กรดกัดแก้ว หน้าล่าสุด

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 1 พฤศจิกายน 2018.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    annealing-chart.jpg
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ตามที่เช็กเกียเขาบอกว่า เขาใช้เวลา 6 เดือนเต็มในการอบลดอุณหภูมินั้น ท่านใดจะช่วยคำนวนหาตารางกำหนดการอบที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงให้ได้บ้างครับ ?
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    เปิดศักราชใหม่ของการสร้างหรือหล่อหลอมพระพุทธรูปจากแก้วคริสตัลแล้ว จากคุณหยางหุ้ยซานที่สร้างเจ้าแม่กวนอิมสูง 2 เมตรเปิดเผยว่าต้นทุนของท่านคือ 100 ล้านบาท ต่อมาเช็กเกียสร้างองค์ที่ 2 พระยืนสูง 2 เมตรคาดว่าต้นทุนประมาณ 70 ล้านบาท และองค์ที่ 3 ที่มีคนไปทาบทามเช็กเกียสร้าง ทางเช็กเกียเรียกราคาไว้ 75 ล้านบาท ก็ประมาณเท่าคนจริง

    ศักราชใหม่แห่งแก้วคริสตัลมาหลอมเป็นพระพุทธรูปเริ่มแล้วครับ
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    basic_title.gif

    basic_thaitox.gif


    Hydrofluoric acid


    นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ (4 กรกฎาคม 2554)


    ชื่อ กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid) ||||| ชื่ออื่น Hydrogen fluoride solution



    สูตรโมเลกุล HF ||||| น้ำหนักโมเลกุล 20.01 ||||| CAS Number 7664-39-3 ||||| UN Number 1052



    ลักษณะทางกายภาพ ของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ก่อความระคายเคือง



    คำอธิบาย กรดกัดแก้ว หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid) คือสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride) ในน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลว ใส มีกลิ่นฉุนแสบ กรดชนิดนี้นิยมใช้ในการกัดแก้วหรือกระจกให้เป็นลาย พิษของกรดชนิดนี้ มีความรุนแรงและอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเมื่อหกรดใส่ผิวหนังแล้ว ไม่เพียงแต่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนที่สัมผัสเท่านั้น แต่ยังซึมลึกลงไปกัดกร่อนถึงกระดูกได้ด้วย พิษของกรดกัดแก้ว สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านพิษคือแคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate)



    ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน ACGIH TLV (2004): TWA = 0.5 ppm, Ceiling = 2 ppm ||||| NIOSH REL: TWA = 3 ppm, Ceiling = 6 ppm, IDLH = 30 ppm ||||| OSHA PEL: TWA = 3 ppm



    ค่ามาตรฐานในร่างกาย ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในร่างกาย หรือตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarkers) สำหรับประเมินการสัมผัสกรดกัดแก้วที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน การศึกษาบางส่วนเชื่อว่า การตรวจระดับฟลูออไรด์ในเลือดหรือในปัสสาวะของคนที่ทำงานสัมผัสกรดกัดแก้ว อาจพบช่วยประเมินการสัมผัสที่สูงเกินไปได้ อย่างไรก็ตาม ระดับฟลูออไรด์ในเลือดและปัสสาวะนั้นสามารถสูงขึ้นได้จากการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่มีฟลูออไรด์สูงได้ด้วย ผลการตรวจจึงอาจแปรปรวนได้มาก ทำให้แปลผลยาก



    แหล่งที่พบ กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid) หรือที่นิยมเรียกว่า “ กรดกัดแก้ว” นั้น คือสารละลายในน้ำของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride) ในสภาวะบริสุทธิ์ไฮโดรเจนฟลูออไรด์จะมีสถานะเป็นแก๊ส มีฤทธิ์กัดกร่อนได้ และนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีบางชนิด เช่น ฟลูออโรคาร์บอน (fluorocarbon) และเทฟลอน (Teflon) หากนำมาละลายในน้ำจะได้เป็นกรดกัดแก้ว ซึ่งเป็นกรดที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง ทั้งใช้กัดแก้วและกระจกให้มีลวดลายสวยงาม ใช้กัดกำจัดสนิมออกจากโลหะ ใช้ในกระบวนการผลิตสารกึ่งตัวนำซิลิคอน (silicon semiconductor)



