กายละเอียดต่างต่าง ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 31 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER> มโนมยิทธิญาณ</CENTER>




    </PRE>


    [๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส




    </PRE>
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้
    มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง
    เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง

    อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
    <SMALL>@๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ-</SMALL>
    <SMALL>@ เวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ</SMALL>
    <SMALL>@๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ</SMALL>
    ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
    จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
    ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล

    เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
    โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
    น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
    ทัดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๑๗๔๒ - ๑๙๑๙. หน้าที่ ๗๒ - ๗๙.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1742&Z=1919&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Image-05x.jpg
      Image-05x.jpg
      ขนาดไฟล์:
      276 KB
      เปิดดู:
      327
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>












    <CENTER></CENTER><CENTER>อโยคุฬสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์</CENTER>[๑๒๐๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหม-*โลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จแต่ใจ?

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์พร้อมทั้งกายอันสำเร็จแต่ใจ.
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้?
    พ. เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ พร้อมทั้งกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้.
    [๑๒๐๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จด้วยใจ และทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ทั้งไม่เคยมีมาแล้ว. พ. ดูกรอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์ และประกอบด้วยธรรมอันน่า-*อัศจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยมีมา และประกอบด้วยธรรมอันไม่เคยมีมา.

    [๑๒๑๐] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ.

    [๑๒๑๑] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนก้อนเหล็กที่เผาไฟอยู่วันยังค่ำ ย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้นกายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๒๑๒] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิตหรือตั้งจิตลงไว้ที่กายก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่
    สมัยนั้น กายของตถาคต ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายคน คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

    [๑๒๑๓] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ซึ่งเป็นเชื้อธาตุที่เบา ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย
    ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

    [๑๒๑๔] ดูกรอานนท์ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.










    <CENTER>จบ สูตรที่ ๒</CENTER>เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๐๒๘ - ๗๐๖๕. หน้าที่ ๒๙๓ - ๒๙๔.

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=7028&Z=7065&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y9296500-37.jpg
      Y9296500-37.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.7 KB
      เปิดดู:
      191
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    [๒๕๓] ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดรูปกาย (ของตน)และจิต (มีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา เป็นอิทธิวิธญาณอย่างไร ฯ




    ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยฉันทะและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยวิริยะและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยจิตและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยวิมังสาและสังขารเป็นประธาน ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้


    ครั้นแล้วย่อมตั้งกายไว้ในจิตบ้าง ตั้งจิตไว้ในกายบ้าง



    น้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งกายบ้าง




    น้อมกายไปด้วยสามารถแห่งจิตบ้าง




    อธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งกายบ้าง




    อธิษฐานกายด้วยสามารถแห่งจิตบ้าง





    ครั้นน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งกาย น้อมกายไปด้วยสามารถแห่งจิตอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งกาย อธิษฐานกายด้วยสามารถแห่งจิตแล้ว





    ย่อมหน่วงสุขสัญญาและลหุสัญญาลงในกายอยู่ เธอมีจิตอันอบรมแล้วอย่างนั้นบริสุทธิผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธญาณ





    เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ฯ





    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัดเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดรูปกาย(ของตน) และจิต (อันมีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา เป็นอิทธิวิธญาณ ฯ



    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๗๙๗ - ๒๘๒๑. หน้าที่ ๑๑๔ - ๑๑๕. http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=2797&Z=2821&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER></CENTER><CENTER>พราหมณวรรค</CENTER><CENTER>๑. พรหมายุสูตร</CENTER><CENTER>พรหมายุพราหมณ์ต้องการเฝ้าพระพุทธเจ้า</CENTER>




    </PRE>








    เมื่อเสด็จดำเนิน
    พระกายส่วนบนไม่หวั่นไหว ไม่เสด็จดำเนินด้วยกำลังพระกาย
    เมื่อทอดพระเนตร ทรงทอดพระเนตรด้วยพระกายทั้งหมด ไม่ทรงทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน ไม่ทรงทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ
    เสด็จดำเนินไม่ทรงเหลียวแล ทรงทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก







    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๙๑๙๕ - ๙๔๘๓. หน้าที่ ๔๐๑ - ๔๑๓.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=9195&Z=9483&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร</CENTER><CENTER>ปฐมเทศนา</CENTER>
    </PRE>


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาน ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.



