78.ไหว้พระ ๙ วัด ฝั่งธนบุรี

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 19 มิถุนายน 2015.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ภายในโบสถ์น้อยมีพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย เป็นประธานของอาคาร ด้านหน้าองค์พระประธานก่ออิฐเป็นลับแลกั้นอยู่เพื่อแบ่งสัดส่วนภายในโบสถ์น้อย ส่วนทางด้านข้างขององค์พระประธานนั้นเป็นที่ประดิษฐานของ ศาล, พระบรมรูป และ พระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3348_1a.JPG
      IMG_3348_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      936 KB
      เปิดดู:
      2,334
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในโบสถ์น้อย




    สำหรับพระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น เป็นพระแท่นทำด้วยไม้กระดานแผ่นเดียว มีขนาดใหญ่โตกว่าไม้กระดานแผ่นใดใดที่เคยพบเห็นมา พระแท่นของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตามพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะสิ้นรัชกาล ได้ทรงผนวชและเสด็จพระราชดำเนินมาประทับที่โบสถ์ บ้างก็ว่าทรงถูกพวกกบฏบังคับให้ผนวชและจับพระองค์กักขังไว้ที่โบสถ์ พระแท่นนี้นับเป็นงานประณีตศิลป์ที่มีคุณค่ามาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3344_1a.JPG
      IMG_3344_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1,009.3 KB
      เปิดดู:
      1,563
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2015
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    เจดีย์จุฬามณีและพระพุทธรูปในวิหารน้อย

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3315_1a.JPG
      IMG_3315_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1,002.2 KB
      เปิดดู:
      1,179
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    พระปรางค์ใหญ่

    พระปรางค์ใหญ่วัดอรุณราชวราราม เป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์ ซึ่งดัดแปลงมาจากพระปรางค์ แต่เดิมเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อสักการบูชาในศาสนาพราหมณ์และฮินดู แต่สำหรับพระปรางค์ใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสืบเนื่องมาจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาผสมผสานไปกับศิลปกรรมแบบฮินดู วัตถุประสงค์หลักนั้นสร้างด้วยความศรัทธาในคตินิยมของพุทธศาสนาจึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งของพระปรางค์ใหญ่ว่าเป็น พระพุทธปรางค์

    พระปรางค์ใหญ่ ตั้งอยู่หน้าวัดทางทิศใต้ ซึ่งหันไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยอยู่ด้านหลังโบสถ์น้อยและวิหารน้อย (พระวิหารเล็ก)และเป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นพร้อมกับโบสถ์และวิหารน้อย
    เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและงดงามยิ่งนักของวัดอรุณราชวรารามซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ ก่อด้วยอิฐถือปูนประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ และ บนส่วนยอดสุดขององค์พระปรางค์มีมงกุฎปิดทองประดิษฐานครอบอยู่เหนือ ‘ยอดนภศูล’ อีกชั้นหนึ่งด้วย

    พระปรางค์องค์นี้เดิมสูงเพียง ๘ วา เท่านั้น ซึ่งไม่ทราบว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงมีพระราชศรัทธาจะให้เสริมสร้างก่อเพิ่มเติมขึ้นให้สูงใหญ่สมเป็นพระมหาธาตุเจดีย์ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ทรงทำได้เพียงฐานรากคือกะเตรียมที่ขุดรากไว้เท่านั้นก็สิ้นรัชกาล ถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวรารามแห่งนี้เป็นการใหญ่อีกครั้ง เริ่มแต่ทรงปฏิสังขรณ์และสร้างกุฏิสงฆ์เป็นตึกใหม่ทั้งหมด เป็นต้น และทรงมีพระราชดำริเพื่อสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เสริมสร้างองค์พระปรางค์ต่อตามแบบที่ทรงคิดขึ้นจนสำเร็จเป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์สูงถึง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ กับ ๑ นิ้ว หรือประมาณ ๖๗ เมตร แล้วยกยอดนภศูล (ลำภุขันหรือฝักเพกา) แต่ไม่ทันฉลองก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    รัชกาลที่ ๔ จึงมีรับสั่งให้จัดการต่อเติมจนเสร็จสมบูรณ์ในที่สุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3331_oa.jpg
      IMG_3331_oa.jpg
      ขนาดไฟล์:
      952.1 KB
      เปิดดู:
      1,020
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2015
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ลักษณะของพระปรางค์ใหญ่ที่รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์มีดังนี้
    พระปรางค์ใหญ่อยู่ภายในวงล้อมของพระวิหารคด และเก๋งจีน ๓ ด้าน (เว้นด้านหน้า) มีประตูเข้า ๙ ประตู บริเวณลานจากพระวิหารคดและเก๋งจีนถึงฐานพระปรางค์ใหญ่ชั้นล่างปูด้วยกระเบื้องหิน มีบันไดขึ้นสู่ทักษิณชั้นที่ ๑ ระหว่างพระปรางค์ทิศและพระมณฑปทิศ ด้านละ ๒ บันได รวม ๔ ด้าน
    เป็น ๘ บันได เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ ๑ นี้นี้เป็นฐานทักษิณชั้นที่ ๒ รอบฐานมี รูปต้นไม้ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ เหนือขึ้นไปเป็นเชิงบาตร ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีลายดอกไม้ ใบไม้ มีบันไดขึ้นสู่ทักษิณชั้นที่ ๒ ตรงหน้าพระมณฑปทิศมณฑปละ ๒ บันได คือทางซ้ายและทางขวาของแต่ละพระมณฑปทิศ รวม ๘ บันได เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ ๒ นี้เป็นฐานทักษิณชั้นที่ ๓ มีช่องรูปกินรีและกินนรสลับกันโดยรอบ ที่เชิงบาตรมี รูปมารแบก และมีบันไดตรงจากหน้าพระมณฑปทิศแต่ละมณฑปขึ้นสู่ทักษิณชั้นที่ ๓ อีกด้านละบันได รวม ๔ บันได ที่เชิงบันไดมี เสาหงส์หิน บันไดละ ๒ ต้น เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ ๓ นี้เป็นฐานทักษิณชั้นที่ ๔ มี ช่องรูปกินรีและกินนร สลับกันโดยรอบ เว้นแต่ตรงย่อมุม ๔ ด้าน เป็น รูปแจกันปักดอกไม้ เพราะเป็นช่องแคบๆ ที่เชิงบาตรมี รูปกระบี่แบก มีบันไดขึ้นไปยังทักษิณชั้นที่ ๔ อีก ๔ บันไดตรงกับบันไดชั้นที่ ๓ ดังกล่าวแล้ว และมี เสาหงส์หิน อยู่เชิงบันไดอีกด้านละ ๒ ต้น เช่นเดียวกัน เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ ๔ มี ช่องรูปกินรีและกินนร สลับกันโดยรอบ และตรงย่อมุมเป็น รูปแจกันปักดอกไม้ ที่เชิงบาตรมี รูปพรหมแบก เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มคูหา ๔ ด้านมี รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ อยู่ในคูหาทั้ง ๔ คูหา เหนือซุ้มคูหารูปพระอินทร์เป็น ยอดปรางค์ขนาดย่อม และมี รูปพระนารายณ์ทรงครุฑแบกพระปรางค์ใหญ่ อยู่โดยรอบ ส่วนยอดสุดขององค์พระปรางค์ใหญ่เป็น ยอดนภศูลและมงกุฎปิดทอง

