ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จุดดำบนดวงอาทิตย์
    Filed under: ดาราศาสตร์ — ป้ายกำกับ:จุดดับ, จุดดำ, ดวงอาทิตย์, Sunspot — Mr.Vop @ 14:49

    คัดลอกจาก จุดดับ | Mr.Vop's Blog

    จุดดำบนดวงอาทิตย์ (sunspot) เป็นปรากฏการณ์บนพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่สังเกตได้ง่ายที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจที่มันจะถูกค้นพบมาตั้งแต่สมัยของกาลิเลโอแล้ว จุดดำบนดวงอาทิตย์เมื่อมองผ่านแผ่นกรองแสงจะมีลักษณะเป็นจุดสีดำขึ้นประปรายอยู่บนผิวหน้าของดวงอาทิตย์ คล้ายกับดวงอาทิตย์ตกกระ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ง่าย ๆ โดยการใช้ฉากรับภาพจากกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตา
    จุดดำบนดวงอาทิตย์เกิดขึ้นที่ชั้นโฟโตสเฟียร์ เช่นเดียวกับ แกรนูล (ลักษณะที่เป็นเม็ด คล้ายฟองที่เดือนพล่านบนผิวของดวงอาทิตย์) ขนาดของจุดดำมีตั้งแต่เท่ากับแกรนูลฟองเดียว หรืออาจจะใหญ่กว่านั้น และอาจมีการรวมกลุ่มกันเป็นกระจุกจนมีพื้นที่หลายพันล้านตารางกิโลเมตร โครงสร้างของจุดดำบนดวงอาทิตย์มิได้มีลักษณะดำมืดแต่เพียงอย่างเดียว หากพิจารณาดูดี ๆ แล้ว จะพบว่าแต่ละจุดจะมีลักษณะซ้อนกันสองชั้น โดย จุดดำชั้นใน (umbra) จะมีสีดำเข้ม ส่วนจุดดำชั้นนอก (penumbra) ซึ่งล้อมรอบอยู่จะมีลักษณะจางกว่าและมีริ้วลายเป็นเส้นในแนวรัศมี ดูเผิน ๆ แล้วจุดดำของดวงอาทิตย์จะคล้ายกับลูกตาดำของคน โดยจุดดำชั้นในแทนรูม่านตาส่วนชั้นนอกแทนม่านตา โดยทั่วไปแล้วพื้นที่ส่วนจุดดำชั้นนอกมักมีพื้นที่มากกว่า บางครั้งอาจมากถึง 80% ของพื้นที่จุดดำทั้งหมด บริเวณจุดดำชั้นนอกเป็นบริเวณที่มีการไหลของแก๊สจากบริเวณจุดดำชั้นในไปสู่พื้นที่นอกจุดดำ เมื่อแก๊สไหลออกไปนอกจุดดำชั้นนอกแล้วก็จะเปลี่ยนทิศพุ่งขึ้นตั้งฉากกับผิวของดวงอาทิตย์จนถึงชั้นโครโมสเฟียร์ (บรรยากาศที่อยู่เหนือพื้นผิวของดวงอาทิตย์) หลังจากนั้นจึงย้อนกลับพุ่งลงในใจกลางของจุดดำอีกครั้งเป็นวัฏจักรต่อไป

    1.gif

    การกระจายตัวของจุดดำนั้น มักพบว่าจุดดำมักเกิดขึ้นเป็นคู่หรือรวมกลุ่มเป็นกระจุกใหญ่จำนวนมาก ๆ แต่จุดดำคู่จะพบได้มากกว่า ส่วนจุดดำที่ขึ้นเดี่ยว ๆ จะไม่พบมากนัก นอกจากนี้ยังพบว่าจุดดำบนดวงอาทิตย์มีการเกิดขึ้นและสลายตัวตลอดเวลา
    โดยปรกติแล้วจุดดำแต่ละจุดจะมีอายุประมาณไม่เกินสองสัปดาห์ แต่ก็อาจมีบางจุดที่มีอายุยาวนานนับเดือนก็เป็นได้ ถึงแม้ว่าจุดดำชั้นในจะเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดบนดวงอาทิตย์จนมองเห็นเป็นสีดำสนิท แต่มันก็ยังมีอุณหภูมิสูงถึง 4,000 เคลวิน ในความเป็นจริง แก๊สที่มีอุณหภูมิขนาดนี้จะมีความสว่างมาก แต่สาเหตุที่เราเห็นเป็นสีดำนั้นเนื่องจากพื้นผิวของดวงอาทิตย์โดยรอบจุดดำหรือโฟโตสเฟียร์มีความสว่างมากกว่ามาก เพราะมีอุณหภูมิสูงถึง 6,000 เคลวินนั่นเอง ดังนั้นคำว่า “จุดดำ” คงจะไม่ตรงตามความจริงเท่าใดนัก เพราะจุดมันไม่ดำจริง ๆ ส่วนบริเวณจุดดำชั้นนอกนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่าโฟโตสเฟียร์เพียงเล็กน้อย คือประมาณ 5,600 เคลวิน ในขณะที่ความสว่างของจุดดำบนดวงอาทิตย์จะน้อยกว่าที่อื่น ๆ แต่สนามแม่เหล็กบริเวณนี้กลับมีความเข้มข้นสูงมาก เราพบว่าสนามแม่เหล็กจะมีทิศจะพุ่งออกจากจุดดำพร้อม ๆ กับนำเอาแก๊สร้อนจัดจากภายใต้พื้นผิวดวงอาทิตย์ขึ้นมาด้วย
    สนามแม่เหล็กที่จุดดำอาจมีความเข้มสูงถึง 0.2 – 0.4 เทสลา (1 เทสลาเท่ากับ 10,000 เกาสส์) รูปร่างและทิศทางของสนามแม่เหล็กจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มของจุดดำเหล่านี้ กล่าวคือ บริเวณที่มีจุดดำเป็นคู่ สนามแม่เหล็กจะพุ่งขึ้นออกจากจุดดำจุดหนึ่งสู่บรรยากาศชั้นบนเหนือโฟโตสเฟียร์ แล้วเลี้ยวโค้งวกกลับลงสู่จุดดำอีกจุดหนึ่งที่อยู่คู่กัน จุดดำสองจุดนี้จึงมีขั้วแม่เหล็กที่ตรงข้ามกันเสมอ เหมือนกับแม่เหล็กแบบเกือกม้าที่ติดอยู่บนผิวดวงอาทิตย์ เราเรียกสนามแม่เหล็กรูปร่างแบบนี้ว่า สนามแม่เหล็กแบบ ไบโพลาร์ (bipolar)

