มีเถาวัลย์รากไม้คลุมแน่นหนา ท่านจึงเอาก้อนหินออก เข้าไปภายใน เห็นพระพุทธรูปนอนเรียงกันอยู่ ๗ องค์ เป็นทองคำทั้งสิ้นขนาดนิ้วหัวแม่มือ ท่านจึงนิมนต์ออกมาสักการบูชา พอออกพรรษา ท่านได้ให้ญาติโยมนำพระพุทธรูปไปคืนที่เดิม ไม่ได้เอาติดตัวออกไปด้วย ท่านเล่าว่า ไม่ทราบว่า ปัจจุบันจะยังคงอยู่หรือไม่
    ขณะจำพรรษาที่ภูสะโกฏนี้ เกิดนิมิตว่า เจ้าภูมิเจ้าฐานผีทางเชียงตุงมาเยี่ยมท่านเป็นขบวน และผีเชียงตุงสั่งฝากฝังผีดงมะอี่ว่า ให้ดูแลรักษาพระองค์นี้ให้ดี อย่าราวีอย่าเบียดเบียนพระองค์นี้ ผีดงมะอี่รับคำและว่าจะรักษาคุ้มครองท่านไม่ให้มีอันตรายเลย
    ท่านเล่าว่า ก็แปลกอยู่ เพราะนับแต่นั้นมา ท่านก็สุขสบายดี ไม่มีเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรจนตลอดพรรษา
    ครั้นออกพรรษา ท่านก็ออกเที่ยววิเวกตามวิสัยของพระธุดงค์กัมมัฏฐาน พอไปถึงอำเภอสว่างแดนดิน ได้ข่าวว่าหลวงปู่ขาวมาจำพรรษาที่ถ้ำค้อ ดงหลุบหวาย หลุบเทียน เลยพากันไปกราบนมัสการหลวงปู่ขาว ถ้ำค้ออยู่ไกลจากหมู่บ้าน ๓๐๐ เส้น จึงได้อาศัยชาวบ้านช่วยกันทยอยส่งเสบียงอาหารขึ้นไปให้แม่ชีทำอาหารถวาย ท่านอาจารย์ไปพำนักอยู่กับหลวงปู่ขาวประมาณ ๒ เดือน จึงได้กราบลาหลวงปู่ เพราะอยู่กันหลายองค์ ลำบากเรื่องอาหารขบฉัน อยู่ห่างไกลหมู่บ้าน
    ท่านได้เดินทางไปพร้อมกับท่านพระอาจารย์คำบุ ธมฺมธโร ผ่านอำเภอวานรนิวาส มุ่งหน้าไปดงหม้อทอง เมื่อไปถึงได้ไปอาศัยหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งมี ๓ ครอบครัว เขาเป็นผู้มีศรัทธาดีมาก เขาช่วยกันปลูกกระต๊อบเป็นเสนาสนะให้อยู่องค์ละหลัง
    ดงหม้อทองเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอุดม ทั้งฝูงช้าง เสือ หมี มีอยู่เป็นประจำ คืนหนึ่งในเดือนมิถุนายน เวลาประมาณตี ๓ ปรากฏมีฝูงช้างออกมาหากินใกล้กับกุฏิพระ เฉพาะตัวจ่าฝูงได้เดินมาหยุดยืนหน้ากระต๊อบ ห่างจากท่านอาจารย์ประมาณ ๖ – ๗ เมตร ช้างนั้นทั้งสูงและใหญ่ มาหยุดยืนนิ่งแล้วก็ส่งเสียงร้องแปร๋นโกญจนาท ท่านตกใจตื่น เห็นเป็นช้างก็แทบสิ้นสติ เรื่องนี้ท่านชอบเล่าเป็นอุทธาหรณ์ให้ศิษย์สังวรเรื่องสติเสมอ
    ท่านว่าครั้งแรกตั้งสติไม่ทัน เกิดความกลัว ลุกขึ้นจุดโคมไฟมือไม้สั่น ถือออกมาข้างนอกทั้งที่ยังกลัวอยู่ ท่านคิดว่า ถ้าช้างเข้ามาจะกระโดดหนีขึ้นต้นไม้ แต่อีกใจหนึ่งก็คิดว่า เราเป็นพระกัมมัฏฐานจะกลัวช้างไปทำไม ช้างยังไม่กลัวเราเลย เราเป็นพระธุดงค์ เป็นผู้เสียสละในชีวิตแล้ว แล้วยังจะไปกลัวช้างทำไม เราเป็นพระ เป็นมนุษย์ ช้างมันเป็นสัตว์ ช้างยังไม่กลัวเรา
    แล้วก็คิดถึงคำที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่า ภิกษุที่เกิดความกลัว ไปอยู่ป่าหรือป่าช้าก็ดี เมื่อเกิดความกลัว ขนพองสยองเกล้า ให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เมื่อระลึกถึงเราตถาคตอย่างนี้ ความกลัวนั้นจะหายไป
    พอท่านเตือนสติตัวเอง ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วความกลัวนั้นก็คลายไป และพิจารณาถึงความตายต่อไปว่า กลัวก็ตาย ไม่กลัวก็ตาย อยู่ที่ไหนก็ต้องตาย ความตายไม่มีใครผ่านพ้นไปได้ ไม่ว่าจะตายด้วยอะไร พอพิจารณาถึงความตายอย่างนั้นแล้ว จิตก็ค่อยสงบเป็นลำดับ ไม่มีความกลัวตายเหลืออยู่ในจิต ช้างก็ไม่กลัว ความตายก็ไม่กลัว จิตสงบเยือกเย็น เป็นจิตที่กล้าหาญ ไม่สะทกสะท้าน จึงกลับเพ่งจิตที่สงบไปพิจารณาดูช้างว่า มันคิดอะไร กระแสจิตที่สงบแล้วขณะนั้นคงจะรุนแรงมาก ช้างจึงตกใจร้องแปร๋นก้องไปทั้งป่า แล้ววิ่งหนีเข้าป่าไป ตั้งแต่วันนั้นมา ไม่เห็นฝูงช้างหรือช้างตัวใดเข้ามาที่บริเวณนั้นอีกเลย