    สำหรับ ยอดพระปรางค์ ตามแบบแผนแต่โบราณจะเป็น ‘ยอดนภศูล’ แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำมงกุฎปิดทองสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดนางนองมาสวมครอบต่อจากยอดนภศูลอีกชั้นหนึ่ง คนสมัยนั้นจึงโจษจันกันว่า รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชประสงค์ให้คนทั้งหลายเข้าใจโดยนัยว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๔) จะเป็น “ยอดของแผ่นดิน” หมายถึงจะเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2015
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    องค์พระปรางค์ใหญ่ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ อย่างงดงามประณีตบรรจง เป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่นๆ กระเบื้องเคลือบสีที่ใช้ประดับเหล่านี้ บางแผ่นเป็นรูปลายที่ทำสำเร็จมาแล้ว บางชิ้นบางแผ่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยนำมาประกอบกันเข้าเป็นลาย บางลายใช้กระเบื้องเคลือบธรรมดา บางลายเป็นกระเบื้องเคลือบสลับเปลือกหอย และบางลายใช้จานชามของโบราณที่มีลวดลายงดงามเป็นของเก่าหายาก เช่น ชามเบญจรงค์ ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง ฯลฯ นำมาประดับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 187194.jpg
      187194.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127.5 KB
      เปิดดู:
      782
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    พระปรางค์ใหญ่ ล้อมรอบด้วย พระปรางค์ทิศและพระมณฑปทิศ
    พระปรางค์ทิศ เป็นพระปรางค์องค์เล็กๆ ตั้งอยู่บนมุมทักษิณชั้นล่างของพระปรางค์องค์ใหญ่ มีอยู่ ๔ ทิศ ทิศละองค์ คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระปรางค์ทิศทั้ง ๔ องค์มีขนาดและรูปทรงเหมือนกัน กล่าวคือ ตอนฐานของพระปรางค์ทิศแต่ละพระปรางค์มี ช่องรูปกินรีและกินนร สลับกันโดยรอบ ที่เชิงบาตรเหนือช่องมี รูปมารกับกระบี่แบกสลับกัน เหนือขึ้นไปเป็น ซุ้มคูหารูปพระพายทรงม้า และเหนือขึ้นไปอีกบนยอดพระปรางค์ทิศมี รูปครุฑจับนาคและเทพพนม อยู่เหนือซุ้มคูหาองค์พระปรางค์ทิศก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับถ้วยกระเบื้องเคลือบสีลวดลายต่างๆ แบบเดียวกับพระปรางค์องค์ใหญ่ และบนส่วนยอดสุดขององค์พระปรางค์ทิศเป็น ‘ยอดนภศูล’ ปิดทอง แต่ไม่มีมงกุฎปิดทองครอบอีกชั้นหนึ่ง (มงกุฎปิดทองครอบยอดนภศูลจะมีเฉพาะพระปรางค์องค์ใหญ่เท่านั้น)

    ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ไม่ได้ทรงมีการปฏิสังขรณ์และเปลี่ยนแปลงพระปรางค์ทิศแต่อย่างใด

    ส่วน พระมณฑปทิศ มีอยู่ ๔ ทิศ คือทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ตั้งอยู่บนฐานทักษิณชั้นที่ ๒ ในระยะระหว่างพระปรางค์ทิศ ภายในองค์พระมณฑปทิศประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ แต่จะเป็นปางใดบ้างนั้น ไม่พบหลักฐาน เมื่อปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตามรายงานของ พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) ชี้แจงว่า มีแต่ฐานพระพุทธรูป องค์พระพุทธรูปไม่มี ตอนฐานของพระมณฑปทิศแต่ละพระมณฑปมี ช่องรูปกินรีและกินนร และเหนือช่องมี รูปกุมภัณฑ์แบก ๒ พระมณฑป คือทิศเหนือกับทิศใต้ มีรูปคนธรรพ์แบก ๒ พระมณฑป คือทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
    พระมณฑปก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับกระเบื้องเคลือบสีลวดลายต่างๆ แบบเดียวกับพระปรางค์องค์ใหญ่และพระปรางค์ทิศ

    ในการปฏิสังขรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่เหลืออยู่ในพระวิหารคดรอบพระปรางค์ของเก่าที่ถูกรื้อไปนั้น นำขึ้นไปประดิษฐานไว้ในมณฑปทิศ คือ พระมณฑปทิศเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประสูติ ทำเป็นรูปพระนางสิริมหามายา พุทธมารดา ประทับยืนเหนี่ยวกิ่งไม้รัง เบื้องพระพักตร์มีรูปพระมหาสัตว์หรือพระพุทธเจ้าแรกประสูติประทับยืนอยู่เหนือดอกบัว ยกพระพาหาข้างขวาขึ้นเหนือพระเศียร ชูนิ้วพระหัตถ์ขึ้น ๑ นิ้ว ประกาศว่าจะทรงเป็นมหาบุรุษผู้เลิศในโลกนี้ และมีรูปเทวดา ๒ องค์ ประคองพระแท่นที่ประทับยืนพระพุทธรูปที่นำขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในพระมณฑปทิศเหนือนี้เป็นของทำขึ้นใหม่ทั้งหมด เพราะแต่เดิมไม่มี
    พระมณฑปทิศตะวันออก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้ มีพระพุทธรูปปางนาคปรกอยู่กลาง และพระพุทธรูปรูปางมารวิชัยอยู่สองข้าง ประทับอยู่ใต้ร่มโพธิ์และร่มไทร
    พระมณฑปทิศใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางเทศนาพระธรรมจักร มีพระปัญจวัคคีย์ ๕ องค์นั่งพนมมือฟังอยู่เฉพาะพระพักตร์ สำหรับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นี้ เป็นของทำขึ้นใหม่ เพราะของเก่าแตกทำลายหมด และพระมณฑปทิศตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์อยู่เหนือแท่นพระบรรทมใต้ต้นรังทั้งคู่ และมีพระภิกษุสงฆ์พุทธสาวกอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ (ข้างหลัง)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 11889444.jpg
      11889444.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.8 KB
      เปิดดู:
      774
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    มณฑปพระพุทธบาทจำลอง
    ตั้งอยู่ระหว่างพระเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ ๔ องค์ กับพระวิหารใหญ่ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่ออิฐถือปูนประดับด้วยกระเบื้องถ้วยสีต่างๆ มีฐานทักษิณ ๒ ชั้น อยู่ระหว่างพระอุโบสถและพระวิหารใหญ่ ภายในมี รอยพระพุทธบาทจำลอง เป็นหินสลักจากกวางตุ้ง สร้างในรัชกาลที่ ๓ หลังคาพระมณฑปเดิมเป็นยอดเกี้ยวแบบจีน ได้พังลงมาเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๔ (พุทธศักราช ๒๔๓๘) สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ทรงรับจัดการเงินและเรี่ยไรซ่อม มีพระประสงค์จะเปลี่ยนหลังคาเป็นยอดมงกุฎ ๔ เหลี่ยม แต่ทำยังไม่ทันแล้วเสร็จ ก็ประชวรสิ้นพระชนม์เสียก่อน และพระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล) ผู้ปฏิสังขรณ์ก็ถึงอนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) ขณะเป็นพระราชโยธาเทพ ทำตามรูปเดิม แต่ในปัจจุบันหลังคาพระมณฑปเป็นของสร้างใหม่ทำด้วยซีเมนต์ สืบได้ความว่า หลังคาพระมณฑปที่ซ่อมใหม่นี้เป็นของทำขึ้นในสมัย พระธรรมเจดีย์ (อุ่ม ธมฺมธโร) เป็นเจ้าอาวาส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3752_1a.JPG
      IMG_3752_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      991.2 KB
      เปิดดู:
      783
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    หอไตร
    มีหอไตร ๒ หอ อยู่ทางด้านหน้าของหมู่กุฏิคณะ ๑ ใกล้กับสระเล็กๆ และรั้วด้านตะวันตกของพระปรางค์ ๑ หลัง ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ทำเป็นปูนปั้นประดับกระเบื้องถ้วยเป็นชิ้นๆ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี กรอบหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายดอกไม้ ลงรักปิดทอง และอีกหลังหนึ่งอยู่มุมด้านเหนือหน้าคณะ ๗ มีช่อฟ้า ใบระกา ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บานหน้าต่างเป็นลายรดน้ำรูปต้นไม้ คติเกี่ยวกับที่มีหอไตร ๒ หอ พระเถระผู้ใหญ่ในวัดนี้เล่าว่า เป็นเพราะวัดแห่งนี้แต่เดิมมีพระราชาคณะได้ ๒ รูป
     
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ประตูซุ้มยอดมงกุฎ และยักษ์วัดอรุณราชวราราม

    ด้านหลังทิศตะวันออกทางที่จะเข้าสู่บริเวณพระอุโบสถมี ประตูซุ้มยอดมงกุฎ ซึ่งตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางพระระเบียงของพระอุโบสถด้านทิศตะวันออก สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เป็นประตูจตุรมุข หลังคา ๓ ชั้น เฉลียงรอบ มียอดเป็นทรงมงกุฎ ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยสลับสี หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ช่อฟ้า ใบระกา หัวนาค และหางหงส์ เป็นปูนประดับกระเบื้องถ้วย หน้าบันเป็นปูนประดับกระเบื้องถ้วย มีลวดลายเป็นใบไม้ ดอกไม้ เชิงกลอนคอสองประดับด้วยกระเบื้องถ้วยเช่นเดียวกัน เสาในร่วมมุขหน้าใช้ไม้สักหน้า ๕.๑๑ นิ้ว ประกับรับสะพานด้านละ ๒ อัน ๔ ด้าน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ประตูซุ้มยอดมงกุฎนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก พระยาราชสงครามได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถ้าจะโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมใหม่ก็ต้องใช้เงินถึง ๑๖,๐๐๐ บาท หรือไม่ก็ต้องรื้อเพราะเกรงจะเป็นอันตรายเมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐินวัดนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้ถ่ายภาพซุ้มประตูเดิมไว้ และให้สร้างตามรูปแบบเก่านั้น โดยทรงรับสั่งว่า “ซุ้มประตูนี้อยากจะให้คงรูปเดิม เพราะปรากฏแก่คนว่าเป็นหลักของบางกอกมาช้านานแล้ว” และ “ขอให้ถ่ายรูปเดิมไว้ให้มั่นคง เวลาทำอย่าให้แปลกกว่าเก่าเลยเป็นอันขาด อย่าเพ่อให้รื้อจะไปถ่ายรูปไว้เป็นพยาน...”
    บริเวณด้านหน้า ‘ประตูซุ้มยอดมงกุฎ’ ก่อนเข้าสู่พระอุโบสถ มีพญายักษ์หรือที่เรียกกันติดปากว่า ‘ยักษ์วัดแจ้ง’ ยืนเฝ้าอยู่ ๒ ตน มือทั้งสองกุมกระบองยืนอยู่บนแท่น มีความสูงประมาณ ๓ วา