    2.gif

    จุดดำแบบคู่ที่อยู่ใน ซีกดาวเดียวกัน จะมีทิศทางสนามแม่เหล็กวางไปในทางเดียวกัน และซีกดาวแต่ละซีก จะมีทิศทางสนามแม่เหล็กของจุดดำแบบคู่ตรงข้ามกันเสมอ
    บริเวณที่มีจุดดำรวมกลุ่มกันเป็นกระจุกขนาดใหญ่จะมีรูปร่างของสนามแม่เหล็กที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังคงเป็นสนามแม่เหล็กปิดเช่นเดียวกับสนามแม่เหล็กแบบไบโพลาร์ ส่วนจุดดำที่เป็นจุดเดียวโดด ๆ ไม่รวมกลุ่มหรือเข้าคู่กับจุดดำอื่น ๆ สนามแม่เหล็กจะพุ่งออกจากจุดดำชั้นในและสาดออกไปสู่อวกาศโดยไม่วกกลับเข้ามา เรียกว่าเป็นสนามแม่เหล็กเปิด ซึ่งเป็นช่องทางที่มวลสารจำนวนมากดวงอาทิตย์พุ่งทะลักสู่อวกาศ และเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดลมสุริยะ
    สนามแม่เหล็กแบบไบโพลาร์บนดวงอาทิตย์มีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ทุก ๆ คู่ของจุดดำจะเรียงกันในแนวนอนเกือบขนานกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ เนื่องจากดวงอาทิตย์มีการหมุนรอบตัวเองด้วย ดังนั้นจุดดำสองจุดในแต่ละคู่จึงมีชื่อเรียกว่า จุดนำ และ จุดตาม เรามักพบว่าจุดนำของแต่ละคู่มักจะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่าจุดตามเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบว่า สนามแม่เหล็กแบบไบโพลาร์ที่เกิดขึ้นในซีกดาวเดียวกันจะมีทิศทางตรงกันทั้งหมด และทิศทางของสนามแม่เหล็กของซีกเหนือและซีกใต้ของดวงอาทิตย์จะตรงข้ามกันเสมออีกด้วย นอกจาก จุดดำบนดวงอาทิตย์ที่มักอยู่รวมกันเป็นกระจุกแล้ว ปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนดวงอาทิตย์เช่นแฟลร์ หรือการลุกจ้าอย่างรุนแรง แฟกคิวลา เพลจ ก็มักเกิดบริเวณใกล้ ๆ กับกระจุกของจุดดำอีกเหมือนกัน

    3.jpg

    ในหนึ่งวัฏจักรของดวงอาทิตย์ จุดดำบนดวงอาทิตย์จะเริ่มเกิดที่ละติจูดสูงประมาณ 35 องศา ทั้งเหนือและใต้ ส่วนจุดดำในรุ่นต่อ ๆ มาจะเกิดขึ้นที่ละติจูดต่ำลงมาเรื่อย ๆ จนถึงระดับใกล้ศูนย์สูตร
    วัฏจักรแห่งสุริยะ
    ปริมาณของจุดดำบนดวงอาทิตย์บางช่วงเวลาอาจมีเป็นจำนวนมาก แต่บางช่วงอาจจะไม่มีเลยแม้แต่จุดเดียว ความผันแปรนี้เป็นการผันแปรที่เป็นวัฏจักร มีคาบค่อนข้างสม่ำเสมอ อยู่ในช่วง 8 ปี ถึง 16 ปี มีค่าเฉลี่ย 11.1 ปี คาบนี้เรียกว่า วัฏจักรของดวงอาทิตย์ (solar cycle) หรือ วัฏจักรของจุดดำ (sunspot cycle) หากเราเขียนแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนจุดดำบนดวงอาทิตย์กับเวลา โดยให้เวลาอยู่ในแนวนอน และจำนวนจุดดำเป็นแนวตั้ง จะพบว่ารูปกราฟที่ได้คล้ายกับคลื่นรูปฟันเลื่อย โดยช่วงขาขึ้น (จากช่วงที่มีจุดดำน้อยที่สุดไปสู่ช่วงที่มีจุดดำมากที่สุด) จะชันกว่าช่วงขาลงเล็กน้อย โดยเฉลี่ยแล้วช่วงขาขึ้นจะใช้เวลาประมาณ 4.8 ปี ส่วนขาลงใช้เวลาประมาณ 6.2 ปี
    ตำแหน่งการเกิดของจุดดำก็มีลักษณะน่าสนใจอีกเช่นกัน หลังจากที่ดวงอาทิตย์เพิ่งพ้นจากช่วงต่ำสุดมาและกำลังจะเริ่มวัฏจักรใหม่ จุดดำจะเกิดขึ้นที่บริเวณละติจูดประมาณ 35 องศาทั้งซีกเหนือและซีกใต้ หลังจากนั้น จุดดำก็จะเลื่อนไหลไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ตามการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ พร้อม ๆ กับเคลื่อนเข้าหาเส้นศูนย์สูตรอย่างช้า ๆ แต่ก็ไปไม่ถึงเส้นศูนย์สูตรเพราะจุดดำนั้นสลายตัวไปเสียก่อน จุดดำที่เกิดขึ้นในรุ่นต่อ ๆ มาก็จะเกิดขึ้นอีกที่ละติจูดเริ่มต้นต่ำกว่าระดับของจุดดำรุ่นที่แล้วเล็กน้อย แล้วก็เคลื่อนเข้าหาเส้นศูนย์สูตรในลักษณะเดียวกัน จุดเริ่มต้นของการเกิดจุดดำจะเปลี่ยนตำแหน่งเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกระทั่งใกล้ถึงช่วงต่ำสุดของดวงอาทิตย์ ซึ่งเมื่อถึงช่วงนี้ละติจูดเฉลี่ยของจุดดำจะอยู่ประมาณ 7 องศา (เหนือและใต้) เท่านั้น หากเราสังเกตตำแหน่งของจุดดำทุก ๆ จุดอย่างต่อเนื่องและยาวนานพอ แล้วนำตำแหน่งของจุดดำมาเขียนเป็นแผนภูมิ โดยให้แกนนอนเป็นเวลา และแกนตั้งเป็นละติจูดของจุดดำ แผนภูมิที่ได้จะมีลักษณะเหมือนกับใบมะกอก หรือผีเสื้อมาเกาะเรียงต่อ ๆ กัน แผนภูมินี้จึงมีเชื่อเรียกเฉพาะว่า แผนภูมิรูปผีเสื้อ (butterfly diagram)

    4.jpg

    แผนภูมิรูปผีเสื้อ แสดงตำแหน่งละติจูดที่เกิดจุดดำ ในช่วงเวลาหนึ่ง (ล่าง) แผนภูมิแสดงพื้นที่รวมของจุดดำบนดวงอาทิตย์ คิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อพื้นที่ผิวหน้าของดวงอาทิตย์ (เฉพาะด้านที่มองเห็น)
    ดังที่กล่าวมาแล้วว่า สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นที่บริเวณจุดดำบนดวงอาทิตย์จะมีทิศทางเดียวกันในแต่ละซีกดาว แต่ทิศทางของสนามแม่เหล็กนี้จะไม่คงทิศเดิมตลอดไป เพราะทุก ๆ ครั้งที่ถึงช่วงต่ำสุด (sunspot minimum) นั้น จะมีการสลับขั้วของสนามแม่เหล็กทั้งซีกเหนือและซีกใต้ของดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กในจุดดำของชุดใหม่จะมีทิศทางตรงข้ามกับชุดเดิม ดังนั้น วัฏจักรของสนามแม่เหล็กบนจุดดำของดวงอาทิตย์จึงเป็นสองเท่าของวัฏจักรของจุดดำ คือประมาณ 22.2 ปี จากการสำรวจดวงอาทิตย์ของนักดาราศาสตร์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน นักดาราศาสตร์ยังได้พบว่า ปรากฏวัฏจักรที่ยาวประมาณ 80 ปีซ้อนอยู่บนคาบ 11.1 ปีนี้อีกด้วย นอกจากนี้วัฏจักรของจุดดำบนดวงอาทิตย์ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอมาตลอด ในปี ค.ศ. 1645 ถึง 1715 วัฏจักรของดวงอาทิตย์ได้หยุดชะงักไปนานถึง 70 ปี เป็นช่วงที่รู้จักกันในชื่อของ ช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ (Maunder minimum) ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวแทบจะไม่มีจุดดำเกิดขึ้นเลย