    เปิดให้บูชา 999 บาทหายาก


    DSCF8450.JPG DSCF8451.JPG

    เหรียญรุ่นนี้ไม่ได้ระบุปีสร้างไว้ที่เหรียญ บ้างว่าสร้างปี๒๕๒๑บ้าง ปี๒๕๒๒บ้าง ข้อมูล ปีสร้างจากหนังสืองานประกวดพระเครื่องจังหวัดบึงกาฬระระบุปีสร้างเหรียญรุ่น นี้ปี๒๕๒๒ ยังไงก็ทันพระอาจารย์จวนก็ปลุกเสกแน่นอนแจกทหารข้าราชการเป็นหลักเป็นเหรียญ ประสบการณ์แคล้วคลาดคงกระพันเพื่อรักษาดินแดนไทยยุคพื้นที่สีแดงและสีชมภู เหรียญสภาพเดิมเดิมสวยขึ้นเหลือบรุ้งไม่ค่อยเจอบ่อยเป็นหนึ่งในอาจารย์ของ หลวงปู่ทองพูล(หลวงปู่ทองพูลเป็นพระอรหันต์อีกรูปหนึ่งยอดพระเกจิอาจารย์ อันดับหนึ่งจังหวัดบึงกาฬ) - See more at: พระอาจารย์จวนทูลเกล้านิเกิ้ล ปี 2522
    เหรียญรุ่นนี้ไม่ได้ระบุปีสร้างไว้ที่เหรียญ บ้างว่าสร้างปี๒๕๒๑บ้าง ปี๒๕๒๒บ้าง ข้อมูล ปีสร้างจากหนังสืองานประกวดพระเครื่องจังหวัดบึงกาฬระระบุปีสร้างเหรียญรุ่น นี้ปี๒๕๒๒ ยังไงก็ทันพระอาจารย์จวนก็ปลุกเสกแน่นอนแจกทหารข้าราชการเป็นหลักเป็นเหรียญ ประสบการณ์แคล้วคลาดคงกระพันเพื่อรักษาดินแดนไทยยุคพื้นที่สีแดงและสีชมภู เหรียญสภาพเดิมเดิมสวยขึ้นเหลือบรุ้งไม่ค่อยเจอบ่อยเป็นหนึ่งในอาจารย์ของ หลวงปู่ทองพูล(หลวงปู่ทองพูลเป็นพระอรหันต์อีกรูปหนึ่งยอดพระเกจิอาจารย์ อันดับหนึ่งจังหวัดบึงกาฬ) - See more at: พระอาจารย์จวนทูลเกล้านิเกิ้ล ปี 2522
    เหรียญรุ่นนี้ไม่ได้ระบุปีสร้างไว้ที่เหรียญ บ้างว่าสร้างปี๒๕๒๑บ้าง ปี๒๕๒๒บ้าง ข้อมูล ปีสร้างจากหนังสืองานประกวดพระเครื่องจังหวัดบึงกาฬระระบุปีสร้างเหรียญรุ่น นี้ปี๒๕๒๒ ยังไงก็ทันพระอาจารย์จวนก็ปลุกเสกแน่นอนแจกทหารข้าราชการเป็นหลักเป็นเหรียญ ประสบการณ์แคล้วคลาดคงกระพันเพื่อรักษาดินแดนไทยยุคพื้นที่สีแดงและสีชมภู เหรียญสภาพเดิมเดิมสวยขึ้นเหลือบรุ้งไม่ค่อยเจอบ่อยเป็นหนึ่งในอาจารย์ของ หลวงปู่ทองพูล(หลวงปู่ทองพูลเป็นพระอรหันต์อีกรูปหนึ่งยอดพระเกจิอาจารย์ อันดับหนึ่งจังหวัดบึงกาฬ) - See more at: พระอาจารย์จวนทูลเกล้านิเกิ้ล ปี 2522
    เหรียญพระอาจารย์จวนรุ่นทูลเกล้าถวายฯ
    เหรียญพระอาจารย์จวนรุ่นทูลเกล้าถวายฯ
     