    กลไกการก่อโรค ความจริงแล้วกรดกัดแก้วจัดเป็นกรดที่มีฤทธิ์อ่อน (weak acid) เมื่อเทียบกับกรดชนิดอื่น เช่น กรดเกลือ แต่พิษของกรดกัดแก้วนั้น กลับทำให้เกิดอาการรุนแรงได้มาก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง สาเหตุเพราะนอกจากคุณสมบัติระคายเคืองและการทำลายเนื้อเยื่อเฉพาะที่ เหมือนอย่างกรดชนิดอื่นๆ แล้ว ฟลูออไรด์ไอออน (F-) ที่แตกตัวออกมาจากกรดกัดแก้ว ยังมีความสามารถซึมลึกเข้าไปในเนื้อเยื่อและกระดูกที่อยู่ด้านล่างได้ดี ก่อปฏิกิริยาทำให้เซลล์แตก เนื้อเยื่อที่ตายจะหลอมเหลว (liquefactive necrosis) ฟลูออไรด์ไอออนที่เป็นอิสระเหล่านี้จะจับกับ แคลเซียม (Ca2+) และ แมกนีเซียม (Mg2+) ในกระดูกและในเลือด ทำให้กระดูกถูกกัดกร่อน เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง และระดับแคลเซียมกับแมกนีเซียมในเลือดลดต่ำลงได้ (hypocalcemia and hypomagnesemia) นอกจากนี้เซลล์ที่แตกจำนวนมากอาจปล่อยโพแทสเซียมไอออน (K+) ที่อยู่ภายในเซลล์ออกมา ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (hyperkalemia) ภาวะเกลือแร่ผิดปกติที่เกิดทั้งหมดนี้ สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac dysrhythmias) และอาจทำให้หัวใจหยุดเต้น เสียชีวิตได้ นอกจากการสัมผัสทางผิวหนัง ซึ่งเป็นช่องทางการเกิดพิษที่พบบ่อยที่สุดของกรดกัดแก้วแล้ว การสูดหายใจเอาไอกรดเข้าไป การสัมผัสต่อดวงตา และการกินเข้าไปโดยบังเอิญ ก็เป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดพิษขึ้นได้เช่นกัน



    การเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การรั่วไหลของสารที่ฤทธิ์กัดกร่อนนี้ควรต้องระมัดระวังการระคายเคืองทางเดินหายใจ ดวงตา และผิวหนัง ของผู้ที่เข้าไปกู้ภัยให้มาก กรณีที่รั่วไหลในรูปของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ แก๊สจะฟุ้งกระจายไปในอากาศได้ ส่วนกรณีที่รั่วไหลในรูปของกรดกัดแก้ว จะเป็นลักษณะของเหลวหกนองไปกับพื้น แต่ก็ระเหยขึ้นมาในอากาศได้เช่นกัน ชุดที่เข้าไปกู้ภัยควรมีคุณสมบัติป้องกันการกัดกร่อนของกรดได้ และป้องกันการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจกับดวงตาได้ด้วย



    อาการทางคลินิก





      • อาการเฉียบพลัน การสัมผัสโดยการสูดดมแก๊สหรือไอระเหยของกรดกัดแก้วเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ ไอ แสบจมูก แสบคอ หลอดลมตีบ ถ้าสูดดมเข้าไปปริมาณมาก อาจทำให้เกิดปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) และปอดอักเสบ (chemical pneumonitis) ได้ การสัมผัสต่อดวงตาถ้าสัมผัสไอกรดจะทำให้กระจกตาระคายเคืองและอาจเป็นแผล แต่ถ้าสัมผัสน้ำกรดโดยตรงอาจกัดกร่อนอย่างรุนแรง ทำให้กระจกตาทะลุ เนื้อเยื่อตาเสียหาย จนถึงตาบอดได้ การสัมผัสทางผิวหนังเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด ในการทำงานกับน้ำกรดบางครั้งเกิดขึ้นเนื่องจากถุงมือขาด โดยอาจขาดเป็นเพียงรูเล็กๆ ที่มองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น น้ำกรดก็สามารถซึมเข้ามาทำให้เกิดอาการพิษได้ อาการที่เกิดขึ้นจะขึ้นกับความเข้มข้นของน้ำกรดที่ใช้ ถ้าความเข้มข้นสูงถึง 50 – 70 % จะเกิดอาการปวดแสบทันทีที่สัมผัส ถ้าความเข้มข้นต่ำลงมาเป็น 20 – 40 % จะทำให้แสบผิวหนังเล็กน้อย ถ้าความเข้มข้นต่ำลงมาอีกเป็น 5 – 15 % อาจไม่ทำให้รู้สึกแสบผิวหนังเลย การที่กรดความเข้มข้นต่ำไม่ทำให้ปวดแสบผิวหนังนี้เป็นผลเสีย เพราะจะทำให้คนงานที่สัมผัสกรดทนได้ หรืออาจสัมผัสไปโดยไม่รู้สึกตัวเป็นเวลานาน แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายๆ ชั่วโมง ฟลูออไรด์ไอออนที่ซึมลึกลงไปในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและกระดูกจะออกฤทธิ์ ทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นตามมา การสัมผัสที่ผิวหนังนั้นตำแหน่งที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดคือที่นิ้วมือ อาการที่เกิดขึ้นคือจะทำให้ ผิวหนังแดง ร้อน บวม ปวดแสบ นานไปผิวหนังตรงที่สัมผัสจะขาวซีด เนื้อเยื่อที่ลึกลงไปจะตาย เมื่อเกิดการกัดกร่อนถึงกระดูกที่อยู่ด้านล่าง จะทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ และปวดไม่หาย เมื่อการทำลายเซลล์เนื้อเยื่อและกระดูกเกิดมากขึ้น อาจเกิดภาวะผิดปกติของเกลือแร่ เช่น แคลเซียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia) แมกนีเซียมในเลือดต่ำ (hypomagnesemia) และโพแทสเซียมในเลือดสูง (hyperkalemia) ได้ ภาวะเกลือแร่ที่ผิดปกติเหล่านี้อาจทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะตามมา จึงควรตรวจระดับเกลือแร่และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในผู้ป่วยที่รับสัมผัสกรดกัดแก้วเป็นปริมาณมากทุกราย ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากแคลเซียมและแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ในระยะแรกอาจแสดงในคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นลักษณะการยาวขึ้นของช่วง QT (prolonged QT interval) หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดภาวะที่รุนแรงขึ้น เช่น Torsades de pointes ไปจนถึงหัวใจหยุดเต้นได้ ส่วนลักษณะคลื่นไฟฟ้าที่อาจพบจากโพแทสเซียมในเลือดสูงนั้น เริ่มแรกจะมีลักษณะ T wave สูงขึ้น (peaked T) และ P wave ขนาดเล็กลง (small P) หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน อาจเกิดการกว้างขึ้นของช่วง QRS complex (widening of QRS) และนำไปสู่การเสียชีวิตได้เช่นกัน การสัมผัสกรดกัดแก้วโดยทางการกินหรือดื่มนั้น กรดสามารถกัดกร่อนเนื้อเยื่อทางเดินอาหาร ทั้งในปาก คอ หลอดอาหาร กระเพาะ และลำไส้ได้ หากรุนแรงมากอาจทำให้เกิดการทะลุของทางเดินอาหารขึ้นได้
      • อาการระยะยาว ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนของการสัมผัสกรดกัดแก้วในระยะยาว ต่อผลการก่อโรคมะเร็ง หรือผลต่อระบบสืบพันธุ์

    การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในภาวะฉุกเฉิน ยังไม่มีการตรวจเพื่อยืนยันการสัมผัสใดที่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยหรือรักษาพิษจากกรดกัดแก้ว การซักประวัติการสัมผัสร่วมกับตรวจร่างกาย ส่วนใหญ่จะเพียงพอที่จะทำให้วินิจฉัยโรคได้ การตรวจที่ช่วยในการรักษาได้แก่ การตรวจระดับเกลือแร่ (electrolyte) ระดับแคลเซียมในเลือด (calcium) แมกนีเซียมในเลือด (magnesium) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) โดยเฉพาะหากเกลือแร่ผิดปกติ ควรตรวจติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง (monitor EKG) การตรวจภาพรังสีทรวงอก (CXR) การทำงานของตับ (liver function test) การทำงานของไต (BUN and creatinine) เป็นต้น


    การดูแลรักษา





      • ปฐมพยาบาล นำผู้ป่วยออกจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด ผู้เข้าไปช่วยเหลือควรระวังฤทธิ์กัดกร่อนของกรดด้วย ให้ผู้ป่วยอยู่ในที่อากาศถ่ายเทดี ถอดเสื้อผ้าออก ทำการล้างตัวด้วยน้ำเปล่าให้มากที่สุด ล้างผิวหนังบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำเปล่าให้นานๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตานานอย่างน้อย 15 นาที หรือใช้น้ำประมาณ 4 - 5 ลิตรขึ้นไป ในสถานประกอบการที่ต้องใช้กรดกัดแก้วเป็นประจำ อาจเตรียมเจลลี่ของแคลเซียมกลูโคเนต (2.5 % calcium gluconate gel) ไว้ปฐมพยาบาลด้วยก็ได้ หากมีการเตรียมไว้ ให้ทาไปที่ผิวหนังตรงจุดที่สัมผัสกรดเลยก่อนนำส่งพบแพทย์ จะช่วยลดการทำลายเนื้อเยื่อของกรดลง กรณีสูดดมไอกรดเข้าไป ให้ออกซิเจนเสริม สังเกตการหายใจ ถ้าไม่หายใจให้ใส่ท่อและช่วยหายใจ กรณีกลืนหรือกินเข้าไป ระวังการสำลัก อาจให้กินนมก่อนส่งพบแพทย์ เนื่องจากเชื่อว่านมมีแคลเซียมสูงน่าจะช่วยจับกับฟลูออไรด์ไอออน ทำให้อาการรุนแรงน้อยลงได้ อย่างไรก็ตามหากบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินประเมินแล้วไม่แน่ใจ หรือสงสัยว่าจะเกิดการทะลุของเดินอาหารก็ไม่ควรให้กิน แต่ควรรีบส่งพบแพทย์ทันที
      • การรักษา ตรวจสอบระบบการหายใจของผู้ป่วย หากพบการหายใจล้มเหลวให้ใส่ท่อและทำการช่วยหายใจ ให้ออกซิเจนเสริม ให้สารน้ำหากความดันโลหิตตก ตรวจวัดสัญญาณชีพ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การสัมผัสที่ดวงตา ให้ล้างด้วยน้ำอย่างน้อย 4 – 5 ลิตร ถ้ายังไม่ได้ล้างมา หากสงสัยหรือตรวจพบกระจกตาเป็นแผล หรือมีการทำลายต่อเนื้อเยื่อตา ให้ส่งปรึกษาจักษุแพทย์ การสูดหายใจเอาไอกรดเข้าไป ให้ถ่ายภาพรังสีทรวงอก สังเกตระบบการหายใจ เฝ้าระวังภาวะปอดบวมน้ำที่อาจเกิดขึ้น ถ้าเกิดภาวะปอดบวมน้ำให้รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล และทำการรักษาต่อไป การสัมผัสทางผิวหนัง ให้ล้างผิวหนังส่วนที่สัมผัสด้วยน้ำ ให้ยาต้านพิษ (antidote) ที่จำเพาะต่อพิษของกรดกัดแก้วคือ แคลเซียม โดยถ้าสัมผัสที่ผิวหนัง ให้ทาเจลลี่แคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate gel) ที่ผิวหนังส่วนที่สัมผัส การเตรียมเจลลี่ในความเข้มข้น 2.5 % นั้นทำได้โดย ผสมแคลเซียมกลูโคเนต 1 กรัม (ปกติจะเท่ากับ 1 แอมพูล) ผสมกับ เควายเจลลี่ (K-Y Jelly ) ปริมาณ 42 กรัม (ปกติเท่ากับ 1 หลอดเล็ก) จะได้ความเข้มข้นประมาณ 2.5 % พอดี ในการรักษาพิษจากกรดกัดแก้วนั้น ปกติจะเตรียมเจลลี่ให้มีความเข้มข้นประมาณ 2.5 – 33 % เมื่อทาเจลลี่แคลเซียมกลูโคเนตแล้ว ควรปิดแผลให้แน่น (occlusive dressing) เพื่อให้เนื้อยาซึมลงไปได้มากๆ หากเป็นการสัมผัสที่มือ อาจเทเจลลี่แคลเซียมกลูโคเนตลงไปในถุงมือยาง