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    มีตำนานเรื่องเล่าว่ายักษ์วัดโพธิ์มาตีต่อสู้กับยักษ์วัดแจ้ง โดยมียักษ์วัดพระแก้วเป็นผู้ห้ามทัพ ตีกันจนบ้านเมืองแถวนั้นราบเป็นหน้ากลอง เป็นพื้นที่โล่งเตียน เลยเรียกกันต่อมาว่าท่าเตียน เรื่องเล่ายังสรุปไม่ได้ว่ายักษ์วัดไหนเป็นฝ่ายชนะ แต่ที่แน่ๆ ยักษ์วัดแจ้งนี้เป็นยักษ์ชื่อดังที่ทุกคนรู้จักกันดีจากเรื่องรามเกียรติ์ นั่นก็คือยักษ์ทศกัณฑ์ โดยยักษ์ด้านเหนือกายสีขาวชื่อ ‘สหัสเดชะ’ ส่วนยักษ์ด้านใต้กายสีเขียวชื่อ ‘ทศกัณฐ์’ ยักษ์ทั้งสองตนเป็นยักษ์ปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบสีเป็นลวดลายและเครื่องแต่งตัว ของเดิมสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทำหน้าที่เป็น ‘นายทวารบาล’ ตามคติความเชื่อเทพผู้พิทักษ์รักษาประตู เพื่อให้เทพได้ปกปักรักษาสถานที่สำคัญทางศาสนา ซึ่งต่อมาเป็นเหตุให้เกิดการปั้นรูปยักษ์ยืนในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในเวลาต่อมา รูปยักษ์ยืนทั้งสองตนนี้เป็นของทำขึ้นใหม่ ที่ทำไว้เก่าสมัยรัชกาลที่ ๓ นั้น เป็นฝีมือหลวงเทพ (กัน) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตรัสว่า “หลวงเทพ...ที่ปั้นยักษ์วัดอรุณคู่ที่พังเสียแล้ว เรียกว่าหลวงเทพกัน มีชื่อเดิมติด” และเรื่องหลวงเทพ(กัน) นี้ สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้ได้ทรงอธิบายถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไว้ว่า “ยักษ์วัดแจ้งนั้นเขาพูดถึงของเดิมว่าเป็นฝีมือหลวงเทพกัน คำที่ว่าหลวงเทพฯ นั้น จะเป็นหลวงเทพรจนาหรือหลวงเทพยนต์อะไรก็ไม่ทราบ แต่คำ กัน นั้น เป็นชื่อตัว แต่เพราะฝีมือแกดีจึงโปรดให้ปั้นไว้ รูปเก่านั้นพังไปเสียแล้ว ที่ยืนอยู่บัดนี้เป็นของใหม่ แต่ใหม่ก่อนท่านเจ้านาคไปอยู่แน่ เข้าใจว่ายักษ์วัดแจ้งนั่นแหละพาให้เกิดยักษ์ในวัดพระแก้วขึ้น ในที่สุดยักษ์ก็ต้องมี ที่ต้องมีนั้นจ้างเจ๊กทำก็ได้ เพราะราคาค่อยถูกหน่อย นี่ว่าถึงวัดพระแก้ว แต่ยักษ์คู่ใหม่ที่วัดแจ้งนั้นไม่ทราบ เกล้ากระหม่อมเห็นว่าถ้าหาช่างฝีมือดีปั้นไม่ได้ ไม่ต้องมียักษ์ก็ได้” และว่า “ยักษ์วัดพระแก้วนั้นคงทำขึ้นในรัชกาลที่ ๓ เป็นประเดิม เพราะจำได้ว่าคู่ทศกัณฐ์กับสหัสเดชะนั้นเป็นฝีมือหลวงเทพรจนา (กัน) คือ มือที่ปั้นยักษ์วัดอรุณ สันนิษฐานว่า เพราะเวลานั้นมีช่างฝีมือดีๆ จึงให้ทำขึ้นไว้” เรื่องรูปยักษ์คู่ที่ไม่ใช่ของเก่านั้น ท่านเจ้าคุณพระเทพมุนี (เจียร ปภสฺสโร) (สมณศักดิ์สุดท้ายในพระราชทินนามที่ พระธรรมคุณาภรณ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๒ ได้บันทึกเรื่องยักษ์ไว้เป็นใจความว่า “วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๙๒ กลางคืนฝนตกหนัก อสุนีบาตตกถูกยักษ์หน้าพระอุโบสถด้านเหนือ (สหัสเดชะ) พังลงมาต้องสร้างใหม่” เวลาที่รูปยักษ์ล้มนี้ พระพิมลธรรม (นาค สุมนานาโค) เป็นเจ้าอาวาส ความจริงรูปยักษ์คู่นี้เคยซ่อมมาหลายครั้งแล้ว ดังปรากฏในรายงานมรรคนายก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ ก็มีรายการซ่อมยักษ์ และใน พ.ศ. ๒๔๕๖ ก็ซ่อมแขนยักษ์อีก ส่วนที่ซ่อมและสร้างใหม่นี้ สืบไม่ได้ว่า ใครเป็นผู้ซ่อม ข้างยักษ์ตัวด้านเหนือ ‘สหัสเดชะ’ มีสิงโตหิน ๓ ตัว และข้างตัวด้านใต้ ‘ทศกัณฐ์’ มีสิงโตหินอีก ๓ ตัวเช่นเดียวกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2101294.jpg
      2101294.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63 KB
      เปิดดู:
      760
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    พระเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ ๔ องค์
    ตั้งอยู่ระหว่างพระระเบียงพระอุโบสถด้านใต้กับมณฑปพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเรียงเป็นแถวตรงจากทิศตะวันออก ไปทิศตะวันตก ห่างกันพอควร เป็นพระเจดีย์แบบเดียวกัน และมีขนาดเท่ากันทั้งหมดทั้ง ๔ องค์ คือ เป็นพระเจดีย์ก่อด้วยอิฐถือปูน ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ ประดับกระเบื้องถ้วยและกระจกสีต่างๆ เป็นลวดลายดอกไม้และลายอื่นๆ งดงามมาก มีฐานทักษัณสำหรับขึ้นไปเดินรอบองค์พระเจดีย์ ๑ ชั้น มีบันไดขึ้นลงทางด้านเหนือ บริเวณพระเจดีย์ติดกับพระระเบียงพระอุโบสถปูด้วยแผ่นกระเบื้องหิน พระเจดีย์ทั้ง ๔ องค์นี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ คราวปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ต่อมาปฏิสังขรณ์อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ขณะที่ปฏิสังขรณ์พระปรางค์นั้น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏปิยมหาราชปดิวรัดา ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมราชชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชเทวี, พระราชเทวี และพระอัครชายา โดยลำดับ ได้ทรงบริจาคเงินองค์ละ ๑,๐๐๐ บาท เพื่อปฏิสังขรณ์พระเจดีย์แต่ละองค์
     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน
    มีศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน ทั้งหมด ๖ หลัง ตั้งอยู่ที่เขื่อนบริเวณหน้าวัด ตรงมุมเหนือสุดที่ปากคลองวัดแจ้งหลัง ๑ ตรงกับประตูซุ้มยอดมงกุฎ ๓ หลัง ตรงกับต้นพระศรีมหาโพธิ์หลัง ๑ และตรงกับทางเข้าพระปรางค์ใหญ่อีกหลัง ๑ ที่ศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีนมี สะพาน ยื่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา เว้นแต่ด้านเหนือสุด ส่วนหลังที่ตรงกับทางเข้าพระปรางค์นั้น มีรูปจระเข้หินอยู่ด้านหน้าข้างละตัว ศาลาเหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ เหมือนกันหมด คือหลังคาเป็นรูปเก๋งจีนมียกพื้นสำหรับนั่งพักทำด้วยหินทรายสีเขียว โดยเฉพาะ ๓ หลังตรงประตูซุ้มยอดมงกุฎนั้น หลังเหนือและใต้มีแท่นหินสีเขียวตั้งอยู่ตรงกลาง เข้าใจว่าจะเป็นที่สำหรับวางของ และหลังศาลาเก๋งจีน ๓ หลังนี้มีรูปกินรีแบบจีนทำด้วยหินทรายสีเขียวตั้งอยู่ ๒ ตัว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3791_1a.JPG
      IMG_3791_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      894.8 KB
      เปิดดู:
      800
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ภูเขาจำลอง
    อยู่หน้าวัดทางด้านเหนือ หลังศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน ๓ หลัง กล่าวกันว่า เดิมรัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างภูเขาจำลองขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดให้นำมาไว้ที่วัดนี้ ภูเขาจำลองนี้มีรั้วล้อมไว้เป็นส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ มีตุ๊กตาจีน ๒ ตัวนั่งบนแท่นอยู่นอกรั้วด้านหน้า ตรงประตูเข้าทำเป็นรูปทหารเรือเฝ้าอยู่ ๒ คน