    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๓๕๕ - ๔๔๕. หน้าที่ ๑๕ - ๑๙.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=4&A=355&Z=445&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    [๒๔๓] ฝ่ายเจ้าโอฏฐัทธลิจฉวีพร้อมด้วยบริษัทลิจฉวีหมู่ใหญ่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-*พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า




    </PRE>

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนๆ สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเข้าไปหาข้าพระองค์แล้วบอกว่า มหาลี ตลอดเวลาที่ข้าพเจ้าอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ไม่ทันถึง ๓ ปีข้าพเจ้าก็ได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด




    </PRE>

    แต่มิได้ยินเสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด




    </PRE>

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสียงทิพย์อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ที่สุนักขัตตลิจฉวีบุตรไม่ได้ยินนั้นมีอยู่หรือไม่.
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มี มหาลี มิใช่ ไม่มี.




    </PRE>



    เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวีทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเล่าเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่มิให้สุนักขัตตลิจฉวีบุตรได้ยินเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ที่มีอยู่ มิใช่ว่าไม่มีนั้น.<CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>สมาธิที่บำเพ็ญเฉพาะส่วน</CENTER>




    </PRE>

    [๒๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิเฉพาะส่วนเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออกแต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก




    </PRE>



    แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ทั้งนี้ เพราะภิกษุนั้นเจริญสมาธิเฉพาะส่วนเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออกแต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.<CENTER></CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๔๔๔๖ - ๔๔๖๖. หน้าที่ ๑๘๖
    .http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=4446&Z=4466&pagebreak=0






    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • %205%2~1.JPG
      %205%2~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      87.7 KB
      เปิดดู:
      177
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑



    อัตถสันทัสสกเถราปทานที่ ๗ (๑๓๗)
    ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระพุทธเจ้า ๓ คาถา

    [๑๓๙] เรานั่งอยู่ในโรงอันกว้างใหญ่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระ
    ผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้บรรลุพลธรรมแวดล้อมด้วย
    ภิกษุสงฆ์ ภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑ แสน ผู้บรรลุวิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖
    มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า ใครเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส ใน
    มนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกไม่มีอะไรเปรียบ ในพระญาณของพระสัมพุทธ-
    เจ้าองค์ใด ใครได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณไม่สิ้นสุด
    แล้ว จะไม่เลื่อมใสเล่า
    ชนทั้งหลายแสดงธรรมกาย และไม่อาจทำรัตนากรทั้งสิ้นให้กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า
    พราหมณ์นารทะนั้นชมเชยพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระผู้ไม่แพ้ด้วย ๓ คาถา
    นี้แล้วเดินไปข้างหน้า ด้วยจิตอันเลื่อมใสและด้อยการชมเชยพระพุทธเจ้า
    นั้น เราไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัลป ในกัลปที่ ๓๐๐๐ แต่กัลปนี้
    ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์พระนามว่าสุมิตตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว
    ๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
    และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
    ดังนี้.
    ทราบว่า ท่านพระอัตถสันทัสสกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