แล้วให้ผู้ป่วยสอดมือลงไปแน่นๆ แทนการปิดแผลแน่นได้เหมือนกัน กรณีที่การรักษาด้วยเจลลี่แคลเซียมกลูโคเนตได้ผล ผู้ป่วยจะมีอาการปวดกระดูกลดลงทันทีภายใน 30 – 60 นาที แต่หากยังมีอาการปวดรุนแรง ต้องเปลี่ยนเป็นการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (subcutaneous injection) หรือฉีดเข้าหลอดเลือดแดง (intra-arterial injection) แทน การฉีดเข้าใต้ผิวหนังนั้น ให้ใช้แคลเซียมกลูโคเนตความเข้มข้น 5 – 10 % ฉีดลงไปใต้ผิวหนัง ตรงที่มีอาการ ใช้เข็มเบอร์ 27 หรือ 30 gauge ฉีด ปริมาณที่ฉีดไม่เกิน 0.5 มิลลิลิตรต่อนิ้ว (0.5 ml/ 1 finger) หรือไม่เกิน 1 มิลลิลิตรต่อตารางเซนติเมตร (1 ml/cm2) ที่ผิวหนังบริเวณอื่น ส่วนการฉีดเข้าหลอดเลือดแดงนั้น ใช้ในกรณีที่มีการสัมผัสบริเวณกว้าง เช่น โดนกรดหกใส่หลายนิ้วหรือทั้งมือ การฉีดควรทำโดยศัลยแพทย์หรือศัลยแพทย์โรคกระดูก ได้จะเป็นการดี การฉีดทำโดยผสม 10 % แคลเซียมกลูโคเนต 10 มิลลิลิตร (ปกติจะเท่ากับ 1 แอมพูล) เข้ากับสารละลาย 5 % เดกโตรสในน้ำ (D5W) ปริมาณ 50 มิลลิลิตร หยดหรือฉีดช้าๆ (infusion) นาน 4 – 6 ชั่วโมง เข้าทางสาย (catheter) ที่ใส่ผ่านหลอดเลือดแดงเรเดียล (radial artery) หรือเบรเคียล (brachial artery) ก็ได้ ต้องดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในช่วงที่ฉีด และอย่างน้อยอีก 4 – 6 ชั่วโมงถัดมา ปกติถ้าได้ผลอาการปวดจะหายไป ถ้าหลังฉีดมีอาการปวดขึ้นมาอีก สามารถให้ซ้ำได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากการฉีดเข้าทางหลอดเลือดแดงแล้ว การฉีดแคลเซียมกลูโคเนตเข้าทางหลอดเลือดดำ โดยการทำเทคนิคพิเศษเรียกว่าวิธีไบเออร์ (Bier block) ก็เชื่อว่าได้ผลดีเช่นกัน ( หมายเหตุ ในการฉีดแคลเซียมเข้าใต้ผิวหนังและเข้าหลอดเลือดแดงนี้ อย่าใช้แคลเซียมในรูปแคลเซียมคลอไรด์ฉีด เพราะจะทำให้เนื้อตายมากขึ้น) ส่วนการรักษากรณีที่ตรวจพบมีภาวะเกลือแร่ผิดปกติขึ้น ถ้ามีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือโพแทสเซียมในเลือดสูง ให้ฉีด 10 % แคลเซียมกลูโคเนต (10 % calcium gluconate) ปริมาณ 0.2 – 0.4 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม (ml/kg) เข้าทางหลอดเลือดดำ หรืออาจใช้ 10 % แคลเซียมคลอไรด์ (10 % calcium chloride) ปริมาณ 0.1 – 0.2 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม (ml/kg) เข้าทางหลอดเลือดดำก็ได้ ถ้ามีแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ให้ประเมินอาการ ถ้ามีหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยเฉพาะแบบ Torsades de pointes หรือมีอาการหัวใจหยุดเต้น หรือชัก ให้ฉีดแมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulfate) 1 – 2 กรัม เข้าทางหลอดเลือดดำ โดยฉีดเข้าภายในเวลา 5 – 20 นาที สำหรับการสัมผัสทางการกินนั้น ถ้าผู้ป่วยกินกรดกัดแก้วมา ให้ประเมินไว้ว่าเป็นภาวะอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้เสมอ ควรประเมินอาการดูว่า จะมีภาวะทางเดินอาหารทะลุหรือไม่ เช่น ตรวจร่างกายทางหน้าท้องผู้ป่วย ถ่ายภาพรังสีท้องในท่าตั้งเพื่อดูเงาอากาศ (free air) ถ้ามาเร็วอาจใส่ท่อเข้าทางจมูก (NG tube) แล้วดูดน้ำในกระเพาะออก ระวังอย่าให้สำลัก ไม่ให้ผงถ่านกัมมันต์ แต่ควรส่งปรึกษาศัลยแพทย์ หรืออายุรแพทย์โรคทางเดินอาหาร เพื่อมาประเมินอาการ และทำการส่องกล้องดูภายในทางเดินอาหารต่อไป ในกรณีการกินกรดกัดแก้วนี้ ต้องระวังการเกิดความผิดปกติในเรื่องระดับเกลือแร่ และอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเช่นกัน