    อนุสาวรีย์ธรรมเจดีย์
    อยู่ด้านใต้ของภูเขาจำลอง มีถนนที่ขึ้นจากศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน ๓ หลัง ไปพระอุโบสถคั่นกลาง อนุสาวรีย์แห่งนี้มีกำแพงเตี้ยๆ เป็นรั้วล้อมรอบ ภายในรั้วนอกจากจะมีโกศหินทรายสีเขียวแบบจีน
    ที่ใช้บรรจุ อัฐิของพระธรรมเจดีย์ (อุ่ม ธมฺมธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๙ แล้ว
    ยังมีประตู มีภูเขาจำลองเตี้ยๆ มีปราสาทแบบจีนเล็กๆ และมีตุ๊กตาหินนอนอยู่ภายใน มีภาษาจีนกำกับซึ่งชาวจีนอ่านว่า ฮก ลก ซิ่ว

    ตุ๊กตาหินจีน
    ตุ๊กตาหินจีนในวัดอรุณฯ นี้ ถือเป็นหนึ่งในสี่วัดที่มีตุ๊กตาหินจีนอยู่มากที่สุด แต่โดยมากแล้วจะเป็นตุ๊กตาหินขนาดเล็กเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยอีก ๓ วัด ที่มีตุ๊กตาหินจีนอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน ก็คือ วัดโพธิ์(วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) วัดสุทัศนเทพวราราม และวัดราชโอรสาราม
    เฉพาะที่ลานพระระเบียงคดที่ล้อมรอบพระอุโบสถมีถึง ๓๐๔ ตัว (ไม่รวมตุ๊กตาหินจีนที่ประดับอยู่รอบๆ) ที่ตั้งเรียงรายอยู่เต็มไปหมด นับตั้งแต่ระหว่างซุ้มเสมายอดมณฑปทั้ง ๘ ซุ้ม ก็มี สิงโตหินจีนตัวเล็ก ตั้งอยู่บนแท่นเรียงกัน เว้นไว้แต่ตรงช่องบันไดทางขึ้นพระอุโบสถเท่านั้น ตุ๊กตาหินจีนในวัดอรุณฯ นี้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่าที่วัดโพธิ์นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของงานสถาปัตยกรรมอื่นๆ อีก
    ไม่ว่าจะเป็น ศาลเจ้า ถะ เขามอ และเสามังกร เป็นต้น ตุ๊กตาหินจีนนั้นสันนิษฐานกันว่ามาโดยพวกที่แล่นเรือสำเภาจีนเข้ามาค้าขายได้นำเข้ามาด้วย ๒ จุดประสงค์คือ เพื่อนำมาเป็นราชบรรณาการแด่รัชกาลที่ ๕ และเพื่อถ่วงน้ำหนักเรือให้สามารถแล่นผ่านคลื่นผ่านลมพายุในทะเลมาได้โดยไม่ล่มเสียก่อน ซึ่งตุ๊กตาเหล่านี้ได้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เครื่องอับเฉาเรือ”

    พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๒
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3334ema.jpg
      IMG_3334ema.jpg
      ขนาดไฟล์:
      962.8 KB
      เปิดดู:
      866
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ไหนๆ ก็ค้นมาลงจนเรื่องราวรายละเอียดของแต่ละวัดเริ่มจะยาวมาก.... อ่านตัวหนังสือ อ่านเรื่องของวัด คงเบื่อหน่ายและเปิดเลยผ่านไป แต่ก็ขอลงไว้เพื่อเป็นข้อมูลเผื่อเป็นประโยชน์... คราวนี้จะขอเลยไปถึงเรื่องราวของคนที่เผาตัวตายเพื่อมุ่งผลสำเร็จของการหลุดพ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ซึ่งสถานที่เกิดเหตุนั้นก็เป็นบริเวณวัดอรุณฯ นั่นเอง