    จบ อัตถสันทัสสกเถราปทาน.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๔๐๒๓ - ๔๐๔๑. หน้าที่ ๑๘๖ - ๑๘๗.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Image-05x.jpg
      Image-05x.jpg
      ขนาดไฟล์:
      276 KB
      เปิดดู:
      155
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2015
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>๕. สรภังเถรคาถา</CENTER><CENTER>คาถาสุภาษิตของพระสรภังคเถระ</CENTER>[๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อ โดยสมมติว่า สรภังคะ
    วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ เราทั้งหลาย
    เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น
    โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ ดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
    พระวิปัสสี
    พระสิขี
    พระ เวสสภู
    พระกกุสันโธ
    พระโกนาคม
    พระกัสสป
    ได้ เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น
    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส
    เสด็จ อุบัติแท้ โดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์ สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และ เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.
    <CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>พระเถระ ๕ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละ ๗ คาถา รวมเป็น ๓๕ คาถาคือ ๑. พระสุนทรสมุททเถระ ๒. พระลกุณฏภัททิยเถระ ๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ ๕. พระสรภังคเถระ.<CENTER>จบ สัตตกนิบาต.</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>


    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y9296500-37.jpg
      Y9296500-37.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.7 KB
      เปิดดู:
      212
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2015
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>๙. พรหมนิมันตนิกสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยพกพรหมมีทิฏฐิอันลามก</CENTER>


    </PRE>







    ดูกรพรหม เราย่อมรู้ความสำเร็จ และย่อมรู้อานุภาพของท่านอย่างนี้ว่า พกพรหมมีฤทธิ์
    มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้. ดูกรพรหมกาย ๓
    อย่างอื่นมีอยู่ ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นในกาย ๓ อย่างนั้น เราย่อมรู้ ย่อมเห็นกายเหล่านั้น
    . ดูกรพรหม
    กายชื่ออาภัสสระมีอยู่. ท่านเคลื่อนแล้วจากที่ใด มาอุบัติแล้วในที่นี้ ท่านมีสติหลงลืมไปเพราะ
    ความอยู่อาศัยนานนัก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่รู้ไม่เห็นกายนั้น เราย่อมรู้ ย่อมเห็นกายนั้น.
    ดูกรพรหม เราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมี
    แต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน. ดูกรพรหม กายชื่อสุภกิณหะ กายชื่อเวหัป-
    *ผละมีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นกายนั้น เราย่อมรู้ ย่อมเห็นกายนั้น. ดูกรพรหม เราเป็น
    ผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้
    เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน. ดูกรพรหม เรารู้จักดินแลโดยความเป็นดิน รู้จักนิพพานอันสัตว์
    เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน แล้วไม่เป็นดิน ไม่ได้มีแล้วในดิน ไม่ได้มีแล้วแต่ดิน ไม่ได้
    มีแล้วว่าดินของเรา ไม่ได้กล่าวเฉพาะดิน. ดูกรพรหมเราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้
    ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงกว่าท่าน.
    ดูกรพรหม เรารู้จักน้ำ ... ดูกรพรหม เรารู้จักไฟ ... ดูกรพรหม เรารู้จักลม ... ดูกรพรหม เรารู้จักเหล่า
    สัตว์ ... ดูกรพรหม เรารู้จักเทวดา ... ดูกรพรหม เรารู้จักปชาบดี ... ดูกรพรหม เรารู้จักพรหม ... ดูกรพรหม
    เรารู้จักพวกอาภัสสรพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักพวกสุภกิณหพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักพวก
    เวหัปผลพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักอภิภูพรหม ... ดูกรพรหม เรารู้จักสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นสิ่ง
    ทั้งปวง รู้จักนิพพานอันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง แล้วไม่เป็นสิ่งทั้งปวง
    ไม่ได้มีแล้วในสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีแล้วแต่สิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีแล้วว่าสิ่งทั้งปวงของเรา ไม่ได้กล่าว
    เฉพาะสิ่งทั้งปวง. ดูกรพรหม เราเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอกับท่านด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เรา
    เป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงกว่าท่าน. พกพรหมกล่าวกะเราว่า
    ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ถ้าแลเพราะท่านรู้นิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง
    ถ้อยคำของท่านอย่าได้ว่างเสียเลย อย่าได้เปล่าเสียเลย. นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิ-
    *ทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ) เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและ
    ความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง อันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ
    โดยความที่ไฟเป็นไฟ โดยความที่ลมเป็นลม โดยความที่เหล่าสัตว์เป็นเหล่าสัตว์ โดยความที่เทวดา
    เป็นเทวดา โดยความที่ปชาบดีเป็นปชาบดี โดยความที่พรหมเป็นพรหม โดยความที่เป็นอาภัสสร-
    *พรหมเป็นอาภัสสรพรหม โดยความที่สุภกิณหพรหมเป็นสุภกิณหพรหม โดยความที่เวหัปผลพรหม
    เป็นเวหัปผลพรหม โดยความที่อภิภูพรหมเป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งทั้งปวง.
    พกพรหมกล่าวกะเราว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ มิฉะนั้น บัดนี้เราจะหายไปจากท่าน. เรากล่าวว่า
    ดูกรพรหม ผิฉะนั้น บัดนี้ ถ้าท่านอาจจะหายไปได้ ก็จงหายไปเถิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ครั้งนั้นแล พกพรหมกล่าวว่า เราจักหายไปจากพระสมณโคดม เราจักหายไปจากพระสมณโคดม
    แต่ก็ไม่อาจหายไปจากเราได้โดยแท้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้
    กล่าวกะพกพรหมว่า ดูกรพรหมผิฉะนั้น บัดนี้ เราจะหายไปจากท่าน. พกพรหมกล่าวว่า ดูกร
    ท่านผู้นฤทุกข์ ผิฉะนั้น บัดนี้ ถ้าท่านอาจหายไปได้ ก็จงหายไปเถิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น
    เราบันดาลอิทธาภิสังขารให้เป็นเหมือนอย่างนั้น
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัท
    ก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ย่อมได้ยินเสียงเรา แต่มิได้เห็นตัวเรา ดังนี้. เราหายไปแล้ว ได้
    กล่าวคาถานี้ว่า:-
    เราเห็นภัยในภพ และเห็นภพของสัตว์ผู้แสวง
    หาที่ปราศจากภพแล้ว ไม่กล่าวยกย่องภพ
    อะไรเลย ทั้งไม่ยังนันทิให้เกิดขึ้นด้วย ดังนี้.
    [๕๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะ
    ก็ดี ได้มีความแปลกประหลาดอัศจรรย์จิตว่า ดูกรท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ แปลกประหลาดหนอ พระสมณ-
    *โคดม มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก่อนแต่นี้พวกเราไม่ได้เห็น ไม่ได้ยินสมณะหรือพราหมณ์อื่น
    ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนพระสมณโคดมนี้ ผู้ออกผนวชแต่ศากยสกุล ถอนภพพร้อม
    ทั้งรากแห่งหมู่สัตว์ ผู้รื่นรมย์ยินดีในภพ เมาในภพ.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๑๐๑๓๔ - ๑๐๒๘๖. หน้าที่ ๔๑๗ - ๔๒๓.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=10134&Z=10286&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก</BIG> <CENTER class=D>สโมธานกถา</CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๒ / ๗.