  3. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,409
    ค่าพลัง:
    +162
    ขุนแผนหลวงปู่เหรียญ

    หลวงปู่เหรียญ เดิมชื่อ เหรียญ นามสกุล รัสสุวรรณ บิดาชื่อ โผ มารดาชื่อ แย้ม เกิดเมื่อวันที่่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๙ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด มีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดหนองบัวโดยมี หลวงปู่ยิ้ม(จนฺทโชติ) เจ้าอาวาสวัดหนองบัวเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองบัว ระหว่างที่ท่านปรณนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์และศึกษาวิชาอาคมจากหลวงปู่ยิ้ม จนหมดไส้หมดพุง หลวงปู่เหรียญท่านเป็นพระนอบน้อมถ่อมตน ไม่ชอบโอ้อวดว่าท่านมีดีอย่างไร ท่านจะให้เกียรติและยกย่องพระอุปัชฌาย์และศิษย์รุ่นพี่ร่วมสำนักอยู่เสมอ ทั้งๆที่ท่านสามารถทำเครื่องรางหรือวัตถุมงคลได้ขลังไม่แพ้พระอุปัชฌาย์ของ ท่านก็ตาม หลวงปู่เหรียญ มรณภาพปี พ.ศ.๒๕๐๓ เมื่อหลวงปู่ยิ้มมรณภาพลง ปีพ.ศ.๒๔๕๓ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ก็ได้ตกอยู่กับหลวงปู่เหรียญ หลวงปู่เหรียญในฐานะเจ้าอาวาสวัดหนองบัวจึงมีหน้าที่จะต้องบูรณะปฏิสังขรณ์ ถาวรวัตถุภายในวัดหนองบัว การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นช่องทางเดียวที่จะหาปัจจัยเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างพระอุโบสถหลัง ใหม่ เหมือนดังเช่นพระอุปัชฌาย์เคยปฏิบัติมา ใน สมัยที่หลวงปู่เหรียญยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้สร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลมากมายหลายชนิด อาทิ ตะกรุดลูกอม ลูกอมผง แหวนพิรอด พระปิดตา และพระเครื่องอีกหลายรูปแบบ ล้วนมีประสบการณ์ เป็นที่ต้องการของประชาชนชาวจังหวัดกาญจนบุรี และในปัจจุบันต่างเป็นเป็นที่นิยมของนักสะสมและผู้นิยมพระเครื่องทั่วประเทศ เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ ที่สร้างโดยหลวงปู่เหรียญในปี พ.ศ.๒๔๙๗ซึ่งเป็นเหรียญคุณพระที่หลวงปู่เหรียญได้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรก และครั้งเดียวในชีวิตของท่าน ท่านได้ตั้งใจปลุกเสกนานถึง ๒-๓ พรรษา จำนวนการสร้างผู้เขียนสันนิฐานว่าประมาณหลักพันไม่เกินหมื่นเหรียญ เหรียญรุ่นแรกนี้ได้นำออกแจกในงานฉลองอายุครบ ๗๘ ปี และเป็นงานฉลองพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗(พระอุโบสถหลังใหม่นี้หลวงปู่เหรียญใช้เวลาสร้างหลายปี) เหรียญ รุ่นแรกนี้เป็นเหรียญรูปเสมาปั้มเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ยิ้มครึ่งองค์ ด้านบนมีข้อความว่า"พระอุปัชฌาย์ยิ้ม จนฺทโชติ" ด้านข้างมีข้อความว่า"วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี" ส่วนด้านหลังของเหรียญเป็นรูปหลวงปู่เหรียญครึ่งองค์ ด้านข้างมีข้อความว่า "พระโสภนสมาจารย์ หลวงพ่อเหรียญ" เหรียญรุ่นแรกนี้มีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม โชคลาภและดีทางค้าขาย จึงเป็นเหรียญๆหนึ่ง ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีหวงแหนมาก ค่านิยมอยู่ประมาณหลักหมื่นต้นๆ