    ตำนานนายเรือง นายนก

    ภายในวัดอรุณฯ จะพบศาลาของนายนกและนายเรือง อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถติดกับรูปปั้นยักษ์ ๒ ตน เรื่องราวของทั้งนายเรืองและนายนกปรากฏใน หลักศิลาจารึกกรุงรัตนโกสินทร์ หลักที่ ๑๓๓ ซึ่งมีใจความกล่าวถึงนายเรืองว่า นายเรืองได้เผาตัวตายเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๓ เนื่องจากเป็นผู้มีความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแก่กล้า กินน้อยมักน้อยใช้ชีวิตอย่างสันโดษ ขยันทำบุญสุนทาน โดยก่อนหน้าที่นายเรืองจะเผาตัวตาย นายเรืองและเพื่อนได้ใช้ดอกบัวมาเสี่ยงทายว่าใครจะสำเร็จพระโพธิญาณก่อนกัน หากรุ่งเช้าดอกบัวของใครบานแสดงว่าคนนั้นเป็นผู้สำเร็จพระโพธิญาณ พอรุ่งเช้าปรากฏว่าดอกบัวของนายเรืองบาน แต่ดอกบัวของเพื่อนนั้นไม่บาน นับแต่นั้นมานายเรืองจึงถือศีลและสวดมนต์อย่างเคร่งครัด และนำผ้ามาพันแขน ราดน้ำมันจุดไฟเผาแขนทั้ง ๒ ข้างต่างธูปเทียนบูชาพระทุกวัน ชาวบ้านหรือใครผ่านมาเห็นเข้าก็นึกว่าบ้าไปแล้ว จนมาวันหนึ่งนายเรืองจึงได้เผาตัวตาย ขณะที่ไฟลุกขึ้นท่วมตัวนั้น นายเรืองตะโกนประกาศร้องดังๆ ว่า “สำเร็จปรารถนาแล้ว….สำเร็จปรารถนาแล้ว….” ก่อนจะสิ้นใจตาย เหตุการณ์ครั้งนี้ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ ๑

    ยังมีความปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า
    "ก่อนที่นายเรืองจะเผาตัวตายประมาณ ๙ – ๑๐ วัน นายเรืองกับเพื่อนอีก ๒ คนคือ ขุนศรีกัณฐัศว์ แห่งกรมม้า และนายทองรัก ได้พากันไปอธิษฐานที่พระอุโบสถวัดครุฑ โดยมีดอกบัวตูมไปคนละดอก ต่างอธิษฐานว่าใครจะสำเร็จพระโพธิญาณแล้ว ขอให้ดอกบัวผู้นั้นจงเบ่งบาน" รุ่งขึ้นปรากฏว่าดอกบัวของนายเรืองบานเพียงผู้เดียว ของอีก ๒ คนไม่ยอมบาน ทำให้นายเรือง เชื่อมั่นว่าตนนั้นจะเป็นผู้ได้สำเร็จพระโพธิญาณ แน่ จึงได้ไปที่ศาลาการเปรียญวัดอรุณฯ สมาทานพระอุโบสถศีล ฟังเทศนาและเอาสำลีชุบน้ำมันวางพาดที่แขน และ จุดไฟเผาเป็นพุทธบูชาแทนดวงประทีป ทุกวัน แม้จะร้อนอย่างไรนายเรืองก็ทนได้ เพราะในใจคิดแต่เรื่องพระโพธิญาณเท่านั้น ในวันเผาตัว เวลาทุ่มเศษ เมื่อนายเรืองได้ฟังเทศน์จบแล้ว ก็นุ่งผ้าชุบน้ำมันเดินออกมาที่หน้าศาลาการเปรียญ นั่งพนมมือในท่าที่เหมือนที่สลักเป็นหินไว้ เมื่อนั่งรักษาอารมณ์จนสงบดีแล้วจึงจุดไฟเผาตัวเอง ขณะที่ไฟลุกขึ้นท้วมตัวนั้น นายเรืองตะโกนประกาศร้องดังๆว่า " สำเร็จปรารถนาแล้ว....สำเร็จปรารถนาแล้ว...."ก่อนจะสิ้นใจตาย

    ว่ากันว่า ขณะนั้นมีคนยืนดูการเผาตัวครั้งนี้ประมาณ ๕๐๐ – ๖๐๐ คน เพราะมีการประกาศให้รู้ล่วงหน้า คนที่ยืนดูต่างก็ร้องดังๆ ว่า “สาธุ!” ขึ้นพร้อมกัน แล้วก็เปลื้องผ้าห่มโยนเข้ากองไฟ แม้แต่คนนับถือศาสนาอื่นยังก้มหัวคำนับแล้วโยนหมวกเข้ากองไฟด้วยจิตคารวะ พอไฟโทรมลง คนที่ศรัทธาได้ช่วยกันยกศพของนายเรืองใส่โลงตั้งไว้ที่ศาลาการเปรียญ สวดอภิธรรม ๓ คืน แล้วจึงนำไปเผาที่ทุ่งนาวัดหงส์รัตนาราม ติดกับพระราชวังเดิม กล่าวกันว่าเมื่อตอนที่จุดไฟเผาศพนายเรือง ได้มีปลาในท้องนากระโดดเข้ามาเผาตัวในกองไฟด้วย ๑๑ – ๑๒ ตัว ส่วนอัฐินายเรืองนั้นปรากฏว่ามีสีต่างๆ ทั้งเขียว ขาว เหลือง ขาบ ดูประหลาด ชาวบ้านจึงชวนกันเก็บใส่โกศดีบุกตั้งไว้บนศาลาการเปรียญวัดอรุณราชวราราม