    </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>อีกอย่างหนึ่ง บารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบคุณวิเศษ.</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส. </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือบารมีย่อมถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ.</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่นดุจรู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษคือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว. </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง. </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจากธรรมกาย อันเป็นอัตตา</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือหมู่โจรคือกิเลสอันทำความพินาศแก่ตนนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปรมะ</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่ามหาสัตว์.







    </CENTER><CENTER>คำเป็นต้นว่า ปรมสฺส อยํ ดังนี้ก็พึงประกอบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว.








    หรือบารมีย่อมขัดเกลาคือย่อมบริสุทธิ์ ในฝั่งคือพระนิพพาน และยังสัตว์ทั้งหลายให้หมดจด.</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือบารมีย่อมผูกย่อมประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น. </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือบารมีย่อมไปย่อมถึงย่อมบรรลุถึงพระนิพพานนั้น. </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือบารมีย่อมกำหนดรู้ซึ่งพระนิพพานนั้นตามความเป็นจริง. </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือบารมีย่อมตักตวงซัดสัตว์ไว้ในพระนิพพานนั้น. </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หรือบารมีย่อมกำจัดข้าศึกคือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น. </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>ฉะนั้นจึงชื่อว่าบารมี.







    </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=244
    (หมายเหตุ; บารมีไม่ได้ทำลายธรรมกาย แต่ทำลายปฏิปักษ์อื่นคือ ให้ ออกจากหรือให้หมดจากหรือ ปัดไปให้พ้น จาก ธรรมกาย อันเป็นอัตตา)</CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2015
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗</CENTER><CENTER>ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี</CENTER>
    </PRE>
    ..........................................................................


    ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉัน
    เป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้
    อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว หม่อมฉันให้พระองค์
    ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนม คือ
    พระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่ม
    แล้ว

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๔๗๑ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๓ - ๒๑๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=4471&Z=4887&pagebreak=0


    ดิฉันทั้งหลายได้ออกจากเรือนพร้อมด้วยพระแม่เจ้า เมื่อ
    ดิฉันทั้งหลายออกจากภพนี้ไปสู่บุรีคือนิพพานอันอุดม ดิฉันทั้งหลาย
    ก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมีได้
    กล่าวว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน ดิฉันจักว่าอะไรได้เล่า

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๔๗๑ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๓ - ๒๑๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=4471&Z=4887&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2015
  12. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG></BIG></CENTER><CENTER><BIG><CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</CENTER><CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    <CENTER></CENTER><CENTER>๕. โกลิตสูตร</CENTER>[๗๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติอันตั้งไว้แล้วในภายใน อยู่ในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติอันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่ในที่ไม่ไกล ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ภิกษุเข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว สำรวมแล้วในผัสสายตนะ ๖ มีจิตตั้งมั่นแล้วเนืองๆ</BIG>
    </CENTER><CENTER><BIG> พึงรู้ความดับกิเลสของตน ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๕</CENTER>


    </PRE>

    </BIG>
    </CENTER><CENTER><BIG></BIG></CENTER><CENTER><BIG></BIG></CENTER><CENTER><BIG></BIG></CENTER><CENTER><BIG></BIG></CENTER><CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน นันทวรรคที่ ๓ โกลิตสูตร</BIG> </CENTER><CENTER class=D></CENTER>

    <CENTER>อรรถกถาโกลิตสูตร </CENTER>



    บทว่า ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พระนิพพานอันเป็นอสังขตธาตุ นำมาซึ่งความสุขอย่างแท้จริง โดยเป็นอารมณ์อันดีเยี่ยมแก่มรรคญาณและผลญาณ ซึ่งได้บัญญัติว่า อัตตา เพราะไม่เป็นอารมณ์ของปุถุชนอื่น แม้โดยที่สุดความฝัน แต่เพราะเป็นแผนกหนึ่งแห่งมรรคญาณและผลญาณนั้นๆ ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และเพราะเป็นเช่นกับอัตตา จึงเรียกว่า อตฺตโน ของตน
    พึงรู้ คือพึงทราบพระนิพพานนั้น อธิบายว่า พึงรู้แจ้ง คือพึงทำให้แจ้งด้วยมรรคญาณและผลญาณทั้งหลาย. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึงความที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตน้อมไปในพระนิพพาน.
    จริงอยู่ พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมอยู่ แม้ในเวลาที่อธิจิตเป็นไป ก็อยู่โดยภาวะที่น้อมโน้มโอนไปในพระนิพพานโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ก็ในที่นี้ สติเป็นไปใน<WBR>กาย<WBR>ปรากฏ<WBR>แก่<WBR>ภิกษุ<WBR>ใด ภิกษุ<WBR>นั้นสำรวม<WBR>แล้วในผัสสายตนะ ๖ ต่อแต่นั้น ก็มีจิตตั้งมั่นเนืองๆ พึงรู้พระนิพพานของตน ด้วยการกระทำให้ประจักษ์แก่ตน พึงทราบการเชื่อมบทแห่งคาถาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=77
     