    การป้องกันและเฝ้าระวัง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการป้องกันตามหลักอาชีวอนามัย ถ้าสามารถใช้สารเคมีอื่นแทนได้ที่ปลอดภัยกว่าควรหามาใช้ ถ้าจำเป็นต้องใช้กรดกัดแก้วทำงานจริงๆ ควรใช้ระบบปิด ลดการสัมผัส พนักงานที่ทำงานต้องมีความรู้ และป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี กิจการที่ต้องใช้กรดกัดแก้วบ่อยๆ เช่น งานฝีมือกัดแก้วหรือกระจกเป็นลวดลาย ต้องให้ความรู้แก่พนักงาน อาจเตรียมยาต้านพิษ คือเจลลี่แคลเซียมกลูโคเนตไว้ปฐมพยาบาลด้วยก็ได้ การเฝ้าระวัง แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ควรตรวจสุขภาพ โดยเน้นการสอบถามอาการระคายเคืองทางเดินหายใจ ดวงตา และผิวหนัง รวมทั้งให้ความรู้ถึงพิษภัยของกรดชนิดนี้แก่พนักงานด้วย


    เอกสารอ้างอิง





      • Olson KR, Anderson IB, Benowitz NL, Blanc PD, Clark RF, Kearney TE, et al. Poisoning & drug overdose. the California Poison Control System. 5th ed. New York: McGraw-Hill 2004.
      • Minnesota Poison Control System. Hydrofluoric acid (HF) Burns. [cited 4 Jul, 2011]; available from: http://www.mnpoison.org.




    มูลนิธิสัมมาอาชีวะ พ.ศ. 2554 ไม่สงวนลิขสิทธิ์

    อ้างอิง
    http://www.summacheeva.org/index_thaitox_hydrofluoric_acid.htm
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    จากกระทู้ใน พันธ์ทิพย์

    สารเคมีกัดกระจก
    อยากจะลองกัดกระจกครับ พอดีมีกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น สามารถกัดได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้งใช้ตัวไหนแทนครับ ( ไม่นับรวมน้ำยากัดกระจกที่ขายตามท้องตลาดนะครับ)
    unknown-avatar-38x38.png
    Thalassi

    4 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 14:39 น.

