พุทธภูมิ คือ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 ตุลาคม 2004.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    พุทธภูมิ คือ คนที่ปราถนาและบำเพ็_บารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลเพื่อทำหน้าที่ประกาศพุทธศาสนาและเผยแผ่พุทธศาสนาเพื่อให้สัตว์ได้มีความสุขและจุดสุดยอดเพื่อขนลื้อสัตว์เข้าสู่นิพพาน

    พุทธภูมิ อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า พระโพธิสัตว์

    พระพุทธเจ้ามี 3 แบบ

    1. ปั__าธิกะ
    2. ศรัทธาธิกะ
    3. วิริยะกะ

    และทุกคนมีสิทธิ์ที่จะปราถนาเป็นพระพุทธเจ้าได้
    คนที่ปราถนาเป็นพระพุทธเจ้าเรียกว่า พุทธภูมิหรือพระโพธิสัตว์

    -------------------

    ใครๆที่สามารถอธิบายได้ช่วยผมหน่อยครับ เผื่อคนมาใหม่ยังไม่เข้าใจ
     
  2. แมวลาย

    แมวลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +33
    ขอบคุณค่ะ กลับไปอ่านกระทู้อื่นๆเกี่ยวกับพุทธภูมิแล้วเข้าใจขึ้นอีกเยอะเลย
     
  3. cwyp

    cwyp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +529
    พุทธภูมิคืออะไร

    พุทธภูมิ คืออะไรนั้นมีความหมายดังนี้ครับ

    พุทธภูมิ คือคนที่ปราถนาเพื่อเกิดมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต (พุทธะ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ,ภูมิ คือ ชาติกำเนิด) โดยการปราถนาพุทธภูมินั้นจะมีด้วยกัน 3 ระดับคือ 1.ระดับอ่อนจะปราถนาในใจไม่สามารถจะบอกใครได้ 2.ปราถนาอย่างกลางจะสามารถบอกผู้อื่นได้และจะบำเพ็_บารมีอย่างกลาง 3.ระดับสูง จะบำเพ็_บารมีแบบสูงสุด แบบปรมัตถ์ตรงส่วนนี้จะสามารถทำอธิมุติจุติ เพื่อขอลงมาเกิดในโลกมนุษย์ได้

    ในระดับทั้ง 3 นี้ ผู้ที่ปราถนาหากไม่ใช่คนที่มีบุ_วาสนาต่อกันแล้วอย่าได้เอ่ยปากบอกความปราถนานั้นแก่ใครเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ผู้อื่นนั้นเกิดมิจฉาทิฐฐิขึ้นทำให้เกิดบาปกรรมต่อคนอื่นเปล่า และผู้ที่บำเพ็_บารมีนั้นต้องไม่กลัวตาย กลัวทุกข์ และพร้อมที่จะบำเพ็_บารมีทุกอย่างเท่าที่จะทำได้พร้อมกันได้ทุกอย่างจะดีที่สุด ไม่ว่าจะปราถนาแบบปั__านำหน้า วิริยะนำหน้า หรือศรัทธานำหน้า และพระพุทธเจ้ายังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทให_่อีกคือพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ไม่สอนใคร หรือสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นำพาผู้อื่นไปนิพพานด้วย ซึ่งผู้ที่ปราถนาพุทธภูมินั้นจะต้องได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าก่อนจึงจะได้เป็น นิยตะโพธิสัตว์ ไม่เช่นนั้นจะเป็นเพียงอนิยตะโพธิสัตว์ซึ่งจะถอนอธิฐานเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แต่สำหรับอนิยตะโพธิสัตว์ในเมืองไทยนั้นเห็นชัดได้คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งขนาดท่านเป็นอนิยตโพธิสัตว์ ท่านก็ยังได้สอนธรรมะต่าง ๆ และนำพาผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกันเยอะมาก ซึ่งท่านก็เปรียบได้ดั่งพระพุทธเจ้าก็มิปาน หากใครที่ปราถนาพุทธภูมิแล้ว
    จงอย่าได้กลัวกับความทุกข์เป็นอันขาด เพราะขนาดพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตปราถนาพุทธภูมิแล้วยังได้เกิดเป็นสุนัขเป็นหมื่นชาติ ตามที่เรื่องเล่าของท่านที่เล่ากันมา ขออนุโมทนาผู้ที่ปราถนารักษาพระพุทธศาสนาไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  4. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
    พระโพธิสัตว์หรือพุทธภูมิ คือผู้ที่เห็นภัยในวัฏสงสารจึงบำเพ็ญหาทางที่ละทุกข์และนำสรรพสัตว์ก้าวพ้นไปด้วย
     
  5. Star Platinum

    Star Platinum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +1,152
    พุทธภูมิคือ ผู้ที่อยากทำให้ผู้อื่นหมดทุกข์ แม้ตนเองจะต้องใช้ชีวิตและความเพียรเข้าแลกเพื่ออนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
     
  6. Toutou

    Toutou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    1,455
    ค่าพลัง:
    +8,107
    ลาพุทธภูมิ???

    อ่านเรื่องพุทธภูมิมาหลายกระทู้แล้ว ยังติดศัพท์หลายคำ -_-'

    อยากทราบความหมายของคำว่าลาพุทธภูมิค่ะ

    แล้วคำว่าสาวกภูมิหมายความว่าอย่างไรคะ?
     