    ส่วนเรื่องราวของนายนกนั้นพอสรุปได้ว่า นายนกเป็นผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา มักน้อย สันโดษ ใจบุญสุนทาน และเผาตัวตายเพื่อมุ่งบรรลุพระโพธิญาณเช่นเดียวกับนายเรือง แต่เกิดขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๒ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับเจ้าพระยาทิพรกรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๙ ความว่า
    “วันนั้นฝนตกหนัก ตั้งแต่เวลาพลบค่ำจนสิบเอ็ดทุ่มจึงหยุด ครั้งเวลาเช้าชายหญิงจึงมาเห็นนายนกเผาตัวเองตาย ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ที่หน้าพระอุโบสถเก่าแก่ แต่ไฟนั้นดับแล้ว ก่อนหน้านั้นนายนกได้เคยบอกแก่ญาติมิตรชาวบ้านที่ชอบกันว่านายนกจะประพฤติ สุจริต ทำบุญรักษาศีลตั้งจิตปรารถนานิพพานธรรม ตั้งแต่นั้นมานายนกก็ปฏิบัติมักน้อย ลาจากบ้านเรือนญาติมิตรเสีย ออกไปสมาทานศีลเจริญภาวนารักษาจิตอยู่ในศาลาการเปรียญเก่าที่วัดแจ้ง จะได้เป็นกังวลด้วยการบำรุงกายและกิจที่บริโภคนั้นหามิได้ เมื่อใครมีน้ำใจให้อาหารก็ได้บริโภคบ้าง บางทีก็ไม่ได้บริโภคอาหาร อดอาหารมื้อหนึ่งบ้าง บางวันก็ไม่ได้บริโภค ทรมานตนมาจนวันเผาตัวตาย เมื่อนายนกจะเผาตัวนั้นได้บอกกล่าวญาติมิตรผู้หนึ่งผู้ใดนั้นไม่มี คนทั้งปวงเมื่อเห็นศพนายนกก็พากันทำบุญสักการบูชาศพนายนกเป็นอันมาก”

    การเผาตัวตายของคนทั้ง ๒ เป็นการเอาชีวิตบูชาพระรัตนตรัย การที่คนมีความเลื่อมใสในศาสนาแก่กล้าจนถึงสละชีวิตตน ด้วยเข้าใจว่าจะแลกเอามรรคผลในทางศาสนานั้น มีทุกลัทธิศาสนา แม้มีสิกขาบทห้ามในพระวินัย ก็ยังมีหนังสืออื่นที่โบราณาจารย์แต่งยกย่องการสละชีวิตให้เป็นทาน เพื่อแลกเอาประโยชน์พระโพธิญาณ จึงทำให้คนแต่ก่อนโดยมากมีความนิยมว่า การสละชีวิตเช่นนั้น เป็นความประพฤติชอบ ทำให้เห็นว่าคนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และศึกษาปฏิบัติธรรม ทำบุญหรือทำสิ่งใดก็ตามเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน ดังจะเห็นได้จากการกระทำของนายเรืองและนายนก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    สมัยก่อนมีเกาะอยู่หน้าวัดอรุณฯ ด้วยนะ ปัจจุบันพังทลายหายไปหมดแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 35069.jpg
      35069.jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.2 KB
      เปิดดู:
      810
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วัดที่มาไหว้พระในครั้งนี้ หลายๆ วัดกำลังอยู่ระหว่างการบูรณะ ทำให้เก็บภาพลำบาก เจอแต่นั่งร้าน ในวัดอรุณฯ ก็เช่นกัน จึงทำให้เดินขึ้นไปถ่ายรูปมุมสูงและมุมมหาชนบนพระปรางค์ไม่ได้ ไว้วันหน้าคงมีโอกาสมาเก็บตกอีกครั้ง...

    ตอนนี้ทำบุญไหว้มาได้แล้ว ๔ วัด เริ่มหมดแรงเดิน ดวงอาทิตย์ทำงานได้ร้อนแรงมาก ยังเหลืออีก ๕ วัด เมื่อคนมาพร้อมกันแล้ว ลงเรือไปกันต่อ....
     
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    วัดที่ ๕ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

    วัดกัลยาณมิตร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร เป็นวัดขนาดใหญ่ตรงปากคลองบางกอกใหญ่ หน้าวัดอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับโรงเรียน มีที่ธรณีสงฆ์วัดกัลยาณมิตรนั้นมีอีก ๘ แปลง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบีเอตริศภัทรายุวดี และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาแสง ธิดาพระยาไชยวิชิต (ช่วง กัลยาณมิตร
    บุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร) ถวายวัดไว้จำนวนเนื้อที่ ๓๘ ไร่ ๑ งาน ๖๐ ตารางวา คือ ที่ดินตำบลบ้านแขกตึกขาว อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี หรือในปัจจุบันคือที่ดินในซอยช่างนาค ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยานิกรบดินทร (เจ้าสัวโต ต้นสกุลกัลยาณมิตร) ว่าที่สมุหนายก ชื่อจีนว่า เต๋า แซ่อึ้ง เมื่อครั้งยังเป็นพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง(มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีไพร่พลตลอดจนการเกณฑ์ชายฉกรรจ์เข้ามาฝึกอาวุธและวิชาการรบ เพื่อเป็นกำลังสำรองเวลาบ้านเมืองมีศึกสงคราม) ได้อุทิศที่บ้านและซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงเพิ่มเติมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างพระอาราม ที่ดินบริเวณที่จะสร้างวัดกัลยาณมิตรนี้เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีดิน เป็นแม่น้ำดอนขึ้น ครั้งกรุงธนบุรีเป็นที่จอดแพได้ พอนานวันเข้าที่ดอนเป็นดินกลายเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพ่อค้าชาวจีนฮกเกี้ยนที่ได้รับพระราชทานที่ดินจากพระมหากษัตริย์ไทย เช่น หลวงพิชัยวารี (เจ้าสัวมั่ง แซ่อึ้ง)บิดาของเจ้าพระยานิกรบดินทร ชุมชนย่านนี้นอกจากชาวจีนแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของทั้งชาวโปรตุเกส ชาวมุสลิม ชาวไทย และยังมีพระภิกษุจีนพำนักอยู่ด้วย ชาวบ้านจึงเรียกย่านนี้ว่า ชุมชนกะดีจีน หรือกุฎีจีน

    การก่อสร้างพระอารามเริ่มลงมือเมื่อปีระกา พ.ศ.๒๓๖๘ เป็นปีที่ ๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดกัลยาณมิตร” ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ บันทึกไว้ว่า “...เจ้าพระยานิกรบดินทรยกที่บ้านเดิมของท่าน แล้วซื้อที่บ้านข้าราชการและบ้านเจ้าสัว เจ้าภาษี นายอากรอื่นอีกหลายบ้านสร้างเป็นวัดใหญ่ พระราชทานชื่อ วัดกัลยาณมิตร แต่พระวิหารใหญ่เป็นของหลวง...”