    5.gif

    ข้อมูลจาก วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com) สมาคมดาราศาสตร์ไทย
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อมูล จากPipes: Asteroid
    วันที่ 11 มิถุนายน 2556
    + ดาวเคราะห์น้อย (2013 LD2) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 6 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 47 เมตร ความเร็ว 6.43 กม./วินาที พลังงาน 806 กิโลตัน .
    AsteroidMisses: asteroid (2013 LD2) missed earth by 6 lunar distances: diameter ~47 m, velocity 6.43 km/s, energy ~806 kilotons. JPL Small-Body Database Browser
    + ดาวเคราะห์น้อย (2013 LR6) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 0.3 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 12 เมตร ความเร็ว 9.88 กม./วินาที พลังงาน 29 กิโลตัน .
    AsteroidMisses: asteroid (2013 LR6) missed earth by 0.3 lunar distances: diameter ~12 m, velocity 9.88 km/s, energy ~29 kilotons. JPL Small-Body Database Browser
    + ดาวเคราะห์น้อย (2009 FE) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 9.6 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 230 เมตร ความเร็ว 8.81 กม./วินาที พลังงาน 177 เมกกะตัน .
    AsteroidMisses: asteroid (2009 FE) missed earth by 9.6 lunar distances: diameter ~230 m, velocity 8.81 km/s, energy ~177 megatons. JPL Small-Body Database Browser
    + ดาวเคราะห์น้อย (1998 QE2) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 15 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 1650 เมตร ความเร็ว 10.58 กม./วินาที พลังงาน 94 กิกะตัน.
    AsteroidMisses: asteroid (1998 QE2) missed earth by 15 lunar distances: diameter ~1650 m, velocity 10.58 km/s, energy ~94 gigatons. JPL Small-Body Database Browser
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คัดลอกข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/benlife55/pyramid02
    เพื่อให้ดูว่าองค์กรสากลเค้ามีการทำสัญญากับพนักงานห้ามนำความลับองค์กรไปเผย

    Planet X was at a perfect angle for a dramatic appearance during the July 11, 2010 eclipse....PX มีบริวารดวงจันทร์หลายโหล ควงสว่านออกเป็น 2 หาง ผู้ที่อยู่โซนเอเซียเป็นด้านมืดจึงไม่มีโอกาสเห็นจังหน้า เหมือนด้านยุโรปและอเมริกา

    คน บนโลกชักมีอาการไม่ค่อยปกติ ทางการไม่เคยบอกเบาะแสตามความเป็นจริงให้ทราบ นาซ่าก็ปกปิดโกหกมาโดยตลอด เนื่องจากพนักงานทุกคนต้องถูกจับเซ็นสัญญา ห้ามนำเอาความจริงภายในองค์กรไปเปิดเผย ก่อนที่จะรับเข้าทำงาน พนักงานหลายๆคนถึงจะรู้ความจริง แต่ก็ต้องเสพูดเป็นเรื่องอื่นๆไป หัวหน้าของแต่ละประเทศต่างทราบความจริงกันดี โดยต้องบินไปพูดกันต่อหน้า ไม่ผ่านระบบการสื่อสาร กลัวความลับที่ตนปกปิดถูกแฮ๊ก

    ผ่านการโชว์โฉมไปแล้วประมาณ 2 เดือน ก็จะมาถึง Last weeks กันแล้ว มีรายการน่าสนใจอย่างไรบ้างลองแวะศึกษาดูได้ เอาไว้เป็นแผนที่ชีวิตในการเดินทางไปสู่ที่หลบภัย หรือท่านตกลงใจจะเฝ้าสมบัติอยู่กับที่ตายก็ช่างหัวมัน ก็ไม่เลวนะไอเดียนี้ แต่อาจจะสู้มดไม่ได้ละมั๊ง เดินช้าเดินเร็วมันไม่เคยท้อที่จะหลบภัยก่อน เรื่องทำมาหากินฉันไม่สน ยังมีพลังงานเหลืออยู่เท่าไร ฉันไปก่อนละ

    บท เรียนนี้บ่งบอกให้เห็นความรุนแรงของกระแสฟ้าผ่า อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของโลก ในขั้น earth wobble เท่านั้น ต่อจากนี้ไปจนโลกเกิด Poleshift ความแปรปรวนจะเพิ่มขึ้นจาก 7/10 ไปสู่ 8/10 และ 9/10 ในระหว่าง PS ปัญหาจากฟ้าผ่าจึงเป็นปัญหากับที่หลบภัยมากประการหนึ่ง เมื่อโลกประสบ severe wobble การติดตั้งระบบสายล่อฟ้าให้กับอาคารต่างๆจึงมีความจำเป็น เพื่อถ่ายประจุไฟฟ้าลงดินให้สะดวกรวดเร็วที่สุด
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผมสงสัยเรื่องอาจารย์ก้องภพครับใครพอจะทราบบ้าง ผมได้ยินข่าวว่าอาจารย์ทำงานอยู่องค์การนาซ่า และการที่อาจารย์มาพูดให้ข้อมูลด้านภัยพิบัติ การทำงานของอาจารย์มีผลกระทบอะไรไหมครับ
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จีพีเอสตรวจจับการ เคลื่อนตัวแผ่นเปลือกโลก เป็นผลงานหนึ่งของศ.ดร.เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ ที่จะช่วยให้อนาคตกรุงเทพฯจะมีทางออกเรื่องปัญหาน้ำท่วม

    ความสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกตั้งแต่สมัยเรียนดอกเตอร์ ทำให้ เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ มีข้อมูลพร้อมใช้อ้างอิงการวางแผนจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จนติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2555 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
    :วิทยาศาสตร์ตอบปรากฏการณ์
    ศ.ดร.เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สนใจและศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกมาร่วม 15 ปี ตั้งแต่ปี 2541 ช่วงที่ศึกษาปริญญาเอก และทำต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ด้วยทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป และพาร์ทเนอร์ที่เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส เยอรมนี และเนเธอแลนด์

    เฟสแรกของการวิจัยเริ่มขึ้นในปี 2547 กับโครงการที่โฟกัสในเรื่องการศึกษาการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพัฒนาระบบดาวเทียมจีพีเอสให้ทำหน้าที่สำรวจรังวัดตรวจจับการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก เพื่อดูพฤติกรรมว่ามีลักษณะการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