  13. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>นันทิวิสาลสูตรที่ ๘</CENTER>[๓๐๑] นันทิวิสาลเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วจึงได้กล่าวคาถาทูลถวายพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ สรีรยนต์ มีจักร <SUP>๑-</SUP> ๔ มีทวาร <SUP>๒-</SUP> ๙ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ประกอบด้วยความโลภ ย่อมเป็น ประดุจเปือกตม ไฉนจักมีความออกไปจากทุกข์ได้ ฯ
    [๓๐๒] พ. บุคคลตัดความผูกโกรธด้วย กิเลสเป็นเครื่องรัดด้วยความปรารถนาและความโลภอันชั่วช้าด้วย
    ถอนตัณหาพร้อมทั้งอวิชชาอันเป็นมูลรากเสียได้ อย่างนี้จึงจักออกไปจากทุกข์ได้
    <CENTER></CENTER>


    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2015
  14. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๑๐. ปัจจัยสูตร</CENTER>
    </PRE>

    [๖๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท
    เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
    พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ๑-
    ธัมมนิยาม ๒- อิทัปปัจจัย ๓- ก็ยังดำรงอยู่



    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๙๐ - ๖๔๑. หน้าที่ ๒๔ - ๒๖.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=590&Z=641&pagebreak=0
     
  15. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค</BIG> <CENTER class=D>ธนิยสูตร</CENTER></CENTER>








    <CENTER>อรรถกถาธนิยสูตร </CENTER>
    ลำดับนั้น นายธนิยะเห็นแล้วซึ่งธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธาซึ่งตั้งมั่นแล้ว
    อันเกิดขึ้นแล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลน ผ้้มีหทัยอันธรรมกายตักเตือนแล้ว
    คิดแล้วว่า นับตั้งแต่อเวจีเป็นที่สุดจนถึงภวัครพรหม เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลังเช่นนี้ได้ พระศาสดาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า เราตัดเครื่องผูกทั้งหลายได้แล้ว และการนอนในครรภ์ของเราไม่มี.
    ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งรัศมีแห่งพระกาย ซึ่งเป็นราวกะว่าแสงเรืองรองที่รดด้วยน้ำทองอันงดงามไปด้วยข่ายแห่งฉัพพัณณรังสี เข้าไปในบ้านของนายธนิยะ ด้วยประสงค์ว่า บัดนี้ เชิญท่านจงดูตามสบาย.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=295
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  16. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค</BIG> <CENTER class=D>ธนิยสูตร</CENTER></CENTER>






    <CENTER>อรรถกถาธนิยสูตร </CENTER>

    ใน ๒ คาถานั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระ<WBR>ภาค<WBR>เจ้า<WBR>ด้วยการแทงตลอดอริยมรรค
    เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกุตรจักษุ
    และกลับได้สัทธาที่<WBR>เป็น<WBR>โลกิย<WBR>สัทธา ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มี<WBR>พระ<WBR>ภาค<WBR>เจ้า.
    คำว่า วต ในคำว่า ลาภา วต โน อนปฺปกา นั้น เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า ปลื้มใจ.
    บทว่า โน คือ ข้าพระองค์ทั้งหลาย. บทว่า อนปฺปกา ได้แก่ มาก.
    คำที่เหลือเข้าใจง่ายทั้งนั้น.
    ส่วนในคำว่า สรณํ ตํ อุเปม นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
    การถึงสรณะของนายธนิยะนั้นสำเร็จแล้วด้วยการบรรลุมรรคนั้นแล แม้ก็จริง ถึงกระนั้นในคำนั้น นายธนิยะนั้นถึงการตกลงทีเดียว บัดนี้เขากระทำการมอบตนด้วยวาจา.
    อีกอย่างหนึ่ง เขาเมื่อกระทำที่พึ่งด้วยการมอบตนให้ปรากฏด้วยสามารถแห่งมรรค และทำสรณะที่ไม่หวั่นไหวนั้น ให้ปรากฏด้วยวาจาแก่คนเหล่าอื่น จึงถึงสรณคมน์ด้วยการนอบน้อมด้วยมือ (อีก).
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=295
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  17. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
    ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER></PRE>
    <CENTER>๔. อุรคชาดก</CENTER></PRE>
    <CENTER>เปรียบคนตายเหมือนงูลอกคราบ</CENTER></PRE>
    [๗๑๗] บุตรของข้าพเจ้า ละทิ้งร่างกายของตนไป ดุจงูละทิ้งคราบเก่าไป </PRE>
    ฉะนั้น</PRE> เมื่อร่างกายแห่งบุตรของข้าพเจ้าใช้อะไรไม่ได้ เมื่อบุตรของข้าพเจ้ากระทำ กาละไปแล้วอย่างนี้ บุตรของข้าพเจ้าถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้ ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติของตน มีอย่างใด เขาก็ย่อมไปสู่คติของตนอย่างนั้น. เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๓๔๐๗ - ๓๔๓๕. หน้าที่ ๑๖๓ - ๑๖๔. http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=3407&Z=3435&pagebreak=0
     