    นามพระราชทานวัดว่า “วัดกัลยาณมิตร” ที่หมายถึง มิตรดีหรือเพื่อนดี เพื่อนผู้มีกัลยาณมิตร คงมาจากความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ที่มีต่อเจ้าพระยานิกรบดินทร ผู้สร้างวัดนี้ ซึ่งได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่พระองค์ยังดำรงพระยศในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ประทับอยู่ที่วังท่าพระ ทรงกำกับราชการกรมท่า เจ้าพระยานิกรบดินทรได้เข้านอกออกในวังท่าพระทุกวัน จนคุ้นเคยสนิทสนมกับข้าในวังโดยเฉพาะห้องเครื่อง เพราะท่านเป็นผู้จัดทำแกงจืดอย่างจีนที่เรียกว่า “เกาเหลา” ถวายเสด็จในกรมฯ เลี้ยงบรรดาเจ้านายข้าราชการที่เมื่อออกจากเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรัชกาลที่ ๒ แล้ว ส่วนมากมักแวะมาพักและรับประทานอาหารว่างที่วังท่าพระก่อน

    เสด็จในกรมฯ ทรงค้าขายทางสำเภาด้วย ทำให้เจ้าพระยานิกรบดินทรได้ค้าขายสำเภาร่วมกับพระองค์ทั้งก่อนและภายหลังเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ และจะเห็นได้จากการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารหลวงพระราชทานช่วยเมื่อเจ้าพระยานิกรบดินทรสร้างวัดถวาย ด้วยทรงพระเมตตากรุณารักใคร่เป็นพิเศษ พร้อมกับเสด็จพระราชดำเนินก่อพระฤกษ์พระโต เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๘๐ พระราชทานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง พระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์นี้เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมือง อย่างเช่นวัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปปางป่าลิไลยก์พระราชทานช่วยเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และสร้างศาลาการเปรียญพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร ผู้เป็นกัลยาณมิตรของพระองค์

    ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอไตร ณ วัดกัลยาณมิตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๘ พระราชทานนามว่า “หอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ” ทั้งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติแห่งพระบรมราชมาตามหัยยิกา กรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) ผู้เป็นพระเชษฐภคินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบรมราชมาตามหัยยิกาธิบดี พระภัสดาในกรมพระศรีสุดารักษ์ (ขรัวเงิน) ซึ่งเป็นพระชนนีและพระชนกในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (เจ้าฟ้าบุญรอด) พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างตรงบริเวณที่จอดแพของสมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์มาก่อน เพื่อประกอบพระราชกุศลตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมเชษฐาธิราช กับทั้งเป็นการปูนบำเหน็จเชิดชูเกียรติของเจ้าพระยานิกรบดินทรด้วย ในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาราชสุภาวดี (โต) เป็นเจ้าพระยานิกรบดินทร มหินทรมหากัลยาณมิตรฯ ที่สมุหนายกสำเร็จราชการทั้งปวงในกรมมหาดไทย นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในพระวิหารหลวง ซึ่งเดิมเรียกว่า “พระโต” ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” นามพระราชทานเหมือนกันกับที่พระราชทาน “พระโต”วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวง พระราชทาน ณ วัดกัลยาณมิตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕ นั้น ทรงทราบในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชชนกในการที่ทรงสร้างหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ จึงมีพระราชดำริถามถึง และมีพระบรมราชโองการว่า หากหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติทรุดโทรมลงเมื่อใด ให้กราบบังคมทูล แล้วจะทรงซ่อมแซมด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และต่อมาเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร บุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร) กราบบังคมทูลถึงความชำรุดทรุดโทรมของวัดและขาดทุนทรัพย์ในการซ่อมแซม จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการจัดการซ่อมแซม

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรูปหล่อทรงเครื่องจอมพลทหารมหาดเล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานธรรมาสน์ สลักลวดลายปิดทองประดับมุกและกระจก เนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระอุณาโลมพระพุทธไตรรัตนนายก ซึ่งเป็นทองคำหนัก ๔๐ บาท แต่น่าเสียดายที่มีคนมาลักลอบขโมยไป

    ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ และพ.ศ.๒๕๑๙ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปิดทององค์พระพุทธไตรรัตนนายก พระประธานประจำพระวิหารหลวง เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐

    โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงยกช่อฟ้าพระวิหารหลวง เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    สิ่งสำคัญภายในวัด

    พระวิหารหลวง
    เป็นพระวิหารที่มีขนาดใหญ่โตมาก วางรากฐานโดยไม่ได้ตอกเสาเข็ม แต่ใช้วิธีขุดพื้นรูปสี่เหลี่ยมฐานกว้างและใช้ไม้ซุงทั้งท่อนเรียงทับซ้อนกัน ๒ – ๓ ชั้น ลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย ขนาดกว่าง ๓๑.๔๒ เมตร ยาว ๓๕.๔๘ เมตร ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เชิงชาย หน้าบันสลักลายดอกไม้ปูนปั้นประดับกระจกตามแบบศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๓ ประตูหน้าต่างเป็นไม้สักแผ่นเดียวเขียนลายรดน้ำลายทองรูปธรรมบาล ด้านในพระวิหารหลวงมีผนังเป็นลายดอกไม้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้รับการอนุรักษ์ซ่อมแซมโดยโครงการมรดกโลก ตั้งอยู่กลางวัดตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3429_1b.JPG
      IMG_3429_1b.JPG
      ขนาดไฟล์:
      690.8 KB
      เปิดดู:
      785

แชร์หน้านี้

Loading...