    การศึกษาในเฟสแรกประจวบเหมาะกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลเหนือเกาะสุมาตราขนาด 8.9 ริกเตอร์ ซึ่งเกิดแรงสั่นสะเทือนจนเกิดคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามันของไทยพอดี จึงทำให้มีโจทย์และข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิจัยของจริง ซึ่งได้ร่วมกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และทีมวิจัยที่เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศส เยอรมนี และเนเธอแลนด์ เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับกลไกที่เกิดขึ้น ว่าการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกมีความสัมพันกับเหตุการณ์อย่างไร

    เฟสต่อมา ทีมวิจัยเริ่มศึกษารายละเอียดที่ลงลึกขึ้นในด้านการดูพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ว่ามีผลต่อเนื่องอย่างไร และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว โดยนำข้อมูลพื้นที่โดยรอบมาใช้ประกอบในการวิจัยร่วมด้วย

    อาทิ ข้อมูลจากประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และของไทยเอง โดยเก็บข้อมูลให้มากเท่าที่จะหาได้ จากนั้นนำมาประมวลผลใหม่ด้วยเทคนิคจำเพาะของทีมวิจัย เพื่อดูว่านอกจากการเคลื่อนที่ของแผ่นดินในทางราบ

    “การเก็บข้อมูลจากหลายที่มาประกอบการวิเคราะห์ ทำให้พบปัญหาเรื่องการขยับตัวของแผ่นเปลือกโลกหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวปี 2547 โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งแผ่นดินในจ.ภูเก็ตมีการเคลื่อนตัวแล้วประมาณ 75 ซม.แต่ก็เป็นการเก็บและรายงานผลเฉพาะการเคลื่อนตัวในแนวราบเท่านั้น แต่ยังไม่มีการวิเคราะห์ถึงความเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกในแนวดิ่งมาก่อน”นักวิจัย กล่าว

    การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ใหม่ พบว่าแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ในแนวดิ่งด้วย ไม่ใช่แนวราบอย่างเดียว ทำให้เกิดโจทย์วิจัยต่อเนื่องในเฟสสาม ด้านการหาผลลัพท์ว่าแผ่นเปลือกโลกที่เป็นชั้นหิน และชั้นผิวดินจะมีการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งในรูปแบบไหน เร็วแค่ไหน แล้วจะยาวแค่ไหน ต่อเนื่องไปกี่ปี โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมวัดระดับน้ำทะเล และดาวเทียมตรวจวัดการทรุดตัวของผิวดิน มาวิเคราะห์ร่วมกับจีพีเอสตรวจวัดการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก

    :กันไว้ดีกว่าแก้
    ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เบื้องต้น โดยวิเคราะห์ออกมาเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยตรง พบว่าการใช้ดาวเทียมตรวจวัดการทรุดของผิวดิน จะเกิดการทรุดตัวอยู่ทุกปี 1.5-2.5 มิลลิเมตรต่อปี ขณะที่ผลจากดาวเทียมตรวจวัดระดับน้ำทะเลก็พบค่าระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4-5 มิลลิเมตรทุกปี ตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา

    “แนวโน้มในอนาคตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความเสี่ยงที่จะอยู่ในแนวเดียวกับระดับน้ำทะเลหรืออาจต่ำกว่าแน่นอน”นักวิจัย กล่าวและว่า อีกทั้งยังมีปัญหาที่จะตามมาอีกมากมาย อาทิ เรื่องการระบายน้ำได้ยาก เกิดเหตุน้ำท่วมบ่อยขึ้น ทั้งผลจากน้ำฝนระบายลงท่อระบายน้ำไม่ได้ และน้ำท่วมจากน้ำทะเลหนุน

    เขา กล่าวอีกว่า อยากให้โครงการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลสถิติหนึ่งที่พร้อมจะนำไปใช้ได้ตลอดเวลา เพื่อประโยชน์ในการวางแผนบริหารจัดการพื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในระยะยาว และเป็นข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ที่รัฐบาลจะนำมาใช้ในการจัดการกับปัญหาเรื่องน้ำในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมาเวลามีข้อมูลอะไรใหม่ๆทีมวิจัยจะมีการจัดกิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสำนักงานกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้าได้ทัน

    “การวิจัยเรื่องดังกล่าว กว่าจะสำเร็จมีอุปสรรคเยอะมากทั้งด้านทุนวิจัยเพราะเครื่องมือบางชิ้นมีราคาหลักล้านบาท และในด้านข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์เพราะต้องขอความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน อาทิ กรมแผนที่ทหาร กรมอุทกศาสตร์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ รวมถึงการนำข้อมูลต่างประเทศเข้ามาใช้ แต่เชื่อว่าถ้าโครงการแล้วเสร็จ จะมีประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล”เจ้าของรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2555

    รายการอ้างอิง :

    กานต์ดา บุญเถื่อน. เทคโนโลยีรู้ทันภัยพิบัติ. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 21 มกราคม 2556.
     
  6. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    เท่าที่ทราบ (เคยพบท่านช่วงงานสัมมนา)

    ท่านจะออกตัวว่า...ข้อมูลที่ท่านใช้อ้างอิง เป็นข้อมูลสาธารณะที่สามารถหาได้ทั่วไป(ทางเวบที่น่าเชื่อถือ)

    ท่านใช้เวลาว่างจากงานประจำ ความเห็นของท่านที่คาดการณ์ภัยพิบัติต่างๆ จะไม่เกี่ยวข้องกับ NASA (พูดก่อนจะบรรยาย)

    ท่านมีข้อมูลการวิจัยเรื่องนี้มากพอสมควร และยังเชิญชวนท่านที่สนใจร่วมแลกเปลี่ยนและช่วยกันสังเกตุปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์

    ดังนั้น...ข้อมูลการคาดการณ์ของ ดร.ก้องภพ ถือว่ายังอยู่ในขั้นการวิจัย และคาดการณ์ภัยพิบัติตามข้อมูลที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน (และยังไม่เป็นข้อสรุป) ครับ

    ปล.ตราบใดที่ไม่ได้เอาข้อมูลของ NASA มาเปิดเผยคงไม่โดนอุ้มกระมังครับ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ช่วงนี้มีข่าวแผ่นดินไหว เลยไปหาภาพที่เกี่ยวข้องและมาจัดเรียงลำดับให้ชมกันครับ
    1.gif 2.png 3.jpg

    4.jpg 5.png 6.jpg

    7.jpg 8.jpg 9.png

    10.jpg 11.jpg 12.jpg

    13.jpg 14.jpg 15.jpg

    16.jpg 17.jpg 18.jpg

    19.jpg 20.jpg 21.jpg

    22.jpg 23.jpg 24.jpg

    25.jpg 26.jpg 27.jpg

    28.jpg 29.jpg 30.jpg

    ถ้าไม่ดีก็ขอโทษครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พระพุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยะ ซึ่งเป็นคัมภีร์ของนิกายมหายานก็ได้กล่าวถึงจักรวาลไว้ ซึ่งปัจจุบันนี้จากข้อมูลการเกิดภัยพิบัติจากนอกโลกก็พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง

    1.JPG

    ขออนุญาตินำคัมภีร์ พระพุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยะ มาให้บุคคลทั่วไปอ่านน่ะครับ
    เปิดดูไฟล์ BuddhaWatangsagaWak7.pdf

    *********************************
    ขอให้ข้าพเจ้าสำเร็จในโพธิสัต์ญานในชาตินี้
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    NOAA Solar Report - [SIDC Report]


    Prepared jointly by the U.S. Dept. of Commerce, NOAA,
    Space Weather Prediction Center and the U.S. Air Force.
    UPDATED 2013 Jun 11 2200 UTC

    Joint USAF/NOAA Solar Geophysical Activity Report and Forecast
    SDF Number 162 Issued at 2200Z on 11 Jun 2013


    IA. Analysis of Solar Active Regions and Activity from 10/2100Z to
    11/2100Z: Solar activity has been at very low levels for the past 24
    hours. There are currently 1 numbered sunspot regions on the disk.