    เปิดให้บูชา 499 บาท
    DSCF8436.JPG DSCF8437.JPG

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF8440.JPG
      DSCF8440.JPG
      ขนาดไฟล์:
      68.2 KB
      เปิดดู:
      106
    • DSCF8441.JPG
      DSCF8441.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.3 KB
      เปิดดู:
      98
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2016
  4. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,409
    ค่าพลัง:
    +162
    พระนางพญา รุ่นจงอางศึก ปี 2510

    นางพญาจงอางศึก ปี2510 เนื้อดิน แจกทหารจงอางศึก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี ปลุกเสกโดย ลพ.มุ่ย หลวงพ่อถิร หลวงปู่โพธิ์ หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเงิน และคณาจารย์อีกเกือบ60รูป
    พระอู่ทองออกศึก ปี2510 เนื้อดิน แจกทหารจงอางศึก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี ปลุกเสกโดย ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไล หลวงปู่โพธิ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, และคณาจารย์อีกเกือบ60รูป!!!!!
    ประวัติ...
    เมื่อปีพ.ศ.2510 ประเทศไทยได้ส่งกองกำลังทหาร รุ่นจงอางศึก เข้าร่วมรบสมทบกับกองกำลังสหประชาชาติ ในสงครามเวียดนาม ในการนี้ หลวงปู่โพธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ได้จัดสร้าง พระอู่ทองออกศึก แจกแก่ทหารรุ่นจงอางศึกนี้โดยเฉพาะ โดยนำเนื้อดินพระชำรุดแตกหักจากกรุต่างๆมาเป็นส่วนผสมหลัก เช่น
    -พระผงสุพรรณ กรุวัดพระธาตุ,
    -พระกรุวัดพระรูป,
    -พระกรุวัดลำปะซิว, -พระกรุวัดบ้านกร่าง,
    -พระกรุถ้ำเสือ, -พระกรุวัดบางยี่หน
    -และพระเนื้อดินชำรุดแตกหักของพระเกจิอาจารย์ต่างๆอีกจำนวนมาก
    พุทธ ลักษณะ คล้ายพระผงสุพรรณ แต่เป็นพระปางสมาธิ ด้านหลังเป็นรูปองค์พระปรางค์ อันเป็นสัญลักษณ์ประจำวัด และเป็นสถานที่พบพระผงสุพรรณ และพระเนื้อชินพิมพ์ต่างๆ พิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2510 โดยมีพระคณาจารย์ชื่อดังเมืองสุพรรณนั่งปรกปลุกเสกจำนวน 69 รูป อาทิเช่น หลวงปู่โพธิ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ เป็นต้น
    สำหรับพระรุ่นนี้มีประสบการณ์อิทธิปาฏิหาริย์มากมายใน สงครามเวียดนาม ทหารหาญของไทยรุ่นนี้ให้ความเชื่อมั่นในพุทธคุณเป็นอันมาก ไม่ว่าจะโดนยิง โดนแทงหรือโดนระเบิด ต่างก็พ้นจากเงื้อมมือมัจจุราชได้อย่างอัศจรรย์

    เปิด 799 บาทหายาก
    DSCF8440.JPG DSCF8441.JPG
     
  5. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,409
    ค่าพลัง:
    +162
    หนังเสือหลวงพ่อเปิ่น มี 2 ดอก