    ความคิดเห็นที่ 1
    ไม่ได้ครับ.......
    ต้องใช้พวกสารประกอบฟลูออไรด์
    แก้ไขข้อความเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 14:44 น.
    ตอบกลับ
    0
    1
    unknown-avatar-38x38.png
    Mikegelo

    4 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 14:42

    ความคิดเห็นที่ 3
    กรด HCl เข้มข้ม(conc. = 12.5M โดยประมาณ) ใช้ไม่ได้ครับ แก้วจะนิ่ง ไม่เกิดอะไรขึ้นเลย

    สาร ที่กัดกระจกได้ ต้องมี F- (ฟลูออไรด์ไอออน) เป็นองค์ประกอบครับ
    องค์ประกอบของกระจก คือพวกซิลิเกต (MxSiyOz) ซึ่งฟลูออไรด์ไอออน
    จะเข้าไป"แย่งที่" ออกซิเจนอะตอมในโครงสร้าง กลายเป็น MFx กับ SiF4 จึงกัดได้
    (ดูจากค่า EN ในตารางธาตุครับ F มากสุด รองมา O ดังนั้นตัวอื่นไม่แรงพอ)
    สำหรับกลุ่มฟลูออไรด์นี้ ตัวที่ใช้ได้คือ
    HF (กรดไฮโดรฟลูอออริก - กรดกัดแก้ว)
    H2SiF6 (กรดฟลูออโรซิลิซิก)
    NaF (โซเดียมฟลูออไรด์) + ต้องต้ม
    KF (โพแพสเซียมฟลูออกไรด์) + ต้องต้ม

    ข้อควรระวัง คือ สารประกอบฟลูออไรด์เป็นพิษมาก ไม่แพ้ไซยาไนด์เลย ดังนั้นห้ามรับประทานหรือถูกผิวเด็ดขาด
    โดยเฉพาะ กรด HF นั้น ถูกผิวแล้วจะไม่ค่อยแสบ ทำให้ไม่รู้สึก หรือไม่ได้ระวังอะไร แต่มันจะดูดซึมเข้าไปแล้วกัดจากข้างใน
    พิษเฉียบพลันกรณีหกใส่ผิว คือทำให้หัวใจหยุดเต้นทันที เพราะมันไปดึง Ca2+ ออกจากระบบแล้วตกตะกอน
    ซึ่งCa2+ เป็นสารสำคัญที่หัวใจใช้ควบคุมการเต้น
    พิษเรื้อรัง คือ โดนไปแล้วจะไปกัดจากข้างใน ทำให้หลายๆ ชั่วโมงต่อมา แสบร้อนจากข้างใน หลังจากนั้นจะเน่าจากในออกนอก
    ที่อันตรายคือ พิษฟลูออไรด์ไม่มียารักษาครับ น่ากลัวกว่าไซยาไนด์ตรงนี้ ดังนั้นกรุณาใส่ถุงมือเสมอเวลาใช้กรดกัดแก้ว


    หรืออีกกรณีคือใช้ด่างเข้มข้น มี OH- (ไฮดรอกไซด์ไอออน) ก็สามารถทำปฏิกิริยากับซิลิเกตได้เช่นเดียวกัน
    แต่จะทำปฏิกิริยาช้ากว่า F- โดยการใช้ไฮดรอกไซด์นั้นต้องใช้สารละลายเข้มข้นพร้อมต้มไปด้วยเป็นเวลานานๆ(ข้ามวัน)
    หรือ แช่ทิ้งไว้เป็นเวลาหลายๆเดือนถึงหลักปี แก้วจะเป็นฝ้าได้เหมือนกัดด้วยกรดกัดแก้ว
    (นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมการเตรียมสารละลายมาตรฐาน NaOH ต้องใช้ขวดพลาสติกไม่ใช่ขวดแก้ว)
    อีกกรณีที่ไม่แนะนำเพราะอันตรายมาก คือใช้ด่างหลอมเหลวเลย พวกนี้หลักวินาทีกัดเกลี้ยงยิ่งกว่า HF คือแก้วละลายหายไปเลย!
    ตัวที่ใช้ได้คือ
    NaOH (โซเดียมไฮดรอกไซด์ - โซดาไฟ)
    KOH (โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์)

    ข้อควรระวัง คือ สารกลุ่มนี้เป็นเบสแก่ มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรงต่อผิวหนังพอๆ กับกรดเข้มข้น
    โดยเฉพาะหากเข้าตา จะทำให้โปรตีนเสียสภาพ ตาบอดทันที(0วินาที) ไม่มีเวลาล้างได้ (กรดยังพอมีเวลา4-5วินาที)
    ดังนั้น กรุณาใส่แว่นตานิรภัยที่กันละออง กันหยดสารเล็กๆ กระเด็นได้ เสมอ เวลาใช้งาน
    ตอบกลับ
    0
    5
    unknown-avatar-38x38.png
    Pomzazed

    4 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 14:52 น.

    ความคิดเห็นที่ 4
    กรดกัดแก้ว (HF) แหละครับ หาซื้อได้ตามศึกษาภัณฑ์
    ควรใช้ความเข้มข้นต่ำๆ และทำอย่างระมัดระวังอย่างที่ #3 บอกมา

    ผมเคยใช้ HF conc 50% ในแลปอยู่ทีนึง ทดลองไปก็เสียวไป
    ตอบกลับ
    0
    0
    571016_0013849356_M-ava2_m.jpg
    ECOS

    4 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 19:29 น

    ความคิดเห็นที่ 5
    มีแนะนะคะ ชื่อ etchall คะ เป็นสินค้ามาตรฐานอเมริกา ราคาค่อนข้างสูง แต่ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคะ แล้วก็สามารถ นำกลับมาใช้ซ้ำได้ด้วย คะ