    IB. Solar Activity Forecast: Solar activity is expected to be very low
    with a chance for a C-class flares on days one, two, and three (12 Jun,
    13 Jun, 14 Jun).


    IIA. Geophysical Activity Summary 10/2100Z to 11/2100Z: The geomagnetic
    field has been at quiet to unsettled levels for the past 24 hours. Solar
    wind speed, as measured by the ACE spacecraft, reached a peak speed of
    432 km/s at 11/0408Z. Total IMF reached 8 nT at 11/1638Z. The maximum
    southward component of Bz reached -7 nT at 11/1125Z. Electrons greater
    than 2 MeV at geosynchronous orbit reached a peak level of 943 pfu.

    IIB. Geophysical Activity Forecast: The geomagnetic field is expected
    to be at quiet levels on days one, two, and three (12 Jun, 13 Jun, 14
    Jun).


    III. Event probabilities 12 Jun-14 Jun
    Class M 05/05/05
    Class X 01/01/01
    Proton 01/01/01
    PCAF green


    Solar_Region_Summary: 2013 Jun 11
    # Region Location Sunspot Characteristics
    # Helio Spot Spot Mag.
    # Num Lat.,CMD Long. Area Extent class count class
    1765 N09W64 54 50 10 DAO 4 B

    A - Alpha (single polarity spot).
    B - Beta (bipolar spot configuration).
    G - Gamma (atypical mixture of polarities).
    BG - Beta-Gamma (mixture of polarities in a dominantly bipolar configuration).
    D - Delta (opposite polarity umbrae within single penumbra).
    BD - Beta with a Delta configuration.
    BGD - Beta-Gamma with a Delta configuration.


    :Solar Flare Probabilities (%)

    :3-Day Outlook
    Class_M 5 5 5
    Class_X 1 1 1
    Proton 1 1 1
    #
    # Region Flare Probabilities for 2013 Jun 12
    # Region Class C M X P
    :Reg_Prob: 2013 Jun 11
    1765 30 5 1 1
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าววันที่ 11 มิถุนายน 2556 จาก คันกันน้ำแตกในเยอรมนี-ฮังการีหวั่นแม่น้ำดานูบสูงขึ้น


    คันกันน้ำแตกในเยอรมนี-ฮังการีหวั่นแม่น้ำดานูบสูงขึ้น


    สถานการณ์น้ำท่วมในยุโรปยังคงน่าวิตก เมื่อคันกั้นน้ำในเยอรมนีแตกทำให้ประชาชนต้องอพยพ
    ออกจากบ้านเรือนหลายพันคน และฮังการีวิตกว่าจะเป็นเป้าหมายต่อไปที่จะเผชิญกับอุทกภัย
    ครั้งเลวร้ายที่สุดเนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำดานูบเพิ่มสูงขึ้น

    ในเยอรมนี ระดับน้ำในหลายพื้นที่ยังคงท่วมสูง เพราะหลายวันมานี้ยังคงเกิดฝนตกอย่างหนัก
    และเมื่อวานนี้ระดับน้ำในแม่น้ำเอลเบ้ ทางตะวันออกของประเทศเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้คันกั้นน้ำรับ
    ไม่ไหว และพังทลายลงมา จนต้องอพยพประชาชนกว่า 23,000 คนในเมืองมักเดบูร์ก ซึ่งมีระดับ
    น้ำท่วมสูงถึง 7.44 เมตรเมื่อวานนี้ ซึ่งสูงกว่าระดับปกติถึง 4 เท่า และยังเกิดไฟฟ้าดับอีกด้วย

    นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เยอรมันเร่งสอบสวนที่มาของจดหมายที่ข่มขู่ว่าจะโจมตีคันกั้นน้ำอีกหลายแห่ง
    ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่ทราบแรงจูงใจว่าจะทำไปเพื่ออะไร แต่เจ้าหน้าที่ก็ดำเนินการป้องกันการโจมตี
    เต็มที่

    ขณะที่ในฮังการี ระดับน้ำในแม่น้ำดานูบเพิ่้มขึ้นสูงสุดเมื่อวาน และเป็นเหตุน้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุด
    ในรอบนับ 10 ปี อย่างในกรุงบูดาเปสต์ ต้องระดมกำลังทั้งชาวบ้าน อาสาสมัคร หรือแม้แต่เหล่า
    นักโทษ เพื่อวางกระสอบทรายตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะตามเส้นทางของแม่น้ำดานูบ ที่มีความยาว
    ถึง 700 กิโลเมตรเพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้น และมั่นใจว่าคันกั้นน้ำสูงพอที่จะปกป้องบูดาเปสต์ได้ และ
    จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วม

    ส่วนในโปแลนด์ เกิดฝนตกอย่างหนักนานหลายชั่วโมงเมื่อวานนี้ ทำให้กรุงวอร์ซอ เมืองหลวงเผชิญ
    น้ำท่วมหนัก เจ้าหน้าที่ต้องเร่งอพยพประชาชน และผู้ใช้รถใช้ถนน ที่ถูกน้ำท่วมอย่างฉับพลัน บางคน
    ต้องทิ้งรถของตัวเอง และหนีเอาชีวิตรอดก่อน และหน่วยบรรเทาฉุกเฉินกล่าวโทษว่าระบบระบายน้ำ
    ที่เก่าแก่ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำท่วมได้ทัน

    จนถึงขณะนี้ มีผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมทั่วยุโรปตอนกลางแล้วอย่างน้อย 21 คน และจะทำให้
    มีค่าเสียหาย ตลอดจนค่าเก็บกวาดทำความสะอาดสูงหลายพันล้านยูโร
     
  11. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    น่าสนใจมากครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูล
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Updated 06/12/2013 @ 14:00 UTC
    Solar Update
    Good morning. Solar activity continues at very low levels. A new sunspot forming in the southern hemisphere was numbered 1768 on Wednesday. Sunspot 1765 continues to decay as it heads for the west limb. Old region 1754 should begin to rotate back into view within the next 24-48 hours. There will remain a chance for isolated C-Class solar flares.
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นำทฤษฏีการกลับขั้วมาให้อ่านครับ ถึงแม้จะเลยปี 2012 มาแล้ว แต่แนวคิดยังใช้ได้อยู่ครับ