    ปิดแล้ว

    ดอกแรกยาว 2 นิ้ว ดอกสองยาว 1.5 นิ้ว
    ทุกดอกมีตะกรุดม้วนในหนังเสืออีกทีเก่าสวยสมบูรณ์
    ประสบการณ์มากมาย
    สองดอกเปิดให้บูชา 1499 บาทหายาก
    DSCF8443.JPG DSCF8444.JPG DSCF8445.JPG DSCF8442.JPG

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2016
  6. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,409
    ค่าพลัง:
    +162
    พระสมเด็จพุทธซ้อน ผงจักพรรดิ์ (พิมพ์หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม ) พระธรรมธาตุเสด็จเพรียบ

    ปิดแล้ว


    พระสมเด็จพุทธซ้อน ผงจักพรรดิ์ (พิมพ์หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม ) พระธรรมธาตุเสด็จเพรียบ
    พระธรรมธาตุเสด็จเพรียบ
    พระผงจักรพรรดิประโยชน์มากโดยเป็นพระที่ใช้ใน
    การทำกรรมฐานและบูชาติดตัวเพื่อคุ้มครอง
    เป็นศิริมงคลแก่ตนเองและเป็นพลังงานบุญ
    แก่ภพภูมิโดยรอบ


    หลวงปู่ดู่กล่าวไว้ว่าพระรุ่นนี้ที่มีผงจักรพรรดิ
    ของท่านป้องกันนิวเคลียร์ได้
    (ถ้าขนาดนี้แล้วของเล็กกว่านิวเคลียเรื่องเล็กๆ)


    พระรุ่นนี้เหมาะสมเป็นอย่างมากในการเจริญกรรมฐาน
    หลวงปู่ดู่สมัยที่ท่านยังทรงธาตุขันธ์
    อยู่ท่านสร้างพระผงออกมาเพื่อให้
    ลูกศิษย์ได้ใช้ในการเจริญพระกรรมฐานให้
    ก้าวหน้าได้โดยไวโดยเป็นการใช้พลังจากองค์พระ


    เปิดให้บูชา 499 บาท
    DSCF8428.JPG DSCF8429.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2016
  7. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,409
    ค่าพลัง:
    +162
    เกศาครูบาศรีวิชัยพิมพ์พระเลียง

    ปิดแล้ว

    เกศาครูบาศรีวิชัยพิมพ์พระเลียงองค์นี้ถือว่าสวยยุคต้นหายากมากองค์นี้ดูง่าย

    เปิดให้บูชา 3999 บาทหายากมากๆครับ

    DSCF8438.JPG DSCF8439.JPG


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2016
  8. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,409
    ค่าพลัง:
    +162
    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่แว่น

    ปิดแล้ว

    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่แว่น
    รุ่น "มหาโชค มหาลาภ" เนื้อผงผสมเกษร วัดถ้ำพระสบาย จังหวัดลำปาง 28 พฤศจิกายน 2537

    หลวง ปู่แว่น ธนปาโล ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่มุ่งมั่นกับการปฏิบัติภาวนาอย่างมาก ตามแนวทางที่ได้รับการอบรมธรรมมาจากพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
    หลังจากหลวงปู่แว่นท่านมรณภาพแล้ว อัฐิของท่านได้กลายเป็นพระธาตุ ตามพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายกรรมฐานท่านอื่นๆ


    เปิดให้บูชา 499 บาท


    DSCF8432.JPG DSCF8433.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2016
  9. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,409
    ค่าพลัง:
    +162
    พระสมเด็จรุ่นแรกครูบาวัง

    ปิดแล้ว

    พระสมเด็จรุ่นแรกครูบาวัง
    สวยเดิมหายาก
    ครูบาวัง พรหมเสโน
    อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเด่น
    ต.หนองบัวเหนือ อ.เมือง จ.ตาก
    เป็น พระเถระที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติครบถ้วนในสมณสารูป มีความเมตตากรุณาแก่ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยท่านได้สร้างวัดบ้านเด่นตั้งแต่ยังเป็นป่าดง จนกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง มีผู้รู้จักกว้างขวางอย่างที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้สร้างพระเครื่องรางของขลังจนเป็นที่ยอมรับของลูกศิษย์ลูกหาว่าเป็นของ ดีที่มีคุณค่า