  7. Karz

    Karz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +96
    ลาพุทธภูมิคือไม่ขอเป็นพุทธภูมิแล้วครับ บารมีใดๆที่บำเพ็ญเพิ่มขึ้นไป จะไม่เป็นไปเพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ แต่เพื่อทำให้นิพพานรู้แจ้งแก่ตนครับ

    ส่วนสาวกภูมิแบ่งออกเป็นสาวกธรรมดา กับอัครสาวก(ซ้าย ขวา)ครับ
    สาวกภูมิจะได้เกิดทันในชาติที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และจะออกบวชเป็นสาวกในพระพุทธเจ้านั้น
    สาวกภูมิแบบธรรมดา (จะบรรลุอรหันต์เช่นกัน) จะบำเพ็ญบารมี 1 อสงไขยกับอีกหนึ่งแสนกัปป์ ส่วนอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาจะใช้เวลา 2 อสงไขยกับอีกหนึ่งแสนกัปป์ครับ

    อ้อ.. เท่าที่ทราบมา หลวงปู่มั่นท่านลาพุทธภูมิแล้วนี่ครับ หลังจากบำเพ็ญเพียรมานานแต่ไม่สำเร็จซักที ในที่สุดท่านเอะใจว่าเป็นพุทธภูมิรึปล่าว จึงลาพุทธภูมิ บำเพ็ญเพียรใหม่อีกครั้งแล้วจึงสำเร็จ จากนั้นจึงไปกราบอาจารย์เสาร์ บอกเป็นนัยๆให้ท่านทราบว่าท่านก็เป็นพุทธภูมิเหมือนกัน หลังจากพระอาจารย์เสาร์ลาพุทธภูมิแล้วก็สำเร็จเหมือนกัน
     
  8. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    พระอัครสาวกซ้ายขวาต้องบำเพ็ญบารมี 1 อสงไขยเศษแสนกัปป์
    พระปัจเจกพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยเศษแสนกัปป์
    ส่วนสาวกภูมินี่ไม่แน่นอนครับ มีตั้งแต่แสนกัปป์ลงมาจนถึงไม่กี่ชาติก็มีครับ
     
  9. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สาธุ กราบอนุโมทนากับท่าน จขกท....ด้วยนะครับ

    พุทธภูมิ คือ

    " ดูกรมหาบพิตร นิยตโพธิสัตว์ ที่ว่าต้องประกอบด้วย "พุทธภูมิ" นั้น อยาก ทราบว่า คำว่า "พุทธภูมิ" แปลและหมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร อะไรบ้าง ขอถวายพระพร

    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นักปราชญ์นิยมเรียกกันว่า "พุทธภูมิธรรม" คำว่า "พุทธภูมิธรรม" แปลว่าธรรมอันเป็นชั้นของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ธรรมซึ่งจัดเป็นชั้นของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้า อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จำเป็นต้องมีภูมิชั้นเชิงดีกว่า คนอื่นๆ มาก เพื่อเป็นเครื่องส่อให้เห็นว่า แปลกจากคนอื่นๆ อย่างไร และธรรมซึ่งเป็นภูมิ หรือ เป็นชั้นเชิงของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พุทธภูมิธรรม มีอยู่ ๔ ประการ คือ

    ๑.
    อุสสาโห
    ความองอาจกล้าหาญในการทำดี ไม่ยอ่ท้อต่อสิ่งอะไรทั้งหมด เป็นต้นว่า การงานที่ทำ ความเมื่อยล้า หิวกระหาย ใกล้ ไกล
    ๒.
    อุมมัคโค
    มีปัญญาแก่กล้าเชี่ยวชาญ ความรู้อันแก่กล้า ได้แก่ความรู้ใน เหตุผลของการกระทำ นิยตโพธิสัตว์ต้องมีความรู้ในเหตุผลต้นปลายของ การกระทำต่างๆ ว่าอย่างไหนจะมีเหตุผลดีชั่วอย่างไร แล้วเลือกไม่ทำสิ่งที่ มีผลชั่ว เลือกทำแต่สิ่งที่มีผลดี
    ๓.
    วะวัตถานัง
    มีอธิษฐานมั่นคง คือมีใจคอหนักแน่นมั่นคง มีความมั่นใจ นิยตโพธิสัตว์ย่อมมีใจคอมั่นคง หนักแน่น ไม่เหลาะแหละเหลวไหล เมื่อทำ สิ่งใดต้องทำให้สำเร็จ เป็นอันไม่ทอดทิ้ง
    ๔.
    หิตจริยา
    ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ นิยตโพธิสัตว์ย่อมทำแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น

    ในคุณธรรม ๔ ข้อนี้ ถ้าลำดับตามวิธีใช้ ต้องลำดับอย่างนี้ คือ
    อุมมัคคะ- หิตจริยา-อวัตถานะ-อุสสาหะ

    อธิบายว่า ก่อนจะทำสิ่งใดลงไป ต้องใช้อุมมัคคะ คือ ปัญญาพิจารณาดู เสียก่อน แล้วจึงใช้หิตจริยา คือทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ใช้วัตถานะ คือ ความมั่นใจเป็นที่ ๓ ใช้อุตสาหะคือความไม่ย่อท้อเป็นที่ ๔

    ส่วนพวกเราที่ไม่ใช่โพธิสัตว์ประเภทนิยตโพธิสัตว์ หรือสักว่าโพธิสัตว์ ก็ควรพยายามทำตนให้ตั้งอยู่ในภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เมื่อสามารถ เลื่อนตนไปถึงภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว จึงจะเรียกว่า "ปณีตบุคคล" คือ บุคคลชั้นดี และได้ชื่อว่า เป็นผู้มีภูมิดี "

    http://community.thaiware.com/index.php/topic/275857-oeauao-i-idhaea/
     

แชร์หน้านี้

Loading...