    เมื่อดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันตก



    Magnetic Pole Reversal ขั้วแม่เหล็กโลกพลิกด้าน ค.ศ.2012 อีก 5 ปี

    Magnetic Pole Reversal ขั้วแม่เหล็กโลกพลิกด้าน

    เมื่อเร็วๆ มานี้ องค์การ NASA

    ได้เคยทำให้สาธารณะชนเกิดความหวาดหวั่นด้วยการออกมาเปิดเผยว่าการพลิกกลับของขั้วแม่เหล็กโลกจะทำให้ความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กโลกอ่อนลง และไร้ความมั่นคงแต่ไม่ถึงกับลดลงถึงระดับศูนย์ แต่จากการศึกษาร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งกับกลุ่มนักธรณีฟิสิกส์และนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์พบว่า ทั้งโลกและดวงอาทิตย์จะสิ้นสุดระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการพลิกกลับของขั้วแม่เหล็ก (Magnetic Pole Reversal) ในปี ค.ศ. 2012 โดยครั้งล่าสุดกระบวนการนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อหลายล้านปีที่ผ่านมาจนทำให้สัตว์จำพวกไดโนเสาร์สูญพันธุ์จนหมดสิ้น จากการค้นคว้าวิจัยและการวิเคราะห์ร่วมกันใน Hyderabad ได้คาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงครั้งใหม่นี้จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2012 คำถาม......? โลกจะเป็นอย่างไรเมื่อขั้วแม่เหล็กโลกกำลังพลิกด้าน

    การพลิกกลับของขั้วแม่เหล็กโลก คือ กระบวนการที่ขั้วแม่เหล็กเหนือและขั้วแม่เหล็กใต้สลับตำแหน่งกัน เมื่อการพลิกกลับของขั้วแม่เหล็กนี้เกิดขึ้น ณ ขณะเวลาใดเวลาหนึ่ง (ซึ่งไม่สามารถทำนายได้ว่าจะกินเวลานานเท่าใด อาจกินเวลาแค่ 1 ช.ม. หรืออาจเป็นเดือนก็ได้) มันหมายถึงว่าค่าการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กโลกจะลดลงจนมีค่าเป็นศูนย์หน่วยกาซ และโลก ณ ขณะเวลานั้นจะสูญเสียอำนาจแห่งสนามแม่เหล็กโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คำถาม.......? จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไม่มีสนามแม่เหล็กโลก

    โดยปกติสนามแม่เหล็กโลก จะเป็นเสมือนโล่กำบังที่ช่วยปกป้องโลกไว้อีกชั้นหนึ่งโดยเฉพาะ การช่วยกำบังโลกจากพายุสุริยะที่เกิดจากดวงอาทิตย์ แต่เมื่อไม่มีสนามแม่เหล็กโลกในเวลาที่ว่านั้น สิ่งมีชีวิตบนโลกจะต้องเจอกับหายนะ นั่นก็คือ พายุสุริยะ(บางคนเรียกลมสุริยะ มันเหมือนกันนะเดี๋ยวจะสับสน) พายุสุริยะ คือ พลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดจากธาตุไฮโดรเจนบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาสู่อวกาศด้วยแรงระเบิดมหาศาล ซึ่งพายุสุริยะนั้นประกอบด้วย รังสีคอสมิก(และอีกมากมาย) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอันมหาศาล คำถาม........? เราจะเป็นอย่างไรเมื่อต้องเผชินกับพายุสุริยะ

    "ฮารัลด์ เลสช์" (Harald Lesch) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย "มิวนิค" ได้สร้างแบบจำลองสนามแม่เหล็กโลกขึ้นมาศึกษาในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ เพื่อหาคำตอบว่าโลกเราจะเป็นอย่างไรหากไม่มีสนามแม่เหล็ก แบบจำลองที่ "ฮารัลด์ เลสช์" สร้างขึ้นพบว่า ถ้าโลกเราถูกพายุสุริยะกระหน่ำ ผลที่ได้สร้างความประหลาดใจอย่างยิ่ง จากภาพจำลองที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นแสดงให้เห็นว่า เมื่อ มวลอนุภาคคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากพายุสุริยะมาถึงโลก จะทำปฏิกิริยากับชั้นบรรยากาศ เกิดเป็นสนามแม่เหล็กชุดใหม่มาแทนที่และทรงพลัง พอที่จะทานแรงปะทะของรังสีคอสมิก ทำให้รังสีคอสมิกที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์เบนออกสู่อวกาศ >>>แต่ทะว่าโลกเรานั้นสามารถรอดพ้นจากอันตรายจากรังสีคอสมิกไปได้ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการนี้ไม่ได้เป็นผลดีต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกเลย ตามหลักแล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลไปสู่ที่ๆมีความต่างศักย์ที่น้อยกว่า และสนามแม่เหล็กชุดใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นไม่ได้เสถียรเหมือนแม่เหล็กโลกเดิม ฉะนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำปฏิกิริยากับบรรยากาศโลกย่อมไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น สิ่งที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะกระทำต่อไปนั้นก็คือ การปลดปล่อยพลังงานไฟฟ้าอันมหาศาลสู่ที่ๆมีความต่างศักย์ที่น้อยกว่า นั่นก็คือพื้นผิวโลก เหตุการณ์ที่ว่านี้คือ พายุฟ้าผ่านั้นเอง พายุฟ้าผ่านี้ อาจกินเนื้อที่ทั้งทวีปหรือทั่วโลก สายฟ้าที่กระหน่ำลงมาจากก้อนเมฆอิเล็กตรอนนั้น จะกระหน่ำผ่าลงมาทุกๆที่โดยไม่หยุดจนกว่าพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากพายุสุริยะจะหมดลง และจะเกิดขึ้นอีกถ้าพายุสุริยะลูกต่อไปมาถึง หรือจนกว่าการกลับขั้วของแม่เหล็กโลกจะเสร็จสมบูรณ์จนทำให้กระบวนการสร้างสนามแม่เหล็กโลกจะทำงานได้อีก สิ่งมีชีวิตบนโลกมากมายจะต้องตาย และเทคโนโลยีต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นจะถูกทำลายลงในครั้งนี้ แต่ถ้ารังสีคอสมิกสามารถหลุดรอดมากจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ สิ่งมีชีวิตที่รอดจากการถูกฟ้าผ่า ก็อาจจะต้องตายจากโรคมะเล็งและความร้อน คำถาม........? เมื่อสนามแม่เหล็กโลกเกิดการพลิกตัวอย่างสมบูรณ์จะเกิดอะไรขึ้นกับโลก

    สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้อาจะเหลือเชื่อแต่ตามหลักการแล้วย่อมเป็นไปได้ การพลิกด้านของขั้วแม่เหล็กโลกนี้ไม่ได้ทำให้เกิดความหายนะจากพายุสุริยะแค่เพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดหายนะจากการหมุนกลับทางของโลกที่จะเกิดตามมาอีก ยกตัวอย่าง เช่น การหมุนของมอเตอร์ มอเตอร์แบบธรรมดามี 2 ขั้ว โดยให้สัญลักษณ์ A และ B ก่อนที่ขั้วแม่เหล็กโลกจะพลิกตัว ให้เปรียบโดยการใช้ ไฟฟ้าขั้ว + ต่อเข้ากับ A และไฟฟ้าขั้ว - ต่อเข้ากับ B มอเตอร์จะหมุนไปทางใดทางหนึ่ง แต่เมื่อเราต่อขั้วไฟฟ้ากลับด้านกัน ย่อมทำให้มอเตอร์เกิดการหมุนทิศทางตรงกันข้ามกับครั้งแรก และนี่ก็เปรียบกับการพลิกด้านของขั้วแม่เหล็กโลกนั่นเอง คำถาม........? แล้วสิ่งมีชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อไป