  18. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน โพธิวรรคที่ ๑ พาหิยสูตร</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>

    <CENTER>อรรถกถาพาหิยสูตร </CENTER>

    บทว่า ปาสาทิกํ ความว่า นำมาซึ่งความเลื่อมใสรอบด้านแก่ชนผู้ขวนขวายในการเห็นพระรูปกาย เพราะความสมบูรณ์ด้วยความงามแห่งสรีระของพระองค์ อันนำความเลื่อมใสมารอบด้าน อันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีด้านละวา และพระเกตุมาลารัศมีที่เปล่งเหนือพระเศียร.
    บทว่า ปสาทนียํ ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส เหมาะที่จะควรเลื่อมใส หรือควรแก่ความเลื่อมใสของคนผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์
    เพราะธรรมกายสมบัติอันประกอบด้วยจำนวนพระคุณหาประมาณมิได้ มีทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ อาเวณิยพุทธธรรม ๑๘ เป็นต้น.


    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=47
     
  19. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน โสณเถรวรรคที่ ๕ โสณสูตร</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>




    <CENTER>อรรถกถาโสณสูตร </CENTER>

    บทว่า เอทิโส จ เอทิโส จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้ฟังมาว่า เห็นปานนี้ๆ คือทรงประกอบด้วยนามกายสมบัติ และรุปกายสมบัติเห็นปานนี้
    และประกอบด้วยธรรมกายสมบัติเห็นปานนี้

    ด้วยคำว่า น โข เม โส ภควา สมฺมุขา ทิฏฺโฐ นี้
    อาจารย์ทั้งหลายหมายเอาความเป็นปุถุชนเท่านั้น กล่าวว่าท่านโสณะได้มีความประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ภายหลัง เธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา ในเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงเชื้อเชิญ จึงทำไว้ในใจให้มีประโยชน์ถึงพระสูตร ๑๖ เป็นวรรค ๘ วรรค เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา แล้วประมวลมาไว้ในใจทั้งหมด เป็นผู้รู้แจ้งอรรถและธรรม เมื่อจะกล่าวเป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิ โดยมุขคือความปราโมทย์อันเกิดแต่ธรรม ในเวลาจบสรภัญญะ เริ่มตั้งวิปัสสนาพิจารณาสังขาร บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ ก็เพื่อประโยชน์นี้เท่านั้น
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งให้เธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระองค์.
    ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่า เรายังไม่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์แล ดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาเฉพาะการเห็นรูปกายเท่านั้น.
    จริงอยู่ ท่านพระโสณะพอบวชแล้วก็เรียนกรรมฐานในสำนักของพระเถระ เพียร<WBR>พยายาม<WBR>อยู่ ยังไม่ได้อุปสมบทเลย ได้เป็นพระโสดาบัน ครั้นอุปสมบทแล้วคิดว่า แม้อุบาสก<WBR>ทั้ง<WBR>หลาย<WBR>ก็<WBR>เป็นพระโสดาบัน ทั้งเราก็เป็นพระโสดาบัน ในข้อนี้จะคิดไปทำไมเล่า จึงเจริญวิปัสสนาเพื่อมรรคชั้นสูงได้อภิญญา ๖ ภายในพรรษานั้นเอง แล้วปวารณาด้วยวิสุทธิปวารณา ก็เพราะเห็นอริยสัจ จึงเป็นอันชื่อว่า เธอได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า<SUP>๓-</SUP>
    ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม.
    เพราะฉะนั้น การเห็นธรรมกายจึงสำเร็จแก่เธอก่อนทีเดียว ก็แลครั้นปวารณาแล้ว เธอได้มีความประสงค์จะเห็นรูปกาย.
    ____________________________
    <SUP>๓-</SUP> สํ. ข. เล่ม ๑๗/ข้อ ๒๑๖
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=119
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  20. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค </BIG><CENTER class=D>มหาสมัยสูตร</CENTER></CENTER>