    ท่านถือกำเนิดที่บ้าน ต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ก.ย. 2434 ปีเถาะ เป็นบุตรของเจ้าคำปวน และเจ้าบัวเงา ณ ลำพูน บิดามารดาเป็นเชื้อสายเจ้าภาคเหนือ แต่ครอบครัวของพ่อยึดอาชีพค้าขายทำไร่ทำนาตลอดมา มำพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 8 คน เป็นชาย 4 หญิง 4 ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น " แก้วมหาวงศ์ "

    เมื่อ อายุ 12 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดบ้านเหมืองจี้ จนกระทั่งอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2455 ณ วัดบ้านแป้น อ.เมือง จ.ลำพูน โดยมีพระกันธิยะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการปั๋น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการปุ้ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า " พรหมเสโน"

    หลัง อุปสมบทแล้วได้ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ โดยครั้งแรกได้ธุดงค์ไปช่วยสร้างวัดต้นธงชัย อ.แม่พริก จ.ลำปาง จนได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ 4 พรรษา ต่อจากนั้นได้ธุดงค์ไปช่วยสร้างวัดสองแคว อ.เมือง จ.ตาก อีก 2 พรรษา และได้เป็นเจ้าอาวาสเช่นกัน หลังจากนั้นจึงได้มาสร้างวัดบ้านเด่น

    ใน จำนวนเวลาที่เดินธุดงค์ 12 ปีนั้น มีอยู่ 2 ปีที่ท่านได้ธุดงค์ไปเมืองย่างกุ้งเพื่อเรียนภาษาพม่า และได้เรียนเวทย์มนต์คาถาที่เป็นภาษาพม่าจนมีความชำนาญอย่างดี จึงเดินทางกลับเมืองไทย ในระหว่างทางได้พบป่าแห่งหนึ่งชื่อ " ป่าเด่นกระต่าย " ซึ่งมีความร่มเย็นน่าอยู่อาศัย และมีหมู่บ้านที่ห่างไกลและยากจน จึงคิดสร้างวัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลชาวบ้านในการประกอบ

    พิธีกรรม ทางศาสนา เริ่มแรกท่านได้สร้างกุฏิมุงหลังคาด้วยไม้แฝกก่อน 3 หลัง ซึ่งนับเป็นสำนักสงฆ์ที่แห้งแล้งยังไม่มีอะไรเลยแม้แต่อย่างเดียว ต่อมาประชาชนในต.หนองบัวเหนือ อ.เมือง จ.ตาก ซึ่งอยู่ในบริเวณที่สร้างวัดบ้านเด่น ได้มองเห็นความจำเป็นของพระสงฆ์ที่ทนทุกข์ยากลำบากในเรื่องความเป็นอยู่ และอาหารการกิน จึงสละแรงกายแรงใจช่วยกันคนละไม่คนละมือร่วมกับพระสงฆ์สามเณร จนได้ศาลาไม้เก่าขึ้นมาหนึ่งหลัง และให้ชื่อว่า " วัดบ้านเด่น " ตามสถานที่ตั้งวัดซึ่งเป็นป่าเด่นกระต่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ป่าแห่งนี้

    ทั้ง นี้ ก่อนที่วัดบ้านเด่นจะมีชื่อเสียงเด่นสมชื่อสมความปรารถนาของครูบาวัง วัดแห่งนี้ได้รับความอุปถัมภ์จากปลักอำเภอเมืองตาก และครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไป ปลัดอำเภอท่านนั้นก็คือ " ขุนโสภิต " บิดาของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อครูบาวัง ซึ่งได้มอบตัวเป็นศิษย์และเป็นผู้บริจาคทรัพย์ร่วมสร้างวัดเป็นจำนวนมาก ครูบาวังท่านเป็นเจ้าอาวาสผู้ถือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาโดยตลอด ได้บำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือสาธุชนผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอมาด้วยความเมตตาปรานี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์ทุกหมู่เหล่า โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนใดๆ จนมีศิษยานุศิษย์มากมายทั่วประเทศ

    เครื่องรางของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในภาคเหนือ และมีประสบการณ์ความศักดิ์เข้มขลังก็คือ ?ตะกรุด? ซึ่งมีหลายชนิด เช่น ตะกรุด 5 ดอก,9 ดอก,108 ดอก,ตะกรุดจำปาสี่ต้น,ตะกรุดคลอดลูกง่าย,ตะกรุดแหนบใบพลู และสีผึ้งน้ำมนต์ ,ชานหมาก และเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี2506 นอกจากนี้