    เมื่อโลกหมุนกลับทาง สิ่งมีชีวิตที่เหลืออาจจะต้องเจอกับภัยธรรมชาติมากมาย โลกหมุนกลับทางย่อมทำให้ทุกสิ่งเปลี่ยน ทั้งกระแสน้ำทะเล กระแสลม รวมถึงแผ่นดิน จากนี้จะเกิดอะไรขึ้นย่อมไม่มีใครรู้ได้ มนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่มีชีวิตรอด

    บทความ : BeverNetwork

    ในศาสนาอิสลาม ได้ถูกกล่าวไว้แล้วเมื่อ 1400 กว่าปีที่แล้ว เกี่ยวกับสัญญาณวันสิ้นโลก (วันกิยามัต) มีทั้งสัญญาณเล็ก เช่น การผิดประเวณี การดื่มสุรา จะกว้างขวางและเป็นที่ยอมรับของสังคม เป็นต้น และหนึ่งในสัญญาณใหญ่ก็คือ "ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันตก" เป็นต้น แต่ผมคิดว่าคงไม่ได้เกิดภายในอีก 5 ปีนี้อย่างที่ NASA ค้นพบมา แต่ที่แน่นอนมันต้องเกิดขึ้น ความหายนะและความวุ่นวายในโลกใบนี้ก็จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนเช่นกัน พิสูจน์ได้ครับเพราะในคำสอนของศาสนาอิสลาม ตลอดอดีต 1400 กว่าปี ยังไม่เคยมีเรื่องไหนที่ผิดพลาดเลยสักเรื่อง บางเรื่องที่เป็นข้อสงสัยที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ก็ได้แต่เฝ้ารอว่าจะผิดพลาด พอพิสูจน์มาได้แล้วเป็นความจริง ก็เงียบซะงั้น ไม่บอกให้ชาวโลกรู้ เพราะกลัวอิสลามจะแพร่ขยาย จริงหรือไม่ครับ NASA พวกท่านนั่นแหละที่รู้ดี

    จะปรับตัวอย่างไรเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก มนุษย์ที่เหลือจะทำอย่างไรเมื่อวันนั้นมาถึง...........................
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปรกติคนทั่วไปเอาแต่อ้างหลักการของมอเตอร์มาแสดง เพื่ออธิบายการกลับขั้วของสนามแม่เหล็ก แต่รู้ไหมว่าการหมุนคนละทางของมอเตอร์ก็คือการกลับขั้ว จะให้ผลคนละอย่าง สมมุติว่าหมุนทวนเข็มนเป็นมอเตอร์มอเตอร์ (ซึ่งจะทำหน้าที่ แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลให้เราไปใช้ในการทำงาน แทนการใช้แรงงานจากมนุษย์) แต่การหมุนตามเข็มเป็น Generator ตัวกำเนิดพลังงานไฟฟ้าครับ เดี๋ยวเรามาดูทฤษฎีกันน่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2013
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    1. ธรรมชาติของไฟฟ้า ....
    สสารที่มีในโลกนี้ประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ซึ่งเราเรียกว่า อะตอมหรือ ปรมาณู (Atoms)ภายในอะตอมจะประกอบไปด้วยอนุภาคไฟฟ้าเล็กๆ 3 ชนิด คืออิเล็กตรอน โปรตอนและนิวตรอน โดยที่อิเล็กตรอนจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ โปรตอนมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก และในนิวตรอนมีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง การอยู่ร่วม กันของอนุภาคทั้งสามในอะตอมเป็นลักษณะที่โปรตอนและนิวตรอนร่วมกันอยู่ ตรงกลาง เรียกว่า นิวเคลียส และมีอิเล็กตรอนโคจรอยู่รอบ ๆ

    1.jpg

    2.การไหลของอิเล็กตรอน
    ภายในอะตอมจะมีอิเล็กตรอนโคจรอยู่รอบ ๆ นิวเคลียส เป็นวง ๆ ซึ่งอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุดเรียกว่า อิเล็กตรอนอิสระ และถ้าอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกนี้ได้รับพลังงานก็จะทำให้อิเล็กตรอน เคลื่อนที่ไปอยู่ในอะตอมที่ถัดไปทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอน พลังงานที่จะทำให้อิเล็กตรอน ในวัตถุตัวนำไหลได้ คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งจะทำหน้าที่ทั้งการรับและจ่ายอิเล็กตรอน ซึ่งเราเรียกว่า ขั้วไฟฟ้า โดยกำหนดไว้ว่าขั้วที่รับอิเล็กตรอนเรียกว่า ขั้วบวก ขั้วที่จ่ายอิเล็กตรอนเรียกว่า ขั้วลบ

    2.jpg


    3.แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (เจเนเรเตอร์)
    แหล่งกำเนิดไฟฟ้ามีหลายชนิด ผมขอนำเสนอส่วนที่เกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็กน่ะครับ
    แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า
    ........กระแสไฟฟ้าที่ได้มาจากพลังงานแม่เหล็กโดยวิธีการใช้ลวดตัวนำไฟฟ้าตัดผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการนำสนามแม่เหล็กวิ่งตัดผ่านลวดตัวนำอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งสองวิธีนี้จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในตัวนำนั้น กระแสที่ผลิตได้มีทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ
    1) เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง
    ..... หลักการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง อาศัยหลักการที่ตัวนำเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก จะเกิดแรงเคลื่อนที่ไฟฟ้าขึ้นในลวดตัวนำนั้น

    3.jpg

    โครงสร้างของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง มีดังนี้
    ก. ส่วนที่อยู่กับที่ ประกอบด้วย
    .... โครงและขั้วแม่เหล็ก ส่วนนี้สร้างสนามแม่เหล็กหรือ เส้นแรงแม่เหล็กและส่วนที่รับกระแสไฟออก

    4.jpg




    ข. ส่วนที่เคลื่อนที่ หรือส่วนที่หมุนเรียกว่า อาร์มาเจอร์ (Armature) .ประกอบด้วย 1. แกนเพลา 2. แกนเหล็ก 3. คอมมิวเตเตอร์

    5.gif


    2) เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ..... .มีโครงสร้างเหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง แต่ที่อาร์มาเจอร์ มีวงแหวนแทนคอมมิวเตเตอร์ (Commutature) หลักการทำงานของ การเกิดมีขั้นตอนโครงสร้าง 9 ขั้นตอน

    6.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2013
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผมคิดว่าถ้าเกิดการกลับขั้วก็น่าจะเป็นไปตามหลักการมอเตอร์เหนี่ยวนำนั้น