    สนใจ ติดต่อ บริษัท พีซีเอ็น พลัส วัน จำกัด 02-9497736 คะ
    ตอบกลับ
    0
    0
    unknown-avatar-38x38.png
    สมาชิกหมายเลข 1353632

    9 เมษายน 2557 เวลา 11:28 น.

    https://pantip.com/topic/31610998
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สภาพบรรยากาศภายในโรงงานหลอมแก้วบางแห่งที่มีการกัดกรดแก้วเป็นของตนเองครับ
    acid_suit-360x360.jpg qualified_personell_3-360x360.jpg thumbnail_pic-01.jpg thumbnail_pic-02.jpg acid%20room.jpg 018390340.jpg
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ห้องหรือสถานที่ที่เป็นที่ตั้งของอุปกรณ์บรรจุกรดกัดแก้วชนิดโรงแก้วที่จุ่มชิ้นงานในถังกัดกรดชนิดแก้วบางครับ แก้วที่มีความหนาไม่กี่มิลลิเมตรครับ

    หรืออาจเป็นแก้วตันก็ได้ แต่ต้องการแค่ผิวฝ้าขาวธรรมดาๆ
    thumbnail_pic-01.jpg thumbnail_pic-02.jpg qualified_personell_3-360x360.jpg
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ภาพที่ผมให้คำปรึกษากับช่างกัดกรดของโรงงานแก้วโลตัสคริสตัลระยองเมื่อปีที่แล้วครับ
    frosted001.jpg frosted002.jpg frosted003.jpg frosted004.jpg frosted005.jpg frosted006.jpg
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    002.jpg
    โคมไฟแก้วทรงเปลวเพลิงที่โรงงานแก้วคุณพ่อผม มีการกัดกรดกัดแก้วในทุกเฉดสีแก้ว ในภาพนี้เป็นแก้วใส มากัดกรดให้เป็นแก้วสีฝ้าขาว

    imagesXUXQ17WM.jpg
    แก้วที่เป็นสีนม หรือความจริงคือแก้วตะกั่วแดงนั่นเอง เมื่อเป่าออกมาใหม่ๆ ผิวจะมันเงา เราใช้กรดกัดแก้วเพื่อกัดให้ผิวแก้วเป็นสีด้านซาติน แต่สมัยนี้บางโรงงานก็ไปใช้การพ่นทรายก็งานจะหยาบกว่า

    mrQOqBRLrczHakf4t6QhZ-g.jpg
    นี่ครับ เวลาเป่าแก้วนมออกมา ผิวเขาจะเงามัน และบางสถานที่เขาต้องการสีฝ้าขาวนม หรือสีผิวซาติน ก็ต้องใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง คือพ่นทรายหรือกัดกรดกัดแก้ว ซึ่งวิธีกัดกรดกัดแก้วผิวจะละเอียดนุ่มครับ


    n09.jpg
    ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า งานบางอย่างเขากัดกรดกัดแก้วเฉพาะส่วนผิวด้านนอก ผิวด้านในไม่กัด ผิวด้านในจึงยังคงเงามันวาวอยู่ครับ ซึ่งงานกัดแบบนี้จะยากกว่าการกัดทั้งด้านในและด้านนอกพร้อมกัน
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ภาษาของช่างในแต่ละประเทศหรือแต่ละค่ายก็อาจแตกต่างกันไป แต่เอาเป็นว่า ภาษาช่างคือภาษาที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ เช่น บางแห่งเรียกซาตินกล๊าส คือแก้วที่ใช้กรดกัดแก้วกัดจากผิวลื่นเงามันให้เป็นผิวด้านและสากมากขึ้น ผมมักเรียกว่าแก้วกัดกรด ในบางค่ายก็ไม่ยอม ต้องเรียกว่า ซาตินกล๊าส ก็แล้วแต่ความถนัดครับ เอาเป็นว่า เรามุ่งชี้ถึงวิธีที่ทำและผลคือผิวแก้วที่ได้ผลไม่เหมือนกันเท่าใดนัก หากแต่มีความเหมือนกันอย่างหนึ่ง คือถ้ามองผ่านๆหรือมองผาดๆก็เห็นจากใสเป็นฝ้า ซึ่งที่จริงยังมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันสูงครับ

    การพ่นทรายแก้วผมก็มักเรียกตรงๆว่า แก้วพ่นทราย แต่ค่ายอื่นจะเรียกอย่างไรก็แล้วแต่ครับ

    สรุปว่า การทำผิวแก้วจากมันเงาลื่นให้กลายเป็นฝ้ามีหลายวิธี แต่ละวิธีก็ให้ผลในรายละเอียดต่างๆกัน ผมยังนิยมวิธีกรดกัดแก้ว เพราะผิวละเอียดและนุ่มนวลในขั้นสัมผัสและในขั้นการมองครับ