    <CENTER>อรรถกถามหาสมัยสูตร </CENTER>
    บทว่า สนังกุมารและติสสะ ได้แก่ สนังกุมารองค์หนึ่ง ๑ ติสสมหาพรหมองค์ ๑. บทว่า แม้เขาก็มา ได้แก่ แม้ติสสมหาพรหมนั้นก็มา.
    มีพระดำรัสในเรื่องพรหมนี้ว่า
    มหาพรหมเข้าถึงพรหมโลกมีความรุ่งเรือง
    มีร่างใหญ่โต มียศ ปกครองพรหมโลกพันหนึ่ง.
    บทว่า พรหมโลกพันหนึ่ง ได้แก่ พรหมชั้นผู้ใหญ่พันองค์มาแล้ว สามารถทำแสงสว่างในพันจักรวาลด้วยนิ้วพระหัตถ์นิ้วเดียว ในหมื่นจักรวาลด้วยนิ้วพระหัตถ์สิบนิ้ว.
    บทว่า มหาพรหมปกครอง ได้แก่ พรหมชั้นผู้ใหญ่แต่ละองค์ครอบงำพรหมเหล่าอื่นแล้วตั้งอยู่ในที่ใด. บทว่า เข้าถึง ได้แก่ เกิดในพรหมโลก. บทว่า มีความรุ่งเรือง ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยอานุภาพ. บทว่า มีร่างใหญ่โต ได้แก่ มีร่างกายใหญ่มีขนาดร่างกายเท่ากับสองสามเขตหมู่บ้านชาวมคธ. บทว่า มียศ ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยยศกล่าวคือ สิริแห่งอัตภาพ. บทว่า พรหมสิบองค์เป็นอิสระในพรหมพันหนึ่งนั้น มีอำนาจเป็นไปเฉพาะก็มา ได้แก่ มหาพรหมเป็นอิสระสิบองค์เห็นปานนั้น ยังอำนาจให้เป็นไปโดยเฉพาะๆ ก็มา.
    บทว่า และพรหมชื่อหาริตะ อันบริวารแวดล้อมแล้วก็มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น ความว่า ก็มหาพรหมชื่อหาริตะ มีพรหมแสนองค์เป็นบริวาร ก็มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น.
    บทว่า และเห็นพวกเทวดาที่มานั้นหมด ทั้งพระอินทร์พร้อมทั้งพระพรหม ความว่า พวกเทวดา แม้ทั้งหมดนั้นทำท้าวสักกเทวราชให้เป็นหัวหน้าแล้วมา และพวกพรหมก็ทำหาริตมหาพรหมให้เป็นหัวหน้าแล้วมา.


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๕๕๔๐ - ๕๗๒๖. หน้าที่ ๒๒๗ - ๒๓๔.
    http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=10&A=5540&Z=5726&pagebreak=0

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=235
     

แชร์หน้านี้

Loading...