    โดยทั่วไปถูกใช้งานเป็นมอเตอร์ ในโรงงานอุตสาหกรรมก็ใช้เป็นต้นกำลังสำหรับขับเคลื่อนกันมากที่สุด เนื่องจากราคาที่ถูกเมื่อเปรียบเทียบกับมอเตอร์ชนิดอื่นๆ ในขนาดแรงม้าที่เท่ากันและยังต้องการการบำรุงรักษาน้อยทำให้ประหยัดค่าใช้จายได้มาก ดังนั้นหากนำมาใช้เป็นแหล่งกำเนิดก็นย่อมทำให้การลงทุนในการผลิตต่ำกว่าการใช้เครื่องกำเนิดชนิดซิงโครนัส (Synchronous Generator) และยังสะดวกง่ายต่อการบำรุงรักษา รวมไปถึงการที่ไม่ต้องทำการซิงโครไนซ์ ( การเซตให้ระบบไฟฟ้ามี ความเร็ว ความถี่และเฟสเดียวกัน)

    ในการนำมอเตอร์เหนี่ยวนำมาใช้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ต้องมีเครื่องต้นกำลังเป็นตัวขับให้มอเตอร์จนถึงความเร็วกว่าความเร็วซิงโครนัส ก่อนที่จะนำเครื่องต้นกำลังมาขับมอเตอร์เหนี่ยวนำนั้น ต้องเช็คทิศทางการหมุนของเครื่องต้นกำลัง และทิศทางการหมุนของมอเตอร์เสียก่อนเพือให้ทิศทางการหมุนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าไม่ทำการเช็คทิศทางก่อน หากต้นกำลังและมอเตอร์เหนี่ยวนำหมุนไปคนละทิศกัน จะทำให้เกิดแรงบิดอย่างรุนแรงของเครื่องต้นกำลังทีพยายามฝืนการหมุนของมอเตอร์เหนี่ยวนำ ซึ่งมีผลทำให้เครื่องต้นกำลังเสียหายได้ เมื่อทดสอบทิศทางของเครื่องจักทังสองเรียบร้อยแล้ว ก็เริมเดินเครื่องต้นกำลังได้เลย ในตอนนี้มีข้อระวัง คือกระแสขณะสตาร์ตของเครื่องต้นกำลังจะสูงมาก อาจสูงกว่ากระแสพิกัดถึงสาเท่าดังนั้นต้องจ่ายไฟอย่างช้าๆในตอนต้น เมื่อเห็นว่ามอเตอร์เริ่มหมุนจึงค่อยจ่ายไฟจนเต็มพิกัด

    ปัจจุบันได้นำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเหนี่ยวนำไปใช้ในการฟลิตไฟฟ้ากันมากขึ้น เช่นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานไอน้ำ เป็นต้น และในต่างประเทศได้มีการนำไปกระยุกต์ใช้กับรถไฟ เพราะเมื่อรถไฟลงจากเขาจะมีความเร็วสูงมาก เมื่อความเร็วสูงพอ (ทำให้สลิปมีค่าเป็นลบ) เครื่องจักรจะทำหน้าทีเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่เพียง แต่จะส่งพลังวานคืนแก่ส่วนจ่ายพลังงานแต่ยังทำให้เกดการเบรกชนิด ไดนามิกส์ (Dynamic Braking)

    ********************************
    และจากข้อความนี้
    " มอเตอร์เหนี่ยวนำหมุนไปคนละทิศกัน จะทำให้เกิดแรงบิดอย่างรุนแรงของเครื่องต้นกำลังทีพยายามฝืนการหมุนของมอเตอร์เหนี่ยวนำ ซึ่งมีผลทำให้เครื่องต้นกำลังเสียหายได้ "

    จากข้อความนี้ถ้าเกิดการกลับขั้ว เราก็จะเจอเหตุการณ์แบบข้างต้น อย่าไปมองภัยพิบัติเป้นเรื่องไกลตัว ใหญ่ เล็กเหมือนกัน หลักการเดียว เคยได้ยินไหมครับกินอาหารหรูหรา ก็ไม่ต่างกับกินข้าวแกงข้างทาง อิ่มเหมือนกันเลย และพอเงินหมดจะคิดว่า กินข้าวแกงข้างทางดีกว่า
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เอาไว้มาต่อใหม่น่ะครับ ผมว่าเราลองมาเอาทฤษฎีสนามแม่เหล็ก และสนามไฟฟ้ามาดูสาเหตุการเกิดภัยพิบัติดีกว่าครับ ลองเอาลักษณะต่าง ๆของโลกมาจำลองและดูทฤษฏี ปล ห้ามไปขยายน่ะครับ ไม่มีที่ไหนเขาสอนกันครับ เดี๋ยวเขาจะมาด่าผมกัน
     
  18. dol_by

    dol_by เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +430
    ไม่ว่าจะหมุนตามเข็ม หรือหมุนทวนเข็ม ก็ต้องมีตัวขับทั้งนั้น (แรงดันไฟฟ้า) แล้วอะไรจะเป็นแรงขับให้สนามแม่เหล็กโลกเกิดการกลับขั้ว????
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    น่าสนใจนาะครับคุณ akichi ภัยพิบัติจริง ๆ มันก็เป็นเรื่องปรกติที่มันจะต้องเกิด แต่เราไปสร้างที่อยู่ในที่ ๆ มันจะเกิด เราก็โดน ถ้าเรารู้ล่วงหน้า เราก็หลบทันครับ เพจนี้คุยกันเต็มที่เลยครับ แต่เห็นบางทีก็มีการทำนาย ผมเชื่อไสยศาสตร์ ญานมีจริง
    แต่ผู้อ้างว่ามีสมัยนี้ไม่ดีจริง ทำให้ไม่สำเร็จอะไร เมื่อก่อนผมก็หลงไปนับถือคนที่ทำตัวเป็นผู้วิเศษ สุดท้ายเป็นได้แค่คนลวงโลก หลอกแต่จะเอาเงิน พยายามหลีกห่าง เพราะถ้าเราไม่เจอของจริง ไปเจอพวกหลอกลวง พวกนี้จะเล่นแต่อวิชา คือ การไปบังคับดวงจิตผี ภูต พราย มาใช้งาน การที่เขารู้คือการที่เขาใช้ของตามดูเรา และบอกเขา ไม่ได้รู้ล่วงหน้าอะไรเลย
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,686
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PROOF of Plate Movement (Indonesia Region); Sinking, Lifting, and Shifting thanks to Google Maps again
    ข้อมูลจาก PROOF of Plate Movement (Indonesia Region); Sinking, Lifting, and Shifting thanks to Google Maps again - Earth Changes and the Pole Shift
    Posted by Kojima on June 8, 2013 at 5:00pm
    • View Blog

    1.jpg

    1) Sinking: 25.126772,63.85344
    2) Lifting: 13.201792,92.755927
    3) Sinking: 9.443474, 97.893333
    4) Lifting: 7.477538,93.632923
    5) Lifting: 7.475421,93.649971
    6) Sinking: 6.616183, 99.679298
    7) Shifting to North / Lifting: 2.533497, 95.937080
    8) Lifting (South side): -3.292626,100.333929
    9) Lifting or Tilting(?) (South and East sides Lifting, North side Sinking (?)):
    -5.492286,102.346745
    10) Islands Disappeared / Sinking / Shifting: 0.763527,107.723694
    11) Shifting to East: 7.035902,116.74407
    12) Shifting to East / Lifting (North side): 0.725422,108.877602

    2.jpg 3.jpg


    4.jpg 5.jpg


    6.jpg 7.jpg


    8.jpg 9.jpg


    10.jpg 11.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...