    ท่าน ยังมีความเชี่ยวชาญในเรื่องรักษาไข้และโหราศาสตร์ รวมทั้งมีพรพิเศษอีกประการหนึ่งคือ ท่านสามารถนั่งเทียนสะเดาะเคราะห์ เทียนให้โชคลาภ หรือนั่งเทียนเพื่อให้ชนะคดีความยามขึ้นโรงขึ้นศาล และในเรื่องอื่นๆ

    วาระสุดท้ายแห่งชีวิต ครูบาวังได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2516 เวลา 24.00 น. ณ โรงพยาบาลกำแพงเพชร ด้วยวัย 82 ปี พรรษาที่ 62 โดยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านเด่น 56 พรรษา

    (วัตถุมงคลที่จัดสร้าง)

    วัตถุมงคลบางส่วนที่หลวงพ่อได้จัดสร้างไว้ร่วมกับศิษย์เอก คือ อาจารย์เพชรซึ่งได้นำออกมาแจกจ่ายและให้บูชา มีดังต่อไปนี้

    1. ตระกรุด 9 ดอก สามกษัตริย์ นาก ทอง เงิน (ใช้ในทางแคล้วคลาดทางอุบัติเหตุ สมัยจอมพลถนอมขึ้นเครื่องบินอยู่เหนือฟ้า เครื่องขัดข้องไม่เป็นอันตราย)
    2. ตระกรุด 9 ดอก ธรรมดา (ต.ช.ด. จ.ตาก ถูกพม่ายิงไม่ตาย)
    3. ตระกรุด 108 ดอก
    4. ตระกรุดจำปา 4 ต้น
    5. ตระกรุดคลอดลูกง่าย - เสียบท้อง (ปวดท้อง)
    6. ตระกรุด 5 ดอก
    7. ตระกรุดแหนบใบพลู
    8. ผ้ายันต์ปลาตะเพียนทอง (มีรูปหลวงพ่ออยู่ตรงกลาง) และแบบเขียนด้วยมือก็มี
    9. ผ้ายันต์นางกวัก
    10. ผ้ายันต์ม้าเสพนาง
    11. ผ้ายันต์อิ่นแก้ว
    12. สีผึ้ง พร้อมทั้งสาริกาลิ้นทอง อยู่ในสีผึ้งคู่กัน
    13. รูปหล่อหลวงพ่อครูบาวัง หน้าตัก 5 นิ้ว นวโลหะ ขัดเงา และรมดำ
    14. พระกริ่งรูปหลวงพ่อครูบาวัง รมดำ เนื้อโลหะผสม (โจรจี้ลูกศิษย์ขับแทกซี่ ยิงด้วยปืนไม่ดัง)
    15. เหรียญรูปไข่หลวงพ่อครูบาวังรมดำ (ต.ช.ด. จ.ตาก ถูกพม่ายิงไม่ตาย)
    16. เหรียญเสมารูปหลวงพ่อครูบาวัง
    17. เหรียญรูปใบโพธิ์ รูปหลวงพ่อครูบาวัง
    18. ล็อกเก็ตหิน รูปหลวงพ่อครูบาวัง
    19. ล็อกเก็ตธรรมดา รูปหลวงพ่อครูบาวัง
    20. แหวนรูปหลวงพ่อครูบาวัง
    21. เหรียญครบรอบ 100 วัน ข้างหน้าหลวงพ่อครูบาวัง ข้างหลังรูปอาจารย์เพชร
    22. เหรียญครบรอบ 81 ปี
    23. เหรียญพญาพิชัยดาบหัก
    24. เหรียญสุโขทัย ด้านหลังพญาพิชัยดาบหัก
    25. พระสมเด็จเนื้อดินเผาข้าวตอกพระร่วง พิมพ์เล็ก ด้านหลังมีรูปหลวงพ่อครูบาวัง
    26. พระสมเด็จเนื้อดินเผาและตระใคร่เจดีย์ 108 องค์ ด้านหลังมีรูปหลวงพ่อครูบาวัง

    เปิดให้บูชา 2499 บาท
    DSCF8420.JPG DSCF8419.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2016

แชร์หน้านี้

Loading...