    หมายเหตุ
    อย่างไรก็ดี ยังมีการใช้วิธีผสมผสาน เช่น พ่นทรายไปก่อน แล้วค่อยกัดกรดซ้ำเพื่อไม่ให้ผิวราบลื่นจนเกินไปก็มีครับ ขึ้นอยู่กับรสนิยมที่ไม่เหมือนกัน
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    Baccarat-Buddha-Kenzo-Takada-Clear-Crystal-Huge-Figurine-_57.jpg
    คราวนี้มาดูการออกแบบหรือการดีไซน์ เช่น พระแก้วหน้าตัก 8 นิ้วเศษของบัคคาฮ่าฝรั่งเศส แก้วคริสตัลของบัคคาฮ่ามีชื่อเสียงดังกึกก้องไปทั่วโลก มีจุดเด่นที่ความใสและอมดำเล็กๆ โดยองค์รวมจุดเด่นที่สุดคือใสสนิทแต่อมดำนิดๆเพื่อให้ดูลึกซึ้งและดึงอารมณ์เข้าสู่ความคริสตัลได้เร็ว ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า ยากที่บริษัทอื่นๆจะหลอมแก้วใสอมดำได้เหมือนกับของบัคคาฮ่า ดังนั้น การออกแบบของเขาก็ต้องเน้นจุดเด่น ซึ่งตรงบริเวณพระพักตร์นั้น จะต้องเด่น โดยการใช้พระพักตร์สีใส ส่วนมวยพระเกศาหรือเม็ดพระศกนั้นต้องเป็นสีฝ้า เพื่อให้ขับความเด่นออกมา

    ผมไปดูองค์จริงมาแล้ว ถ้าพูดถึงแก้วคริสตัลใสสนิทอมดำนั้น ผมยอมรับว่าเขายอดจริงๆครับ การออกแบบนั้น อาจทำได้ด้วยการทำองค์ต้นแบบตัวอย่างขึ้นมาก่อน แล้วค่อยสร้างจำนวนภายหลังครับ
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    130.jpg
    รูปซ้ายสุดคือภาพลักษณะแบบเดียวกับรูปบน แต่รูปซ้ายสุดในภาพนี้คือพระแก้วของลาลีคฝรั่งเศสหน้าตัก 8 นิ้วเศษ การออกแบบที่ท่านเป็นผู้ตัดสินเองครับ ชอบแบบไหน ดีไซน์แบบไหน ผลงานออกมาก็ต้องรับผลของตนเองครับ
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    031111111111111111111123211.jpg
    องค์นี้ของ Swarovski จุดเด่นของสวาร๊อฟสกี้คือแก้วคริสตัลที่เจียรนัยส่วนที่เป็นสีใสให้ได้มุมสะท้อนแสง ส่วนที่เป็นสีฝ้าก็ใช้ผิวเนียลไม่ทำมุม จุดเด่นของสวาฯนั้น น่าสนใจมาก เพียงแต่วิธีการสร้างในองค์ขนาดหน้าตักไม่กี่นิ้ว จำเป็นต้องแบ่งองค์พระออกเป็น 2 หรือ 3 ชิ้น เมื่อเจียรนัยเสร็จนำมาประกอบต่อติดกันด้วยกาวไร้รอยครับ
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    004.JPG
    องค์นี้เป็นองค์ที่ผมสร้างหน้าตัก 9 นิ้ว ออกแบบง่ายๆ ฝ้าทั้งหมด ไม่ต้องเปิดส่วนใส ไม่ต้องบังหรือทำส่วนใดพิเศษออกไป แต่ถือว่าใช้วิธีพิเศษทั้งองค์เหมือนกัน มีคนบอกผมว่า สวยมากๆ
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    กรดที่ใช้กัดแก้วในอุตสาหกรรมแก้วชนิดแก้วโคมไฟก็ตาม หรือแก้วพระแก้วก็ตาม เราใช้อย่างเจือจางมากๆ เพราะเราต้องใช้เวลาในการทำผิวใสเรียบลื่นนั้น ให้กลายเป็นผิวฝ้าขาว ต้องใช้เวลานานนับสิบนาที ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้น กรดกัดแก้วของโรงงานแก้วทั่วไปที่ใช้กัดชิ้นงานแก้วนั้น ไม่ใช่อย่างเข้มข้น พนักงานจะไม่เคยได้สัมผัสกับชนิดเข้มข้นเลย นอกจากนักเคมีที่เป็นพนักงานห้องเคมีที่จะทำหน้าที่เจือจางกรดครับ
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,179
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    mdet.jpg
    พระแก้วหน้าตัก 9 นิ้วองค์นี้ ตอนหลอมออกมานั้น เมื่อแคะปูนปลาสเตอร์ทนไฟออก ( องค์นี้ใช้วิธีหลอมแก้ว Lost Wax Glass จึงใช้แม่พิมพ์ปูนทนไฟไม่ใช่แม่พิมพ์เหล็ก ) ตอนแคะปูนกระเทาะออก ผิวแก้วเป็นสีฝ้าก็จริง แต่ไม่เรียบร้อย ต้องนำมาขัดผิวเรียบใหม่อีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงทำการกัดกรดกัดแก้วด้วยกรดเจือจางนานนับสิบๆนาทีจึงใช้ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...